Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Nikola Tesla

นิโคล่า เทสล่า (Никола Тесла

บิดาแห่งวิศวกรรมไฟฟ้า
เทสล่าเกิดเมื่อวันที่  10 กรกฏาคม 1856  ในจักรวรรดิออสเตรีย (Austrian Empire, 1804-1867) ในหมู่บ้านสมิลิจาน (Smilijan village) หมู่บ้านแห่งนี้ปัจจุบันอยู่ในประเทศโครเอเทีย 
แต่ว่าพ่อแม่ของเทสล่า นั้นเป็นคนเชื้อสายเซอร์เบีย  , พ่อชื่อว่าบาทหลวง มิลูติน เทสล่า (Milutin Tesla) เป็นพระในศาสนาคริสต์นิกายเซอร์เบียออโธดอกซ์ , แม่ชื่อว่า ดูก้า (Duka Mandic) เธอเป็นลูกสาวของบาทหลวงในนิกายเซอร์เบียออโธดอกซ์เช่นกัน ดูก้า เป็นหญิงสาวที่ฉลาดมีความจำดี ซึ่งเธอไม่ได้เรียนหนังสือแต่ว่าสามารถจดจำบทกวีต่างๆ ของเซอร์เบียได้เป็นอย่างดี 
เทสล่าเป็นลูกคนที่สี่ ในพี่น้องห้าคน 
1862 ครอบครัวย้ายมาอยู่ที่เมือง Gospic ที่เมืองนี้เทสล่าได้เข้าเรียนที่โรงเรียน Higher Real Gymnasium ใน Karlovac โดยเขาสามารถเรียนจบได้ในเวลาสามปี จากหลักสูตรปกติสี่ปี  และมีความสามารถด้านคณิตศาสตร์ที่ดีกว่าเด็กๆ ในชั้นเดียวกัน
เทสล่านั้นสามารถพูดภาษาต่างๆ ได้มากถึง 8 ภาษา ทั้งอังกฤษ , เชค, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, อังการี, อิตาลี และลาติน  ว่ากันว่าเขามีความจำแบบโฟโตกราฟฟี (eidetic memory) และเป็นคนที่นอนน้อยกว่าวันละสองชั่วโมง
1873 เฃาติดเชื้ออหิวาต์ (Cholera) และต้องรักษาเป็นเวลากว่า 9 เดือน
1875 เข้าเรียนที่สถาบันโพลีเทคนิค (Austrian Polytechnic Institute) ตั้งอยู่ในเมืองกราซ (Graz) ขาเลือกเรียนทางด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ แต่ว่าเขาเรียนอยู่ราวสามปีก็ไม่ได้เรียนต่อ… 
1878 มีปัญหากับครอบครัวทำให้เขาหนีออกจากบ้านที่เมืองกราซ และเดินทางไปยังเมืองมาร์เบิร์ก (Marburg) ซึ่งอยู่ในสโลเวเนียปัจจุบัน โดยได้งานทำเป็นผู้ช่วยวิศวกร
1880 พ่อของเทสล่าพยายามตามหาลูกชาย จนกระทั้งสามารถพาให้เขากลับมาเรียนที่มหาวิทยาลัยชาร์ล-เฟอร์ดินานด์ ( Charles-Ferdinand university) ในกรุงปราก ได้ ซึ่งเทสล่าได้เข้าเรียนเพียงแค่เทอมเดียวก่อนที่พ่อของเขาจะเสียชีวิต และนั่นทำให้เขาต้องออกจากมหาวิทยาลัย
หลังจากนั้นเทสล่า ย้ายไปอยู่ในบูดาเบรส (เมืองหลวงของฮังการีปัจจุบัน) โดยทำงานให้กับองค์การโทรศัพท์ โดยได้มีโอกาสทำงานกับทิวาดาร์ ปุสคาส (Tivadar Puskas,  ได้เครดิตผู้ประดิษฐ์โทรศัพท์คนแรก ไม่ต่างกับโทมัส เอดิสัน) โดยตอนนั้นปุสคาส เริ่มประดิษฐ์ตู้ชุมสายโทรศัพท์ (Telephone Exchange) แล้ว และเทสล่าก็ได้ทำงานเป็นวิศวกรควบคุมระบบโทรศัพท์ชุดแรกของประเทศ   
