Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Pushkin


อเล็กซานเดอร์ เซอร์เกเยวิช พุชกิ้น (Александр Сергеевич Пушки, Aleksandr Sergeyevich Pushkin)
พุชกิ้น เกิดเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 1799 (วันที่ 26 พฤษภาคม  ตามปฏิทินเก่า) ในนครมอสโคว์ เป็นครอบครัวของข้าราชการที่มีฐานะยากจน มีประวัติความเป็นมาของตระกูลทีี่เก่าแก่ พุชกินภูมิใจที่ครอบครัวเขารับใช้แผ่นดินมาอย่างยาวนานอย่างซื่อสัตย์ บรรบุรุษฝ่ายมารดาคนหนึ่งชื่อ Abram Petrovich Hannibal เป็นทาสชาวแอฟริกันที่รับใช้พระเจ้าซาร์ปีเตอร์ ที่ 1 ได้รับความดีความชอบคนกลายเป็นนายพลและวิศวะกรประจำกองทัพ

พ่อของพุชกิ้น Sergei L. Pushkin (1767-1848)

แม่ของพุชกิ้น  นาเดชด้า ออสสิโปฟว่า (Надежда Осиповна  Ганнибала , Nadehda Ossipovna Hannibal (1775-1836 )  นาเดชด้า มีอีกชื่อหนึ่งคือโฮฟ ( Hope Levinton) เป็นหลานสาวของอับบราม ฮันนิบาล

1811 พุชกิ้น เข้าเรียนที่ไลเซียม ( Lyceum) โรงเรียนสำหรับคนที่มีชื่อเสียง เป็นโรงเรียนชั้นนำในยุคนั้น ตั้งอยู่ชานเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ในเขตเมืองซาร์สโกเย เซโร่ (Tsarskoye Selo) ผลงานของพุชกิ้นที่ปรากฏต่อสาธารณะชิ้นแรก ลงในวารสาร The Messenger of Europe ในปี 1814 และ บทกวี “Recollections about Tsarskoe Selo” ในปี 1815 ส่งให้เขามีชื่อเสียง

1817 เขาจบการศึกษาจากไลเซียม และเข้าทำงานที่ Collegium of Foreign Affairs ในเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก

ปี 1817-1820 มีผลงานบทกวีที่เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติ อย่าง 

  • Ode to Liberty
  • The Village

และบทกวีอีกหลายเรื่อง ซึ่งพูดถึงพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ ที่ 1 และเจ้านายของพุชกินอย่างรัฐมนตรี อรากชีฟ (Arahcheev) โดยเฉพาะ Ode to Liberty ทำให้พระเจ้าซาร์พิโรธมาก และสั่งห้ามพุชกิ้นไม่ให้อาศัยอยู่ในเซนต์ปีเตอร์เบิร์กเป็นเวลา 6 ปี

6 พฤษภาคม 1820 เขาออกเดินทางไปยังอีแคเทอริโนสลอฟ ( Ekaterinoslov) จากนั้นเดินทางต่อไปยังีคอเคซัสและต่อไปยังไครเมีย จนกระทั้งไปสิ้นสุดที่คิซินัว ( Chisinau) ในประเทศมอลโดวา ปัจจุบัน เขาอาศัยอยู่ที่คิซินัว เป็นเวลากว่า 3 ปี ตอนอาศัยอยู่ในคิซินัว นี้ พุชกินได้กลายเป็นสมาชิกของกลุ่มฟรีเมสัน (Freemason) และสมาชิกของกลุ่มฟิลิกิ อีเตเรีย (Filiki Etaria) กลุ่มอิเตเรีย นี้เป็นองค์กรลับที่มีเป้าหมายในการโค่นการปกครองของออตโตมัน เหนือประเทศกรีซ และต้องการเรียกร้องเอกราชให้กรีซ ในคิซินัวนี้ พุชกินมีผลงานกวีแนวโรแมนติกออกมาสามเรื่อง

