Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Alexander Parvus

อเล็กซานเดอร์ ลโววิช ปาร์วุส (Александр Львович Парвус, Alexander Lvovich Parvus )
สายลับเยอรมัน ผู้สนับสนุนการปฏิวัติรัสเซีย และพัฒนาแนวคิดมาร์ซ
ชื่อจริงของเขาคือ อิสราเอล เกลแฟนด์ (Израиль Лазаревич Гельфанд, Israel Lazarevich Gelfand) แต่ถูกจำในได้ชื่อสมมุติมากกว่า เขามีเชื้อสายยิว เกิดในวันที่ 8 กันยายน 1867 (ปฏิทินเก่า 27 สิงหาคม) ในเมืองเบราซิโน่ (Berazino) อยู่ในเบลารุสปัจจุบัน ครอบครัวเขาเป็นช่างซ่อมแซมบ้าน ต่อมาครอบครัวได้ย้ายมายังเมืองโอเดสสา (Odessa) ซึ่งเขาเข้าเรียนจนจบมัธยมที่เมืองนี้ ซึ่งมีโอกาสได้ซึมซับบรรยากาศแห่งความวุ่นวาย และกระแสการปฏิวัติ
1885 เดินทางไปยังสวิสเซอร์แลนด์เพื่อเรียนหนังสือ
1887 เข้าเรียนจากมหาวิทยาลัยเบเซิล (University of Basel) 
1891 จบปริญาเอกด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง ซึ่งตอนนั้นเขากลายเป็นผู้นิยมลัทธิมาร์ซ อย่างเปิดเผยแล้ว หลังจากเรียนจบแล้วเขาก็เดินทางกลับประเทศเยอรมัน และได้ร่วมกับพรรคสังคมประชาธิปไตย ( Social Democratic Party , SPD) ของโรซ่า ลักเซมเบิร์ก (Roxa Luxemburg) 
1893 เขาเขียนบทความลงใน Die Neue Zeit  (The New Times) ซึ่งเป็นแม็กกาซีนของพรรค SPD โดยใช้นามปากกาว่า “Parvus”   นอกจากนั้นยังมีผลงานเขียนพิมพ์ลงในหนังสือ  Vorwärts  (Forward) ด้วย ซึ่งเขาได้เขียนทฤษฏีเกี่ยวกับสังคมนิยม แรงงานออกมามากมายลงใน The New Times นี้ จนเกลแฟนด์เองได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำทฤษฏีสังคมนิยมของของพรรค SPD เลย
1895  ได้รับเกียรติให้ขึ้นปราศรัยในที่ประชุมสภาของพวกสังคมนิยมในเยอรมัน แม้ว่าตัวเขาเองนั้นไม่ได้เป็นสมาชิก , ตอนอยู่ในเยอรมันนี้ เขาต้องย้ายที่อยู่บ่อยๆ เนื่องจากถูกขับไล่จากเจ้าหน้าที่ โดยข้อหา “undesirable alien” เป็นชาวต่างชาติที่ไม่พึงปรารถนา โดยเคยถูกไล่ออกจากเมืองปรัสเซีย และแซคโซนี ซึ่งเขาไปทำงานให้กับหนังสือพิมพ์ของพรรค
1896 ในการประชุมสภานานาชาติของผู้นิยมสังคมนิยม (International Socialist Congress) ที่จัดขึ้นในลอนดอน ในเดือนกรกฏาค เกลแฟนด์ เป็นหนึ่งในผู้แทนจากฝ่ายรัสเซียที่ร่วมการประชุมครั้งนี้ … นอกจากนี้ในปีนี้ยังปรากฏว่าเขาใช้หลักฐานปลอมในการเดินทางเข้ารัสเซียด้วย เพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับภาวะอดอยากเพราะขาดแคลนอาหารครั้งใหญ่ในเวลานั้นเพื่อมาเขียนหนังสือ
1897 เป็นบรรณาธิการให้กับหนังสือพิมพ์ Saxon worker’s newspaper (Sächsische Arbeiter Zeitung)
ปีนี้เขามีผลงานเขียนที่สำคัญ ชื่อ World Market and The Agricultural Crisis (Мировой рынок и сельскохозяйственный кризис)  เขียนเป็นภาษาเยอรมัน ซึ่งในปี 1899 เลนิน ได้นำไปแปลเป็นภาษารัสเซีย และพิมพ์ลงในแม็กกาซีน Nachalo (Начало)
