Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Vladimir Vysotsky

from ru.wikipedia.orgวลาดิมีร์ วีซอตสกี (Владимир Семёнович Высщцкийนักดนตรีคนสำคัญของโซเวียตคนหนึ่ง เขายังเป็นนักแต่งบทกวี นักแสดงละครเวทีและภาพยนต์ เขาเล่นกีต้าร์แบบ 7 สาย และร้องเพลงแนวแบบบาร์ด (бард) เหมือนดนตรีเพื่อชีวิต  ที่อุทิศให้กับความเป็นไปของยุคสมัย อาชญกรรม สงความ ธรรมชาติ และเหนืออื่นใดคือความจริง พ่อของเขาชื่อ เซเมียน วลาดิมีโรวิช (Semyon Vladimirovich,Семён Владимирович (Вольфович) Высоцкий) เป็นทหาร และเป็นคนยิวที่มาจากกรุงเคียฟ เป็นทหารผ่านการสู้รบในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แม่ชื่อ นิน่า แม็กซิมอฟน่า (Nina Maximovna,Максимовна)เป็นชาวรัสเซีย มีอาชีพเป็นนักแปลเชี่ยวชาญภาษาเยอรมัน เธอทำงานที่หน่วยงานแปลของรัฐ (Transcirpt bureau, Ministry of Geodesy and Cartography)ครอบครัวเขาอาศัยอพาร์ตเมนท์สวัสดิการในมอสโคว์ วีซอตสกีเกิดในวันที่ 25 มกราคม 1938 ที่โรงพยาบาล บนถนนเมสชานสกายา(Thrid Meschanskaya) เลขที่ 61/2 โดยชีวิตในอพาร์ตเมนท์ไม่ค่อยที่นัก เขาเขียนเอาไว้ภายหลังว่า ห้องน้ำเพียงห้องเดียวต้องแบ่งกันใช้กับห้องอื่นๆ อีก 38 ห้อง นิน่า มีอิทธิพลต่อลูกของเธอมาก นิน่าเป็นแฟนประจำของโรงภาพยนต์ สอนลูกของเธอร้องเพลง และเขียนกลอนตั้งแต่ตอนเล็กๆ
1943 ตอนสงครามโลก เริ่มขึ้น เซเมียนเข้าร่มเป็นทหารกองทัพโซเวียต ส่วนนิน่าพาวลาดิมีร์อพยพหนีไปอยู่ที่หมู่บ้าน โวรอนท์ซอฟก้า (Vorontsovka) ในเมืองโอเรนเบิร์ก (Orenburg Oblast)

1949 ครอบตรัวย้ายกลับมาที่มอสโคว์ วลาดิมีร์ขึ้นชั้นประถม 5 เขาเรียนที่โรงเรียน หมายเลข 186 และเรียนจบมัธยมจากที่นี่ในปี 

1955 จากน้ัันได้เข้าเรียนต่อที่แผนช่างกล ของสถาบันวิศวกรรมก่อสร้างแห่งมอสโคว์ (www.mgsu.ru)  แต่ว่าเขาก็ลาออกหลับจากจบเทอมแรก เขาใช้เวลาค่ำคืนของวันปีใหม่ 1955-1956 ในการตัดสินใจ เล่ากันว่า คืนนั้นเขานั่งอยู่กับเพื่อนจากชั้นเรียน คือ อิกอร์ โกชาโนวสกี (Igor Kochanowski) พวกเขากำลังนั่งฝึกเขียนแบบอยู่ เวลาผ่านไประยะหนึ่ง แล้วจู่ๆ วลาดิมีร์ก็ลุกขึ้น หยิบถ้วยกาแฟ เทราดลงไปที่กระดานวาดเขียน เขาบอกว่า “สิ่งที่เขาเตรียมตัวมาเป็นเวลากว่าครึ่งปี คือการได้เข้าไปยืนในโรงละคร และนี่ (เขียนแบบ) ไม่ใช่ตัวฉัน” (แต่เอกสารที่ยืนลาออกของเขาเขียนลงวันที่ 23 ธันวาคม)

1955-1960 เขาย้ายมาเข้าเรียนที่สถาบันศิลปะการแสดงแห่งมอสโคว์ (Moscow Art Theatre School) Nerirovich-Danchenko สตูดิโอ  ที่นี่เขาได้พบกับอิซอย ชูโกว่า (Izoy Zhukova) ซูโกว่า แก่กว่าวลาดิมีร์สองปี ทั้งคู่แยกทางกันหลังจากเรียนจบ (ในปี 1960) ,   ปี 1959 เขาได้ร่วมแสดงเวที่เรื่องแรก เรื่อง อาชกรรมและการลงโทษ วรรณกรรมคลาสิคของตอสโตเยฟสกี (Fyodor Dostoevsky, Crime and Punishment) และได้แสดงภาพยนต์ครั้งแรกเรื่อง Counterpart (Сверстницы) รับบทเป็นตัวละครชื่อปีเตอร์ เพลงแรกที่เขาแต่งออกมาสมบูรณ์คือ Tattoo (Татуировка) 

1961 วลาดิมีร์ได้พบรักกับภรรยาคนที่สองคือ เลียดมิลา อับราโมว่า (Lyudmila Abramova) ระหว่างการถ่ายทำภาพยนต์ พวกเขามีลูกดชายด้วยกันสองคน ชื่อ อาร์กาตี้ และนิกิต้า 

