Numquam prohibere somniantes 

Never stop dreaming

Muang Theng Kingdom

ประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรเมืองเท็ง (Muang Theng Kingdom) ของชาวไทดำ

กษัตริย์เต้าลอ (Tao Lo) เป็นกษัตริย์ของเมืองออม (Om) และเมืองอาย (Ay)

พระองค์นั้นได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์โดยพระบิดาของพระองค์ซึ่งเป็นเทวดาชื่อว่า เทพเต้าสวง (Tao Suang , The Angel) 

ต่อมากษัตริย์เต้าลอได้อภิเษกสมรส และมีพระโอรส 7 พระองค์

เมื่อพระโอรสเจริญพระชันษา พระองค์ก็ได้มอบเมืองให้อยู่ใต้การปกครองของพระโอรสแต่ละพระองค์

เจ้าชาย ต้าดุ๊ก (Prince Taa-Duk) ได้ปกครองลอร์หลวง (Lor Luang) ซึ่งเป็นเมืองหลวง

เจ้าชายต้าเด้า (Prince Taa-Dauw) ได้ปกครองเมืองลอร์จา (Lor Jaa)

เจ้าชายลับลี (Prince Lap-Li) ได้ปกครองเมืองลอร์ซา (Lor Zaa)

เจ้าชายลอร์ลี (Prince Lor-Li) ได้ปกครองเมืองมิน (Meuang Min)

เจ้าชายลางงาง (Prince Laang-Ngaang) ได้ปกครองเมืองปุ๊ก (Meuang Puak)

เจ้าชายลางกวาง (Prince Laang-Kwaang) ได้ปกครองเมืองเมียง (Meuang Maeng)

แต่ว่าเจ้าชายลานเจือง (Prince Laan-Jeuang) ไม่ได้รับพระราชทานเมืองให้ปกครอง เพราะพระบิดาทรงเห็นว่าพระองค์ยังมีพระชันษาน้อยเกินไป ประกอบกับพระเชษฐาเจ้าชายสองพระองค์แรกมีพระโอรสหลายพระองค์ โดยเจ้าชายต้าดุ๊ก มีพระโอรสและพระธิดาถึง 18 องค์ และเจ้าชายต้าเด้า มีพระโอรส 20 องค์ โดยเจ้าชายเหล่านี้ได้รับเมืองและหมู่บ้านซึ่งอยู่ทางเหนือของประเทศ บริเวณริมแม่น้ำแต้ (Tae River~ แม่น้ำดำ) และแม่น้ำตาว (Taav River~ แม่น้ำแดง) ไปปกครองกัน

แต่ว่าเจ้าชายลานเจืองนั้นต้องการที่จะมีเมืองใต้การปกครองของพระองค์เอง จึงได้ตัดสินใจที่จะทำสงครามที่จะขยายดินแดนออกไป โดยที่ได้รับการสนับสนุนจากกษัตริย์เต้าลอ

กองทัพของเจ้าชายลานเจืองนั้น ประกอบไปด้วยทหารและประชาชนที่นำไปเพื่อตั้งถิ่นฐานใหม่จำนวนมาก โดยหมู่ประชาชนเหล่านั้น ประกอบไปด้วยตระกูล สิงห์ลอ, สิงห์เรือง, สิงห์แล้ว, สิงห์เล้ง, ลิงห์แล, สิงห์เล็ม, สิงห์ลู, สิงห์กวง, สิงห์กวาง, สิงห์กา, สิงหะ, สิงห์วา, สิงห์บี, สิงห์วี,และ สิงห์สา

ในขณะที่ในเวียดนามนั้น  มีตระกูล Baccam, Cam, Deo ที่ถูกตั้งขึ้นใหม่ราวหนึ่งศตวรรษโดยรัฐบาลของเวียดนาม โดยแยกมาจากตระกูล Lo-Kam

กองทัพของจ้าวล้านเจื้อง นั้นเดินทางผ่านเขากา (Kaa Mountain) และเขาปุ๊ก (Puk Mouantain) ไปยังเมืองมิง

เมืองมาถึงเมืองมิง จ้าวล้านเจื้องได้สั่งให้โหรพยากรณ์โชคชะตาของการเดินทางครั้งนี้ ซึ่งโหรได้ถวารคำทำนายว่า “การทำศึกครั้งนี้จะไม่ส่งผลดี แต่ว่าการยกเลิกศึกครั้งนี้ก็ไม่ดีเช่นกัน”

เจ้าล้านเจื้องจึงได้สั่งให้มีการทำพิธีบวงสรวงเทพเต้าสวง และเทพเต้าเงิน (Tao Ngeun) เพื่อขอความคุ้มครองจากเทพยดา 

