Numquam prohibere somniantes 

Never stop dreaming

Fridtjof Nansen

Fridtjof Nansen

ฟริดต์จอฟ แนนเซน  (Fridtjof Wedel-Jarisberg Nansen)

ผู้เดินทางข้ามกรีนแลนด์,นักสำรวจขั้วโลกเหนือ (แต่ไม่เคยไปถึง) เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ 1922
ต้นกำเนิดตระกูล 
ฮาน แนนเซน (Han Nansen1598-1667)  เป็นพ่อค้าเขาเดินทางจากเดนมาร์ก ไปยังทะเลขาวตอนอายุ 16 ปี และตอนอายุ 21  มีได้รับคำเชิญจากซาร์ มิคาอิล ฟีโดโรวิช (Mikhail Fedorovich) แห่งรัสเซีย ในการสำรวจบริเวณทะเลชายฝั่งของอาร์คแองเจิ้ล (Arkhangel)  1962 เขาทำงานให้กับบริษัท Danish Icelandic Company ซึ่งทำการค้ากับประเทศไอส์แลนด์
 ในช่วงท้ายของชีวิตเขาอาศัยอยู่ใน โคเปนเฮเก้น (Copenhagen) เป็นส่วนใหญ่ 
1633 เขามีผลงานเขียนชื่อ  Kosmografi (Compendium Cosmographicum ,1633) ซึ่งบันทึกประสบการณ์การเดินทางการเดินทางของเขา
1644  เพราะมีความสามารถทางด้านภาษารัสเซีย  เขาจึงได้ถูกเชิญเข้าทำงานแปลเอกสารให้กับกษัตร์ คริสเตียน ที่ 4 (King Christian IV) แห่งเดนมาร์ก
1954  ฮาน ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ว่าการของโคเปนเฮเก้น  
1958 ร่วมปกป้องกรุงโคเปนเฮเก้น ในสงครามกับสวีเดน
แอนเชอร์ แนนเซน (Ancher Antoni Nansen ,1739-1765)
เขาเป็นตระกูลแนนเซน คนแรกที่เดินทางไปอยู่ในนอร์เวย์  ในปี 1761 ซึ่งขณะนั้นนอร์เวย์เป็นส่วนหนึ่งของเดนมาร์ก, แต่ว่าหลังจากเขาเสียชีวิต ครอบครัวที่เหลือเดินทางกลับมายังเดนมาร์ก , แอนเชอร์ มีลูกชายอยู่คนเดียว ชื่อว่า ฮาน เลเยอร์ดัล แนนเซน 
 ฮาน เลเยอร์ดัล แนนเซน (Hans Leyerdal Nansen ,1764-1821) ทำงานเป็นผู้พิพากษาอยู่ในเมืองตรอนเฮียม (Trondheim) นอร์เวย์
1814 นอร์เวย์ แยกตัวเป็นเอกราชจากเดนมาร์ก , ฮาน เลเยอร์ดัล ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฏรณ์จากเมืองสตาแวนเจอร์ (Stavanger) ในรัฐสภานอร์เวย์ (Storting~ Parliament of Norway) ที่มีการตั้งขึ้นเป็นครั้งแรก แต่ว่าเขามีแนวคิดที่สนับสนุนการรวมตัวเป็นสหภาพ กับประเทศสวีเดน
1821 ฮาน เลเยอร์ดัล เสียชีวิต , ทิ้งลูกชายวัย เพียง 4 ขวบ ไว้ลำพัง , เขาชื่อว่า บาลเดอร์ แนนเซน (Baldur Fridtjof Nansen)… เป็นพ่อของ ฟริดต์จอฟ แนนเซน , แม่ของบาลเดอร์ แนนเซน ชื่อว่าหลุยส์ มูลเลอร์ (Louise Wendel Chirstian Muller) ซึ่งครอบครัวแนนเซน  เชื่อว่าเธอเป็นลูกนอกสมรสของกษัตริย์ เฟรเดอร์ริก ที่ 6 (Frederik VI) แห่งเดนมาร์ก ซึ่งถ้าข้อมูลนี้ถูกต้อง ฟริดต์จอฟ ก็จะเป็นญาติของกษัตริย์ เฟรดเดอร์ริก ที่ 8 (Frederik VIII) แห่งเดนมาร์ก ซึ่งเป็นพ่อของกษัตริย์ ฮากอน ที่ 7 (Haakon VII, 1872-1957) กษัตริย์พระองค์แรกแห่งนอร์เวย์
