Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

1812 : mysterious death of russian emperor

1812: mysterious death of Russian Emperor

Tags: World, History, War of 1812, Russia Kharlamova Maria 3.12.2010, 18:05 This is our special program series “Russia against France in the War of 1812”. The more famous a person is, the more mysteries and myths surround his life and death. The Russian Emperor Alexander I was no exception. Читать далее Source: Voice of Russia.

ส่วนหนึ่งของเรื่องราวเหตุการณ์ระหว่างสงคราม ระหว่างฝรั่งเศสและรัสเซียในปี 1812  ไม่อาจจะละเลยที่จะกล่าวถึงองค์จักรพรรดิจากรัสเซีย จักรพรรดิ อเล็กซานเดอร์ ที่ 1 กับการสวรรคตที่เป็นปริศนา

  หลังจากชัยชนะอย่างยิ่งใหญ่เหนือฝรั่งเศสในปี 1812 กระแสความนิยมในตัวจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ พระเกียรติก้องกังวาลไกลไปทั่วรัสเซีย ตลอดจนยุโรปทั้งมวล ประชาชนต่างเฉลิมฉลองชัยชนะเหนือจักรวรรดิปีศาจของนโปเลียน  แม้ว่าหลังสงครามนับสิบปี พระองค์ก็ยังถูกพูดถึงอยู่เนื่องๆ แต่ว่าก็เกิดกระแสวิจารณ์กันว่ามีบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นกับพระองค์ ทรงมีพระทัยเปลี่ยนไปเหมือนกับไม่ใช่จักรพรรดิองค์เดิม ทรงรับสั่งกับคนใกล้ชิดว่าพระองค์มั่นพระทัยที่จะสละราชสมบัติและอยากใช้ชีวิตอย่างสงบท่ามกลางธรรมชาติอันบริสุทธิ์ พระองค์สนใจในศาสนามากขึ้น ผู้เห็นเหตุการณ์เล่าว่าพระจักรพรรดิทรงใช้เวลาหลายชั่วโมงในแต่ละเดือนสนทนาเพื่อสนทนากับนักบวช และผู้พยากรณ์ในอนาคต

ประวัติศาสตร์บอกว่าพระองค์ ทรงตัดสินใจปล่อยวางจากพระราชภาระกิจทุกอย่างในปี 1825 พระองค์ทรงมีแผนการลับในการที่จะหายไปโดยไม่ทรงรับสั่งบอกใคร แต่ข้อมูลที่ปรากฏรายล้อมชี้ให้เห็นว่าทรงกระทำแผนการณ์สำเร็จเสียด้วย แน่นอน, ในเมื่อไม่มีเหตุการณ์ผิดปกติเหนือการควบคุมของพระองค์ แต่มันก็คงมีข้อมูลเล็กๆ ที่บอกความจริงเบื้องหลังวันสุดท้ายในฐานันดร

ในฤดูร้อน ของปี 1825 อเล็กซานเดอร์ทรงแนะนำให้จักรพรรดินี อลิซานเบธ (Empress Elizabeth) ซึ่งขณะนั้นทรงพระประชวรเรื้อรั้ง ให้ทรงแปรพระราชฐานจากความวุ่นวายและเร่งรีบในนครหลวง เซนปีเตอร์เบิร์ก ไปพักผ่อนในที่เมืองตากานร๊อก (Taganrog) ริมทะเลเอซอฟ (Azov Sea) ซึ่งมีภูมิอากาศสงบเหมือนเมืองทางตอนใต้ ซึ่งจะช่วยบรรเทาพระอาการให้ดีขึ้น ซึ่งพระราชินีทรงรับที่จะทำตามกระแสรับสั่งแนะนำ  พอต้นเดือนกันยายน อเล็กซานเดอร์ก็ทรงเดินทางล่วงหน้าไปยังเมืองตากานร๊อกเพื่อเตรียมความพร้อมของสถานที่ในการรับราชินี ซึ่งในการเดินทางครั้งนี้ พระองค์ทรงเดินทางไปอย่างสามัญกว่าปกติ เปิดเผย และก็มีข้าราชบริพาร และคนสนิทติดตามไปด้วยไม่กี่คน ซึ่งน้อยกว่าขบวนปกติอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง

ไม่นานพระราชินีก็เสด็จตามพระองค์มายังเมืองตากานร๊อก ซึ่งไม่กี่อาทิตย์ที่ทรงอยู่ในเมืองนี้ พระอาการประชวรทุเลาลงเป็นอย่างมาก

