Babes in the Wood , Randolph Caldecott,1870 , www.gutenburg.org
เด็กสีเขียวแห่งหมู่บ้านวูลปิต
ปริศนาของเด็กน้อย 2 คน ที่มีร่างกายสีเขียวในศตวรรษที่ 12 ในประเทศอังกฤษ
ในสมัยของกษัตริย์สตีเฟน (King Stephen, 1135-1154) แห่งอังกฤษ เป็นช่วงเวลาที่มีแต่ความวุ่นวาย เกิดมีการเล่าลือถึงเหตุการณ์ประหลาด ในเมืองซัฟโฟล์ค (Suffolk) ในหมู่บ้านที่ชื่อวูลปิต (Woolpit) ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองบุรี่ เซนต์ เอ็ดมันด์ (Bury St Edmunds) ไปทางตะวันออก 7 ไมล์
ณ.เวลานั้นเป็นฤดูการเก็บเกี่ยว ชาวนาต่างก็เข้าไปในทุ้ง แล้วก็มีชาวบ้านคนหนึ่งที่สังเกตุเห็นเด็ก 2 คน เป็นเด็กผู้ชายกับเด็กผู้หญิง คนโตเป็นผู้ชายกำลังนอนสงบอยู่ในหลุมที่สร้างขึ้นสำหรับดักหมาป่า (Wolf pit) ซึ่งเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน ร่างกายของเด็กทั้งสองมีสีโทนสีเขียว สวมเสื้อผ้าที่มีสีสันแปลกและทำจากวัสดุที่ชาวบ้านไม่รู้จัก ชาวบ้านเข้าไปที่เด็กสองคนนั้นก่อนที่จะจับตัวเอาไว้แล้วก็พาตัวไปยังหมู่บ้าน
แต่ว่าเมื่อไปถึงหมู่บ้านแล้ว ไม่มีชาวบ้านคนใดที่สามารถเข้าใจภาษาที่เด็กสองคนนี้พูดได้เลย ชาวบ้านจึงได้พาเด็กทั้งสองไปยังบ้านของ เซอร์ริชาร์ด (Sir Richard de Calne) ในเมืองไวเกส (Wykes) ห่างออกไปจากวูลปิต 6 ไมล์ทางเหนือ
เด็กทั้งสองคนถูกขังไว้ภายในบ้านของเซอร์ริชาร์ด หลายวัน โดยที่ทั้งคู่ไม่ยอมที่จะกินอาหารอะไรเลยหลายวัน จนกระทั้งชาวบ้านนำถั่วเขียวที่เป็นผลผลิตจากที่นาของพวกเขามาให้ เด็กทั้งคู่จึงยอมทานถั่วด้วยท่าทางหิวโหยมาก
หลายเดือนผ่านไป ชาวบ้านเริ่มทำให้พวกเขายอมกินขนมปังได้สำเร็จ แต่ว่าเด็กผู้ชายก็เริ่มป่วย สีเขียวค่อยๆ หายไป และชาวบ้านก็สังเกตุว่าเขาน่าจะอ่อนวัยกว่าเด็กผู้หญิง แต่ว่าไม่นานเด็กชายสีเขียวก็เสียชีวิตลง
ชาวบ้านพาเด็กผู้หญิงไปเข้าพิธีแบ๊บติส และเธอสามารถปรับตัวเข้ากับชีวิตใหม่ได้ดี และสีเขียวก็ค่อยๆ จางหายไป
แหล่งข้อมูลที่ถูกอ้างถึงมากที่สุด เกี่ยวกับเด็กน้อยสีเขียวทั้ง 2 คน มาจากงานเขียนของชายสองคนที่อยู่ในยุคเดียวกันกับเด็กสีเขียว และเคยเห็นเด็กสีเขียว
ราล์ฟ แห่งคอก์กแซล์ล (Ralph of Coggeshall) เป็นบาทหลวงอยู่ในเมืองคอก์กแชล์ล ห่างจากเมืองวูลปิต ไป 26 ไมล์ จากการค้นคว้าของราล์ฟ บอกว่าเด็กหญิงสีเขียว ยังมีชีวิตอยู่ตอนที่เขาเขียนหนังสือเรื่อง Chronicum Anglicanum (History of English)จากข้อมูลการค้นคว้าที่ราฟ์ลให้ไว้ โดยเขาได้สัมภาษณ์คนที่อยู่ในเหตุการณ์หลายคน ร่วมทั้งเซอร์ริชาร์ด , ราล์ฟ เล่าว่า เด็กผู้หญิงในเวลาต่อมาถูกจ้างให้ทำงานเป็นหญิงรับใช้ภายในบ้านของของเซอร์ริชาร์ด และเธอก็ได้แต่งงานกับชาวอังกฤษคนหนึ่งจากเมืองคิงลีน์น (King’s Lynn) ซึ่งห่างออกไปจากวูลปิต 40 ไมล์ เด็กผู้หญิงสีเขียว ได้ถูกตั้งชื่อว่า แอ็กเนส (Agnes) และได้แต่งงานกับ ริชาร์ด แบรร์ (Richard Barre) ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สถานทูต ระดับสูง ในรัชกาลของกษัตริย์ เฮนรี่ ที่ 2 (Henry 2)
วิลเลี่ยม แห่งนิวเบิร์ก (William Parvas of Newburgh) นักประวัติศาสตร์ ผลงานเรื่อง Historia rerum Anglicanum (History of English Affairs) เขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์อังกฤษระหว่าง 1066-1198 ซึ่งในหนังสือเล่าถึงเด็กสีเขียวรวมอยู่ด้วย จากงานเขียนของวิลเลี่ยม เขาเล่าเอาไว้ว่า เมื่อหลังจากเด็กผู้หญิงได้เรียนรู้การพูดภาษาอังกฤษแล้ว เด็กผู้หญิงเล่าว่าเธอมาจากดินแดนที่พระอาทิตย์ไม่เคยเปร่งแสง และเธอเรียกบ้านเกิดของเธอว่า St. Martin’s Land ซึ่งทุกสิ่งทุกอย่าง ณ.ดินแดนนั้นมีสีเขียว นอกจากเมืองของเธอแล้ว ถ้าข้ามแม่น้ำไป ก็จะมีเมืองลักษณะเดียวกันอีก
เด็กผู้หญิงเล่าต่อไปว่า เธอและเด็กผู้ชายช่วยกันเลี้ยงวัวอยู่ แล้วพวกเขาก็ตามวัวตัวหนึ่งที่หลงเข้าไปในถ้ำ จนพวกเขาเองก็หลงทาง แต่ว่าได้ยินเสียงดังมาแต่ใกล้ (ซึ่งวิลเลี่ยมบอกว่าเป็นเสียงระฆังของเมือง Bury St Edmunds) ก็ตามเสียงนั้นไป จนกระทั้งพบว่าตัวเองมาอยู่ในหลุมจนชาวบ้านมาพบเข้า
ข้อมูลบอกว่า หลังจากปี 1202 ริชาร์ด ได้เกษีรณราชการ และเปลี่ยนชื่อเป็นนักบวช ชื่อ อัสติน (Austin) แต่ว่ากลับไม่มีหลักฐานว่าเขาเคยแต่งงานกับผู้หญิงชื่อแอ็กเนส
คำอธิบายเกี่ยวกับเด็กที่เขียว ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด เป็นของพอล แอร์ริส (Paul Harris) ทฤษฏีของเขาบอกว่าในสมัยของกษัตริย์ เฮนรี่ ที่ 2 นั้น ซึ่งเป็นกลียุค มีชาวเฟลมิส (Flemish, north Belgian) จำนวนมากอพยพเข้ามายังอังกฤษ คนเหล่านี้ถูกข่มเหง และสังหารโดยทหารของเฮนรี่ ใกล้กับ บุรี่ เซนต์ เอ็ดมันด์ ทำให้เด็กหลายคนกำพร้าเพราะพ่อแม่ถูกสังหาร เด็กและคนที่เหลือรอดชีวิต ร่วมกันตั้งชุ่มชนในหมู่บ้าน ฟอร์นแฮม เซนต์ มาร์ติน (Fornham St. Martin) ซึ่งห่างเมืองบุรี่ เซนต์ เอ็ดมันด์ ไปทางเหนือนิดเดียว ซึ่งชาวเฟลมิส เป็นนักทอผ้า และเสื้อผ้าของพวกเขาดูแปลกสำหรับคนในยุคเดียวกัน
พวกเด็กๆ อาจจะป่วยเพราะขาดสารอาหาร หรือป่วยด้วยโรคโลหิตจาง (green sickness, Hypochromic anemia)