End…
ฟริดต์จอฟ แนนเซน (Fridtjof Nansen, 1861-1930)
เป็นลูกชายของบาลเดอร์ แนนเซน (Baldur Fridtjof Nansen) เกิดเมื่อวัน 10 ตุลาคม 1861 , พ่อของเขามีอาชีพเป็นทนายความ แต่ว่าต่อมาได้ทำงานเป็นนักข่าวประจำศาลสูงประจำนอร์เวย์ , แม่ของฟริดต์จอฟ ชื่อว่า อเดไลเด้ (Adelaide Johanne Thekla Isidore Bolling Wedel-Jarlsberg) เธอเป็นภรรยาคนที่สองของบาลเดอร์ พวกเขาอาศัยอยู่ในเมืองสโตร์ ฟรอน ( Store Frøen) ไม่ไกลจากเมืองหลวง กรุงออสโล ของนอร์เวย์
ชีวิตวัยเด็กของฟริดต์จอฟ อยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่สวยงามของเมืองสโตร์ ฟรอน เขาชอบทำกิจกรรมว่ายน้ำ ตกป่า และออกล่าสัตว์ และเล่นสกี ในช่วงฤดูหนาวที่ยาวนานของนอร์เวย์ ซึ่งเขาชอบการกระโดดสกีลงมาจากหน้าผาสูงๆ มาก และตั้งแต่อายุ 15 ปี ก็มักเข้าร่วมการแข่งขันสกีเป็ฯประจำ
1877 อเดไลเด้ แม่ของเขาเสียชีวิตอย่างกระทันหัน , ทำให้พ่อของเขาพาเขาและพี่ชายชื่ออเล็กซานเดอร์ ย้ายไปอยู่ในกรุงออสโล (เวลานั้นชื่อว่า กรุงคริสเดียเนีย ~Christiania)
ฟริดต์จอฟ เข้าร่วมชมรม Christiania ski club และสามารถคว้าอันดับ 14 ในการแข่งขันสกีมาได้
ในปีนี้ฟริดต์จอฟ ยังสร้างสถิติโลก ในการแข่งขัน Speed Skating ที่ระยะทางไกล 1.6 กิโลเมตร
1880 เรียนจบชันมัธยม และสามารถผ่านการสอบเอ็นทราน (Examen artium) เข้ามหาวิทยาลัยได้
1881 เขาเรียนที่มหาวิทยาลัย Royal Frederick University ด้านสัตววิทยา (Zoology) ซึ่งเขาได้พบกับอาจารย์โรเบิร์ต คอลเล็ตต์ (Robert Collett) ประจำภาควิชาสัตววิทยา ที่แนะนำให้เขาเดินทางไปสำรวจสิ่งมีชีวิตที่อาร์คติก เพื่อจะได้เป็นคนแรก
1882 ฟริดต์จอฟ ออกเดินทางไปกับเรือชื่อไวกิ้ง (Viking) สร้างด้วยไม้ ที่มีกัปตันชื่อ อเซล เครฟติ้ง (Axel Krefting) การผจญภัยเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม  และต้องใช้เวลาในการเดินทางครั้งนี้นานกว่า 5 เดือน เรือของพวกเขาแวะตามเกาะต่างๆ ระหว่างกรีนแลนด์และหมู่เกาะสวาลบาร์ด (Svalbard) ในมหาสมุทรอาร์คติก เพื่อเก็บตัวอย่างพืชและสิ่งมีชีวิต ลูกเรือในทีมต่างภูมิใจในการที่เป็นนักแม่นปืน พวกเขาบอกว่าสามารถสังหารแมวน้ำไปกว่า 200 ตัว
กรกฏาคม เรือไวก้ิ้ง ติดอยู่กับก้อนน้ำแข็งใกล้ชายฝั่งในกรีนแลนด์ ฟริดต์จอฟ พยายามที่จะขึ้นฝั่งแต่ว่าทำไม่สำเร็จ แต่เขาก็เกิดความคิดที่อยากจะเดินทางข้ามกรีนแลนด์ในเวลานั้น , 17 กรกฏาคม เรือไวกิ้ง หลุดจากแผ่นน้ำแข็งได้สำเร็จ และเดินทางกลับมาถึงยังนอร์เวย์ในเดือนสิงหาคม