แต่ตรงกันข้าม องค์ อเล็กซานเซอร์ทรงทำให้ราชบริพารต่างตกใจในพระประชวรหวัด ที่รุนแรง และพระอาการก็แย่ลงอย่างรวดเร็วแม้ว่าแพทย์จะให้การดูแลใกล้ชิดก็คล้ายจะไม่ได้ผลดีขึ้น 

พระจักรพรรดิ คนที่ 14 แห่งจักรวรรดิรัสเซีย เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 1พฤศจิกายน 1825 ขณะพระชนอายุ 48 ปี 

 ร่างของพระองค์ถูกนำกลับมายัังเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก และประกอบราชพิธีศพในค่ายทหารปีเตอร์แอนด์พอล (Peter and Paul Fortress) อย่างสมพระเกียรติ

  นั่นเป็นข้อมูลอย่างเป็นการ แต่ว่ายังมีเรื่องราวเล่ากันในอีกแบบหนึ่งเล่ากันต่อมาว่า  ผู้อยู่ในเหตุการณ์ต่างสงสัย ว่าขณะที่ทหารอารักขา ซึ่งประจำอยู่รอบพระตำหนัก ในตากานร๊อกในคืนที่จักรพรรดิสวรรคตนั้น ทหารเล่าว่าเขาเห็นชายคนหนึ่งรูปร่างสูงเดินออกจากประตูหลังตำหนักอย่างรีบเร่งและหายไปในความมือ ทหารนายนั้นสาบานว่าจำรูปร่างชายคนนั้นได้อย่างแน่นอนว่าเป็นองค์จักรพรรดิ เขารีบรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ แต่ถูกตำหนิว่า “บ้าไปหรือป่าว ,พระองค์เพิ่งจะสวรรคตในที่บรรทม”

ข่าวลือแพร่กระจายออกไปทั่วว่าร่างที่ถูกเผามิใช่ องค์อเล็กซานเดอร์ แต่เป็นใครสักคนที่คล้ายกับพระองค์ซึ่งเพิ่งเสียชีวิตก่อนที่ทางการจะประกาศว่าจักรพรรดิสวรรคตแล้ว โลงที่บรรจุพระศพนั้นถูกปิดอยู่ตลอดเวลาแม้ระหว่างที่เปิดให้มีการเข้ามาถวายอาลัย หรือว่าระหว่างที่ถูกเผา ซึ่งยิ่งทำให้ทุกคนพากันสงสัยมากขั้น

สมมุติว่า พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ยังไม่ได้ทรงสวรรคต แล้วพระองค์จะเดินทางไปยังที่ไหนกัน ฦ ?  ไม่กี่ปีหลังจากราชพิธีปลงพระศพ ข่าวลือหนาหูว่า ฟิโอดอร์ คุชมิช (Fyodor Kuzmich) ซึ่งอยู่ในไซบีเรียน ซึ่งเป็นชายที่รูปร่างสูง สง่า ดวงตาสีฟ้า และมีรูปหน้าที่หมดจด ประกอบกับมีการศึกษาดีมีความรู้เรื่องข้อกฏหมายดีมาก ซึ่งคล้ายกับราวพระจักรพรรดิ อเล็กซานเดอร์  อดีตนายทหารนายหนึ่งถึงกับอุทาน ว่า “สวรรค์ นั่น ซาร์ อเล็กซานเดอร์ ของเรา” ข่าวลือแพร่กระจ่ายไปทั่วไซบีเรีย จนตำรวจต้องไปจับคุซมิช ที่เหมือนกับซาร์ แต่ว่าไม่นานก็ปล่อยตัวออกมา โดยให้เหตุผลว่าชายคนดังกล่าวไม่ได้ท่าทีประสงค์ร้ายแต่อย่างใด 

พิโอดอร์ คุซมิช เสียชีวิตในปี 1864 หลังจากออกเดินทางเรื่อยไปในไซบีเรียน ถ้าเขาคือพระเจ้าซาร์ อเล็กซานเดอร์ ตัวจริง พระองค์ก็จะเสียชีวิตขณะที่พระชนพรรษา 87 ปี ซึ่งเป็นอีก 40 ที่สงบ เรียบง่าย สมดังพระราชหฤทัย …        

 

Don`t copy text!