1882 ย้ายมาอยู่ในปารีส โดยทำงานเป็นวิศวกรให้กับบริษัท Continental Edison Company  ซึ่งในปีนี้เขาเริ่มพัฒนามอร์เตอร์เหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้า (Induction motor) 
1884 6 มกราคม เดินทางมาถึงนิวยอร์ค โดยได้รับคำแนะนำจาก ชาร์ล แบตเชเลอร์ (Charles Batchelor) อดีตหัวหน้าของเทสล่า ให้มาทำงานกับโทมัส เอดิสัน โดยที่ชาร์ล เป็นคนเขียนจดหมายแนะนำตัวเทสล่า … เขาเขียนว่า “ผมรู้จักชายที่ยิ่งใหญ่สองคน คนหนึ่งคือคุณ และอีกคนคือเด็กหนุ่มคนนี้ (I know two great men and you are one of them; the other is this young man)”
เอดิสัน จ้างให้เทสล่าทำงานในการพัฒนาเครื
1885 เทสล่าลาออก หลังจากเขาช่วยปรับปรุงคุณภาพของมอเตอร์ที่เอดิสันสร้างไว้ให้ดีขึ้นได้ แต่ว่าเอดิสันไม่มีเงินจ่ายให้เขาตามที่สัญญา
1886 ก่อตั้งบริษัทของตัวเองชื่อ Tesla Electric Light & Manufacturing โดยตั้งขึ้นเพื่อพยายามขายสิทธิบัตรในสิ่งประดิษฐ์ของเขา และผลิต อาร์คแลมป์ (Arc lamp หลอดไฟซึ่งสร้างแสงจากการอาร์ค)
1887 Bremsstrahlung
1888 เขานำเสนอมอเตอร์ไฟฟ้าแบบใหม่ที่ไม่ต้องใช้แปรงลาด (Brushless AC motor) ต่อ AIEE (American Institute of Electrical Engineers , ก่อนเปลี่ยนมาเป็น IEEE ) และยังเริ่มประดิษฐ์ เทสล่าคอยล์(Tesla Coil) เครื่องมือที่ใช้สามารถใช้กระแสไฟฟ้าปริมาณต่ำ(Current) แต่ให้ความต่างศักดิ์ (Voltage) และความถี่ที่สูง
เข้าทำงานที่บริษัทเวสทิงเฮาส์ (Westinghouse Electric& Manufacturing Company) ซึ่งบริษัทได้ซื้อสิทธิบัตรระบบเสาส่งไฟฟ้า ( AC Transmission) เพื่อใช้จ่ายกระแสไฟฟ้าในระยะทางไกล
1891 เทสล่าแสดงการทดสอบการส่งกระแสไฟฟ้า โดยไม่ต้องใช้สาย (Wireless energy trasmission) ซึ่งตอนนั้นรู้จักกันในชื่อ Tesla Effect โดยเขาสามารถทำให้หลอดไฟที่อยู่บนโต๊ะสว่างได้ โดยที่ไม่มีสายไฟติดกับหลอดเลย, ปีเดียวกันนี้ได้ตั้งห้องทดลองขึ้นบนถนน 5th Ave. ในนิวยอร์ค ก่อนที่จะย้ายมาตั้งที่บน ถ.ฮูสตัน (Houseton st.) เทสล่าจัดพิธีเปิดห้องสำนักงานของเขาโดยการแสดงการจุดหลอดไฟโดยไร้สาย
` 30 กรกฏาคม  ได้รับสัญชาติอเมริกัน  ตอนอายุ  35 ปี  
26 สิงหาคม เขาเขียนบทความตีพิมพ์ลงในนิตยสารวิศวกรรมไฟฟ้า ( Electrical Engineer NY) ในหัวข้อ Reply to Joseph J. Thomson’s note เทสล่าบอกว่าจากการทดลองของเขา เขายืนยันว่ามีอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าขนาดเล็กอยู่จริง ซึ่งในเวลานั้นนักฟิสิกชาวอังกฤษ จอห์น ทอมสัน ปฏิเสธการมีอยู่ของอนุภาคดังกว่า , ซึ่งกว่าที่ทอมสันจะค้นพบว่าอิเล็กตรอนมีอยู่จริงก็อีกห้าปีต่อมาในปี 1897 , ทอมสันตั้งชื่ออนุภาคนี้ว่า คอร์ปัสเคิ้ล (corpuscles) ก่อนที่มันจะถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็นชื่อที่เรารู้จักกันว่า อิเล็กตรอน (electron)
