Numquam prohibere somniantes 

Never stop dreaming

Francisco Pizarro

ฟรานซิสโก้ ปิซาร์โร่ กอนซาเลส (Francisco Pizarro Gonzalez)

ผู้ทำลายอาณาจักรอินคา
เขาเกิดในเมืองทรูจิลโล่ (Trujilo) ประเทศสเปน  วันเกิดของเขานั้นไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด แต่คาดว่าเกิดในปี 1470 หรือ 1471 
ปิซาร์โร่ เป็นลูกชายนอกสมรสของพันเอกกอนซาโร่ โรดริเกซ (colonel Gonzalo Pizarro Rodriguez ) กับฟรานซิสก้า มาเตียส (Francisca Gonzalez Mateos) หญิงชาวบ้านที่ยากจน ที่อาศัยอยู่ในทรูจิลโล่
พันเอกกอนซาโร่ โรดริเกซ นั้นทำงานเป็นทหารภายใต้บังคับบัญชาของนายพลกอนซาโร่ คอร์โดบา (Great Captain, Gonzalo Fernandez de Cordoba)
ตอนวัยเด็กปิซาร์โร่ ไม่ได้รับการส่งเสียจากพ่อทำให้เขาเติบโตขึ้นมาโดยไม่รู้หนังสือ
1509 ปิซาร์โร่ แล่นเรือจากสเปนไปยัง New Wolrd
1513 เช้าร่วมเป็นทหารเรือที่เมืองคาร์ตาเกน่า (Cartagena) ภายใต้บังคับบัญชาของมาร์ติน เฟอร์นันเดซ (Martin Fernandez de Enciso) 
ปิซาร์โร่ ร่วมกับคณะผจญภัยของวาสโก้า นูเนซ (Vasco Nunez de Balboa) ในการเดินทางข้ามคอคอดปานามา (Isthmas of Panama) ข้ามจากมหาสมุทรแอตแลนติกไปยังแปซิฟิก ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก
1514 เมื่อเปดราเรียส ดาวิล่า (Pedrarias Davila) ได้รับตำแหน่งผู้ว่าของคาสเตลล่า เดอ โอโร (Castilla de Oro, เขตปกครอง ที่ตั้งถิ่นฐานของสเปนในอเมริกาใต้) ปิซาโรห์ ก็กลายเป็นทหารคนสนิทคนหนึ่งที่คอยรับใช้
1524 ปิซาโร่ ร่วมกับนักบวชชื่อเฮอร์นันโด้ ลูคิว (Hernando de Luque) และนายทหาร ดิเอโก้ อัลมาโกร (Diego de Almagro) ในการออกสำรวจดินแดนตอนใต้ของเปรู
31 กันยายน พวกเขาทั้งสามคนออกเินทางพร้อมด้วยคณะอีก 80 คน ม้า 40 ตัว จากปานาม่าเพื่อไปสำรวจเปรู แต่ว่าการสำรวจสิ้นสุดลงอย่างรวดเร็วเมื่อเรือของพวกเขาเจอสภาอากาศที่เลวร้าย และชนพื้นเมืองที่ไม่เป็นมิตร อัลมาโก้ นั้นถูกลูกดอกของคนพื้นเมืองยิงเข้าที่ตาจนตาบอด ทั้งหมดเลยตัดสินใจยกเลิกการผจญภัย
1526 พวกเขาทั้ง 3 คน กลับมามีความต้องการที่จะออกสำรวจอีกครั้งหนึ่ง โดยได้รับอนุญาตจากผู้ว่าดาวิล่า แบบไม่ค่อยจะเชื่อมั่นเพราะความล้มเหลวจากการสำรวจในครั้งแรก แต่วาไม่นานผู้ว่าคนใหม่ก็ถูกส่งมารับตำแหน่งในเดือนกรกฏาคม เขาชื่อ เปโดร ลอส (Pedro de Los) เขาให้การสนับสนุนคณะสำรวจอย่างเต็มที่