1900  อพาร์ตเมนต์ของเกลแฟนด์ ในมิวนิค นั้นมักถูกใช้เป็นสถานที่พบปะกันของพวกมาร์ซิส ทั้งแขกเยอรมันและรัสเซียต่างมาเยือนเป็นประจำ ซึ่งเลนินและทร็อตสกี ก็มาใช้ห้องสมุดของเขาในการทำงาน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เกลแฟนด์ นั้นช่วยกระตุ้นให้เลนิน พิมพ์ผลงานของเขาลงในหนังสือพิมพ์ Iskra ของพรรค RSDLP ซึ่งต่อมาทุกคนต่างก็ร่วมกันเขียนบทความลงในหนังสือพมิพ์นี้
1903 เมื่อเกิดการแตกแยกของพรรค RSDLP ในรัสเซียออกเป็นสองฝ่าย ของบอลเชวิค และเมนเชวิค นั้น เกลแฟนด์ให้การสนับสนุนฝ่ายของเมนเชวิค แต่ว่าในปีต่อมาเขาก็หันไปสนิทกับทร็อตสกีแทน เพราะว่าตอนนั้นทั้งคู่กำลังสนใจในทฤษฏี Permanent Revolution ซึ่งทฤษฏีนี้ถูกริเริ่มโดยมาร์ซ และเอนเกิ้ล แต่ว่าเลนิน ทร็อตสกี รวมถึง เกลแฟนด์ ก็ได้เครดิตในฐานะผู้สร้างและพัฒนาด้วย  แต่เกลแฟนด์ก็ยังพยายามที่จะทำให้ทั้งสองฝ่ายนั้นก็มาร่วมมือกัน เพราะว่าการแตกแยกของพรรคมีผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของแรงงานที่ต้องการการปฏิวัติ
ช่วงที่เกิดสงครามระหว่างรัสเซีย และญี่ปุ่น นั้น เกลแฟนด์ ตีพิมพ์ผลงานเรื่อง War and Revolution(Война и революция)  ของเขาอย่างต่อเนื่องลงใน Iskra ซึ่งเกลแฟนด์นั้นทำนายเอาไว้ล่วงหน้าว่ารัสเซียจะแพ้สงครามครั้งนี้และจะเกิดความวุ่นวายและการปฏิวัติตามมา ซึ่งเมื่อผลออกมาเป็นตาที่เขาคาดเอาไว้ ทำให้เขาได้รับการยอมรับมากในแวดวงเพื่อนๆ 
เกลแฟนด์ นั้นพยายามที่จะขอสัญชาติเยอรมันหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ ในขณะเดียวกันก็เคยขออพยพไปยังสหรัฐอเมริกาตามทร็อตสกี แต่ก็ไม่ได้ เพราะว่าเจ้าหน้าที่ทางการนั้นเห็นว่าผลงานของเขานั้นจัดว่าเป็นเครือข่ายของพวกที่ต้องการปฏิวัติ
1905 ตุลาคม เขาเดินทางไปยังเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก โดยใช้หนังสือเดินทางปลอมของออสเตรียฮังการี เขาเขียนบทความวิจารณ์เศรษฐกิจรัสเซียในขณะนั้นว่าอยู่ในสถานะที่ใกล้จะพังทลายเต็มที และกล่าวหารัฐบาลว่ามีการคอร์รัปชั่น ในชื่อ The Financial Manifesto(Финансового манифеста) ซึ่งแม้ว่าเศรษฐกิจไม่ได้พังลงจริงอย่างที่เขาอ้าง แต่บทความถูกใช้ในการกระพือให้เกิดการต่อต้านการบริหารของรัฐบาลขณะนั้นของนายกรัฐมนตรีวิตตี (Sergei Witte)
เกลแฟนต์ ร่วมกับทร็อตสกี ก่อตั้ง St.Peterburg Soviet of Workers’ Delgates  (Петербургского совета рабочих депутатов) หรือ โซเวียตแห่งเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ซึ่งเหมือนกับองค์กรที่ควบบริหารกิจกรรมประท้วงของแรงงาน หนังสือของทร็อตสกี อ้างว่า มีการประชุมกันครั้งแรกของโซเวียตนี้ ในคืนวันที่ 13 ตุลาคม ที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก (Technological Institute) มีผู้ร่วมประชุมไม่เกิน 40  คน
