Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Anton Chekhov

แอนตัน  ปาฟโลวิช เชคอฟ   (Антон Павлович Чехов)นักเขียนเรื่องสั้น วรรณกรรม และบทละครเวที ตลอดชีิวิตเขามีผลงานเขียนกว่า 900 เรื่อง และยังเป็นแพทย์ผู้ใจบุญผู้

เขาเกิดวันที่ 17 มกราคม 1860 เป็นลูกคนที่สามจากพี่น้องหกคน เกิดใน ตากานร๊อก (Taganrog) เมืองตากอากาศที่มีชื่อเสียง ชายฝั่งทะเลอาซอฟ (Azov sea) ทางตอนใต้ของรัสเซีย ในเขตเยคาเธอริโนสลาฟ (Ekaterinoslav ปัจจุบันเป็น Rostov region) ปาเวล เชคอฟ (Pavel Chekhov) บิดาเป็นเจ้าของร้านขายของชำ  พ่อของปาเวล ปู่ของเชคอฟ เป็นอดีตทาสติดที่ดิน ที่ทำงานหนักจนสามารถมีเงินมาไถ่ตนเองให้พ้นจากความเป็นทาสได้ในปี 1841 ซึ่งเป็นเวลานานหลายสิบปี ก่อนที่จะมีการประกาศเลิกทาสในรัสเซียปี 1861เยฟกินีย่า (Yevgeniya) แม่ของเชคอฟ เป็นแม่บ้าน เธอมักเล่านิทานให้ลูกๆ ฟัง โดยแต่งเรื่องตัวเธอเองที่เดินทางไปกับตาของเด็กๆ ที่เป็นช่างทำเสื้อไปยังเมืองต่างๆวัยเด็กเชคอฟ ชอบที่จะเข้าร่วมกิจกรรมกับโบสถ์มากกว่า เขาชอบร้องเพลงประสานเสียงและกิจกรรมสังคม โรงเรียนแห่งแรกที่เขาเข้าเรียนเป็นโรงเรียนกรีกในตากานร๊อก เขาไปโรงเรียนตั้งแต่อายุได้ 8 ขวบและเรียนที่นี้เป็นเวลาสองปี จากนั้นก็ไปต่อที่โรงเรียนประถมตานกานร๊อก (ปัจจุบันชื่อ โรงเรียนหมายเลข 2 แอนตัน เชคอฟ) จนจบเกรดแปด จากนั้นก็ไปต่อโรงเรียนมัธยมในเมืองเดียวกันนี้อาจารย์คนหนึ่งที่สอนเชคอฟตอนมัธยมคือ ดีเซอร์ชินสกี (E.I. Dzerzhinsky) ครูสอนคณิตศาสตร์ผู้กลายเป็นหัวหน้าของหน่วยงานเชก้า

1876 พ่อของเชคอฟมีปัญหาหนี้สินเนื่องจากกู้เงินมาสร้างบ้านมากเกินไป เขาถูกประกาศเป็นบุคคลล้มละลาย เขาจึงตัดสินใจหนีโทษจำคุกไปยังมอสโคว์ ซึ่งลูกชายคนโตสองคนแรกของเขาเรียนอยู่ ส่วนเชคอฟยังคงต้องอยู่ที่เซนต์ปีเตอร์เบิร์กเพื่อเรียนหนังสือให้จบ ฐานะในตอนนัั้นพวกเขาอยู่กันอย่าง่าลำบาก เชคอฟต้องเอาสมบัติในบ้านไปขายเพื่อส่งไปให้พ่อที่มอสโคว์ ในขณะที่เขาทำงานหลายอย่างเพื่อส่งเสียตัวเองเรียนหนังสือ ทั้งเป็นครูสอนตามบ้านและขายหนังสือพิมพ์  เขามีผลงานเขียนเรื่องแรก Fatherless (Безотцовщина) ตอนอายุ 18 ปี และยังเรื่องสั้นอีกหลายเรื่องเขียนออกมาในช่วงที่เรียนมัธยมอยู่ ซึ่งทำให้โรงเรียนมอบรางวัลให้กับเขาจากผลงานเขียนด้วย