1963 ได้แสดงหนังเรื่อง Penalty Kick  ซึ่งเขายังได้ใช้โรงอัดภาพยนต์ในการบันทึกเทปเสียงของเขา แล้วมันก็ถูกเผยแพร่ออกไปในมอสโคว์อย่างรวดเร็วอย่างลับๆ โดยไม่ได้บอกศิลปินว่าเป็นใคร

1964 ได้เข้าเป็นสมาชิกของ Moscow Theatre of Crama and Comedy ที่ตากานก้า ( Taganka) เขาได้เริ่มเขียนเพลงประกอบภาพยนต์ครั้งแรก และได้แสดงละครเวทีเรื่อง แฮมเลต(Hamlet) และ ดอน จวน (Don Juan) เขายังได้แสดงในภาพยนต์อีกกว่า 26 เรื่อง เขาประสบความสำเร็จอย่างมากจากการเขียนเพลงประกอบภาพยนต์จนโด่งดัง เขาทำงานที่โรงถ่ายภาพยนต์แห่งนี้จนกระทั้งเสียชีวิต

1967  เขาพบกับนักแสดงชาวฝรั่งเศสมาริน่า วลาดิ (Marina Vlady) ซึ่งเธอกลายเป็นภรรยาคนที่สามของเขา เธอเคยแต่งงานมาก่อนหน้านี้แล้วและมีลูก 3 คน ความสัมพันธ์กับวลาดิมีร์เริ่มต้นทั้งที่เขายังไม่ได้เลิกกับภรรยาคนที่สอง มาริน่า เป็นนักแสดงที่มีชื่อเสียงอยู่แล้วในฝรั่งเศส นอกจากนั้นเธอยังเข้าเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งฝรั่งเศสด้วย ทำให้ได้รับวีซ่าในการเข้าออกโซเวียตได้ง่าย ทั้งคู่แต่งงานกันในเดือนธันวาคม 1970

1969 มาริน่า ภรรยาของวลาดิมีร์ พบเขานอนใกล้หมดสติอยู่ในห้องน้ำ วลาดิมีร์เรียกให้เธอช่วยตามรถพยาบาล ตอนแรกที่หมอและพยาบาลมาถึง คิดว่าเขาตายแล้ว และไม่อยากให้พาขึ้นรถพยาบาล จนมาริน่าต้องทั้งขอร้องและขู่ จนเมื่อพวกหมอเห็นว่าเป็นวลาดิมีร์จึงได้ยอมพาไปส่งที่โรงพยาบาล  แพทย์ใช้เวลาพยายามในการกู้ชีวิตเขากลับมานานกว่าสิบแปดชั่วโมง แล้วก็เหมือนปาฏิหารย์ที่เขารอดชีวิตมาได้

1970 เดินทางไปแสดงดนตรีกับนักดนตีชาวยิปซี มีชื่อเสียงอย่าง อเลชา ดิมิทรีเจวิช (Alesha Dinitrijevic) ในปารีส15 มิถุนายน 1971 สถานีโทรทัศน์ในเอสทัวเนีย ออกอากาศรายการโชว์ “The guy with the Taganka” เป็นครั้งแรกที่วลาดิมีร์ปรากฏตตัวในโทรทัศน์ของโซเวียต1875 เขาเขียนบทกวี ตีพิมพ์ออกมาเป็นเล่นสุดท้าย ชื่อหนังสือ From the travel diary (Из дорожного дневника)

1978 เคยได้ทำรายการโทรทัศน์ออกอากาศในสาธารณรัฐปกครองตัวเอง เชเชน- อินกูเชเทีย ในตอนนั้น
วลาดิมีร์เดินทางไปแสดงคอนเสริ์ตในหลายประเทศในช่วงนี้ ในยุโรปอย่างฮังการี บัลกาเรีย เยอรมัน โปแลนด์ และยังเคยไปจัดคอนเสิร์ตในสหรัฐ ตาฮิติ แคนาดา ในปี 1979 ตลอดชีวิตเขาแสดงคอนเสิร์ตมากกว่าหนึ่งพันครั้งทั้งในและนอกสหภาพโซเวียต

1980 วลาดิมีร์แสดงคอนเสริ์ตที่คาลินินกราด มอสโคว์ ในวันที่ 16 กรกฏาคม เป็นครั้งสุดท้าย และปรากฏตัวต่อสาธารณะในวันที่ 18 กรกฏคม ในโรงละครที่ตากานก้า แต่มาในวันที่ 25 กรกฏาคม 1980 ก็พบว่าเขานอนเสียชีวิตแล้วในอพาร์ตเม็นท์ในมอสโคว์ สาเหตุของการเสียชีวิตไม่แน่ชัด มีทั้งที่บอกว่าเขาใช้ยาเสพติดหลายตัว คนที่บอกว่าเขาไม่เคยใช้ยา และคนที่บอกว่าเขากินยานอนหลับมากเกินไปเขาเสียชิีวิตในช่วงที่มีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคในโซเวียต ตอนนั้นคนหลายพันคนออกจากสนามเพื่อมาไว้อาลัยเขาในพิธีฝั่งศพที่สุสานวากานกอฟสกายา (vagankovskaya cemetery) ในมอสโคว์

Don`t copy text!