หลังจากกลับมายังมหาวิทยาลัย ฟริดต์จอฟ ไม่ได้เข้าเรียนตามหลักสูตรเหมือนปกติ แต่เขาไปทำงานเป็นผู้จัดการแผนกสัตวิทยาให้กับพิพิธภัณฑ์เบอร์เจน (Bergen Museum) และใช้เวลาทำงานอยู่ที่นี่ต่อมาอีก 6 ปี โดยระหว่างนี้มีโอกาสเดินทางไปยุโรปเพื่อทำงานร่วมกับนักวิจัยหลายท่านที่มีชื่อเสียงในเวลานั้น
ที่เบอร์เจนนี้ฟริดต์จอฟ สนใจเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องระบบประสาทของสิ่งมีชีวิตในทะเล โดยได้มีผลงานวิจัยเรื่อง “anastomoses or unions between the different ganglion cells” พิมพ์ออกมาในปี 1886

1887 พิมพ์ผลงานวิจัยเรื่อง The Structure and Combination of Histological Elements of the Central Nervous System ซึ่งเขาใช้เป็นงานศึกษาเพื่อจบปริญญาเอก หลังจากนั้นเขาก็กลับมาสนใจแผนการเดิมที่จะเดินทางข้ามกรีนแลนด์อีกครั้งหนึ่ง
1888 3 มิถุนายน เขาออกเดินทางจากท่าเรือ ไอซาฟโจรัว (Ísafjörður) ในประเทศไอส์แลนด์ (Iceland) โดยเรือชื่อเจสัน (Jason) ไปถึงยังกรีนแลนด์ในอีกหนึ่งอาทิตย์ถัดมา แต่ว่าพวกเขาไม่สามารถนำเรือเข้าชายฝั่งที่ห่างออกไปอีก 20 กิโลเมตรได้ จึงต้องลงเรือเล็ก โดยมีเป้าหมายที่จะขึ้นฝั่งบริเวณฟยอร์ดที่ชื่อเซอรมิลิค (Sermilik Fjord
29 กรกฏาคม  ด้วยสภาพอากาศเลวร้าย ทำให้เรือของพวกเขาถูกพาไปไกลว่า 380 กิโลเมตรทางใต้จากจุดที่เขาลงเรือเล็กมาจากเรือเจสัน พวกเขาจึงพยายามที่จะพาเรือกลับขึ้นไปทางเหนืออีกครั้ง และ 12 วันถัดมา ทีมสำรวจสามารถทวนระยะทางกลับมาได้ 200 กิโลเมตร และฟริดต์จอฟ ได้ตัดสินใจที่จะพาทีมขึ้นแผ่นดินกรีนแลนด์จากจุดฟยอร์ดชื่อยูมิลิค (Unilik Fjord) มิเช้่นนั้นเวลาอาจจะล่วงเลยนานเกินไปจนฤดูหนาวมาถึงแล้วจะยิ่งยากลำบากที่จะเดินทางข้ามกรีนแลนด์
15 สิงหาคม พวกเขาเริ่มออกเดินทางจากยูมิลิค มุ่งหน้าทางตะวันตกเฉียงเหนือ มุ่งสู่จุดหมายเดิมคือ คริสเตียนแฮบ (Christianhaab) ซึ่งห่างไป 600 กิโลเมตร , แต่ว่าการเดินทางเจอทั้งพายุและฝนที่ตกลงมา นอกจากนั้นยังมีรอยแยกของน้ำแข็ง (crevasses) ที่ลึกเป็นจำนวนมากเป็นอุปสรรค 
26 สิงหาคม ฟริดต์จอฟ คิดว่าคงไม่สามารถไปถึงยังคริสเตียนแฮบ ได้แล้ว จึงเปลี่ยนเป้าหมายเป็น ก้อดแธบ (Godthaab) ซึ่งห่างไปอีก 150 กิโลเมตรแทน
11 กันยายน ทีมสำรวจมาถึงยังจุดที่สูงที่สุดของการเดินทาง ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเล 2,719 เมตร และอุณหภูมิติดลบกว่า 50 องศาเซลเซียส
26 กันยายน  มาถึงยังฟยอร์ดใกล้กับก็อดแธบ 
29 กันยายน เริ่มข้ามฟยอร์ด เพื่อไปยังก็อดแธบ