  • The Captive of the Caucause (1820-1821)
  • The Bandit Brothers (1821-1822)
  • The Fountain of Bakhchisaray (1821-1823)

ในปี 1823 เขาได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อน ทำให้เริ่มออกเดินทางครั้งใหม่ในเดือนกรกฏาคม ไปยังยังโอเดสสา (Odessa) ในยูเครน ในโอเดสส่านี้เขาเขียน The Fountain of Bakhchisaray เสร็จ และเริ่มงานเขียนเรื่องใหม่ The Gypsiesและเริ่มเขียนบทแรกของยูจีน โอเนกิ้น Eugene Onegin (Евгений Онегин) เรื่องหลังนี้เป็นเล่มหนึ่งที่ได้รับความนิยมสูงที่สุด เกี่ยวกับชายคนหนึ่งที่ผิดหวังเพราะหญิงคนรักต้องแต่งงานกับชายอื่น แต่ก็พยายามเขียนจดหมายไปหาเพื่อสานความสัมพันธ์ในอดีต แต่หญิงสาวไม่เคยตอบกลับมา

1825 มีการเปลี่ยนซาร์องค์ใหม่ , พระเจ้าซาร์พระองค์ใหม่ ซาร์นิโคลัส ที่ 1 แต่ไม่นานก็เกิดการก่อกบฏของพวกดีเซมบริส์ท (Decembrist Uprising) ในวันที่  14 ธันวาคม 1825 เป็นพวกขุนนางและนายทหารระดับสูงที่ต้องการล้มซาร์นิิโคลัส และมอบตำแหน่งให้กับน้องชายของซาร์เอง ชื่อ คอนสแตนติน (Konstantin) พุชกิ้นอาศัยอยู่ในบ้านที่ได้รับจากแม่ของเขาในมิคาอิลอฟสโกเย (Mikhailovskoye) ไม่ได้เข้าร่วมกับกลุ่มดีเซมบริส์ท แต่ว่าหลายคนในกลุ่มเป็นเพื่อนของเขาสมัยที่เรียนที่ไลเซียม ความพยายามปฏิวัติของดีเซมบริส์ทล้มเหลว

1826 พุชกิ้นเขียนจดหมายถึงพระเจ้าซาร์นิโคลัส ขอให้ยกเลิกการเนรเทศเขา ซึ่งซาร์นิโคลัส ที่ 1 ทรงอนุญาต แต่ทว่าไม่ได้ไว้วางใจพุชกิ้น เพราะเข้าสนิทกับพวกปฏิวัติหลายคน ทำให้พระองค์สั้งให้มีการเซนเซอร์ผลงานของพุชกิ้น นอกจากนั้นพุชกิ้นยังไม่สามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้อย่างอิสระ หากไม่ได้รับอนุญาต ตอนนี้เขาเขียน Boris Godunov เสร็จแล้วแต่ว่ามันไม่ได้ถูกตีพิมพ์

1829 พุชกิ้นพบรักกับนาตาลย่า กอนชาโรว่า (Natalya Nikolaevna Goncharova) เขาแต่งงานกับเธอในวันที่ 6 พฤษภาคม 1830  1831 , หนังสือเรื่อง Boris Godunov ตีพิมพ์จำหน่าย มันกล่าวถึงยุคที่รัสเซียปกครองด้วยซาห์บอริส โกดุนอฟ ระหว่าง 1598-1605

30 ธันวาคม 1833 ซาร์นิโคลัส ที่ 1 มอบตำแหน่งเจ้าหน้าที่ในศาลให้กับพุตกิ้น เป็นตำแหน่งที่ไม่สูง และเงินเดือนก็ไม่มาก เหมือนกับว่าเป็นการกลั่นแกล้งเขาด้วยซ้ำ แต่ว่าเขาไม่มีทางเลือกเมื่อมีภาระครอบครัวและลูกที่กำลังเล็กต้องเลี้ยงดู ทำให้พุชกิ้นอยู่อย่างลำบากพอสมควร โดยเฉพาะในปีถัดมาเมื่อน้องสาวของเขาสองคนที่ยังไม่ได้แต่งงานได้ย้ายมากอยู่ด้วย

