Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

1812 : Treaty of Amiens

The Treaty of Amiens

Tags: Russia, Society, History, World, War of 1812 22.09.2010, 16:16 Welcome to our series of programs dedicated to the Patriotic War of 1812. Today we’ll focus on the Treaty of Amiens. The Treaty of Amiens was signed in the city of Amiens on 25 March 1802, between France, Spain, the Batavian Republic and England. The treaty ended hostilities between the French Republic and the United Kingdom during the French Revolutionary Wars of 1800-1802 and marked the end of the Second Coalition, which had waged war against Revolutionary France since 1798.After allies- Russia, Austria, Naples and the Ottoman Empire asked for peace, England continued to stay at war for some time but soon had to quit the war too. Napoleon`s army needed a break, so the French Emperor accepted a peace offer from the British Eddington`s government. Читать далее Source: Voice of Russia.

สนธิสัญญาเอเมียน (Treaty of Amiens) มีการลงนามเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 1802 ระหว่าง ฝรั่งเศส เสปน สาธารณรัฐบาตาเวียน (Batavian Republic) และอังกฤษ เพื่อขจัดความเป็นปฏิปักษ์ระหว่างสองชาติมหาอำนาจ ฝรั่งเศสและอังกฤษ ซี่งมีปัญหากันในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ระหว่างปี 1800-1802 และเป็นสัญญาณการสิ้นสุดพันธมิตร ลำดับสอง (Second Coalition) ซึ่งต่อต้านการปฏิวัติฝรั่งเศสมาตั้งแต่ปี 1798 ซึ่ง รัสเซีย ออสเตรีย เนเปิ้ล และอาณาจักรออตโตมัน ซี่งเป็นพันธมิตรกัน ได้เรียกร้องให้เกิดสันติภาพ เหลือเพียงอังกฤษที่ยังทำสงครามต่อ แต่ในไม่ช้าก็ต้องยุติลง กองทัพของนโปเลียนเองก็ต้องการที่จะหยุดยุติศึกที่มีมายาวนาน ทำให้จักรพรรดินโปเลียนยอมรับสนธิสัญญาที่เสนอโดยอังกฤษ โดยนายกรัฐมนตรี เอดดิงตัน (Eddington)

1 ตุลาคม 1801 การเจรจาระหว่างรับมนตรีต่างประเทศอังกฤษ ลอร์ด ฮาวเกสบุรี (Load Hawkesbury) และ หลุยส์ กิลลูเม ออโต้ (Louis Guillaume Otto) พลาธิการทหารเพื่อช่วยเหลือเชลยสงครามจากฝรั่งเศส (French commissary for prisoners of war) ทำให้สองฝ่ายยอมรับเงื่อนไขในสัญญาและในปีถัดมาจึงได้มีการจัดพิธีลงนามในเอเมียน ซึ่งนโปเลียนได้ส่งพี่ชายโจเซฟ (Joseph) มาเป็นผู้ลงนามในสนธิสัญญา , ฝ่ายเสนปได้แก่ทูต โจส อาซาร่า (Jose Azara) , บาตาเวียน คือ เอกอัคราชทูต ยีน สชีมเมลเพนนิค (Jean Schimmelpennick) , และ เจ้าหน้าที่ทหารจากอังกฤษ ชาร์ล คอนเวลลิส (Charles Cornwallis)

สนธิสัญญาประกอบไปด้วย 22 หัวเรื่อง และคำประกาศของฝรั่งเศสและดัชน์ (Franco-dutch Declearation) ภายใต้สนธิสัญญา

อังกฤษจะต้องส่งคืนเมืองขึ้นทั้งหมด ยกเว้นเกาะ ทรินิแดด (Trinidad island) และเขตชาวดัชในซีลอน (Dutch area in Ceylon, ซีลอน คือ ศรีลังกา) อังกฤษต้องยกเลิกท่าเรือทุกแห่งและคืนเกาะทั้งหมดในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลเอเดรียติก

ฝรั่งเศสต้องถอนกองทัพออกจากเนเปิ้ล โรม เกาะเอลบ้า (Elba island) มัลต้า (Malta) ได้รับสถานะรัฐ ที่ต้องเป็นกลาง และได้รับการรัรบรองจาก 6 ชาติ ได้แก่ ฝรั่งเศส อังกฤษ รัสเซีย ออสเตรีย สเปน และปรัสเซีย