3 ตุลาคม มาถึงยังก็อดแธบ โดยทีมสำรวจได้รับการต้อนรับแสดงความยินดีจากชาวเมืองที่อาศัยบริเวณก็อดแธบ รวมแล้วพวกเขาใช้เวลาเดินทางครั้งนี้ 78 วันนับออกจากเรือเจสัน และเป็นเวลาที่ใช้ข้ามกรีนแลนด์ 49 วัน แต่ว่าหลังจากนี้พวกเขาไม่สามารถหาเรือกลับไปยังนอร์เวย์่ได้ทันที พวกเขาต้องอยู่ที่ก็อดแธบเป็นอีก 7 เดือน อาศัยการล่าสัตว์ ตกปลา ไปเรื่อยๆ 
1889 15 เมษายน เรือจากเดนมาร์ก ชื่อ เฮวิบจอร์เน๊น (Hvidbjørnen) มายังก็อดแธบ และทีมสำรวจได้ขึ้นเรือดังกล่าวเพื่อเดินทางกลับ
21 พฤษภาคม เรือเฮวิบจอร์เน๊น มาถึงยังกรุงโคเปนเฮเก้น โดยทีมสำรวจได้รับการต้อนรับเยี่ยงวีระบุรุษ
 
หลังจากนั้นฟริดต์จอฟ ได้เข้าทำงานเป็นผู้จัดการของแผนกดูแลตัวอย่างสิ่งมีชีวิตของมหาวิทยาลัยเฟรเดอริคก์ (Royal Frederick University’s zoology collection) โดยได้เงินเดือนแต่ไม่ได้มีหน้าที่ชัดเจน เขาใช้เวลาหลายอาทิตย์ต่อมาในการเขียนเกี่ยวกับการเดินผจญภัย
11 สิงหาคม มั่นหมายกับ อีว่า ซาร์ส (Eva Sars) บิดาของเธอเป็นศาสตราจารย์ทางด้านสัตววิทยา เช่นกัน แต่เสียชีวิตไปตั้งแต่อีว่า ยังเล็ก , อีว่า แก่ว่าฟริดต์จอฟ 3 ปี  ทั้งคู่พบกันตอนเล่นสกีในรีสอร์ทฟรอกเนอร์เซเตเรน (Frognerseteren) ในนอร์เวย์  , ฟรีดต์จอฟ เล่าว่า ตอนพบกันนั้น เท้าของอีว่าติดอยู่กับหิมะ
6 กันยายน  พิธีแต่งงานระหว่างฟรีดต์จอฟ และอีว่า  ต่อมาพวกเขามีลูกด้วยกัน 4 คน คือ Liv (b.1893) , Kare(b.1897) , Irmelin (b. 1900), Odd (b.1901)
มิถุนายน  ฟริดต์จอฟ ในกรุงลอนดอน ในงานประชุมของสมาคมภูมิศาสตร์ (Royal Geographical Society) เขาได้รับรางวัล Founder’s Medal
1890 ความเสนอความเป็นไปได้ของโครงการสำรวจขั่วโลกเหนือให้กับสมาคมภูมิศาสตร์แห่งนอร์เวย์ (Norwegian Geographical Society) โดยอ้างถึงทฤษฏีของเฮนริก โมห์น (Henrik Mohn) นักศึกษาสภาพบรรยากาศ (Meteorologist) ที่ตั้งสมมุติฐานว่ากระแสน้ำในอาร์คติก ไหลจากตะวันออกมาตะวันตก เพราะว่าในปี 1881 มีเรือสัญชาติอเมริกัน ชื่อ จีนเนตต์ (Jeannette) ล่มลงในชายฝั่งของไซบีเรีย แต่ว่ามีการค้นพบทรากเรือดังกล่าวในกรีนแลนด์ , ฟริดต์จอฟ จึงเห็นว่าความล้มเหลวของการสำรวจอาร์คติกในอดีต เป็นเพราะเริ่มจากด้านตะวันตก ซึ่งทวนกับทิศทางการไหลของน้ำ , ฟริดต์จอฟ เสนอไอเดียว่าต้องการเรือไม่ใหญ่มากแค่โดยสารได้ 12 คน แล้วออกสตาร์ทจากจุดที่เรือจีนเนตต์จม แล้วให้กระแสน้ำในมหาสมุทรนำทางในการเดินทางผ่านขั่วโลก , แต่ว่าไอเดียวของฟริดต์จอฟ ไม่ได้รับการสนับสนุนจากนักสำรวจด้วยกัน แต่ว่านักการเมืองในสภาให้การสนับสนุน และช่วยเขาในการหาเงินทุนในการต่อเรือ และสำหรับการเดินทาง