1879 เมื่อเขาเรียนจบไฮสคูล ก็ย้ายไปยังมอสโคว์ เชคอฟจึงได้เข้าเรียนต่อทางแพทย์ศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยมอสโคว์ พี่ชายของเชคอฟ ชื่ออิวาน (Ivan) ในปีนี้เขาได้เป็นครูสอนอยู่ในเมืองโวส์กเรเซนส์ก (Voskresensk) ซึ่ีงอยู่ใกล้ๆ มอสโคว์ และได้อพาร์ตเมนท์กว้างสำหรับครอบครัวทั้งหมด ระหว่างเรียนเขามักจะร่วมทีมแพทย์ไปออกค่ายในที่ต่างๆ เพื่อรักษาผุ้ป่วย โดยเฉพาะช่วงที่มีโรคระบาด ระหว่างกำลังศึกษาการแพทย์ เชคอฟ ได้รู้จักกับ ดร. พี. อาร์ชแองเจ้ิล (Dr. P Archangel) หัวหน้าโรงพยาบาลชิกินสกอย (Chikinskoy Hospital) ทำให้หลังจากเรียนจบแล้ว เชคอฟ จึงเข้าทำงานเป็นแพทย์ที่โรงพยาบาลนี้ ดร. พี. อาร์ชแองเจ้ิล เล่าถึงเชคอฟเอาไว้ว่า “เขาเป็นคนที่ทำงานได้เชื่องช้า บางครั้งก็คาดเดาไม่ได้ว่าเขาจะทำอะร แต่ว่าเขาจะทำอะไรด้วยความตั้งใจเสมอ โดยเฉพาะเวลาที่ต้องรักษาผู้ป่วย

1880 ตอนเป็นนักศึกษาปีแรก เขาเริ่มเขียนเรื่องสั้นลงในแม็กกาซีน เพื่อหารายได้ โดยลงในแม๊กกาซีน  สเตรโกซ่า (Стрекоза) เป็นเล่มแรก หลังจากนั้นก็เขียนลงในหนังสือเล่มอื่นอย่าง เช่น ออสโกกิ (Осколки,Oskolki) ที่เจ้าของคือ นิโคไล เลียกิ้น (Nikolai Leikin) เป็นหนังสือที่มีชื่อเสียงในเลานั้น 1882 เขามีผลงานหนังสือรวมเรื่องสั้นที่เขาเขียนเป็นเล่มแรก ชื่อว่า ชาโลสต์(Шалость) แปลว่าการล้อเล่น แต่ว่ามันไม่เคยได้พิมพ์จำหน่ายเพราะระบบการเซ้นเซอร์ที่เข้มงวด

1884 เขาเรียนจบ ได้เป็นหมอ เขาตั้งใจตั้งแต่เรียนแล้วว่าจะทำงานช่วยเหลือผู้ป่วยและคนยากจน เขาแบ่งเงินรายได้ส่วนหนึ่งออกมาสำหรับให้การรักษาคนป่วยฟรี ในปีนี้เขามีหนังสือรวมเล่มเรื่องที่เขาเขียนออกมาก ชื่อ สกาซกี เมลโปเมน (Сказки Мельпомены,  Tales of Melpomene)