1892 เดินทางกลับมายังปารีส เมื่อทราบข่าวว่าแม่ของเขากำลังจะเสีย เทสล่ากลับมาทันก่อนที่แม่ของเขาจะจากไปเพียงหนึ่งชั่วโมง คำพูดสุดท้ายที่แม่ของเขาพูดก็คือ “เจ้ากลับมาแล้ว, นิดโซ่, ความภาคภูมิของแม่ (You’ve arrived, Nidzo, my pride) , ศพของแม่ของเทสล่าถูกนำไปฝังไว้ที่บ้านเกิดในลิก้า โครเอเทีย (Lika, Croatia) ข้างๆ กับพ่อของเทสล่า  , หลังจากแม่เขาจากไปแล้ว เทสล่าก็ล้มป่วยอยู่เกือบเดือน
ปีนี้เทสล่า ได้รับตำแหน่งรองประธานของ AIEE ด้วยเขาอยู่ในตำแหน่งจนปี 1894
1893 เขายังมุ่งพัฒนาเทสล่าคอยล์ให้มีประสิทธิภาพมาขึ้น ซึ่งเทสล่าสามารถสร้างความต่างศักดิ์ไปถึง 1 ล้านโวลต์ 
เขาแสดงอุปกรณ์การส่งคลื่นวิทยุ (Radio tranmitter) ครั้งแรกในเมืองเซนต์หลุย รัฐมิซซัวรี
ในปีนี้มีการจัดเทศกาลแสดงสินค้านานาชาติ (World’s Fair : Columbian Exposition) เพื่อฉลอง 400 ปีการค้นพบทวีปอเมริกา ซึ่งเทสล่า ขนเอาสิ่งประดิษฐ์ของเขา ไปเปิดการแสดงพร้อมการบรรยายเกี่ยวกับทฤษฏีไฟฟ้าให้แก่สาธารณชนฟังด้วย ซึ่งผู้ชมต่างตื่นตาตื่นใจกับการแสดงของเขา หนึ่งในสิ่งประดิษฐ์ที่เขาเอาไปแสดงด้วย เช่น Egg of Columbus ~ สิ่งประดิษฐ์รูปร่างเหมือนไข่ ที่หมุนได้เอง ก่อนที่จะตั้งขึ้นตรง ซึ่งแสดงให้เห็นการทำงานของมอเตอร์และสนามไฟฟ้า
1897 เทสล่า จดสิทธิบัตรการประดิษฐ์  การบังคับยานพาหนะด้วยคลื่นวิทยุ (Contolling Mechanism ov Moving Vehicles) ซึ่งเทสล่าได้ประดิษฐ์เรือบังคับวิทยุลำแรกไปแสดงเพื่อประกอบการจดสิทธิบัตรด้วย โดยเขาเรียกอุปกรณ์ที่ถูกบังคับด้วยวิทยุว่า เทลออโตเมติก (Telautomatic) เรียกเรือบังคับวิทยุลำแรกว่า เทเลออโตเมตอน (Teleautomaton)
1898 ประดิษฐ์ หัวเทียน (Electrical Igniter for Gas Engines) ที่ใช้กับเครื่องยนต์เบนซิน 
1899 เทสล่าย้ายห้องทดลองของเขามาอยู่ที่เมืองเล็กๆ โคโลราโด้ สปริงส์  (Colorado Springs) รัฐโคโลราโด้ ซึ่งช่วงที่อยู่ที่นี่เขาค้นพบปรากฏการณ์หลายอย่าง เช่น กระแสไฟฟ้าที่ไหลตามพื้นผิวโลก (Telluric currents) เขาพิสูจน์ว่าโลกเป็นตัวนำไฟฟ้าอย่างหนึ่ง , สร้างฟ้าผ่าจำลอง ซึ่งเขาใช้ความต่างศักดิ์หลายล้านโวลต์ ทำให้เกิดเกิดฟ้าผ่ายาวได้เกือบ 50 เมตร , ในบันทึกของเทสล่ายังแสดงให้เห็นว่าเขาสังเกตุเห็นการมีอยู่ชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ (Ionosphere) และปรากฏการณ์คลื่นนิ่ง (Standing wave)