สิงหาคม ปิซาโร่ ออกเดินทางจากปานามา โดยใช้เรือ 2 ลำ และลูกทีมอีก 160 คน พวกเขาล่องเรือไปไกลจนถึงแม่น้ำซานจวน (San Juan river, Colombia) ในโคลอมเบีย ที่จุดนี้อัลมาโกร ถูกส่งตัวกลับมายังปานามาเพื่อหากำลังคนสนับสนุน ส่วนปิซาโร่ ก็ล่องเรือต่อมาทางใต้ ข้ามเส้นศูนย์สูตร โดยหัวหน้าผู้นำทางของปิซาโร่ ชื่อ บาร์โตโลมี รุซ (Bartolome Ruiz) จนกระทั้งมาพบกับชนพื้นเมืองบริเวณจังหวัดทูมเบส (Tumbes) บริเวณชายฝั่งตอนเหนือสุดของเปรูปัจจุบัน ซึ่งพวกเขาต้องประหลาดใจเมื่อพบว่าคนเหล่านั้นแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ทออย่างประณีต และยังมีภาชนะที่ทำจากเครื่องปั้นดินเผา บางคนยังสวมเครื่องประดับทองและเงิน 
หลังจากนั้นพวกเขาเดินทางต่อไปทางเหนือเพื่อมุ่งหน้าสู่แม่น้ำซานจวน (San Juan river) ซึ่งเป็นจุดนัดหมายที่จะเจอกับทีมของอัลมาโกร ซึ่งไม่นานอัมมาโกรก็เดินทางมาถึงด้วยคนงานที่จ้างมาอีก  80 คน ซึ่งเมื่อทั้งหมดปรึกษากันเกี่ยวกับการสำรวจ พวกเขาตัดสินใจเดินทางกลับไปสำรวจในเส้นทางที่ปิซาโร่ เจอกับชนพื้นเมือง จนเดินทางไปถึงเมืองอตาคาเมส (Atacames) ในเอคัวดอร์ปัจจุบัน ทำให้ทราบว่าชนพื้นเมืองที่พวกเขาพบนั้น อยู่ใต้การปกครองของอินคา พวกเขาเจอกับชนพื้นเมืองกลุ่มใหญ่ซึ่งอยู่ใต้การปกครองของอินคา แต่ชนพื้นเมืองมีท่าทางหวาดกลัวและระมัดระวังคนแปลกหน้า ทำให้คณะสำรวจชาวสเปนตัดสินใจไม่ขึ้นฝั่ง 
ปิซาร์โร่ ไปตั้งค่ายพักแรมอยู่บนเกาะแกลโล (Isla de Gallo) ที่อยู่ห่างจากฝั่งไปนิดหน่อย เพื่อความปลอดภัย โดยที่อัลมาโกร เดินทางกลับไปยังปานามา เพื่อหากำลังเสริม ช่วงเวลานี้คณะสำรวจรู้แล้วว่าบริเวณดังกล่าวมีทองคำอยู่ แต่เมื่อกลับไปถึงปานามาแล้ว ผู้ว่าเปโตร ลอส ซึ่งทราบว่ามีคณะสำรวจบางคนเสียชีวิตไป จึงกลัวว่าการสำรวจจะล้มเหลว เขาจึงปฏิเสธที่จะให้การสนับสนุนอีก และได้ส่งจวน ตาเฟอร์ (Juan Tafur) นำเรือสองลำ ออกไปแจ้งข่าวให้ปิซาร์โร เดินทางกลับ แต่ว่าเมื่อเดินทางไปถึงปิซาร์โร ปฏิเสธที่จะล้มเลิกการสำรวจ
อย่างไรก็ตาม มีทีมงานเพียงแค่ 13 คนเท่านั้นที่ตัดสินใจที่จะอยู่ต่อร่วมกับปิซาร์โร พวกเขาจึงถูกขนานนามว่า The Famous Thirteen (Los trece de la fama) ซึ่งทั้ง  14 คนที่เหลือ ลงมือต่อเรือลำเล็กๆ ขึ้นมาใหม่ และล่องเรือไปด้านเหนือของเกาะกอร์กอน่า (Islan Gorgona) 14 กิโลเมตร พวกเขามีเวลาเหลือไม่ถึง 7 เดือนก่อนที่ผู้ว่าคนใหม่จะถูกส่งมา
ที่ปานามา ทีมสำรวจที่กลับมา นำโดยลูคิว (Luque) สามารถโน้มน้าวให้ผู้ว่า ยอมส่งเรือไปรับเปโรซาร์กลับมาได้  ทำให้ทั้งอัลมาโกร และลูคิว ออกเดินทางไปยังเกาะกอร์กอน่า เพื่อสบทบกับปิซาร์โรอีกครั้ง
เมื่อทีมสำรวจรวมตัวกัน พวกเขาตัดสินใจเดินทางมุ่งลงไปทางใต้ ตามคำแนะนำของล่ามชนพื้นเมือง