พวกเขาใช้หนังสือพิมพ์ ชื่อ Kopek (газету-копейку, Gazeta-Kopeika) ในการเผยแพร่อุดมการณ์ของพวกเขา ซึ่งมันได้รับความนิยมสูงมากในเวลาสั้นจากที่เคยพิมพ์ 3 หมื่นฉบับ ต้องเพิ่มเป็น 5 แสนฉบับ มากกว่าหนังสือพิมพ์ New Life ของบอลเชวิค เสียอีก แต่ว่าด้วยปัญหาด้านเทคนิคการพิมพ์ในตอนนั้น ทำให้พวกเขาต้องหยุดทำหนังสือพิมพ์นี้ และไปบริหารหนังสือ Nachalo แทน
3 ธันวาคม เกลแฟนด์ ถูกจับ และได้มีการตัดสินในช่วงฤดูใบไม้ผลิของปี 1906 ให้เนรเทศไปยังไซบีเรีย เขตตุรักคานส์ก (Turukhansk) เป็นเวลา 3 ปี แต่ว่าเขาสามารถหลบหนีมาได้ระหว่างที่กำลังถูกส่งตัวไป เขาหนีกลับมายังเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ก่อนที่จะกลับไปยังเยอรมัน
เมื่ออยู่ในเยอรมัน เขาได้ร่วมทำละครเวที เรื่อง The Lower Dehths ร่วมกับ กอร์กี (Maxim Gorky) , โรซ่า ลักเซมเบิร์ก และสมาชิกพรรค RSDLP คนอื่นๆ มันถูกจัดฉายในโรงภาพยนต์ของเยอรมันหลายแห่ง  ซึ่งรายได้ถูกแบ่งให้กับแต่ละคน โดยกอร์กีได้รับเงินตอบแทน 25% ในขณะที่เกลแฟนด์ นั้นเขาถูกตั้งข้อหาจากกอร์กีว่ายักยอกเงินรายได้จำนวน 1.3 แสนมาร์คไป กอร์กีขู่จะฟ้องเกลแฟนด์ในศาล แต่ว่าโรซ่า ได้ขอให้เรื่องนี้พูดคุยกันเป็นการภายในพรรค ต่อมาเกลแฟนด์ได้ยอมจ่ายเงินคืนให้กับกอร์กี แต่ว่าก็ทำให้ศรัทธาต่อตัวเขาพังลง และทำให้เขากดดันจนต้องเดินทางออกจากเยอรมัน
เขาเดินทางไปยังเวียนน่า ก่อนที่ต่อมาเกลแฟนด์ ได้เดินทางไปยังคอนสแตนติโนเปิ้ล ตุรกี ในช่วงต้นปี 1908 และได้เข้าร่วมกับกลุ่มยังเติร์ก (Young Turks) ซึ่งเขาได้อาศัยอยู่ในตุรกีนานกว่า 5 ปี โดยตั้งบริษัทค้าอาวุธ ซึ่งทำกำไรให้เขาได้อย่างงามในช่วงนี้ที่มีสงครามบอลข่าน (Balkan War)  ซึ่งเขาให้เงินจำนวนหนึ่งในการสนับสนุนกลุ่มยังเติร์ก และได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มทรีฟาชาส์ (Three Pashas) คือ ตาแลด ฟาซาส์ (Muhemed Talaat Pasha) รมต.มหาดไทย, อิสมาอิล เอ้นเวอร์ (Ismail Enver Pasha) รมต.กิจการสงคราม และ รมต.กองทัพเรือ อาเมต ดเจเมล (Ahmed Djemal Pasha) ซึ่งกลุ่มยังเติร์กก่อการปฏิวัติในตุรกีในปี  1908 และยังฆ่าล้างเผ่าพันธ์ชาวอาร์เมเนียนับล้านคน ระหว่าง 1915-1923
1912 ทำหนังสือพิมพ์ Turk Yurdu ออกมา โดยที่เขาเป็นบรรณาธิการ  , ในขณะที่บริษัทของเขายังคงจัดการอาหารและอาวุธให้กับกองทัพตุรกีในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 1 โดยบริษัทของเขาติดต่อใกล้ชิดกับ บริษัท Vickers Limited จากอังกฤษ ซึ่งทำให้มีข้อสงสัยว่าเกลแฟนด์ อาจจะทำงานเป็นสายลับให้กับอังกฤษด้วย 
