Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Nicolae Ceausescu reburied

ร่าง อดีตผู้นำโรมาเนีย นิโคเล เคาเสสคู และภรรยาจะถูกนำมาประกอบพิธีชาปณะกิจใหม่ในอาทิตย์นี้อย่างเงียบๆ เคาเสสคู เป็นผู้นำเผด็จการ จากพรรคคอมมิวนิสต์โรมาเนีย ปกครองประเทศมานานกว่า 25 ปี แต่ถูกไล่ลงออกจากอำนาจในปี 1989 ช่วงที่มีการลุกฮือขึ้นมาต่อต้านคอมมิวนิสต์ในประเทศ ชาวโรมันเนียบางส่วนรวมถึงครอบครัวของเคาเสสคู สงสัยว่าร่างของสามีภรรยา ถูกนำไปประกอบพิธีในหลุมฝั่งศพ ของกองทัพใน Ghencea ในกรุงบูคาเรสต์จริงหรือไม่

แต่จากการตรวจสอบ DNA เทียบกับวาเลนติน (Valentin) ลูกชายของทั้งคู่แล้วยืนยันว่าเป็นศพของเคาเสสคูและภรรยจริง ดังนั้นครอบครัวของเขาจึงจะประกอบพิธีทางศาสนาให้กับท่านทั้งสองอีกครั้ง ปี 1918

เคาเสสคู เกิดในเมืองออต (Olt) ในครอบครัวที่พ่อแม่เกษตรกร เมื่ออายุได้ 11 ปีได้ย้ายมายังบูคาเรสต์ทำงานเป็นพนักงานในโรงงานหลายแห่ง เขาได้เข้าเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งโรมาเนีย ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนตามกฏหมาย เขาถูกจับครั้งแรกในปี 1932 และต่อมาก็ถูกจับอีกหลายครั้งในการเคลื่อนไหวในฐานะคอมมิวนิตส์เพราะเข้าไปเกี่ยวข้องกับการสไตล์ การประท้วงหลายครั้ง นอกจากนั้นเขายังเคลื่อนไหวต่อต้านลัทธินาซีด้วย ในปี 1936 เขาถูกจำคุก 2 ปี จากกิจกรรมต่อต้านนาซี เขาพบกับ อีเลน่า เปเตรสคู (Elena Petrescu)

ในปี 1940 หลังจากได้รับการปล่อยตัวออกมาก ( ซึ่งต่อมาทั้งคู่ได้แต่งงานกันในปี 1946 ) แต่ว่าไม่นานเขาก็ถูกจับตัวเข้าตะรางอีก จนปี 1943 ได้ถูกส่งตัวไปยังเรือนจำ ทากู จา (Targu Jiu camp) ที่นี้เขาได้นอนร่วมห้องขังเดียวกันกับ จอร์จ จอร์จีเดจ (Gheorghe Gheorghiu-Dej) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โรมาเนีย อยู่ภายใต้อิทธิพลของโซเวียต เคาเสสคู ได้รับตำแหน่งเลขาธิการของสหภาพยุวชนคอมมิวนิสต์ ระหว่างปี 1944-1945 และเมื่อคอมมิวนิสต์สามารถครองอำนาจในโรมาเนียได้ เขาได้รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ในปี 1947 , ปี 1952 เขาได้รับตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีกลาโหม ภายใต้การควบคุมของ จอร์จ จอร์จีเดจ และจอร์จีเดจ เป็นคนที่พลักดันให้เคาเสสคูได้เข้าไปยังคณะกรรมการกลาง (Central Committee) เขาได้กลายเป็นสมาชิกพูลิตบุโร อย่างเต็มตัว เขามีตำแหน่งเป็นลำดับที่สองภายในพรรค

หลังการเสียชีวิตของ จอร์จจีเดจ ในพฤษภาคม 1965 เคาเสสคูจีงได้รับตำแหน่งเป็นเลขาธิการของพรรคแรงงานแห่งโรมาเนีย (Romanian Workers’ party) ซึ่งงานแรกที่เคาเสสคูทำ คือ การเปลี่ยนชื่อพรรคแรงงานแห่งโรมาเนีย ไปเป็นพรรคคอมมิวนิสต์แห่งโรมาเนีย (Romanian communist party) และเปลี่ยนชื่อประเทศโรมาเนียจากสาธารณะประชาชนโรมาเนีย (People’s Republic) ไปเป็น สาธารณะรัฐสังคมนิยมแห่งโรมาเนีย (Socialist Republic)

เคาเสสคู มีบุคลิกที่โดดเด่นในเวทีโลก ในฐานะคอมมิวนิสต์ ที่ดำเนินนโยบายที่เป็นอิสระและไม่ขึ้นกับโซเวียต โรมาเนียเป็นประเทศที่ร่วมเป็นสมาชิกในกลุ่มวอร์ซอว์ (Warsaw Pact) แต่ก็ไม่ได้ปฏิบัติตามมติของสมาชิก อย่างเหตุการ ปรากสปริง ที่ประเทศกลุ่มวอร์ซอว์ ส่งกองทัพบุกเชคโกสโลวาเกีย โรมาเนียนอกจากจะไม่ส่งทหารเข้าร่วมแล้วยังประณามการกระทำดังกล่าวด้วย ทำให้โซเวียตไม่พอใจนโยบายของเคาเสสคู และเคาเสสคูเองก็เริ่มจะเปิดการเจรจากับสหรัฐอเมริกาและยุโรป โรมาเนียให้การรับรองเยอรมันตะวันตกเป็นประเทศแรกในกลุ่มยุโรปตะวันออก เข้าร่วม IMF ,องค์การข้อตกลงการค้าและพิกัดศุลกากร (GATT) นอกจากนั้นยังทำข้อตกลงการค้ากับสหภาพยุโรปขณะนั้น ก่อนที่คอมมิวนิสต์จะพากันล่มสลายลง นอกจากนั้นยังเปิดสัมพันธ์ทางการทูตต่ออิสราเอลและกลุ่ม PLO (องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์) พร้อมกันเป็นประเทศเดียวในโลก