หลังจากนั้นจ้าวล้านเจื้องได้ยกทัพบุกเมืองลุง(Muanng Lung) , เมืองเจียน(Muang Jian), และเมืองจาย (Mueang Jaay)  ซึ่งเมืองเหล่านั้นยอมสยบให้กับเจ้าล้านเจื้อง แต่ว่าพระองค์ยังไม่พอพระทัย เพราะเมืองเหล่านี้มีขนาดเล็ก พระองค์จึงได้เดินทัพต่อไปจนถึงแม่น้ำดำ (Black River) และได้สั่งให้ทหารต่อแพไม้ไผ่ขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับข้ามแม่น้ำ

ซึ่งเมื่อข้ามแม่น้ำแล้ว กองทัพของจ้าวล้านเจื้องได้ปะทะกับชาวซาอำกา (Sala Am Kaa people) ที่นำโดยขุนกวาง (Khun Kwaang) ซึ่งการรบเป็นไปอย่างนองเลือด และทัพของจ้าวล้านเจื้องเป็นฝ่ายปราชัย จนพระองค์ต้องสั่งให้ถอยทัพหนี่ มายังหมู่บ้านอ่อง (Oong)

ในศึกครั้งนี้ จ้าวล้านเจื้องได้สูญเสียทหารไปกว่า 800 คน และศพของทหารเหล่านี้ถูกสั่งให้ฝังไว้บริเวณริมแม่น้ำดำ โดยภายหลังบริเวณดังกล่าวถูกเรียกขานในชื่อ วังดอย (Vang Dooy) ซึ่งแปลว่าบ่อน้ำแห่งความตาย

ต่อมาเมื่อกองกำลังเสริมจากกษัตริย์เต้าลอเดินทางมาสบทบ จ้าวล้านเจี้ยงจึงได้ยกทัพกลับไปตีกองทหารของขุนกวางอีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้จ้าวล้านเจื้องสามารถยึดเมืองต่างๆ ตลอดสองฝั่งแม่น้ำดำเอาไว้ได้ รวมถึงเมืองบู๋ (Muang Bu) และเมื่อยกทัพมาถึงเมืองลา (Muang La) ก็เจอกับการต่อต้านเล็กน้อยจากผู้นำท้องถิ่งที่ชื่อขุนอำปัม (Khun Am Peum) แต่ว่าก็ชนะได้อย่างไม่ยากลำบาก ซึ่งหลังจากมีชัยชนะ ก็ได้สั่งให้มีการแบ่งประชาชนบางส่วนตั้งถิ่นฐานที่เมืองลานี้ โดยได้แต่งตั้งขุนซุง (Khun Zung) ให้ครองเมือง ซึ่งปัจจุบันเมืองลาคือ เมืองซนลา (Son La City)

หลังจากนั้นกองทัพของจ้าวล้านเจื้องได้เดินทางต่อไป โดยข้ามเขาฮาว (Khauw mountain) ไปยังเมืองมวย (Muang Muoi) ซึ่งกองทัพจ้าวล้านเจื้องได้ปะทะกับสองผู้นำเผ่า คือ ซาอ่ำฮัม (Saa Am Ham) และซาอ่ำปอย (Saa Am Pooy) ซึ่งมีกองกำลังขนาดใหญ่ซ่อนอยู่ตามหุบเชา

จ้าวล้านเจื้องนั้นแพ้ในการรบหลายครั้ง พระองค์จึงได้เจรจากับซาอ่ำปอย และได้เสนอว่าพระองค์จะแต่งงานกับบุตรสาวของซาอ่ำปอย ซึ่งซาอ่ำปอยตอบรับข้อเสนอ

แต่ว่าภูมิศาสตร์ของเมืองมวยเป็นพื้นดินแคบตามแนวยาวที่ล้อมรอบด้วยหุบเขา พื้นที่ไม่เพียงพอสำหรับทำการเกษตร จ้าวล้านเจื้องจึงตัดสินใจที่จะไม่ใช้ดินแดนบริเวณนี้ในการสร้างเมือง

พระองค์ได้แต่งตั้งขุนยาง (Khun Yaang) ให้เป็นผู้ปกครองเมืองมวยนี้ และเปลี่ยนชื่อเป็นทวนเจ้า (Thuan Chau)

กองทัพของเจ้าล้านเจื้องมุ่งหน้าต่อไป และยึดเมืองต่างๆ ที่ผ่านไปเอามาไว้ในครอบครองได้ ทั้งเมืองแอ้ก (Meuang Ake) เมืองควาย (Meunag Kwaay) เมืองฮวก (Meuang Huak) เมืองอัง (Meuang Ang) และเมืองฟาง (Meuang Fang) แต่ว่าพระองค์ยังไม่พอใจกับดินแดนที่ได้มาเหล่านี้ที่ยังคงเล็กเกินไป

