Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Alan Turing

อลัน ทูริ่ง (Aland Mathison Turing)

นักคณิตศาสตร์ นักถอดรหัส 
พ่อของเขาชื่อ จูเรียส (Julius Mathison Turing) ทำงานให้กับ Indian Civil Service หน่วยงานของอังกฤษในอินเดีย ที่รับผิดชอบด้านการก่อสร้าง ส่วนแม่ของเขาชื่อ อีเธล สโตนี (Ethel Sara Stoney) เป็นลูกสาวของเอ็ดเวิร์ด สโตนี (Edward Waller Stoney) หัวหน้าวิศวกรที่ดูแลงานก่อสร้างทางรถไฟ , อีเธล นั้นตั้งครรถ์ตั้งแต่ที่ยังอยู่ในรัฐโอริสส่า ในอินเดีย แต่ว่าเอ็ดเวิร์ดต้องการให้หลานเกิดในอังกฤษ พ่อและแม่ของทูริ่งจึงเดินทางกลับมาคลอดทูร่ิง ในลอนดอน ทูริ่งเกิดเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 1912 
ทูริ่งนั้นฉายแววความฉลาดมาตั้งแต่ยังเด็ก เขามีพี่ชายคนหนึ่งชื่อว่าจอห์น (John) ตอนเด็กทั้งคู่ถูกทิ้งให้อยู่กับสามีภรรยาคู่หนึ่งที่เป็นทหารเกษียรอายุแล้ว เพราะว่าพ่อแม่ของเขาต้องเดินทางไปมาระหว่างอังกฤษและอินเดียครั้ง
1918 เมื่ออายุ 6 ขวบ ทูริ่งเข้าเรีรยนที่โรงเรียนเซนต์ไมเคิ้ล (St.Michael’s school)
1926 ย้ายมาเรียนที่โรงเรียนเชอร์บอร์น (Sherborne school) วันแรกที่ทูริ่งจะต้องไปโรงเรียนนั้น เกิดการประท้วงใหญ่ในอังกฤษ (General Strike, 4-13 พฤษภาคม) ทำให้เขาไม่สามารถหารถไปโรงเรียนได้ ทูริ่งตัดสินใจปั่นจักรยานเป็นระยะทาง 97 กิโลเมตรร จากบ้านไปยังโรงเรียน โดยตอนกลางคืนเขาหยุดพักในโรงแรม
1931 ตุลาคม มาเรียกต่อที่คิงคอลเล็จ (King’s College, Cambridge) 
1935 มีนาคม อายุ 22 ได้รับเลือกให้ได้รับตำแหน่ง Fellow of King’s 
ในปีนี้ทูริ่งเริ่มออกแบบเครื่องคำนวณที่รู้จักกันในชื่อ Turing Machine ซึ่งเป็นเครื่องคำนวณรุ่นแรกๆ ที่สามารถโปรแกรมมิ่งได้ และใช้หน่วยความจำเป็นสายเทป
1936 เข้าย้ายมาอยู่ที่มหาวิทยาลัยพริ้นตั้น (Princeton University) ในสหรัฐอเมริกา โดยมาเรียนด้านคณิตศาสตร์ อาจารย์ของเขาคือ อลอนโซ่ เชิร์ช (Alonzo Church) พวกเขาสองคนร่วมกันพัฒนาวีธีการคำนวณ Church-Turing Thesis ซึ่งถูกใช้ออกแบบเครื่องคำนวณ Universal Turing Machine ซึ่งพวกเขาอ้างว่ามันสามารถใช้คำนวณทุกปัญหาได้
1938 มิถุนายน ได้รับปริญญาเอกจากพริ้นตั้น
เดินทางกลับอังกฤษ โดยได้เร่ิมทำงานแบบพาร์ตไทม์ร่วมกับหน่วยงานถอดรหัสของอังกฤษ (British cryptanalytic department, The Govenment Code and Cypher School, GCCS) อย่างลับๆ แต่ว่าเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ปะทุขึ้นในต้นปี 40s เขาก็ต้องทำงานอย่างเต็มเวลาที่สำนักงานใหญ่ของหน่วยงานถอดรหัส ซึ่งตั้งอยู่ที่เบลต์ชเลย์ปาร์ค (Bletchley Park)
งานหลักของทูริ่งในสงครามโลก คือการต่อสู้กับเครื่องเข้ารหัสอันทรงพลังของเยอรมัน ชื่อ อินิกม่า ( Enigma machine) และส่งข้อความที่ได้จากการถอดรหัสที่ส่งผ่านอินิกม่าให้กับฝ่ายสัมพันธมิตร , ทูริ่ง เป็นผู้นำในการสร้างเครื่อง Bombe machine เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ตัวหนึ่งที่ถูกใช้เพื่อถอดรหัสของอินิกม่า