1892 เรือ ฟราม (Fram) แปลว่า ก้าวไปข้างหน้า (Forward) ถูกปล่อยจากอู่ต่อเรือลงน้ำ ในวันที่ 6  ตุลาคม 1892 โดยอีว่า ภรรยาของเขา , เรือลำ ฟริดต์จอฟ สั่งให้บริษัท Colin Archer เป็นผู้ต่อเรือให้จากไม้เนื้อแข็ง มีความยาว 39 เมตร และส่วนที่กว้างที่สุดของลำเรือ 11 เมตร โดยมีทีมรวมเดินทางกับเขาอีก 12 คน โดยที่ ออตโต้ (Otto Sverdrup) ที่เคยร่วมสำรวจกรีนแลนด์ ได้รับหน้าที่เป็นกัปตันเรือ
1893 24 มิถุนายน เรือฟราม ออกจากท่าเรือในกรุงออสโล มายังท่าเรือเมือง วาร์โด (Vardo) ทางตะวันออกสุดนอร์เวย์ 
21 กรกฏาคม ออกจากท่าเรือในวาร์โด มุ่งหน้ายังชายฝั่งไซบีเรีย โดยลัดเลาะไปตามฝั่งอาร์คติกของรัสเซีย ตามเส้นทางที่ อดอล์ฟ นอร์เดนสกีโอด (Adolf Erik Nordenskiöld) นักสำรวจอาร์คติดชาวฟินแลนด์-สวีเดน เคยสำรวจเอาไว้ระหว่างปี 1878-1879 , เรือฟราม มาถึงเกาะนิวไซบีเรีย ในเดือนกันยายน จากนั้นเรือเริ่มหันหน้าเขาไปยังตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านแผ่นน้ำแข็ง และการเดินเรือเป็นไปด้วยความยากลำบาก เรือของพวกเขาแล่นไปได้ด้วยความเร็วแค่ 1.6 ไมล์ ต่อวัน ซึ่งเขาคำนวณว่าด้วยความเร็วขนาดนี้คงต้องใช้เวลา 5 ปี กว่าจะไปถึงขั่วโลกเหนือ ทำให้เขาคิดแผนใหม่ โดยเมื่อเรือไปถึงเส้นละติตูดที่ 83 เขาจะเดินทางไปยังขั่วโลกเหนือ ด้วยเลื่อนและสุนัข พร้อมกับ ฮจาลมาล โจฮานเซน (Hjalmar Johansen) โดยที่ให้อ็อตโต ควบคุมเรือฟรามออกจากน้ำแข็งแล้วมุ่งหน้ากลับไปก่อน ส่วนพวกเขาสองคนหากไปถึงที่หมายแล้ว ก็จะเดินทางกลับโดยหาทางข้ามมายังเกาะสปิตสเบอร์เจน (Spitsbergen) ซึ่งก็จะมีเรือให้โดยสารกลับได้
1895 14 มีนาคม เรือฟราม นั้นเดินทางไปจุดเหนือที่สุดที่ ละติตูด 84°4′N จากนั้น ฟริดต์จอฟ และ โจฮานเซน จึงได้ลงจากเรือ เพื่อเดินทางสำรวจกันต่อไป
7 เมษายน ฟริตต์จอฟ และ โจฮานเซน มาถึงจุดเหนือที่สุด ไกลที่สุดของพวกเขาที่ละติตูด 86°13.6′N ที่ซึ่งพวกเขาตั้งแคมป์กัน
13 เมษายน นาฬิกาโครโนมิเตอร์ (Chronometer) ของพวกเขาเสีย จนพวกเขาต้องซ่อมและตั้งเวลามันใหม่ และนั้นทำให้พวกเขาต้องถอยกลับ
สิงหาคม พวกเขามาถึงยังแหลมเฟลเดอร์ (Cape Felder) ทางตะวันตกสุดของหมู่เกาะฟราน โจเซฟ แลนด์ (Fran Josef Land) และพวกเขาต้องสร้างกระท่อมสำหรับพักเพื่อหลบช่วงฤดูหนาว เป็นเวลาเกือบ 8 เดือน
1896 19 พฤษภาคม เริ่มออกเดินทางอีกครั้งเพื่อหาหนทางกลับบ้าน
17 มิถุนายน ฟริดต์จอฟ ได้บังเอิญพบกับนักสำรวจชาวอังกฤษ เฟรดเดอริกค์ แจ็คสัน (Frederick Jackson) ระหว่างที่สิงโตทะเลกำลังโจมตีเรือคายัคของฟริดต์จอฟ อยู่  แจ็คสันซึ่งเดินทางมาสำรวจเกาะฟราน โจเซฟ แลนด์ และแจ็คสันสร้างแคมป์อยู่บริเวณแหลมฟลอร่า (cape Flora) ซึ่งแจ็คสัน จำฟริดต์จอฟ ได้เกือบจะทันที เขาจึงพาทั้งคู่กลับมายังที่พักที่แหลมฟลอร่า
