ตำนานกุดเปียว (Kut Piew), ข้าวกุด (Khauw Kut), เขยเมีย (Kheuay Mia)
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว … ณ. ดินแดน สิบหกจุไท (สิบหกเจ้าไท)
เจ้าเมืองของแคว้น 2 แห่งที่ใหญ่ที่สุดเกิดความขัดแย้งกัน โดยเจ้าเมืองของแคว้นใต้ซึ่งมีลูกสาวอันเป็นที่รักคนหนึ่ง ชื่อ นางแสนฮัก (100,000 ความรัก) ในขณะที่เจ้าเมืองของแคว้นเหนือ มีบุตรชายชื่อ ท้าวลมแลง (Tao LomLaeng) ซึ่งท้าวลมแลง ได้ตกหลุมรักนางแสนฮัก
ในช่วงเวลานั้น ดินแดนสิบหกจุไทกำลังถูกรุกรานโดยศัตรูจากภายนอก ทำให้เจ้าเมืองแคว้นใต้ตกลงที่จะให้นางแสนฮักหมั่นหมายกับท้าวลมแลง เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางทหารให้สองเมืองมีความเข้มแข็งมากขึ้นเพื่อต่อสู้กับภัยคุกคามจากภายนอก แต่ว่าในใจของเจ้าเมืองแคว้นใต้นั้นไม่เต็มใจอย่างยิ่งในการแต่งงานนี้
แต่เมื่อสงครามยุติ และชาวไทเป็นฝ่ายมีชัยชนะในสงคราม
เจ้าเมืองแคว้นใต้พยายามทุกวิถีทางที่จะยุติและยกเลิกการแต่งงานของหนุ่มสาวทั้งสอง
เจ้าเมืองแคว้นใต้จึงได้คิดแผนการณ์หนึ่งขึ้นมา เรียกว่า เขยเมีย (Kheuay Mia) เพื่อเป็นการพิสูจน์รักแท้ ของท้าวลมแลงที่มีต่อนางแสนฮัก
การทดสอบขั้นที่หนึ่ง เรียกว่า เขยขวัญ (Kheuay Kwaan) ซึ่งท้าวลมแลงจะต้องนอนอยู่หน้าระเบียงห้องของว่าที่เจ้าสาวเป็นเวลาสี่ปี โดยห้ามแตะต้องร่างกายของนาง นอกจากนั้นว่าที่ลูกเขยยังต้องทำอาหารเมนูเนื้อมาเสริฟให้ว่าที่พ่อตาเป็นประจำทุกวันด้วย
แต่ว่าเนื้อในเวลานั้นถือเป็นของที่หายาก ท้าวลมแลงจึงได้ลงมือเลี้ยง หมู, วัวและควายด้วยตัวเอง
และเมื่อเวลาผ่านไป 4 ปี ชายหนุ่มและคนรักจึงได้รับอนุญาตให้แต่งงานกันในที่สุด
แต่ว่าเจ้าเมืองแคว้นใต้ยังคงพยายามที่จะแยกทั้งคู่ออกจากกัน จึงได้สร้างการทดสอบที่สอง เรียกว่า เขยควง (Kheuay Kuang) ที่เป็นการทดสอบภายในจิตใจ โดยท้าวลมแลงได้รับอนุญาตให้เข้าไปนอนในห้องนอนของภรรยาได้ แต่ว่ายังคงต้องทำเมนูเนื้อให้พ่อตาทุกวันเป็นเวลา 10 ปี ซึ่งท้าวลมแลงยอมรับการทดสอบ
เมื่อเวลาผ่านไปร่วม 14 ปี ท้าวลมแลงผ่านการทดสอบ และสามารถพาตัวนางแสนฮักกลับไปยังแคว้นเหนือของตนเองได้
เมื่อมาถึงแคว้นเหนือ เจ้าเมืองเหนือ ซึ่งเป็นพ่อสามีต้องการจะแก้แค้นให้ลูกชาย จึงได้สั่งให้นางแสนฮักต้องเป็นผู้ทำอาหารจากผักกูด (fiddlehead fern) มาให้เขารับประทานเป็นประจำทุกวัน
แต่ว่าผักกูดปกติแล้วจะออกในช่วงฤดูใบไม้ผลิดเท่านั้น ทำให้นางแสนฮักต้องหาวิธีที่จะปลูกผักกูดขึ้นมาเอง แต่ว่าไม่ว่าจะพยายามเท่าไหร่ นางก็ไม่สามารถทำให้ผักกูดอออกยอดอ่อนได้ตลอดปี แต่ว่านางก็พยายามต่อจนกระทั้งนางสิ้นใจตาย
เจ้าเมืองแคว้นใต้รู้สึกเสียใจอย่างมากต่อการเสียชีวิตของลูกสาว จึงได้สั่งให้สตรีในเมืองทุกคนทอผ้าเป็นรูปยอดผักกูด เรียกว่า กุดเปียว (Kut Piew) และนำไปติดประดับไว้ที่หมวกหรือผ้าโผกศรีษะของสตรีในเผ่า
นอกจากนั้นยังให้บ้านของชาวไททุกหลักทำสัญลักษณ์เป็นรูปผักกูด เรียกว่า ข้าวกุด (Khauw Kut) ติดเอาไว้ที่จั่วบ้าน
เขยเมีย เป็นการทดสอบคู่รัก ที่กลายมาเป็นประเพณีของชาวไท แต่ว่าถูกปรับให้เป็นในแนวทางที่ดีและใช้เวลาสั้นๆ