จนกระทั้งยกทัพมาถึงเมืองเท็ง (Theng) ซึ่งมีขนาดใหญ่ จ้าวล้านเจื้องจึงได้สั่งให้มีการสร้างบ้านเมืองใหม่ขึ้นที่นี่ ซึ่งเมืองเท็งปัจจุบันคือ เตียน เบียน ฟู (Dien Bien Phu) ในเวียดนาม

ต่อมาเมื่อกษัตริย์เต้าลอสวรรคต เจ้าล้านเจื้องจึงได้สถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์ โดยมีเมืองเท็งเป็นเมืองหลวง และเรียกว่าราชอาณาจักรเมืองเท็ง (Muang Theng Kingdom) หรือ แผ่นดินเมืองเท็ง (Faen Din Meung Theng)

พระองค์ได้สั่งให้มีการสร้างป้อมปราการขนาดใหญ่ขึ้นมาสามแห่ง สำหรับกองทัพ โดยเรียกว่า เจียงสามหมื่น (Jiang Saam Meun)

เจ้าล้านเจื้องได้อภิเษกกับสตรีจากเมืองบ้านแป้ (Baan Pae) และเรียกพระโอรสว่าขุนแป้

เจ้าชายขุนแป้ต่อมาได้แต่งงานกับหญิงสามัญชนจากบ้านลองข้าวหลาย (Baan Lorng Khaav Laay) และมีทายาทชื่อขุนเหมิน (Khun Meun) แต่ว่าหลังขุนเหมินเกิดได้ไม่นาน ขุนแป้ก็เสียชีวิต

จ้าวล้านเจื้องได้ดูแลชุนเหมินจนกระทั้งเติบใหญ่ และต่อมาขุนเหมินก็แต่งงานและมีทายาทชื่อท้าวปาน (Taav Pan)

ต่อมาเมื่อจ้าวล้านเจื้องสวรรคต ขุนเหมินก็ได้ครองราชย์เป็นกษัตริย์

ไม่นานหลังขุนเหมินครองราชย์ เจ้าฟ้าแก้ว (Chauw Faa Khaev) กษัตริย์ของลาว ก็ได้ยกทัพเข้ามาโจมตีเมืองเท็ง โดยได้รับความร่วมมือจากชาวลู (Lue people) ซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองเดิมของเมืองเท็ง

แต่ว่าทหารของจ้าวขุนเหมินสามารถเอาชนะกองทัพของเจ้าฟ้าแก้วได้ 

หลายปีต่อมาเมื่อกษัตริย์ขุนเหมินสวรรคต เจ้าชายท้าวปาน (Taav Paan) ก็ได้ขึ้นครองราชย์ และพระองค์ได้แต่งงานกับสตรืชื่อนางงาม (Naang Ngaam) และมีพระโอรสชื่อไสช้าง (Sai Chaang)

ต่อมาเจ้าฟ้าแก้ว ได้ยกทัพกลับมาโจมตีเมืองเท็งอีกครั้ง และสามารถจับจ้าวท้าวปานเอาไว้ได้ และได้จับตัวกลับไปยังลาว และจ้าวท้าวปานก็ถูกประหารชีวิตที่เมืองเล็กๆ ในลาว ชื่อเมืองสามหมื่นเมืองเฟือง (Saam Meun Muang Fuang)

ที่เมืองเท็ง เจ้าชายไสช้างได้ขึ้นเป็นกษัตริย์และได้ทรงอภิเษกและมีรัชทาน ชื่อท้าวกาน (Taav Kaan) และท้าวกำ (Taav Kam)

ท้าวกานนั้นได้แต่งงานและมีโอรสชื่อท้าวจอง (Taav Chong) 

ท้าวกำก็มีพระชายาเช่นกัน และมีโอรสชื้อท้าวเจียว (Taav Chiav)

ต่อมาเมื่อเจ้าไสช้างสวรรคต ท้าวกานและท้าวกำจึงได้แบ่งอาณาจักรเป็นสองส่วน โดยท้าวกานปกครองราชอาณาจักรเท็งเหนือ(Theng Neua) ส่วนท้าวกำปกครองราชอาณาจักรเท็งใต้ (Theng Taeu)