7 สิงหาคม ฟริดต์จอฟ ขึ้นเรือ วินวอร์ด (Winward) ของแจ็คสัน เพื่อเดินทางกลับ …
13 สิงหาคม กลับมาถึงยังเมืองวาร์โด จุดเริ่มต้น เมื่อ 3 ปีก่อน โดยที่ยังไม่รู้ชะตากรรมของลูกเรือฟราม
18 สิงหาคม เมื่อได้ข่าวว่ามีคนเห็นเรือฟรามกำลังมุ่งหน้าจากสปิตสเบอร์เจน , ฟริดต์จอฟ จึงเดินทางไปรอรับเรือดังกล่าวที่เมืองทรอมโซ่ (Tromsø) เพื่อสมทบกับลูกเรือฟราม
9 กันยายน เรือฟราม เดินทางกลับมาถึงยังออสโลว์ ด้วยความยินดีของประชาชนและกษัตริย์ออสการ์ (King Oscar) แห่งนอร์เวย์ที่มาคอยต้อนรับ
1897 Farthest North หนังสือที่ฟริดต์จอฟ เขียนเกี่ยวกับการผจญภัยในดินแดนอาร์คติก ตีพิมพ์ในเดือนมกราคม
หลังจากนั้นเขากลับมาทำงานเป็นศาสตร์จาย์ด้านสัตววิทยาที่มหาวิทยาลับเฟรเดอริคก์ ซึ่งทำงานที่นี่ต่อมาอีก 20 ปี
1900 ได้เป็นผู้อำนวยการของสถาบันวิจัยทะเลเหนือประจำออสโลว์ (Christiania-based International Laboratory for North Sea Research) 
 24 สิงหาคม สถิติเดิมของฟริดต์จอฟ ถูกนักสำรวจชาวอิตาลีทำลาย , เจ้าชายลูจิ อเมดิโอ ( Luigi Amedeo, Duke of Abruzzi) สามารถไปถึงละติตูด 86°34N
1905 ปลายสมัยของสหภาพนอร์เวย์สวีเดน (The Union between Sweden and Norway, 1814-1815) ในสมัยที่คริสเตียน มิเชลเซน (Christian Michelsen) มาเป็นนายกรัฐมนตรีของนอร์เวย์ เขาดำเนินนโยบายแยกประเทศออกจากสหภาพ , ซึ่งฟริดต์จอฟ เป็นคนหนึ่งที่เขียนบทความลงหนังสือพิมพ์อย่างต่อเนื่องสนับสนุนการแยกตัวเป็นประเทศเอกราช ซึ่ง 7 มิถุนายน นอร์เวย์ก็ออกจากสหภาพได้สำเร็จ
แต่ว่าผลการประชาพิจารณ์ ประชาชนต้องการให้ประเทศปกครองโดยระบบกษัตริย์มากกว่าเป็นสาธารณรัญ แต่กษัติริย์ออสก้า แห่งสวีเดน ไม่อนุญาตให้สมาชิกราชวงศ์คนใดรับตำแหน่งกษัตริย์ของนอร์เวย์   , มิเชลเซน จึงได้ส่งฟริดต์จอฟ ไปทูลเชิญ เจ้าชาย ชาร์ล แห่งเดนมาร์ก (Prince Charles of Denmark) มาเป็นกษัตริย์ ซึ่งเจ้าชายชาร์ล ทรงเข้าพิธีราชาพิเษกเป็นกษัตริย์ ฮาก้อน ที่ 7 (Haakon VII of Norway) ในวันที่  22 มิถุนายน 1906
1906 เมษายน ฟริดต์จอฟ ได้รับแต่งตั้งเป็นทูตประจำลอนดอน แต่ว่าในวันที่ 15 พฤษจิกายน ก็ขอลาออกจากตำแหน่ง 
เขาพยายามเร่งเดินทางกลับออสโล เมื่อทราบข่าวว่าภรรยาป่วยหนัก แต่ว่า 8 ธันวาคม อีว่า ก็เสียชีวิตไปก่อนที่เขาจะไปถึง
1908 คำขอลาออกจากตำแหน่งทูกของเขาเป็นทางการในวันที่ 1 พฤษภาคม หลังจากรัฐบาลพยายามถ่วงเวลาให้เขาอยู่ในหน้าที่มาระยะหนึ่ง
วันเดียวกัน ตำแหน่งศาสตร์จารย์ของเขาที่มหาวิทยาลัย ก็ถูกเปลี่ยนชื่อเรียก เป็น ศจ. ทางด้านสัตววิทยาด้านสมุทรศาสตร์ (Zoology to oceanography) เพื่อความเหมาะสมกับความสนใจของเขา
