Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Sergei Eisenstein

เซอร์เกย์ ไอเซนสไตน์ (Сургей Михайлович Эйзенштейн) 

Father of Montage
ไอเซนสไตน์ เกิดที่เมืองริก้า ในรัสเซียเมื่อ 23 มกราคม 1898 ปัจจุบันเป็นประเทศแลตเวีย    พ่อของเขาเป็นสถาปนิกที่มั่งคั่ง ชื่อ มิคาอิล (Mikhail Osipovich Eisenstein) ส่วนแม่ของเขาชื่อ จูเรีย โกเนตสกาย่า (Julia Ivanovna Konetskaya) เธอมาจากครอบครัวพ่อค้าที่ร่ำรวยเช่นกัน

1909  พ่อแม่ของเขาหย่าจากกัน ไอเซนสไตน์อยู่ในการดูแลของพ่อ  เขาเข้าเรียนมัธยมที่โรงเรียนมัธยมแห่งริก้า และหลังจากจบไฮสคูล เขาเรียนต่อที่สถาบันวิศวกรรมในเซนต์ปีเดิร์กเบิร์ก ตอนที่กรอกประวัติ เขาเขียนเข้าไว้ว่า “ผมไม่สามารถปิดเบื่อนความจริงที่ว่า พ่อไม่ใช่แรงงาน และแม่ก็ไม่ใช่กรรมชีพ” เขาเริ่มเรียนวิชาสถาปัตย์และวิศกรรมเหมือนบิดาของเขา ตอนการปฏิวิัต 1917 ไอเซนสไตน์ ทำงานเป็นวิศวกรให้กับกองทัพแดง ตอนนั้นครอบครัวเขาแตกแยกเพราะว่าพ่อของเขาสนับสนุนฝ่ายต่อต้านบอลเชิค ส่วนไอเซนสไตน์กลับสนับสนุนพวกปฏิวัติ 1918 เขาสมัครเป็นทหารอาสาในกองทัพแดง

1920 เขาย้ายไปอยู่ที่มอสโคว์ และเข้าทำงานที่ บ.ภาพยนต์โปรเลตคูลต์ (Proletkult) ของวเซโวลอด เมเยอร์โฮล์ด ( Vsevolod Meyerhold) ซึ่งไฮเซนสไตน์ ได้เรียนการกำกับภาพยนต์ในห้องเรียนของเมเยอร์โฮล์ด 

1923 ได้เขียนบทความลงในนิตยสาร LEF (Left Front of the Arts) ซึ่งเขาได้เขียนในแนวเชิงทฤษฏีของการสร้างหนัง และใน LEF นี้ได้ลงทฤษฏีเกี่ยวกับการตัดต่อภาพยนต์ที่มีชื่อเสียงของเขา The Montage of Attractions (Монтаж аттракционов)

1923 Дневник Глумова (Glumov’s Diary) เป็นหนังส้ั้นความยาวห้านาที แนวตลก ดันแปลงมาจากบทละครของ อเล็กซานเดอร์ ออสตรอฟสกี  (Aleksandr Ostrovsky)

1924 Стачка (Strike) เป็นภาพยนต์เรื่องยาวแบบเต็ม เรื่องแรกของไอเซนสไตน์ มันได้รับรางวัลจากการประกวดในปารีส หนังเรื่องนี้มุ่งโจมตีระบบซาร์

1925 Броненосец Потёмкин (The Battleship Potemkin) ภาพยนต์เรื่อง การต่อสู้ของโปเต็มกิ้น นี้ ประสบความสำเร็จอย่างสูงทั้งใหสหภาพโซเวียต และถูกนำไปฉายทั่วโลก

1927 Октябрь «Десять дней, которые потрясли мир» (October: Ten Days That Shook the World) ภาพยนต์เพื่อฉลองการครอบรอบ 10 ปี การปฏิวัติรัสเซีย ภาพยนต์เรื่องนี้โลกได้เห็นวลาดิมีร์ เลนิน บนม้วนฟิล์มภาพยนต์เป็นครั้งแรก