1528 เมษายน  เดินทางมาถึงยังบริเวณทูมเบส ตอนเหนือของเปรูอีก นักสำรวจไ้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากชนพื้นเมือง ทูมปิส(Tumpis) ซึ่งปิซาร์โร ใช้เวลาสองวันในการสังเกตุภูมิประเทศ เป็นครั้งแรกที่ชาวสเปนรู้กับกับตัวลามะ (Lama) ซึ่งปิซาร์โร เรียกมันว่าเป็นอูฐตัวเล็ก  ในขณะที่คนพื้นเมืองเรียกพวกสเปนว่าเป็นเด็กแห่งพระอาทิตย์ (Children of Sun) 
ปิซาร์โร เดินทางกลับ โดยล่องเรือมาทางใต้จนถึงละติตูด 9 องศา ก่อนที่จะเดินทางขึ้นเหนือกลับปานามา แต่ขากลับมีลูกทีมสองคน ตัดสินใจที่จะขออยู่กับชาวทูมปิส เพื่อเรียนภาษาพื้นเมือง ในขณะที่มีชาวทูมปิส หนึ่งถึงสองคน ขึ้นเรือของปิซาร์โรกลับมาด้วย ภายหลังมีหนึ่งคนที่เข้าพิธีแบ็พติส และได้ชื่อ เฟลิปิลโล (Felipillo) ทำหน้าที่เป็นล่ามแปลภาษา 
จุดสุดท้ายที่เขาแวะขากลับคือที่เกาะกอร์กอน่า ซึ่งมีลูกทีมป่วย 2  คน จึงถูกทิ้งไว้ที่เกาะนี้ ต่อมาหนึ่งในสองเสียชีวิตไป
ปิซาร์โร เดินทางกลับมาถึงปานาม่าอีกครั้งนังจากที่เขาออกเดินทางไป  8 เดือน
ฤดูใบไม้ผลิ ปิซาร์โร ออกเดินทางจากปานามา เพื่อกลับไปยังสเปน หลังจากผู้ว่าคนใหม่ประจำปานามา เปโดร ริออส (Pedro de los Rios) ปฏิเสธไม่สนับสนุนให้เขาเดินทางสำรวจรอบที่ 3 ปิซาร์โร จึงไปสเปนเพื่อจะร้องเรียนเรื่องนี้โดยตรงต่อกษัตริย์ ชาร์ล ที่ 1 (King Charles I) ซึ่งหลังจากได้ฟังเรื่องเล่าจะปากของปิซาร์โรแล้ว 
ชาร์ล ที่ 1 ทรงสนับสนุนให้ปิซาร์โร พิชิตเปรู โดยทรงลงนามในคำสั่ง Capitulacion de Toledo ซึ่งเป็นการให้อำนาจเขาในการพิชิตเปรู ซึ่งทำให้ปิซาร์โร ได้รับยศเป็น Governor , Captian General, Adelantado (ยศทหารของสเปนที่กษัตริย์มักมอบให้กับนักสำรวจ)
1930 การสำรวจครั้งใหม่ ปิซาร์โร ชักชวนพื่น้องของตัวเขาเองอีก  3 คน คือ เฮอร์นันโด้, จวน , กอนซาโร่ (HernandoJuan , Gonzalo) เข้าร่วมทีมสำรวจด้วย นอกจากนั้นยังมีฟรานซิสโก โอเรลลาน่า (Francisco de Orellana) ซึ่งภายหลังเป็นผู้ค้นพบและสำรวจแม่น้ำอเมซอน รวมอยู่ด้วย
27 ธันวาคม , เขาออกเดินทางจากปานาม่า มุ่งตรงสู่เปรู การสำรวจครั้งที่ 3 นี้ ปิซาร์โร ใช้เรือ 3 ลำ และลูกทึมอีก  180 คน ทหารม้า 27 คน
เรือของพวกเขามาจอดที่ชายฝั่งใกล้กับเอกัวดอร์ปัจจุบัน ซึ่งที่นี่พวกเขารวบรวมทองคำและเงินได้จำนวนหนึ่ง ก่อนจะเดินทางย้อนกลับไปปานามา เพื่อรับอัลมาโกร ซึ่งกำลังรวบรวมคนงานเพิ่ม
1532 สิงหาคม สมรภูมิปูน่า (Battle of Puna) คณะของปิซาร์โร ถูกโจมตีจากชนพื้นเมืองของเปรู ระหว่างที่จอดเรือพักแรมบนเกาะปูน่า (Island of Puna) ในอ่าวกัวยาคิล (Guayaquil gulf) ในเอกัวดอร์ ฝ่ายชนพื้นเมืองนั้นมีกำลัง 3 พันคน แต่เป็นฝ่ายแพ้กำลังทหารของสเปน ฝ่ายสเปนเสียชีวิตไปเพียง 3 ราย ในขณะชาวเปรูพื้นเมืองตายและเจ็บรวมกัน 400 คน