ระหว่างอยู่ที่โคโลราโด้ สปริงส์นี้ เครื่องรับสัญญาณของเทสล่า สามารถรับสัญญาณแทรกเข้ามาจากแหล่งอื่นๆ ได้บ่อยๆ ซึ่งมีทั้งที่เป็นเพราะพายุ หรือเสียงของโลกตามธรรมชาติ แต่ภายหลังเขาเริ่มสังเกตุว่ามันอาจจะมาจากดาวอื่นอย่างดาวอังคาร และก็เคยให้สัมภาษณ์ว่าบางครั้งเขาก็คิดว่าเป็นไปได้ที่เขาอาจจะเป็นมนุษย์คนแรกที่ได้ยินเสียงการติดต่อจากมนุษย์ต่างดาวด้วย , แต่คำอ้างที่ว่าเทสล่า สร้างจานรับสัญญาณวิทยุ ที่เรียกชื่อว่า Teslascope มาจากหนังสือของอาร์เธอ แมทธิว (Arthur H. Matthews) ซึ่งไม่มีหลักฐานว่าเทสล่าสร้างจานรับสัญญาณวิทยุเพื่อหามนุษย์ต่างดาวจริงหรือไม่
1900 เทสล่า ร่วมกับนาย เจ.พี. มอร์แกน (John P. Morgan) เจ้าของเจเนอรัลอิเล็กทริก (GE) ลงทุนหนึ่งแสนห้าหมื่นเหรียญ เพื่อที่จะสร้างเสาส่งสัญญาณวิทยุขนาดใหญ่ ที่เรียกกันว่าเทสล่าทาวเวอร์ (Tesla Tower) เพื่อสร้างเครื่องส่งสัญญาณโทรศัพท์ข้ามทวีปเชิงพาณิชย์ แต่ว่าเกิดวิกฤตในตลาดหุ้นนิวยอร์คในปี 1901 จนเทสล่าสูญเงินไปเกือบหมดก่อนที่เสาวิทยุจะสร้างเสร็จ ทำให้มันไม่เคยถูกใช้งานจริง
1902 เขาย้ายมาอยู่ที่รีสอร์ทวอร์เดนคลิฟฟ์ ( Wardenclyffe-On-Sound) บนเกาะลองไอแลนด์ ห่างจากแมนฮัตตัน 6 ไมล์ โดยเขาได้รับที่ดินสองร้อยเอเคอร์มาจาก เจมส์  วอร์เดน (James S. Warden) 
1906 สร้างเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบไม่ต้องมีใบพัด (Bladeless Tubine) ขนาด 150 KW ซึ่งเทสล่าหวังว่ามันจะถูกนำไปใช้กับโรงงานไฟฟ้าที่ใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพ
ในช่วงก่อนสงครามโลกจะเกิดขึ้นนี้เทสล่าเดินทางไปยังยุโรปหลายครั้ง เพื่อพยายามขายสิทธิบัตริและหาผู้สนับสนุนทุนวิจัยให้กับเขา แต่ว่าเมื่อสงครามเริ่มในปี 1914 เทสล่าก็ถูกจับและริบเงินไปหมด หลังจากนั้นเทสล่า เกิดอาการทางจิต เป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessiv-compulsive disorder) มีอาการหวาดกลัวการจับมือ เกลียดเครื่องประดับและวัตถุทรงกลม และมักจะเดินวนรอบตึกสามรอบก่อนเข้าตัวอาคาร ซึ่งเวลานั้นโรค OCD ไม่เป็นที่รู้จักและยังไม่มีวิธีการรักษา ซึ่งนั้นส่งผลให้ฐานะทางสังคมของเทสล่าทดถอยลง
1915 เทสล่าทาวเวอร์ถูกกองทัพเรือสหรัฐระเบิดทิ้ง เพราะว่ากลัวว่ามันจะกลายเป็นสัญลักษณ์ให้เรือดำนำ้เยอรมันใช้โจมตี
ในปีนี้เทสล่าและโทมัส เอดิสัน ได้รับการคาดหมายจากสื่อว่าสมควรได้รับรางวัลโนเบล จากผลงานสิ่งประดิษฐ์มากมาย แต่ปรากฏว่าทั้งคู่ไม่เคยได้รับรางวัลนี้เลย โดยบางคนเชื่อว่าทั้งคู่จะไม่ยอมรับรางวัลหากไม่ได้รับการรับรองว่าเป็นผู้สร้างคนแรก ซึ่งเคยมีการให้รางวัลโนเบลในปี 1909 แก่นักประดิษฐ์ชาวอิตาลี กักเลียลโม่ มาร์โคนิ (Guglielmo Marconi) ว่าเขาเป็นคนสร้างเครื่องเทเลกราฟแบบไร้สาย (Wireless Telegraph) ซึ่งเทสล่า สร้างสิ่งประดิษฐ์เช่นนี้ก่อนเสียอีก 