ระหว่าง 1884-1885 เอาเริ่มมีอาการป่วยด้วยโรควัณโรค มีการไอเป็นเลือด แต่ว่าไม่กล้าที่จะบอกให้ครอบครัวทราบ  เชคอฟทำงานเขียนเรื่องสั้นมากมายในช่วงนี้ เขาเล่าว่าเขาเขียนเรื่องสั้นวันละเรื่องเลยที่เดียว จนกระทั้งได้รับจดหมายจาก วลาดิมีร์ กริโกโรวิช (D. Vladimir Grigorovich) นักเขียนที่มีชื่อเสียงของรัสเซีย เขียนมาต่อว่าเชคอฟที่เสียเวลากับการเขียนเรื่องสั้นเล่นๆ เขาบอกว่าผลงานที่ดีเพียงชิ้นเดียว ก็เหนือกว่าผลงานมากมายร้อยเรื่องที่ได้ลงแค่ในหนังสือพิมพ์ เชคอฟรับฟังคำแนะนำ และเขาก็เริ่มเขียนเรื่องยาว ซีเรียส และยกเลิกงานกับหนังสือพิมพ์บางฉบับ

1886 เจ้าของหนังสือพิมพ์ในเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก โนโวเย่ วเรมย่า (Novoye Vremya) ชื่ออเล็กซี่ ซุโวริน (Alexey Suvorin) ชวนเชคอฟให้เขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ของเขา

1887 ในปีนี้อาการป่วยด้วยวัณโรคของเขารุนแรงขึ้น ผลจากการเดินทางไปสำรวจซาคารินในตะวันออกไกล ทำให้แพทย์แนะนำให้เขาเดินทางไปพักผ่อน เขาเลือกเดินทางไปท่องเที่ยวดินแดนของโกโกล ทางตอนใต้ ที่ไครเมียและคอเคซัส ความประทับใจในทุ่งหญ้าสเตปป์ที่สวยงามทำให้เขาเขียนนวนิยายเรื่อง สเตปป์ Steppe (Степи) มันถูกพิมพ์ลงใน Northern Herald (Северный вестник) 1890 เชคอฟ เดินทางไปไซบีเรียและซาคาริน(Sakhalin) โดยเขาปิดมันไว้เป็นความลับ การเดินทางกินเวลาหลายเดือน เขาไปถึงซาคาริน วันที่ 11 กรกฏาคม และเขาเดินทางกลับในช่วงฤดูหนาว ผ่านทางมหาสมุทรอินเดีย และที่ศรีลังกา และผ่านคลองสุเอช ตอน 7 ธันวาคม ก็มาถึงเมืองตุล่า (Tula) หลังจากนั้นเขาเขียนเรื่องการเดินทางเอาไว้เป็น 9 ตอน และรวมกันในชื่อ From Siberia (Из Сибири) และอีก 5 ปีต่อมาก็เขียนหนังสือเรื่อง เกาะซาคาริน ออกมา (Остров Сахалин) มันเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นถัดมา ทั้งนักผจญภัยและนักเขียน 

1897-1898 ช่วงฤดูหนาวเขาไปอยู่ทีฝรั่งเศส ที่กรุงปารีสและเมืองนิส จนกระทั้งเดือนพฤษภาคม 1898 เขาถึงเดินทางกลับมายังรัสเซีย และก็เดินทางต่อไปยังยาลต้า และไครเมียแทบจะทันันที่ ซึ่งเขาได้ซื้อที่ดินแปลงเล็กๆ เอาไว้

1898 เดือนตุลาคม พ่อของเชคอฟ เสียชีวิต เชคอฟจึงได้ขายบ้านที่ Melikhovo และย้ายไปอยู่ที่ยาลต้าอย่างถาวร พร้อมกับแม่และน้องสาว ที่ยาลต้าที่เขาทำกิจกรรมสังคมและสาธารณะกุศลหลายอย่าง่ ทั้งการได้รับเลือกให้เป็นคณะกรรมการในโรงเรียนของสตรี เขาบริจาคเงินเพื่อสร้างโรงเรียน ให้เงินทุนสร้างห้่องทดลองชีววิทยา และให้เงินแก่ผู้ป่วยที่ยากไร้