1941 ทูร่ิง หมั่นกับ เจียน คราร์ก (Joan Clarke) เพื่อนร่วมงานในแผนก Hut-8 (แผนกที่รับผิดชอบการถอดรหัส Enigma)  แต่ว่าไม่นานเขาก็ถูกถอนหมั่น เมื่อทูริ่งสารภาพกับคู่มั่นว่าเขาเป็นพวกรักร่วมเพศ
1942 พฤศจิกายน เดินทางมายังสหรัฐ เพื่อช่วยกองทัพเรือสหรัฐ สร้างเครื่อง Enigma, Bombe ในวอชิงตัน 
กรกฏาคม เขาพัฒนาเทคนิค Turingery ขึ้นมา เพื่อใช้สำหรับการถอดรหัสเครื่อง Lorenze cipher เครื่องเข้ารหัสรุ่นใหม่ของเยอรมัน
1943 กลับมายังอังกฤษ ในเดือนมีนาคม โดยเมื่อกลับมาทูริ่งกลายเป็นแค่ที่ปรึกษาของ Hut-8 เพราะมีการแต่งตั้ง ฮุกห์ อเล็กซานเดอร์ (Hugh Alexander) เป็นหัวหน้าทีมแทน
1945 หลังสงครามโลกย้ายมาทำงานที่ศุนย์ปฏิบัติการฟิสิกแห่งชาติ (National Physical Laboratoy) จนถึง 1948 เขาทำงานให้กับแผนกการออกแบบเครื่องคำนวณอัตโนมัติ (Automatic Computing Engine) 
1948 ย้ายมาทำงานที่มหาวิทยาลัยแมนเชตเตอร์ (Manchester University) โดยได้รับตำแหน่งรีดเดอร์ (Reader) ในภาควิชาคณิตศาสตร์ ก่อนที่ในปีต่อมาเขาจะได้เป็นรองผู้อำนวยการของห้องปฏิบัติการณ์คอมพิวเตอร์ ซึ่งงานหลักของทูริ่งยังเป็นความพยายามออกแบบคอมพิวเตอร์ ที่สามารถเขียนและเก็บโปรแกรมได้ รวมถึงการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ 
ทูร่ิงเสนอวิธี Turing Test ระหว่างอยู่ที่ ม.แมนเชสเตอร์นี้ มันเป็นวิธีการในการวัดมาตรฐานว่าเครื่องจักรอันไหน ควรจัดว่ามีความฉลาดแล้วบ้าง
1951 ได้รับตำแหน่ง Fellow of the Royal Society
1952 มกราคม ถูกจับในข้อหารักร่วมเพศ  โดยคู่ขาของทูริ่ง อาร์โนด มัวร์เรย์ (Arnold Murray) เป็นคนพาตำรวจมาจับเขา ซึ่งในขณะนั้นการรักร่วมเพศเป็นอาชกรรมในอังกฤษ  แต่ว่าทูริ่งรอดจากการถูกจับติดคุกมาได้ โดยการยอมรับการบำบัด(Chemical castration) โดยการฉีดฮอร์โมนเอสโตรเจนสังเคราะห์ สติลโบสทรอล (Stiboestrol) นานนับปี และหลังจากรับสารภาพว่ารักร่วมเพศเขาก็ถูกห้ามไม่ให้ทำงานกับ GCHQ อีกเพื่อความปลอดภัยของหน่วยงาน
1954มิถุนายน 1954 อลัน ทูริ่ง ฆ่าตัวตาย ขณะอายุ 41 ปี, โดยคนรับใช้ของเขาเป็นคนมาพบศพ และผลการชันสูตรพบว่าเขาใช้ไซยาไนด์ ใส่ไว้ในลูกแอปเปิ้ล ที่ถูกกินไปครึ่งลูก , ทูริ่ง ถูกฝังในวันที่ 12 มิถุนายน ที่ Woking crematorium
1966 มีการก่อตั้งรางวัล Turing Award โดยสมาคม Association for Computing Machinery สำนักงานใหญ่ในนิวยอร์ค รางวัลทูริ่งเป็นรางวัลที่มีเกียรติสูงสุด สำหรับวงการคอมพิวเตอร์เทียบเท่ากับรางวัลโนเบล
2009 รัฐบาลอังกฤษในสมัยของ กอร์ดอน เบราน์ มีการหนังสือขออภัย ที่เคยใช้วิธีการไม่เหมาะสมในการบำบัดเขาในข้อหารักร่วมเพศ
2012 ถูกกำหนดให้เป็น Alan Turing Year โดยคณะกรรมการ ( Turing Centenary Advisory Committee (TCAC) ) เพื่อรำลึก 100 ปี ของเขา
Don`t copy text!