1916 ได้รับรางวัล Edison Medal
1917 ขายที่ดินที่วอร์เดนคลิฟฟ์  เพื่อใช้หนี แล้วเขาก็ย้ายไปอยู่ที่โรงแรม The Waldort-Astoria Hotel
1920s เขียนบทกวี ชื่อ Fragment of Olympian Gossip มอบให้กับเพื่อนของเชา ชื่อ จอร์จ ไวเรคก์ (George Sylvester Viereck) กวีชาวเยอรมัน ซึ่งเทสล่าไปดินเนอร์ที่บ้านของเขาและภรรยาเป็นประจำ 
1931 ธันวาคม , เขาเขียนบทความเรื่อง Our Future Motive Power ลงในแม็กกาซีน Everyday Science and Mechanic ซึ่งเนื้อหาบอกถึงวิถีการในการนำพลังงานใต้พิภพมาใช้
1934 เขาเริ่มสนใจพัฒนาอาวุธที่เขาเรียกว่า Teleforce 
1936 เทสล่า ส่งโทรเลขไปให้ ดร.วแลดโก้ มาเคก (Dr.Vladko Macek) นักการเมืองชาวโครเอเทีย ว่า ภูมิใจเท่าๆ กันที่ได้เกิดเป็นเซอร์เบียนและโครเอเทียเป็นบ้าน (I’m equally proud Serbian origin and Croatian homeland)
ช่วงท้ายๆ ของชีวิตเขายังคงศึกษาในหลายเรื่อง อย่างด้านแรงโน้มถ่วง ที่เขาบอกว่าเขียนเรื่อง Dynamic theory of gravity เสร็จแล้ว แต่มันยังไ่ม่เคยถูกตีพิมพ์เลย เทสล่ายังเชื่ออีกว่าทฤษฏีสัมพันธ์ภาพของไอสไตน์เป็นทฤษฏีเก่าที่ถูกเสนอมาแล้วโดยนักวิทยาศาสตร์ของโครเอเทีย ชื่อรูเดอร์ บสสโกวิค (Ruder Boskovic) กว่า 200 ปีมาแล้ว
1943 7 มกราคม ขณะอายุ 83 ปี เขาถูกพบว่าเสียชีวิตในห้องพักหมายเลข 3327 , New Yorker Hotel ซึ่งเทสล่าอาศัยอยู่ที่นี่ในช่วงสิบปีสุดท้ายของชีวิต
Fragments of Olympian Gossip

While listening on my cosmic phone
I caught words from the Olympus blown.
A newcomer was shown around;
That much I could guess, aided by sound.
There’s Archimedes with his lever
Still busy on problems as ever.
Says: matter and force are transmutable
And wrong the laws you thought immutable.
Below, on Earth, they work at full blast
And news are coming in thick and fast.
The latest tells of a cosmic gun.
To be pelted is very poor fun.
We are wary with so much at stake,
Those beggars are a pest—no mistake.
Too bad, Sir Isaac, they dimmed your renown
And turned your great science upside down.
Now a long haired crank, Einstein by name,
Puts on your high teaching all the blame.
Says: matter and force are transmutable
And wrong the laws you thought immutable.
I am much too ignorant, my son,
For grasping schemes so finely spun.