1909 ร่วมกับบีจอร์น เอลแลนด์-แฮนเซน ( Bjørn Helland-Hansen) พิมพ์ผลงานวิจัยเรื่อง The Norwegian Sea: its Physical Oceanography, based on the Michael Sars voyage of 1900
ปีนี้ฟริดต์จอฟ ยังวางมือจากการสำรวจขั่วโลก โดยมอบเรือฟราม ให้กับ โรลด์ อมุนเซน (Roald Amundsen~ ผู้พิชิตขั้วโลกใต้ ในปี 1911) ซึ่งใช้เรือฟรามออกเดินทางไปยังอาร์คติกในปีถัดมา ส่วนฟริดต์จอฟ นั้นหลังจากนี้เขายังคงร่วมเดินทางออกสำรวจในทะเลเรื่อยๆ
1911 พิมพ์ผลงานชื่อ Nord i Tåkeheimen (In Northern Mists)
เขาเริ่มมีความสัมพันธ์กับ แคธลีน สก็อตต (Kathleen Scott) เธอแต่งงานอยู่ก่อนแล้วแต่สามีเธอหายไประหว่างการออกสำรวจขั่วโลกใต้ , ความสัมพันธ์ของเธอกับฟริดต์จอฟ เป็นช่วงเวลาสั้นๆ ก่อนที่สามีเธอจะกลับมาในปี 1912
1913 เดินทางไปยังทะเลคารา (Kara sea) เพื่อหาเส้นทางการค้าระหว่างยุโรปกับไซบีเรียตอนใน แต่การเดินทางครั้งนี้เขาไปโดยรถไฟสายทรานไซบีเรียไปยังวลาดิว็อคสต็อก
1914 ไม่นานหลังกลับมานอร์เวย์ก็เกิดสงครามโลก ครังที่ 1 , ประเทศนอร์เวย์ประกาศตัวเป็นกลาง โดยที่ฟริดต์จอฟ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานสหภาพการป้องกันตัว (Norwegian Union of Defense) แต่ว่าไม่มีงานอะไรที่เป็นหน้าที่สำคัญนัก
1917 นอร์เวย์เผชิญกับวิกฤตด้านอาหาร เมื่อเส้นทางการค้าถูกขัดขวาง แต่เมื่อสหรัฐอเมริกาได้ประกาศตัวร่วมในสงครามโลก ฟริดต์จอฟ จึงเดินทางไปเจรจากับสหรัฐในฐานะตัวแทนรัฐบาล เพื่อขอความช่วยเหลือด้านอาหาร โดยที่เขาตัดสินใจลงนามในข้อตกลงกับสหรัฐด้วยตนเอง แม้ว่ารัฐบาลนอร์เวย์จะมีท่าทีลังเลกับสัญญา
1918 เมื่อมีการก่อตั้งองค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations) หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลงเพื่อใช้เป็นเวทีระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศ ฟริดต์จอฟ ก็ได้รับหน้าที่เป็นประธานของสมาคมสันนิบาตชาติแห่งนอร์เวย์ (Norwegian League of Nations Society) และพลักดันจนนอร์เวย์เข้าเป็นสมาชิกเต็มตัวขององค์การนี้ในปี 1920 และฟริดต์จอฟ ถูกส่งไปทำหน้าที่ผู้แทน 1 ใน 3 คนของนอร์เวย์ ประจำสันนิบาตชาติ
1919 17 มกราคม เขาแต่งงานกับ ซิกรัน มุนเธ (Sigrun Munthe) แต่ว่าชีวิตแต่งงานของทั้งคู่ไม่ค่อยราบรื่น
1920 เขาทำหน้าภาระกิจช่วยเหลือเหยื่อสงคราม และนักโทษสงคราม กว่าครึ่งล้าน ตามคำขอของสันนิบาตชาติ เพื่อให้พวกเขาถูกปล่อยตัวและได้กลับบ้าน
