Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Cheif theoretician of space programme

Chief theoretician of space programme

Tags: Sci-Tech, Commentary, Russia, Mstislav Keldish Elena Kovachich 10.02.2011, 16:45 Colleagues called Mstislav Keldish, the outstanding mathematician the “Diamond head”. There would not have been a ballistic missile, first satellite or man’s first flight into space without his calculations. Russia marks his 100th birthday this year. Keldish was born on February 19 1911 in Riga, to a family of scholars, which perhaps influenced his love of science from an early age. He graduated from the Moscow State University’s faculty of Mathematics at the tender age of 20, and at 24 was awarded a Master of Science, MSc degree without defending a dissertation and a year later was made a Professor of Aerodynamics, and with justification. In the 30s aviation was being developed rapidly, but it was difficult, and among the obstacles on the road to the development of a fast machine was what was known as “flutter”. Читать далее Source: Voice of Russia.

รัสเซียเตรียมจัดงานรำลึก 100 ปี ในวันเกิดของ มิสติสลาฟ เคลดิช (Mstislav Keldish) นักคณิตศาสตร์คนสำคัญของประเทศ การคำนวณของเขา ช่วยบุกเบิกและสร้างให้เกิด ดาวเทียม และขีปนาวุธข้ามทวีป ได้สำเร็จ
มิสติสลาฟ เคลดิช เกิดเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 1911 ในริก้า (Riga) ในครอบตรัวที่มีการศึกษา ซึ่งทำให้เขาสนใจด้านวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่เยาว์วัย จบการศึกษาจากมหาวิทยาลับมอสโคว์ สาขาคณิตศาสตร์ ขณะที่อายุ 20 ปี และเมื่อ 24 ปี ก็จบปริญญาโททางด้านวิทยาศาสตร์ ปีต่อมาได้ทำงานเป็นศาสตร์จารย์ในวิชาอากาศพลศาสตร์ ในยุค 1930s โซเวียตพยายามบุกเบิกเทคโนโลยีด้านการบิน ซึ่งตอนนั้นการพัฒนาเป็นไปอย่างรวดเร็ว แต่ก็ยากลำบากมาก มีการพัฒนาเครื่องยนต์ที่มีความเร็วสูงทีเรียกว่า flutterแต่ว่ามีความแรงสั่นสูงมากเมื่อมีการทดสอบเครื่องบิน ทำให้เครื่องโครงเคลงในอากาศ และ เคลดิช สามารถช่วยแก้ปัญหานี้ได้ , วิคเตอร์ ซาดอฟนิชี (Victore Sadovnichy) หนึ่งในลูกศิษย์ของเคลดิช ปัจจุบันเป็นอาจารย์ใน ม. มอสโคว์ กล่าวถึง  "อาจารย์ เคลดิช อธิบายว่ามันเป็นปรากฏการของการแทรกสอด (resonance) และแนะนำให้หาวิธีในการป้องกันการเสียชีวิตของนักบิน ตอนนั้นทุกอย่างแก้โดยคณิตศาสตร์"ในเยอรมัน ตอนนั้น แรงสั่นสะเทือนเป็นสาเหตุให้เครื่องบินจำนวนมากตกระหว่างปี 1935-1943 แต่ทว่าในโซเวียตไม่เคยมีเครื่องบินตกเลยในช่วงเวลาดังกล่าว ปี 1942 เคลดิช ได้รับรางวัลเชิดชูเกียติจากการทำงานของเขาศาสตร์จารย์ เคลดิช เป็นผู้บุกเบิกการวิจัยด้านอวกาศและวิทยาศาสตร์ ในปี 50s ที่ไม่มีใครรู้ว่าจะทำอย่างไรถึงจะเอาดาวเทียมไปโคจรในวงโคจรใกล้โลกได้ ทำอย่างไรถึงจะไปดวงจันทร์และดาวดวงอื่นๆในระบบสุริยะจักรวาลได้  เกนนาดี โบโรวิน (Gennady Borovin) รองอำนวยการสถาบัน M.V. Keldish ได้อธิบายไว้ว่า มันเริ่มต้นจากการออกแบบจรวดข้ามทวีป และเมื่อจรวดและดาวเทียม พวกเขาสร้างภาพกราฟฟิกการเดินทางของการบิน มีการสร้างศูนย์วิจับจรวดในสถาบันเคลดิช และ ศจ.เคลดิชและทีม ก็มีส่วนร่วมในการพัฒนาดาวเทียมดวงแรก และการส่งยุริ กาการินในปี 1961 มนุษย์คนแรกในอวกาศ การลงจอดบนดวงจันทร์ของยาน “ลูน่าคอด (Lunakhod)” และสามารถส่งตัวอย่างดินกลับมายังโลก เป็นความสำเร็จของทีมวิจัยของเคลดิช นั้นเป็นครั้งแรกที่ได้เห็นภาพถ่ายผิวของดาวที่ใกล้โลกมากที่สุด รวมถึงความสำเร็จในการถ่ายภาพผิวดาวศุกร์ จากการส่งยานวีนัส 9,10 ด้วย ในปี 70s  ศาสตร์จารย์เคลดิช ในฐานะผู้อำนวยการของ RAS (Academy of Sciences) นานกว่า 10 ปี ได้พยายามของเงินทุนจากรัฐบาลในการสร้างคอมพิวเตอร์และเครื่องยนต์อัตโนมัติ ซึ่งเขาตระหนักว่าไม่สามารถพัฒนาประเทศได้หากขาดเทคโนโลยีใหม่ๆ โบโรวิน เสริม เคลดิช ช่วยพัฒนาแคลคูลัสให้ก้าวหน้าขึ้น เขาเป็นผู้นำ RAS นานกว่า 14 ปี ตอนนั้นงานวิจัยกว้างขวางในหลายสาขาตั้งแต่เรื่องยีน จุลชีฟ ก็ได้รับแรงสนับสนุนจากเขา เขาเป็นแรกที่แนะนำความเป็นไปได้ในการนำเลเซอร์มาใช้ประโยชน์กับมนุษย์ และหากจะกล่าวถึงความดีความชอบของ มิลติซสลาฟ เคลดิช แล้วไม่สามารถบรรยายได้หมด

Don`t copy text!