Впервые расшифрованный геном орангутана поможет лечить болезни людей
02:10 27/01/2011 Ученые впервые представили геном орангутана – третьего вида гоминид после человека и шимпанзе, чей геном был полностью расшифрован – что позволит в будущем прояснить эпизоды эволюции людей, а также поможет при разработке методов лечения некоторых болезней людей. >>
ทีมนักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัย วอชิงตัน จากศูนย์ศึกษายีน (The Genome Center of Washington University, genome.wustl.edu )นำโดย ดร.เดวิน ลอค์ก (Devin Locke) ประสบความสำเร็จในการถอดลำดับพันธุกรรมของลิงอุรังอุตัง (Orangutan) ซึ่งเป็นเอป์ส (apes ) ที่เป็นญาติที่ห่างไกลจากมนุษย์มากที่สุดในบรรดาลิงไม่มีหางด้วยกัน
ซี่งอุรังอุตังปกติมีถิ่นที่อยู่ในป่าฝนในเกาะสุมตราและเกาะบอร์เนียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีขนออกสีแดงและอาศัยอยู่บนต้นไม้ ซึ่งผลการศึกษาได้ตีพิมพ์ในวารสาร Nature , 27 Jan
การศึกษาครั้งนี้พบว่า ลิงอุรังอุตัง บนเกาะบอร์เนียวและเกาะสุมาตรา มีความแตกต่างกันในระดับพันธ์ุกรรม ทำให้น่าจะแบ่งมันออกได้เป็น 2 สปีชีส์ เพราะความแตกต่างกันของพันธุกรรมลิงสองแหล่งนี้ มีผลกระทบต่อจำนวนประชากรของอุรังอุตัง แสดงให้เห็นความสามารถในการดำรงชีวิต และปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อม
อุรังอุตังมีดีเอ็นเอ ประมาณ 13 ล้านหน่วย และการศึกษาบอกเราว่า 97% ของยีนของมนุษย์และอุรังอุตัง ตรงกัน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์บอกเราว่า ค่อนข้างจะแปลกใจ เพราะนั้นแสดงว่าอุรังอุตังมีการเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างช้า เพราะเมื่อเทียบมนุุษย์กับลิงชิมแปนซีแล้ว ยีนของมนุษย์และชิมแปนซี ตรงกัน 99% ซึ่งนัยหนึ่งหมายความว่าตลอดเวลา 15 ล้านปีผ่านมา ยีนของอุรังอุตัง ไม่ได้เปลีี่ยนไปมาก ค่อนข้างคงตัว
การศึกษายังพบว่าชิมแปนซีมี Alu Element ประมาณ 250 หน่วย ในขณะที่ชิมแปนซีมี 2,000 Alus และ มนุษย์มี 5,000 Alu ซึ่งนั้นเป็นสาเหตุหนึ่งว่าทำไมอุรังอุตังถึงมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในหลายล้านปี
นอกจากนั้น พบว่า สุมาตราอุรังอุตัง และบอเนียวอุรังอุตัง มีการแยกสายพันธ์กันเมื่อประมาณ 400,000 ปีก่อน ซึ่งอาจจะเริ่มต้นในการค่อยๆ แยกันมา 1 ล้านปีก่อนแล้ว
ปัจจุบันมีจำนวนอุรังอุตังบอร์เนียว อยู่ประมาณ 50,000 ตัว (Bornean Orangutan) และ สุมาตราอุรังอุตัง(sumatran Orangutan) อยูประมาณ 7,000 ตัวเท่านั้น ซึ่งจำนวนอุรังอุตัง ที่ปรากฏสร้างปัญหาที่ยังไม่ทราบคำตอบ ว่าทำไม สุมาตราอุรัอุตัง ซึ่งมีจำนวนน้อยกว่า แต่กับมียีนที่สลับสับซ้อนกว่า สายพันธ์จากบอร์เนียว
โครงการนี้ใช้เงินทุนในการวิจัย 20 ล้านเหรียญ ด้วยเงินทุนสนับสนุนจาก National Human Genome Reserach Institute และ National Science Foundation นักวิทยาศาสตร์ใช้จีโนมแบบสมบูรณ์จาก อุรังอุตัง สุมาตรา เพศเมีย ชื่อ ซูซี (Susie) จากนั้นจึงรวบรวมตัวอย่างจีโนมในจำนวนที่น้อยกว่าจากอุรังอุตังอีก 10 ตัวจากทั้งสองสายพันธ์