1921 ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการเพื่อช่วยเหลือเหยื่อสงคราม (the Lequge’s High Commissioner for Refugees) ซึ่งตอนนั้นต้องช่วยเหลือเหยื่อสงครามกลางเมืองในรัสเซียกว่า 2 ล้านคน รวมถึงเหยื่อจากภาวะคลาดแคลนอาหาร ซึ่งคนกว่า 30 ล้านคนในโซเวียต อยู่อย่างอดอยากเพราะผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำจากภาวะสงคราม
นอกจากนั้นยังมีปัญหาผู้อพยพในสงครามระหว่างกรีซและตุรกี (Greco-Turkish war, 1919-1922) ซึ่งมีผู้อพยพอีกกว่าครึ่งล้าน 
แต่ปัญหาสำคัญในการช่วยเหลือเหยื่อเหล่านี้ คือเอกสารแสดงตัวตนของคนเหล่านี้มักไม่มี หรือสูญหายไประหว่างสงคราม ทำให้ไม่สามารถเดินทางไปลี้ภัยในประเทศอื่นได้อย่างถุฏกฏหมาย  ฟริดต์จอฟ จึงได้ออกเอกสารแสดงตัวตนให้กับเหยื่อสงคราม ซึ่งกลายมาเป็นที่รู้จักว่าเป็น หนังสือเดินทางแนนเซน (Nansen Passport) ซึ่งมี 52 ชาติให้การรับรอง ซึ่งมีคนที่ได้รับหนังสือเดินทางนี้กว่า 450,000 คน
1922 พฤศจิกายน ฟริดต์จอฟ ได้รับรางวัล โนเบล สาขา สันติภาพ (Nobel Peace Prize) จากผลงานการช่วยเหลือเหยื่อสงคราม
1925 ทำงานช่วยเหลือเหยือสงครามเชื้อสายอัลเมเนียในตุรกี ที่ถูกกวาดล้างอาณาจักรออตโตมาน  (Armenian Genocide) แต่แผนการของเขาในการสร้างพื้นที่อพยพในพรหมแดนโซเวียต ในสาธารณรัฐโซเวียตอัลเมเนีย ล้มเหลวเพราะเงินทุนไม่เพียงพอ 
1926 ได้รับเลือกให้เป็นอธิการบดี ของมหาวิทยาลัยเซนต์แอนดริวส์ (University of St. Andrews) ในสก็อตแลนด์
1928 ข้าพเจ้าพบสุสานนิรนามภายใต้ท้องฟ้าใสในโลกแห่งน้ำแข็ง และได้ยินเสียงปีกแห่งนิรันดร์ที่บินสู่เบื้องบน
He found an unknown grave under the clear sky of the icy world, with the whirring of the wings of eternity through space.
ฟริดต์จอฟ กล่าว ถึง โรล์ด อมุนด์เซน หลังจากทราบข่าวว่ายานบิน(Airship) ของอมุนต์เซน ประสบอุบัติเหตุระหว่างกู้ภัยทีมสำรวจขั้วโลก ในเดือนมิถุนายน แต่ว่าไม่มีการพบศพของอมุนต์เซน
1930 กุมภาพันธ์ ในวัย 68 ปี เขาเดินทางไปเล่นสกีกับเพื่อนอีก 2 คน ซึ่งเพื่อนก็สังเกตุว่าเขาเคลื่อนไหวช้าและดูเนือยไปมากกว่าปกติ และหลังจากกลับมาอยู่ที่ออสโล ฟริดต์จอฟ ก็เริ่มป่วยด้วยไข้หวัดใหญ่ และต่อมาก็มีอาการเส้นเลือดดำอักเสบ (phlebitis) 
13 พฤษภาคม 1930 ฟริดต์จอฟ แนนเซน เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจล้มเหลว , รัฐบาลนอร์เวย์ ได้จัดรัฐพิธี แบบไม่มีศาสนา ให้กับเขา ก่อนที่จะทำอัษฐิไปโปรยไว้ใต้ต้นไม้ ในบ้านของเขาที่ชื่อโปลฮอกด้า (Polhøgda) ในเมืองแบรัม (Bærum) นอร์เวย์ , บ้านหลังนี้เขาเริ่มสร้างในปี 1900 และเสร็จเดือนสิงหาคมในปีต่อมา  ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสถาบันฟริดต์จอฟ แนนเซน (www.fni.no)
Don`t copy text!