1929 Старое и новое «Генеральная линия» (The General Line aka “Old And New”) หนังเกี่ยวกับคามสุขภายใต้นโยบายเกษตรแบบฟาร์มรวม และยังสรรเสริญนโยบายของสตาลิน ในปีนี้ สหภาพโซเวียตอนุญาตให้ไอเซนสไตน์เดินทางไปต่างประเทศได้ เขาเดินทางาไปยังยุโรปและสหรัฐอเมริการ  ระหว่างที่อยู่ในปารีสเขาไปสอนที่ซอร์บอนน์ (Sorbonne) เป็นเวลาสั้นๆ ก่อนที่จะเดินทางไปยังฮอลลีวู๊ด เพื่อศึกษาภาพยนต์ที่มีเสียงในฟิล์ม

1930 Romance sentimentale (France)

เมษายน 1930, เขาทำสัญญากับพาราเมาท์ ฟิคเจอร์ (Paramount Pictures) ในการลิตภาพยนต์สำหรับฉายในสหรัฐ โดยสัญญามูลค่า 100,000 เหรียญ แต่ว่าไม่เคยมีผลงานออกมาเลย เนื่องจากความเป็นศิลปินของเขาที่ไม่เข้ากับธุรกิจของพาราเมาท์ ไอเซนสไตน์เสนอที่จะสร้างหนังชีวประวัติของ เซอร์ บาซิล ซาฮารอฟฟ์ (Sir Basil Zaharoff) , Arms and the Man ของ จอร์ด เบอร์นาร์ด ซอว์ (George Bernard Shaw) , และเรื่อง Sutter’s Gold ของแจ๊ก ลอนดอน (Jack London) แต่ว่าทางค่ายหนังไม่อนุมัติให้เขาผลิต พาราเมาท์เสนอให้เขาทำหนังเรื่อง An American Tragedy ซึ่งไอเซนสไตน์ ก็ชอบหนังสือเรื่องนี้มากและกระตือรือร้นที่จะทำ  แต่ว่าหลังจากเขียนสคริปต์เสร็จแล้ในเดือนตุลาคม ปรากฏว่า แฟรงก์ พีส (Frank Pease) ประธานสถาบันเทคนิคแห่งฮอลลีวู๊ค เกิดเป็นพวกต่อต้านคอมมิวนิสต์ เขารณรงค์ต่อต้านไอเซนสไตน์

ทำให้ 23 ตุลามคม 1930 ทั้งสองฝ่ายต้องเลิกสัญญาที่ทำต่อกัน เมื่อไอเซนสไตน์เดินทางกลับมายังโซเวียต เขาก็พบว่าในโซเวียตสามารถทำเสียงในฟิล์มได้แล้ว โดยไม่ต้องอาศัยเทคนิคที่เขาเรียนมาจากสหรัฐ

พฤศจิกายน  เขาเดินทางจากโซเวียตไปยังเม็กซิโก เขาได้รับเงินทุนสนับสนุนจากนักเขียนแนวสังคมนิยมที่มั่งคั่ง อัพตัน ซินแคร์ (Upton Sinclair) ในการผลิตภาพยนต์เกี่ยวกับเม็กซิโก โดยให้อิสระในการทำงานแต่ต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับประเด็นการเมือง เขาจึงเดินทางจากสหรัฐไปเม็กซิโก ในเดือนธันวาคมโดยทางรถไฟ พร้อมเพื่อนอีกสองคน คือ อเล็กซานดรอฟ (Alexandrov) และ ติสส์ (Tisse) และเริ่มการถ่ายทำ