ไม่นานหลังจากนั้น เฮอร์นานโด้ โซโต้ (Hernando de Soto) ก็นำทึมสำรวจตามมาสมทบกับปิซาร์โรอีก  แล้วพวกเขาก็ออกเดินทางสู่ทูมเบส 
กรกฏาคม ชาวสเปนไม่ได้กลับเข้าไปในทูมเบสทันที่ แต่ว่าเดินทางลึกเข้าไปในแผ่นดิน และตั้งค่ายของตัวเอง เรียกชื่อว่า San Miguel de Piura  ถือเป็นที่ตั้งถิ่นฐานครั้งแรกของชาวสเปนในเปรู
ปิซาร์โร ส่ง เฮอร์นันโด้ โซโต้ พร้อมด้วยล่ามชาวพื้นเมือง ฟิลิเปลโล นำคณะเจรจา ไปยังคาจามาร์คา (Cajamarca) เพื่อเจรจากับอตาฮวลปา (Atahualpa) จักรพรรดิของชนเผ่าอินคา (Sapa Inca) แต่ว่าอตาฮัวปา ปฏิเสธที่จะให้ชาวสเปนอาศัยอยู่ในดินแดนของอินคา 
16 พฤศจิกายน สมรภูมิคาจามาร์คา(Battle of Cajamarca) ปิซาร์โร ทำทหารสเปนเข้าโจมตีชนเผ่าอินคา และมีชัยชนะ ทหารสเปนจับเอาองค์รักษ์ของอตาฮวลปา 12 คน มาสังหาร แลจับอตาฮวลปามาขังไว้ (ห้องขังเรียกว่า Ransom room มีขนาด 7*5 เมตร)
1533 26 กรกฏาคม ชาวสเปน สังหารกษัตริย์แห่งอินคา , อตาฮวลปา ถูกประหารโดยเก้าอี้รัดคอ (garrote) ในข้อหาพยายามฆ่าปิซาร์โรและชาวสเปน  ,เฮอร์นันโด้ เซอร์โต้ นั้นไม่เห็นด้วยกับการประหารอตาฮวลปา เพราะเห็นว่าไม่เป็นธรรม และเป็นการไม่ให้เกียรติอตาฮวลปา ซึ่งมีฐานะเป็นถึงกษัตริย์ 
ภรรยาของอตาฮวลปา ชื่อว่า คูซิริเมย์ (Cuxirimay Ocllo Yapanqui) มีอายุ เพียง 10 ปี เธออยู่กับอตาฮวลปา ในคาจามาร์คาและในวันที่เขาถูกประหาร หลังจากอตาฮวลปา ตายแล้ว เธอถูกปิซาร์โร นำตัวมายังเมืองคุซโค (Cuzco) ด้วย และเปลี่ยนชื่อเป็น โดน่า แองเจลลิน่า (Dona Angelina) และกลายมาเป็นชู้กับปิซาร์โร ภายหลังเธอให้กำเนิดลูกกับเขาสองคน ชื่อ จวน (Juan) และ ฟรานซิสโก (Francisco)
หลังจากอตาฮวปา ตายแล้ว ปิซาร์โร ได้แต่งตั้ง ทูแพค ฮวลล์ปา (Tupac Huallpa) ซึ่งเป็นน้องชายของอตาฮวลปา เป็นกษัตริย์ของอินคา เพื่อใช้เขาเป็นหุ่นเชิดในการปกครองชาวอินคา เพื่อไม่ให้ชนพื้นเมืองรู้สึกต่อต้าน
ตุลาคม ทูแพค ฮวลล์ปา เกิดเสียชีวิตลง โดยโรคฝีดาษ (smallpox)
ไม่นานสเปนก็บุกโจมตีเมืองคุซโค (Cuzco) ตอนใต้ของเปรู และปิซาร์โรได้แต่งตั้ง แมนโค อินคา (Manco Inca Yupanqui) วัยเพียง 17 ปี ขี้นเป็นหุ่นเชิดในฐานะกษัตริย์ของอินคา โดยที่แมคโค อินคา นั้นไม่ได้รู้ตัวว่าเขาถูกหลอกใช้
1535 18 มกราคม ปิซาร์โร่ ก่อตั้งเมืองลิม่า (Lima) ขึ้นเป็นเมืองหลวงของเปรู , ในขณะที่อัลมาโกร แยกตัวออกมาเพื่อเดินทางไปยังชิลี
1536 กอนซาโร่ น้องชายของปิซาร์โร่ ลักพาตัวภรรยาของแมนโค อินคา , เธอชื่อว่า คูร่า โอลคอลโล (Cura Olcollo)
