Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Mikhail Speransky

มิคาอิล สเปรันสกี (Михаил Мизайлович Сперанский)

นักปฏิรูปที่ปรึกษาพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ ที่ 1, บางครั้งถูกเปรียบว่าเป็นบิดาแห่งพวกเสรีนิยมของรัสเซีย 

เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม 1772 ในหมู่บ้าน เชอร์กุติโน่ (Cherkutino) ในเขตวลาดิมีร์ พ่อของเขา มิคาอิล (Mikhail Tretyakov, 1739-1801) เป็นพระอยู่ในโบสถ์ ส่วนแม่ชื่อ ปราสโกเวีย (Praskovia Fedorova)   เป็นลูกสาวของผู้ดูแลโบสถ์ ครอบครัวมีฐานะที่ยากจน

มิคาอิลเป็นลูกคนโตในบรรดาพี่น้องสี่คน ซึ่งเป็นชายสองคนและผู้หญิงสองคน แต่ตัวเขาเองมีสุขภาพไม่แข็งแรงมาตั้งแต่เล็ก ทำให้ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการอ่านหนังสืออยู่กับบ้าน โดยที่สนิทกับปู่ของเขาที่ตาบอด ปู่มักพาเขาไปโบสถ์ด้วยทุกอาทิตย์
1790 จบการศึกษาจาก St. Vladimir  Seminary และด้วยการที่เป็นคนเรียนเก่งมีความสามารถ ทำให้เขาได้รับมอบชื่อ Speransky ซึ่งมาจากภาษาลาติน Spero ที่แปลว่า ความหวัง
1792 เริ่มทำงานเป็นครูสอนวิชาคณิตศาสตร์ที่ St. Vladimir Seminary นี้ ในเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก  ก่อนจะสอนด้านฟิสิกและปรัญชาด้วยในเวลาต่อมา นอกจากนั้นยังใช้เวลาส่วนตัวในการเขียนบทกวี วิเคราะห์ปัญหาทางด้านปรัชญา จนปี 1795 ก็ได้รับตำแหน่งครูใหญ่ของโรงเรียน เขามีผลงานบทกวี ตีพิมพ์ในนิตยสาร Muse (Муза) ในปี 1976 อย่างเช่นบทกลอนที่ชื่อ Spring ( Весна) และ To Friends (К дружбе)
1797 ลาออกจากโรงเรียนและเข้าทำงานในกระทรวงโยธา
1801 ไม่นานหลังจากพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ ที่ 1 ได้รับตำแหน่ง เขาก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นหนึ่งในที่ปรึกษาของพระองค์ 
Reflections of  Constitution  of the empire (Размышления о государственном устройстве империи)
Note by the arrangement of the judiciary and government institutions in Russia (Записка обустройстве судебных и правительственных учреждений в России)
The Spirit of the government  (О духе правительства)
1803 เขาได้รับคำขอร้องจากรัฐมนตรีมหาดไทยขณะนั้น Kuchubey ในการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยที่ร่างของเขาเสนอให้มีการแบ่งอำนาจออกเป็นสามฝ่าย คือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ โดยยังคงอยู่ภายใต้อำนาจของพระเจ้าซาร์ และให้เจ้าของที่ดินเป็นผู้ที่มีสิทธิออกเสียง แต่ว่าเขาเองยังไม่ได้เห็นความสำคัญของการเลิกทาสและให้สิทธิออกเสียงกับคนเหล่านั้น อย่างไรก็ตามพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ ที่ 1 ได้ทรงปฏฺิเสธร่างของเขา แต่ยอมรับในแนวคิดที่จะให้มีการตั้งสภา (State Council)
1808 พระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ ที่ 1 แต่งตั้งให้เขาเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีมหาดไทย และในการประชุม Congress of Erfurt พระเจ้าซาร์ได้พาเขาไปร่วมประชุมด้วย ทำให้สเปอรันสกี มีโอกาสพบกับนโปเลียน ซึ่งนโปเลียนได้ให้ความสนใจสอบถามเกี่ยวกับแผนการปฏิรูปของเขา นโบเลียนถึงกับยกย่องเขาว่าเป็นคนฉลาดคนเดียวที่เป็นผู้นำของรัสเซีย ซึ่งปี 1809 ถึง 1812 เป็นช่วงเวลาที่สเปรันสกี มีอิทธิพลสูงมากและใช้ความพยายามอย่างมากในการแก้ไขกฏหมายให้มีการแบ่งอำนาจ ในฐานะของที่ปรึกษาของพระเจ้าซาร์ 
1810 ได้มีการก่อตั้ง State Council (Council of Imperial russia) ขึ้นมาเป็นครั้งแรกในเดือนมกราคม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปโดยสเปอรันสกี  หน้าที่หลักของสภาคือการออกกฏหมาย ยกเลิกกฏหมาย และการสอบสวนทั่วๆไป  โดยที่สมาชิกเริ่มแรกมีจำนวน 35 คนที่มาจากการแต่งตั้งโดยพระเจ้าซาร์
1811 เมื่อนโปเลียนบุกรัสเซีย ทำให้สเปรันสกีถูกกล่าวหาว่าเป็นคนทรยศ ทำให้เขาถูกปลดออกจากตำแหน่ง และเนรเทศไปยังเมืองนิชนิ นอฟโกรอด (Nizhy Novgorod) ก่อนที่จะถูกส่งไปยังเปิร์ม (Perm) ซึ่งตัวเขาเองได้เขียนฏีกาไปยังพระเจ้าซาร์อย่างต่อเนื่องจนในปี 1816 เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ว่าการของเขตเพนซ่า (Penza)
1819 เข้ารับตำแหน่งผู้ว่าการของเขตไซบีเรีย ซึ่งความสามารถของเขาทำให้ไซบีเรียได้รับการพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างมาก
1821 เดินทางกลับมายังเซนต์ปีเตอร์เบิร์กเมืองหลวง , เป็นผู้ก่อตั้งคณะกรรมการกิจการไซบีเรีย (Siberian Committee for Russian Affairs)
1826 ได้รับแต่งตั้งจากซาร์นิโคลัสที่ 1 ให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการด้านกฏหมาย ซึ่งคณะกรรมชุดนี้ภายใต้การนำของเขาสามารถตรากฏหมายได้กว่า 35,993 มาตรา และยังได้ตำรงตำแหน่งในกรรมการด้านต่างๆ หลายคณะ
1839 เขาเสียชีวิตในเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ในวันที่  23 กุมภาพันธ์ 1839  เขาได้รับแต่งตั้งให้มียศเป็น เคานต์ (Count) หลังเสียชีวิตไปแล้ว แต่ก็ทำให้ลูกสาวของเขาได้รับยศนี้ติดตัวไปด้วย  , สุสานของเขาอยู่ที่ Tikhvinskoe Cemetery , Alexander Nevsky Monastery
1942 แม็กกาซีน Moscovityany (Московитянин) ได้ตีพิมพ์ผลงานเขียนอมตะของสเปรันสกีถูกพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือชื่อ Rules of the higest eloguqence (Правила высшего красноречия) 
Don`t copy text!