Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Tanya Savicheva


ทาเทียน่า นีโกลาเยว่า ซาวิเชว่า (Татьяна Николаевна Савичева) 

  เธอถูกรู้จักในชื่อ ทันย่า ซาวิเชว่า , เด็กน้อยอายุ 14 ปี เจ้าของไดอารี ซึ่งถูกใช้ประกอบการพิจารณาคดีนูเร็มเบิร์ก 
1930 ทันย่า เกิดในวันที่  23 มกราคม 1930 เป็นลูกสาวคนสุดท้องของนิโคไล (Nikolay Rodionovich SAvichev) กับ มาริย่า (Mariya Ignatievna Savicheva)

1936 นิโคไล มีอาชีพเป็นคนทำขนมปัง แต่เขาเสียชีวิตตั้งแต่ทันย่า อายุได้เพียง 6 ขวบ เพราะโรคมะเร็งในวันที่ 5 มีนาคม ขณะมีอายุได้ 52 ปี ทำให้แม่ของเธอต้องเลี้ยงดูลูกที่เหลือ แม่มีอาชีพเป็นช่างเย็บผ้า ทันย่า มีพี่น้องรวม 5 คน คือ เชนย่า (Zhenya,1909) ลีโอนิค (Leonid,1917) นิน่า (Nina,1918) มิคาอิล (Mikhail,1921)
1941 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างที่นาซีบุกล้อมเมืองเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก พวกเขาติดอยู่ในอพาร์ตเมนท์หมายเลข 1  บนเกาะ Vasilevsky Island พร้อมกับย่าอีกหนึ่งคน ครอบครัวของพวกเขาทำงานให้กับรัฐในระหว่างที่เมืองถูกปิด

ลีโอนิค ไปทำงานในโรงงานของทหาร เซนย่า ต้องทำงานในโรงงานทำระเบิด ส่วนนิน่า ทำงานในการก่อสร้างแนวป้องกันเมือง

ในขณะที่ลุงของพวกเด็กๆ ซึ่งอาศัยในอีกห้องของอพาร์ตเมนท์เดียวกัน ชื่อ วาสย่า (Vasya) และ เลช่า (Lesha) ทำงานในหน่วยต่อต้านอากาศยาน

ขณะที่แทนย่า ซึ่งมีอายุเพียง 11 ปี ก้อต้องทำงานในการขุดร่อง และคอยดับไฟ ของระเบิดเพลิงที่ถูกทิ้งลงในเมือง

เซนย่า เธอเสียชีวิตที่โรงงาน เพราะทำงานหนัก และเธอต้องบริจาคเลือดเพื่อช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ เธอเป็นคนที่ไม่ได้ถูกเขียนถึงในไดอารีของทันย่า

มิคาอิล เขามีปัญหากับทางบ้านและออกจากบ้านไป เขาได้รับบาดเจ็บในสงครามแต่ว่ารอดชีวิตมาได้ แต่ไม่เคยติดต่อกับทันย่าอีก

นิน่า ครั้งสุดท้ายเธอได้รับคำสั่งให้ออกไปทำงานที่บริเวณทะเลสาบลาโดก้า (Lake Ladoga) ตอนนั้นมีคำสั่งให้อพยพฉุกเฉิน แล้วเธอก็ขาดการติดต่อไป ครอบครัวคิดว่าเธอน่าจะเสียชีวิตไปแล้ว แต่ว่านิน่าเธอยังมีชีวิตอยู่และเป็นผู้พบสมุดบันทึกของทันย่า ซึ่งเธอมอบมันให้กับนักข่าวของหนังสือพิมพ์ Komsomolskaya Chronicles ทำให้ไดอารีถูกนำไปใช้ในการพิพากษาคดีนูเรมเบิร์ก (Nuremberg Trials การพิพากษาคดีเหล่าผู้นำนาซีหลังนาซีแพ้สงคราม ใช้ชื่อตามเมืองนูเรมเบิร์กในเยอรมัน)

ไดอารีของทันย่า ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เลนินกราด ในเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ข้อความที่เธอเขียนไว้ในไดอารี่ เพียงสั้นๆ เธอเพิ่งเรียนจบเกรด 3 ในเดือนพฤษภาคมปีที่เกิดสงคราม

  • 1941 Zhenya died on Dec. 28th at 12:00 P.M. 
  • 1942 Grandma died on Jan. 25th 3:00 P.M.   
  • 1942 Leka died on March 5th at 5:00 A.M. 
  • 1942 Uncle Vasya died on Apr. 13th at 2:00 after midnight   
  • 1942 Uncle Lesha on May 10th at 4:00 P.M.   
  • 1942 Mother on May 13th at 7:30 A.M.   
  • 1942 Savichevs died.  
  • Everyone died. Tanya was left alone

สิงหาคม 1942  ทันย่าเป็นหนึ่งในเด็ก 140 คนที่ได้รับการช่วยเหลือให้ออกจากเลนินกราด มายังหมู่บ้านกราสนี่ บอร์ (Krasny Bor, ในนิชนี่ นอฟโกรอด) แต่ว่าทันย่าเสียชีวิตในเวลาต่อมา คุณครูที่ดูแลเด็กๆ อนาสตาเซีย (Anastasiya Karpova) เขียนจดหมายไปึงมิคาเอล พี่ชายของทันย่า ซึ่งอยู่ชานเมืองเลนินกราด ว่า “ทันย่ายังมีชีวิตอยู่ แต่เธอดูไม่ค่อยแข็งแรง หมอบอกว่าเธอป่วยมาก และต้องการพักผ่อน" 

1944 เดือนพฤษภาคม ทันยา ถูกส่งตัวไปยังโรงพยาบาลชัตกอฟสกี (Shakovsky hospital) และเธอเสียชีวิตในวันที่ 1 กรกฏาคม ด้วยอาการของโรควัณโรค
ทันย่า เป็นแค่เด็กน้อยคนหนึ่ง ในผู้เสียชีวิตเกือบหกแสนคน จากการที่นาซีเยอรมัน ล้อมเซนต์ปีเตอร์เบิร์กยาวนานกว่า 900 วัน เธอเขียนไดอารีก่อนแอน แฟรงก์ และเสียชีวิตก่อนแอน แฟรงก์ ไดอารีของเธอมีเพียงเก้าแผ่น มันไม่เคยถูกตีพิมพ์ออกมา

ปี 1971 นักดาราศาสตร์ของโซเวียต ตั้งชื่อดาวเคราะห์น้อยดวงหนึ่งที่ค้นพบว่า 2127 Tanya เพื่อระลึกถึงเธอ

Don`t copy text!