อังฤษต้องหยุดแทรกแซงกิจการภายในของสาธารณรัฐบาตาเวียน เยอรมัน เฮลเวเทีย (Helvetia) และสาธารณรัฐบางแห่งในอิตาลี ซึ้งเท่ากลับว่าสนธิสัญญานี้โดดเดียวประเทศอังกฤษออกจากกิจกรรมทั้งหมดในยุโรป กษัตริย์ จอร์จ ที่ 3 (George III) แห่งอังกฤษ ทรงลบเครื่องหมายดอกลิลลี่ออกจากดวงตราสัญลักษณ์และยกเลิกการใช้ยศนำหน้าว่า กษัตริย์แห่งฝรั่งเศส (French king) ซึ่งตกทอดมาหลายร้อยปีนับจากบรรพบุรุษของพระองค์

สนธิสัญญามีผลบังคับใช้ตอนเมษายน 1802 และการหยุดยิงเกือบจะต้องสิ้นสุดลงไม่นาน ทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสต่างเตรียมพร้อมที่จะเปิดสงครามกันใหม่แม้จะลงนามกันไปแล้ว อังกฤษพยายามทำข้อตกลงทางการค้ากับฝรั่งเศส แต่นโปเลียนมีนโยบายการค้าแบบคุ้มกันและปกป้องตัวเอง

ในปี 1802 ฝรั่งเศสเริ่มพยายามขยายอิทธิพลไปในยุโรป ผนวกเอาเกาะเอลบ้า และหลายเมืองในอิตาลี อย่าง เพียดมอนต์(Piedmont) ปาร์ม่า(Parma) ปิเอเสนซ่า(Piacenza) และ กุแอสเตลล่า (Guastalla) เข้าเป็นส่วนหนึ่ง นอกจากนั้นยังขยายอำนาจไปยังฮอลแลนด์และสวิสเซอร์แลนด์

ส่วนฝ่ายอังกฤษไม่ค่อยพอใจที่สนธิสัญญาจำกัดกิจกรรมของตัวเองหลายประการ อย่างการต้องถอนทัพออกจากมัลต้า อเล็กซานเดรีย(Alexandria) เคฟ ทาวน์ (Cape Town) และชุมชนชาวฝรั่งเศสในอินเดีย อังกฤษจึงรอคอยและหวังให้มีการตั้งกลุ่มพันธมิตรเพื่อต่อต้านฝรั่งเศสขึ้นมาอีกครั้ง ส่วนนโปเลียนพยายามเอาใจจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ ที่ 1 ของรัสเซีย ด้วยการมอบอนาคตของมัลต้าให้พระองค์ตัดสินพระทัย เพื่อทรงจะได้ไม่เอนเอียงไปเข้าข้างอังกฤษ

อเล็กซานเดอร์ที่ 1 ทรงรับข้อเสนอเป็นคนกลางระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส ทรงตัดสินพระทัยที่จะให้กองทัพรัสเซียยึดครองมัลต้า และต้องการให้ฝรั่งเศสถอนทัพออกจากฮอลแลนด์ สวิสเซอร์แลนด์ อิตาลี และเยอรมันตอนเหนือ ทว่าแผนการของพระองค์ถูกทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสปฏิเสธ วันที่ 13 มีนาคม 1802 ระหว่างที่ทรงเจรจากับฝ่ายอังกฤษ โดยทูต ลอร์ด วิทวอร์ท (Lord Withworh) นโปเลียนก็ได้ยืนคำขาด ว่าพระองค์ต้องทรงเลือกระหว่างมัลต้าหรือว่าสงคราม การเจรจดำเนินต่อไปจนกระทั้ง 12 พฤษภาคม ลอร์ด วิทวอร์ท เดินทางออกจากกรุงปารีส และ 22 พฤษภาคม สหราชอาณาจักร ก็ประกาศสงครามต่อฝรั่งเศสอีกครั้ง เป็นอันสิ้นสุดของสนธิสัญญาเอเมียน

Don`t copy text!