1836 พุชกิ้น กู้ยืมเงินมาจำนวนหนึ่งเพื่อทำนิตยสารรายไตรมาส ชื่อ  The Contemporary  แต่ว่านิตยสารไม่ประสบความสำเร็จทางการเงินเท่าไหร่นัก แต่ในปีนี้เขาก็สามารถเขียนนวนิยาย The Captain’s Daughter ได้สมบูรณ์ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการลุกฮือประท้วงของชาวนาช่วงปี 1773

พุชกิ้น กับ  นาตาลย่า มีลูกด้วยกัน 4 คน คือ มาเรียน (Maria, เกิด 1832) อเล็กซานเดอร์ (Alexander , เกิด 1883) กรีกอรี่ (Grigory , เกิด 1835) และ นาตาเลีย (Natalia Alexandrovna Pushkina  , เกิด 1836) ลูกสาวคนสุดท้องของพุชกิ้นนี้ภายหลังได้แต่งงานกับเจ้าชายนิโคลัส ราชวงศ์จากเนเธอแลนด์ (Prince Nikolas Wilhelm of Nassau) 

ฤดูใบไม้ผลิ 1836 โฮฟ เลฟวิงตัน มารดาของพุชกิ้นเสียชีวิต

การเสียชีวิตของพุชกิ้น ภรรยาของพุชกิ้นเป็นคนสวย แม้ว่าจะแต่งงานไปแล้วก็ยังมีหนุ่มมาติดพัน โดยเฉพาะในปี 1934 นาตาลย่าได้พบกับชาวฝรั่งเศสรูปหล่อคนหนึ่ง ชื่อจอร์เจส ดิแอนเธส ( Georges d’Anthes) ซึ่งทำงานรับใช้พระเจ้าซาร์แห่งรัสเซียหนุ่มฝรั่งเศสตามตื้อนาตาลย่าอย่างเปิดเผย และเป็นเรื่องที่อื้อฉาว จนพุชกิ้นไม่พอใจ

แต่ว่าในปี 1937 จอร์เจส ดิแอนเธส กลับไปแต่งงานกับน้องสาวของนาตาลย่า ที่ชื่ออีแคทเธอริน่า (Ekaterina Goncharova) ในวันที่ 10 มกราคม 1837 แทน พุชกิ้นไม่ยอมไปร่วมงานแต่งงานครั้งนี้  แต่ว่าแม้ว่าจะแต่งงานไปแล้ว ดิแอนเธส กลับไม่ได้เลิกยุ่งเกียวกับนาตาลย่า จนกระทั้งวันที่ 27 มกราคม 1837 ดิแอนเธส และพุชกิ้น ทะเลาะกันรุนแรง ดิแอนเธส เป็นฝ่ายที่ใช้ปืนยิงใส่พุชกิ้นก่อน จนเขาได้รับบาดเจ็บ และเสียชีวิตลงในอีกสองวันถัดมา 29 มกราคม 1837

ความจริงแล้ว ร่างของพุชกิ้นถูกนำตัวออกจากเมืองหลวงในคืนวันที่เสียชีวิต และนำไปเผาข้างหลุมศพของแม่เขา ในรุ่งเช้าของวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ที่ Svyatye Gory Monsatery แต่ทางการกลัวว่าจะเกิดปัญหาความวุ่นวาย และการประท้วง หากประชาชนจำนวนมากมาไว้อาลัยเขา ทำให้ทางการต้องประกาศข่าวลวงว่าจะนำร่างพุชกิ้นไปประกอบพิธีที่วิหารเซนต์ไอแซคในเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก และอนุญาตให้เฉพาะครอบครัวและญาติร่วมพิธีเท่านั้น


 

Don`t copy text!