Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Amasia

ดร. รอส์ส มิทเชล์ล(Ross N. Mitchell) นักปฐพีวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเยล และคณะ ได้เสนอแบบจำลองการเกิดทวีปขนาดใหญ่บนโลกนี้ โดยอาศัยข้อมูลเกี่ยวกับสนามแม่เหล็กจากหินตัวอย่าง โดย ดร.รอส์ส ได้ตั้งชื่อทวีปใหม่ว่า เอมาเซีย (Amasia) ซึ่งเขาได้ทำนายว่าทวีปนี้จะเกิดขึ้นบริเวณขั่วโลกเหนือ โดยเกิดจากการชนกันของทวีปอเมริกา ยุโรปและเอเซีย ในอีก 50-200 ล้านปีข้างหน้า

การศึกษานี้ทำการวัดแร่ตัวอย่างว่ามันเรียงตัวกันอย่างไรเมื่อเทียบกับสนามแม่เหล็กของโลก โดยแร่ธาตุที่มีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็กได้นั้น จะสูญเสียความสามารถทางแม่เหล็กเมื่อถึงอุณภูมิระดับหนึ่ง ที่เรียกว่าเป็นอุณภูมิคูเรีย (Curie temperature) เช่น เหล็กจะเสียคุณสมบัติการเป็นแม่เหล็กที่อุณภูมิ 700 เซลเซียส  , โดยที่แร่ธาตุ หรือหินส่วนใหญ่นั้นเกิดขึ้นจากภาวะที่อุณภูมิสูงมากใต้พื้นโลก และเมื่ออุณภูมิลดต่ำลงจนต่ำกว่าระดับคูเรียแล้ว การเรียงตัวของแม่เหล็กในตัวมันก็จะหยุดนิ่งอยู่กับที่ นักวิทยาศาสตร์จึงสามารถศึกษาหินจากยุคต่างๆ กัน โดยที่แม่เหล็กจะเอียงตัวไปยังทิศของขั่วโลก ดังนั้นหากการเรียงตัวของแม่เหล็กต่างกัน นั้นก็บอกได้ว่าเป็นเพราะเปลือกโลกเคลื่อนไหว จนสามารถทำข้อมูลมาสร้างแบบจำลอง
ทฤษฏีใหม่นี้ ขัดแย้งกับแนวคิดแบบเดิม ที่คาดการณ์ว่า ทวีปเรียงตัวกันตามเส้นศูนย์สูตร อย่างทวีปแพนเจีย (Pangea) ประมาณ 300 ล้านปีก่อนแตกออกมาเป็นอเมริกาและเอเซีย ทฤษฏีเดิมจะคาดการณ์ว่าสองทวีปจะกลับมาชนกันในอีกด้านหนึ่งในที่สุด แต่ทฤษฏีใหม่นี้บอกว่าทวีปจะวิ่งไปชนกันในแนวของขั่วโลก
Don`t copy text!