1900 เขาได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกกิตติมาศักดิ์ของ Academy of Science แต่่ว่าเขาลาออก ในปี 1902 เพราะเขาต้องการสนับสนุนกอร์กี แต่ว่ากอร์กีเองภายหลังก็ถูกไล่ออกจากตำแหน่งเพราะปัญหาทางด้านการเมือง , ฤดูใบไม้ผลิของปีนี้ การทัวร์การแสดงของคณะโรงภาพยนต์ศิลปะแห่งมอสโคว์ (The Moscow Art Theater) ได้เดินทางไปจัดแสดงที่ไครเมีย ซึ่งทั้งคณะได้ไปพักอยู่ที่บ้านของกอร์กี และในเดือนกรกฏาคม โอลก้า คนิปเปอร์ (Olga Knipper) ​ซึ่งเธอมักจะได้บทนำในบทละครที่เชคอฟเขียนเสมอ ก็เดินทางมาพักที่บ้านของเชคอฟด้วย พวกเขาเคยเจอกันมาก่อนหน้านี้ในปี 1898 ตอนที่โอลก้าเพิ่งจะเข้ามาทดสอบเป็นนักแสดงของคณะ

1900-1901 เชคอฟ เดินทางไปยังอิตาลี และฝรั่งเศส เพื่อหลบลมหนาวที่ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพของเขาอีกเช่นเคย และเมื่อเดินทางกลับมาในเดือนพฤษภาคม เขาก็แต่งงานกับโอลก้า ซึ่งทันที่หลังจากแต่งงานโอลก้าได้พาเชคอฟเดินทางไปที่เมืองยูฟ่า (Ufa) เพื่อรักษาโดยวีธี koumiss  แต่ว่าการรักษาไม่ได้ผลนัก โอลก้ายังทำงานเป็นนักแสดงให้กับคณะโรงภาพยนต์แห่งมอสโคว์อยู่ และตารางการทำงานเข้มงวด ทำให้เธอกับเชคอฟ ติดต่อกันทางจดหมายในช่วงที่ไมได้อยู่ด้วยกัน เชคอฟยังใช้เวลาส่วนใหญ่ที่ยาลต้า ซึ่งอากาศเมืองนี้ทำให้สุขภาพเขาทรงตัว

1899 Uncle Vanya  (Дядя Ваня)

1901 Three sisters (Три сестры)

1904 The Cherry Orchard (Вишнёвый сад) ถูกแสดงในละครเวที มันเป็นผลงานชิ้นสุดท้ายของเชคอฟ ปีนี้สุขภาพของเขาทรุดหนักลงและได้เดินทางไปยังบาเดนไวเลอร์ (Badenweiler) ในเยอรมัน พร้อมกับโอลก้า เหมือนจะรู้ตัวว่าเป็นช่วงเวลาสุดท้ายที่จะได้ใช้ชีวิตร่วมกัน จนกระทั้งเชคอฟ เสียชีวิตในวันที่ 2 กรกฏาคม 1904 ในโรงแรมในบาเดนไวเลอร์

โอลก้า เล่าว่าในคืนสุดท้ายนั้น เป็นครั้งแรกที่เชคอฟขอให้เรียกแพทย์มาหา แล้วเขาก็บอกให้เธอเอาแชมเปญมาเสริฟ เชคอฟ พูดกลับหมอเป็นภาษาเยอรมันว่า Ich sterbe แล้วก็หันมาบอกกับโอลก้าเป็นภาษารัสเซียว่า "ผมกำลังจะตาย ” เขาหยิบแก้วแชมเปญขึ้นดื่ม จนหมดแก้ว เขายิ้มออกมา แล้วก็บอกว่า “ไม่ได้ดื่มแชมเปญมาตั้งนานแล้ว…” จากนั้นเขาก็จากไป ร่างของเขาถูกนำกลับมายังมอสโคว์ในวันที่ 9 และถูกนำไปเผาใกล้กับสุสานของพ่อเขา ที่สุสานโนโเดวิชี (Novodevichy cemetery)




Don`t copy text!