เกลแฟนด์ นั้นยังใกล้ชิดกับทูตเยอรมันประจำตุรกี แฮน เฟรยเฮอร์ (Han Freiherr von Wangenheim) โดยเกลแฟนด์นั้นส่งแผนของเขาในการบั่นทอนรัสเซีย ผ่านทางทูตคนนี้ ให้กับเจ้าหน้าที่เยอรมัน เพื่อสนับสนุนการจัดการประท้วงในรัสเซียหลายครั้ง เพื่อให้รัฐบาลรัสเซียอ่อนแอลง
1915 แฮน เฟรยเฮอร์ ช่วยจัดการเรื่องการเดินทางให้กับเกลแฟนด์ ในการไปยังกรุงเบอร์ลิน เพื่ออธิบายแผนการของเขาในการสร้างการปฏิวัติในรัสเวียขึ้นมา โดยแผนการของเขา รู้จักกันในชื่อ Memorandum to Dr. Gelfand (Меморандум д-ра Гельфанда) ซึ่งเขาอธิบายสถานะการณ์ในรัสเซียว่า เมื่อเมนเชวิคและบอลเชวิคแตกออกจากกัน บอลเชวิคนั้นมีโอกาสมากที่จะเป็นฝ่ายริเร่ิมปฏิบัติการณ์ พร้อมลงมือปฏิบัติที่สุด แต่ถ้าขาดการสนับสนุนจากทุกๆ กลุ่มที่สนับสนุนสังคมนิยมแล้ว โอกาสที่บอลเชวิคจะประสบความสำเร็จก็หามีไม่ ดังนั้นรัฐบาลเยอรมันควรเข้าไปสนับสนุน  , เกลแฟนด์มาถึงอย่างเบอร์ลิน ในวันที่ 6 มีนาคม โดยเยอรมันและเกลแฟนด์ ให้การสนับสนุนบอลเชวิค และยังให้เงินทุนสนับสนุนกลุ่มชาติพันธ์ อีกหลายกลุ่มในรัสเซียให้พยายามแยกตัวออกจากรัสเซีย ในเดือนพฤษภาคม เขาได้มีโอกาสพบกับเลนิน อีกครั้งในกรุงเบิร์น ซึ่งก็มีคนตั้งข้อสงสัยว่าเกลแฟนด์อาจจะให้เงินทุนสนับสนุนแก่เลนินด้วย ตั้งแต่ที่เขาอยู่ในสวิสเซอร์แลนด์ แต่เลนินก็ปฏิเสธข้อครหาดังกล่าว โดยเลนินนั้นระมัดระวังในการปรากฏตัวข้างเกลแฟนด์ในที่สาธารณะเสมอ แม่ว่าในรัสเซีย มีกลุ่มหัวรุนแรงมากมายเช่นเลนิน ที่ขอรับเงินจากเยอรมัน,  และนี่อาจจะเป็นครั้งสุดท้าย ถ้าไม่รวมข่าวที่ว่าเขาพบกันอีกในปี 1917 ตอนที่เลนินมายังสต็อกโฮม
มีนาคม เลนินเดินทางกลับไปยังรัสเซีย ด้วยขบวนรถไฟพิเศษ (Sealed Train) ที่หน่วยงานสายลับเยอรมันจัดไว้ให้ พร้อมคณะของเลนินอีก 30 คน
หลังการปฏิวัติในรัสเซียแล้ว เกลแฟนด์พยายามที่จะติดต่อกับเลนิน ทร็อตสกี และพรรคบอลเชวิค แต่จะถูกปฏิเสธเสมอ รวมถึงไม่ได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้ารัสเซียด้วย ชีวิตหลังจากนี้จึงแทบเหมือนถอนตัวออกจากการเมือง
เขามีภรรยาชื่อ ทาเทียน่า เกอร์เชฟน่า  (Татьяна (Тауба) Наумовна-Гершевна, Tatiana Naumovna-Gershevna(1868-1917)) ทั้งคู่หย่ากันในปี 1902 และมีลูกชายชื่อ เยฟกินี เกเนดิน (Евгений Александрович Гнедин,Evgeny Gnedin (1897-1983)) เยฟกีนี เกิดในเดรสเดน ก่อนที่ทาเทียน่าจะพาตัวกลับมายังรัสเซีย ต่อมาได้เป็นทำงานเป็นทูตโซเวียตในเบอร์ลิน ก่อนที่จะถูกสอบสวนใน Moscow Trial show และถูกจับขังคุกเป็นเวลากว่า 10 ปี 1939-1955 หลังจากนั้นก็ทำงานส่งเสริมด้านสิทธิมนุษยชนและงานเขียน จนเสียชีวิตในปี 1983
ลูกชายอีกหนึ่งของเกนแฟนด์ทำงานในสถานทูตโซเวียตในอิตาลี ก่อนที่จะหายตัวไปอย่างไร้ร่องลอย