My followers are of stronger mind
And I am content to stay behind,
Perhaps I failed, but I did my best,
These masters of mine may do the rest.
Come, Kelvin, I have finished my cup.
When is your friend Tesla coming up.
"Oh, quoth Kelvin, he is always late,
It would be useless to remonstrate.
Then silence—shuffle of soft slippered feet—
I knock and—the bedlam of the street.

—ทฤษฏีสมรู้ร่วมคิด เกี่ยวกับการตายของเทสล่า—
อิริค เบอร์แมน (Eric Berman)  (บางที่ใช้ชื่อว่า Eric Orion) คนพบว่าแฟนเก่าของเป้นลูกสาวของอ๊อตโต้ สกอร์เซนี , และเขาได้มีโอกาสพบกับสกอร์เซนี ในช่วงที่ชรามากแล้ว สกอร์เซนี หยิบเอากล่องที่มีรูปถ่ายเก่าๆ มาให้กับเขาดู และเล่า… ความลับ 

อ็อตโต้ สกอร์เซนี (Otto Skorzeny) –  เป็นหัวหน้ารักษาความปลอดภัยส่วนตัวให้กับฮิตเลอร์ เป็นสายลับ SS เขาเป็นหนึ่งในนาซีที่ถูกนำตัวมาสหรัฐ ตามโปรเจคเปเปอร์คลิป ( Project Paperclip, โครงการที่นำเอานักวิทยาศาสตร์ของนาซี มาทำงานให้กับสหรัฐ อย่างองค์การนาซ่า เพื่อช่วยพัฒนาจรวดและอาวุธ) เขาทำงานร่วมกับ จอร์จ เอช. บุช (George H. W. Bush) ในการรวมเอาอดีต SS รวมเข้ากับหน่วย OSI (Office of Scienctific Intelligent) ของสหรัฐ เพื่อก่อตั้ง CIA 

อีิริค ได้พบกับสกอร์เซนี … อีริค บอกว่าสกอร์เซนี ได้เล่าให้เขาฟังว่า ตัวเขาเป็นคนสังหาร เทสล่า ในวันที่ 6 มกราคม 1943  โดยได้รับความช่วยเหลือจากลูกน้องซึ่งเป็นอดีตนาซีด้วยกันชื่อว่า เรียนฮาร์ด เกหเลม (Rienhard Gehlen) , ทั้งคู่สังหารเทสล่าเพื่อต้องการขโมยข้อมูลของปืน Teleforce 
วันที่ เทสล่า ถูกพบว่าเป็นศพอยู่บนเตียง ในคืนวันคริสมาสต์อีฟ (ตามนิกายออโธดอกซ์) โดยใช้ชุดสูทสีดำ มือวางอยู่บนหน้าอก 
George H. Scherff JR. –  เป็นชาวเยอรมันโดยกำเนิด เป็นสายลับ SS อพยพเข้ามาสหรัฐอย่างผิดกฏหมาย โดยถูกส่งมาโดยฮิตเลอร์ ตั้งแต่ปี 1938 เพื่อขโมยข้อมูลเกี่ยวกับผลงานของเทสล่า   เขาทำงานเป็นเลขาและบัญชีให้เทสล่า แต่ว่าทำไมเขาถึงไม่ได้อยู่กับเทสล่าช่วงเวลาที่เทสล่าตายและบัญชี ใหักับเทสล่า และเขาหายไปไหน และไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับตัวจอร์จ สเชิรฟฟ์ ว่ามาจากไหน เกิดที่ไหน เมื่อไหร่ ไม่ได้ 
วันที่ 5 มกราคม ก่อนเสียชีวิต เทสล่าเข้าพบกับเจ้าหน้าที่กองทัพเรือ เพื่อที่จะนำเอารายละเอียดของอาวุธชนิดใหม่ Teslaforce ไปให้กองทัพสหรัฐ … เป็นเหตุให้เขาต้องถูกสังหาร 
แต่จากคำบอกเล่าของสกอร์เซนี ,  สกอร์เซนี บอกว่า จอร์จ สเชิรฟฟ์ แท้จริงแล้วต่อมาได้เป็นประธานาธิบดีของสหรัฐคนที่ 41 ในชื่อ จอร์จ เอช. บุช 
Don`t copy text!