1931 Да здравствует Мексика! (¡Qué viva México! released in 1979)  ทว่าหนังเรื่อง Que Viva Mexico นี้ยังไม่ทันจะตัดต่อเสร็จ สตาลิน ก็เรียกตัวไอเซนสไตน์ให้เดินทางกลับรัสเซีย เพราะเขาใช้เวลานานเกินไปในการอยู่ต่างประเทศ และขู่ว่าถ้าไม่กลับจะแบนเขาตลอดไป  อัพตัน ซินแคร์ เลยฉวยโอกาสนี้ ให้น้องของเขาเอาฟิล์มหนังไปตัดต่อในสหรัฐ มันกลายเป็นหนังสามเรื่องแทน คือ  Thunder Over Mexico, Death Day และ Time in the Sun 

ภาพยนต์ Que Viva Mexico นี้ได้รับอนุญาตให้ฉายในโซเวียตปี 1979 ผู้สร้างอย่างไอเซนสไตน์ ไม่เคยมีโอกาสได้ดู

เขาเดินทางกลับโซเวียต 

1934 เขาแต่งงานกับผู้ช่วยของเขา เพร่า อเตเชว่า (Pera Atasheva,Пера Моисеевна Фогельман)

1935 เริ่มการถ่ายทำภาพยนต์เรื่องБежин луг (Bezhin Meadow until 1937) แต่ว่าการถ่ายทำในต่างประเทศ ทำให้มีปัญหามากมาย ต้นทุนพุ่งสูงขึ้นและเขาได้รับอนุญาตให้ใช้เวลาแค่สองปีเท่านั้น และเมื่อส่งตัวอย่างให้คณะกรรมการตรวจสอบดูมันก็ถูกห้ามฉาย และถูกยึดเอาไป ฟิล์มได้รับความเสียหายอย่างมากจากการที่มอสโคว์ถูกทิ้งระเบิดในสงครามโลก

1938 หลังจากถูกห้ามถ่ายทำภาพยนต์อยู่ระยะหนึ่ง เขาได้เขียนจดหมายขออภัยโทษและตำหนิตัวเอง จนได้รับโอกาสให้สร้างภาพยนต์เรื่องใหม่ Александр Невский (Alexander Nevsky)  มันเป็นเรื่องที่กล่าวประณามนาซี มันเป็นเรื่องที่เจ้าตัวชอบมากที่สุดเรื่องหนึ่ง  และทำให้เขาได้รับรางวัล Order of Lenin ในปี 1939 และรางวัล Stalin Prize (1st degree) ในปี 1941 ซึ่งตอนนั้นเป็นรางวัลที่เพิ่งถูกตั้งขึ้น ในปี นี้เขายังได้รับปฏิญาเอกด้านศิลปะ (Doctor of Arts)

1941 เขาก่อตั้ง Mosfilm ขึ้นจากสตูดิโอภาพยนต์ของโซเวียต ในช่วงที่ตกอยู่ในภาวะสงครามเขาเขียนหนังสือทฤษฏีการทำหนังอีก ชื่อ “Film Form : Essay in Film Theory” เขาใช้เวลาอีกหกปี ถ่ายทำหนังเกี่ยวกับ อีวาน จอมโหด เป็นหนังไตรภาค มันกล่าวสรรเสิรญ ซาร์ อีวาน ว่าเป็นผู้นำที่ย่ิงใหญ่ ภาคแรกออกฉายในปี 1945 มันทำให้เขาได้รับรางวัล Stalin Prize (1st degree) แต่ภาคที่สองถูกห้ามฉาย จนมาฉายในยุคของครุสเชฟปี 1958 ภาคที่สามถูกยึดและหยุดถ่ายทำ ฟิล์มส่วนใหญ๋เสียหาย 1944 Иван Грозный 1-я серия (Ivan The Terrible, Part I)

1945 Иван Грозный 2-я серия (Ivan The Terrible, Part II)

1946 Иван Грозный 3-я серия (Ivan The Terrible, Part III)

ไอเซนสไตน์ เสียชีวิตในคืนของวันที่ 10-11 กุมภาพันธ์ 1948 จากอาการหัวใจล้มเหลว ระหว่างที่เขากำลังเขียนบทความเกี่ยวกับ ฟิล์มสี

Don`t copy text!