1924 เกลแฟนด์ เสียชีวิตในกรุงเบอร์ลิน 12 ธันวาคม 1924 โดยที่เอกสารเกี่ยวกับตัวเขาหายไปรวมทั้งเงินในบัญชีด้วย
ผลงาน
• Coup and political mass strike (1895)
• The unions and social democratic workers’ newspaper publishing the Saxon, Dresden (1896)
• Where does the political victimization of social democracy? Publisher of Saxon workers’ newspaper, Dresden (1897)
• Marine claims, colonial policy and workers’ interests. Publishing the Saxon workers’ newspaper, Dresden (1898)
• Dr. C. Lehmann, Parvus: The starving RussiaTravel impressions, observations and investigations. Dietz, Stuttgart (1900)
• The commercial crisis and the trade unions.  Munich (1901)
• The colonial policies and the collapse of the capitalist system. Publishing the Leipsic printers-Aktiengesellschaft, Leipzig, (1907)
• In the Russian Bastille during the Revolution. Impressions, moods and reflections from Parvus. Kaden & Comp., Dresden (1907)
• The great lockout and the future of workers’ struggles in the kingdom. Kaden Dresden (1907)
• The class struggle of the proletariat  Berlin (1908-1910) แบ่งออกมาเป็นเล่มย่อยๆ ในชื่อ

• First The trade union struggle.
• Second The capitalist mode of production and the proletariat (1908). 
• Third Social democracy and parliamentarism (1909).
• 4th Socialism and the Social Revolution (1909). 
• 5th The workers and entrepreneurship (1910). 
• 6th The idea of the struggle against socialism (1910)
• Banks, government and industry Kaden, Socialist disputes, No. 2, Dresden 1910
• The state, industry and socialism. Kaden Dresden in 1910
• In the battle for Truth (1918)
 The social balance of the war, publisher of social science, Berlin (1918)
• The working-class socialism and world revolution. Letters to the German workers. Publishing for Social Science, Berlin (1918/19)

• I. The economic overthrow of capitalism. II, socialism and Bolshevism (1918)
• III. The development of the socialist economic system (1918)
• Fourth Letter. The Peace and Socialism (1919)
• Social Science Library. Publishing for Social Science, Berlin

• Volume 10: The State, Industry and Socialism (1919)
• Volume 11: The nationalization of banks and socialism. (1919). 
• Construction and reparation. Publishing for Social Science, Berlin (1921)
• The economic rescue publisher of social science, Berlin (1921)
Don`t copy text!