1538 6 เมษายน สมรภูมิลาสซาลินาส (Battle of Las Salinas) สาเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างอัลมาโก้ กับพี่น้องของปิซาร์โร ,เฮอร์นานโด้ และกอนซาล่า 
ดิเอโก้ อัลมาโก้ นั้นได้รับแต่งตั้งจากกษัตริย์สเปน ให้เป็นผู้ปกครองดินแดนนิวโตเลโด้ (Nueva Toledo) ส่วนฟรานซิสโก้ ปิซาร์โร่ นั้นได้เป็นผู้ปกครองดินแดนนิวคาสติลล่า (Nueva Castilla) ทั้งสองคนมีตำแหน่งเป็นผู้พิชิต (conquistador) เท่าเทียมกัน  ทำให้เกิดปัญหาเรื่องอำนาจการปกครอง โดยเฉพาะเมืองคุซโค นั้นแม้จะอยู่ในเขตนิวโตเลโด้ และอยู่ใต้อำนาจของอัลมาโกร มาตั้งแต่ปี 1537 , แต่เมืองคุซโคก็อยู่ใกล้เส้นแบ่งระหว่างสองเขต และฝ่ายของปิซาร์โร ที่มีกำลังทหารมากกว่า ก็ต้องการมีอำนาจในเมืองดังกล่าว 
สงครามระหว่างฝ่ายพี่น้องปิซาร์โร และอัลมาโก้ ปะทะกันที่เหมืองเกลือโบราณของชาวอินคาในเมืองคาชิปัมปา (Cachipampa) ราว 5 กิโลเมตรจากคุซโค ทหารของฝ่ายพี่น้องปิซาร์โร มีจำนวน 700 คน ประทะกับทหารของอัลมาโก้ จำนวน 500  คน ที่นำโดยนายพัน โรดิโก้ ออร์โกเนซ (Rodrigo Orgonez) และชัยชนะตกเป็นของฝ่ายปิซาร์โร ดดยที่นายพันโรดิโก้ เสียชีวิตในสมรภูมิ
หลังจากนั้นทหารของพี่น้องปิซาร์โร่ ได้บุกเข้าเมืองคุซโค และจับตัวอัลมาโกรเอาไว้ได้
กรกฏาคม อัลมาโกร ถูกประหารชีวิต  , ลูกชายของอัลมาโกร นั้นมีชื่อว่า ดิเอโก้ อัลมาโก้ ที่ 2 (Diego Almagro II) ชื่อเดียวกับบิดา   มีฉายาว่า เอล โมโซ  (El Mozo , The lad) เขาถูกปิซาร์โร ยึดที่ดินและทรัพย์สินจนหมด
1541 ปิซาร์โร เสียชีวิตในวันที่ 26 มิถุนายน เมื่อ กองกำลังของเอล โมโซจำนวน 20 คน พร้อมอาวุธ บุกพระราชวังของปิซาร์โร ในกรุงลิม่า และฆ่าปิซาร์โร ได้สำเร็จ , เขาถูกแทงหลายครั้ง และหล่นลงมาจากชั้น 2 จนเสียชีวิต ขณะมีอายุราว 70 ปี 
เอล โมโซ พยายามอ้างกรรมสิทธิในการปกครองเปรู แต่ไม่สำเร็จ สุดท้ายถูกจับและประหารชีวิตในอีก 2 ปี ต่อมา
ศพของของปิซาร์โร ถูกฝังที่วิหารแห่งกรุงลิม่า (Lima catherdral) โดยที่หัวและลำตัวถูกตัดออกจากกัน และนำใส่ไปในกล่องตะกั่ว
1892 ในปีที่มีการเฉลิมฉลองการค้นพบทวีปอเมริกาของโคลัมบัส ได้มีการขุดเอาส่วนลำตัวของปิซาร์โร่ มาในโลงแก้ว เพื่อให้ผู้ชมได้ชม
1977 มีการค้นพบกล่องที่ใส่ส่วนศรีษะ ที่มีข้อความว่า “นี่เป็นหัวของฟรานซิสโก ปิซาร์โร , ผู้ค้นพบเปรูและผู้ครองคาสติลล่า”
แต่ว่าเมื่อทีมแพทย์จากสหรัฐ นำโดย ดร.วิลเลี่ยม เมเปิ้ล (Dr.William Maples) ทำการชันสูตรชิ้นส่วนศรีษะและร่างแล้ว กลับพบว่าทั้งสองส่วนไม่ใช่ร่างเดียวกัน
Don`t copy text!