หลายปีผ่านไป ท้าวกำก็สวรรคต ท้าวกานจึงคิดที่จะรวบรวมอาณาจักรให้กลับมาเป็นหนึ่งเดียวกันอีกครั้ง แต่ว่าท้าวเจียวปฏิเสธความต้องการของเสด็จลุง ทำให้เกิดสงครามระหว่างอาณาจักรเหนือและใต้

ฝ่ายของท้าวเจียวนั้นแพ้ในสงคราม ซึ่งหลังจากพ่ายแพ้ ท้าวเจียวก็ถูกส่งไปปกครองเมืองเล็กๆ ชื่อเมืองไล (Muang Lai) ซึ่งปัจจุบันคือจังหวัดไลเจ้า (Lai Chau province) ในเวียดนาม

ส่วนท้าวกานก็ได้ปกครองอาณาจักรเท็งที่กลับมารวมตัวกันใหม่อีกครั้ง ส่วนพระโอรส ที่พระนามว่าท้าวจองนั้น ก็ได้อภิเษกกับนางอู๋จางฟาน (Naang U Chaang Faan) และมีโอรสด้วยกันชื่อท้าวเทิง (Taav Therng)

หลายปีผ่านไป จนกระทั้งกษัตริย์ท้าวกานสวรรคต ท้าวจองก็ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ของเมืองเท็ง แต่ว่าเมื่อทรงครองราชย์ได้ไม่นาน ชาวหลูซึ่งเป็นชนพื้นเมืองเดิมก็ได้รับการสนับสนุนจากลาว ในการลุกฮือขึ้นต่อต้านการปกครองของท้าวจองหลายครั้งหลายหน

ท้าวจองเห้นว่าสถานะการณ์ทวีความรุนแรงบ่อยครั้งขึ้น พระองค์จึงได้ส่งพระโอรส ท้าวเทิงไปปกครองเมืองมวย ซึ่งปัจจจุบันคือเมืองทวนเจ้า (Thuan Chau) ซึ่งที่เมืองนี้ท้าวเทิงก็ได้อภิเษกกับนางต้าเมือง (Naang Taa Meuang) และมีโอรสด้วยกันชื่อกวาล้าน (Kwaa Laan)

ต่อมาชาวลูได้ลึกฮือต่อต้านการปกครองอีกครั้ง และพวกเขาก็ประสบความสำเร็จ สามารถยึดเมืองหลวงของอาณาจักรเท็งได้ และกษัตริย์ท้าวจองก็ถูกจับและถูกประหารชีวิต

ศูนย์กลางการปกครองของชาวไท จึงได้ย้ายมาอยู่ที่เมืองมวย และท้าวเทิงก็ขึ้นเป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่ และประเทศก็เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นราชอาณาจักรเมืองมวย (Muang Muoi Kingdom) หรือแผ่นดินเมืองมวย ( Faen Din Muang Muoi)

หมายเหตุ

1.ชาวไทดำนั้นไม่ได้นับถือศาสนาพุทธ สิ่งก่อสร้างที่เป็นเจดีย์หลายแห่งที่พบในเมืองเท็งนั้นก่อสร้างโดยชาวลูและชาวลาว

2. ตอนที่กษัตริย์ท้าวปานถูกจับตัวไปยังลาวและถูกประหารชีวิตที่เมืองสามหมื่นเมืองเฟืองนั้น … ภายหลังเมื่อกษัตริย์ท้าวเทิงก็ได้ส่งทหารชาวไทจำนวนหนึ่งไปยังเมืองสามหมื่นเมืองเฟือง เพื่อทำพิธีกรรมให้กับพระศพอย่างเหมาะสม และได้รวบรวมเอาพระอัษฐิไปฝังบนยอดเขาในพื้นที่ โดยภูเขาลูกนี้ต่อมาถูกตั้งชื่อว่า ภูฟาต่อน่อคำ (Pu Faa Tor Nor Kam) ที่แปลว่าภูเขาที่มีหน่อไม้ทองคำ ส่วนทหารบางส่วนที่ส่งไปจัดการพระศพนั้น ยังคงอาศัยอยู่ในพื้นที่และมีลูกหลานสืบต่อมา เพื่อปกป้องสถานที่ศักดิ์สิทธิของพวกเขา โดยหมู่บ้านของพวกเขาตั้งชื่อว่าบ้านสามหมื่นเพื่อระลึกถึงประเทศบ้านเกิดของตน และในทุกนี้ชาวไทในพื้นที่ยังคงอนุรักษ์ประเพณีการรำลึกถึงกษัตริย์ของพวกเขา โดยมีพิธีในทุกวันเพ็ญในเดือนกันยายน โดยเรียกว่า ประเพณีพัดทองหลวง (Pat Tong Luang)

Don`t copy text!