โรมันเนียในยุคของเคาเสสคู เป็นที่นิยมของตะวันตก มีโอกาสได้ตอนรับผู้นำชาติตะวันตกหลายคน เช่น ริชาร์ด นิกสัน (ปธน. สหรัฐ) ในปี 1973 อันวาร์ ซาดัต (ปธน.อียิปต์) ในปี 1977 เคาเสสคู ยังเคยเดินทางเยือนประเทศจีน เกาหลีเหนือ เวียดนามเหนือ(1971) เขาชื่นชอบแนวคิดเรื่องการปฏิรูปวัฒนธรรมของจีน และปรัชญาจูเช (Juche philosophy) ของประธานาธิบดี คิม อิล ซุง (Kim II Sung) มาก หนังสือเรื่องปรัญชาจูเช ถูกพิมพ์แจกจ่ายไปทั่วโรมาเนีย เขาเริ่มนโยบายปฏิรูปวัฒนธรรมขนาดย่อมตามสไตล์ที่เขาเลียนแบบมาบ้าง โดยประเทศถูกครอบงำโดยพรรคคอมมิวนิสต์อย่างเข้มงวดมากขึ้น โรงหนัง โรงเรียน บัลเลต์ ตามสไตล์คอมมิวนิสต์ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการชวนเชื่อ

ในปี 1974 เคาเสสคูได้เป็น ประธานาธิบดีแ่หงโรมาเนีย เขาหนีห่างจากโซเวียตมากขึ้น และเพื่อประท้วงโซเวียตในการบุกเชคโกสลาเวียในปี 1968 โรมาเนียของเคาเสสคู หันไปใช้เงินกู้จากตะวันตกในการพัฒนาประเทศ เขากู้เงินมามากถึง 13 พันล้านเหรียญ ส่งนักกีฬาไปร่วมโอลิมปิกที่สหรัฐในปี 1984 (โซเวียตคว่ำบาตรการแข่งนี้เพื่อตอบโต้ที่สหรัฐและยุโรปตะวันตก ไม่ส่งนักกีฬาไปแข่งที่มอสโคว์ปี 1980) แต่ทว่าการกู้ยืมเงินจากชาติตะวันตกมหาศาลกลายเป็นตัวบ่อนทำลายเศรษฐกิจของโรมาเนียและอำนาจของเคาเสสคูเอง เพื่อประเทศโรมาเนียไม่มีปัญญาจ่ายคืนหนี้ก้อนมหาศาลที่ยืมมาา เคาเสสคูจัดการส่งออกสินค้าทุกอย่างที่จะขายได้ทั้งอาหาร เชื้อเพลิง และสินค้าอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อหาเงินใช้หนี้ นั้นทำให้พลเมืองของโรมาเนียอยู่กันอย่างอยากลำบาก (แม้ว่าพวกเขาจะเป็นผู้โหวตในการสนับสนุนนโบยายนี้ของเคาเสสคูก่อนหน้านี้ก็ตามที) รัฐบาลบอกว่าประชาชนต้องยอมอดทนเพื่อจะจ่ายหนี้ จนกระทั้งปี 1989 โรมาเนียสามารถชำระหนี้สินได้หมด แต่ก็ทำให้เวลาของเคาเสสคูหมดลงไปด้วย

ในปีนั้น 1989 นั้นเอง เพิ่งจะเมื่อเดือน พฤศจิกายนที่พรรคคอมมิวนิสต์ได้แต่งตั้งเคาเสสคู ในวัย 71 ให้ดำรงตำแหน่งผุ้นำต่ออีกสมัย แต่พอธันวาคม ประชาชนที่อดทนต่อความหิวและยากลำบากมานาน เริ่มก่อการจารจนในบูคาเรสต์และติมิเสารา (Timisoara) ทหารและผู้ประท้วงเริ่มมีการประทะกันระหว่างวันที่ 17-22 ธันวาคม ผู้ประท้วงเกือบจะสามารถจับตัวเคาเสสคูได้ที่ตีกของคณะกรรมการกลางในบูคาเรสต์ แต่ว่าเขาขึ้นเฮลิคอปเตอร์หนีออกไปได้ สื่อตะวันตกรายงานกุข่าวผู้เสียชีวิตหลายหมื่นคน ทว่าความเป็นจริงแล้วการปะทะกันในไม่กี่วันมีผู้เสียชีวิตน้อยกว่าหนึ่งร้อยคน เคาเสสคูและภรรยาถูกกองทัพจับตัวได้ในวันที่ 25 ธันวาคม และศาลทหารได้ตัดสินประหารชีวิตทั้งคู่ที่เมืองทาร์โกวิสต์ (Targoviste) เขาถูกจับมือไขว้ไว้ด้านหลัง และยืนหันหน้าเข้ากับกำแพง จากนั้นจึงถูกยิง วีดีโอการประหารทั้งคู่ รวมถึงนายทหารคนสนิทบางคน ถูกถ่ายทอดยังสถานีโทรทัศน์ในประเทศและสื่อต่างชาติ เคาเสสคู และอีเลน่า ภรรยา มีลูกด้วยกันสามคน คือ วาเลนติ (เกิด 1948) ลูกคนเดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ นอกจากนั้นเสียชีวิตไปแล้วคือ นิคุ (Nicu, 1951-1996) และลูกสาว โซเอ (Zoia, 1949-2006)

Don`t copy text!