Numquam prohibere somniantes 

Never stop dreaming

Samuel Hahnemann

คริสเตียน ฟริดริช ซามูเอล ฮาห์เนมาน์น  (Christian Friedrich Samuel Hahnemann)

ผู้ริเริ่มการรักษา แบบโฮมีโอพาธีย์ (Homeopathy), Father of Experimental Pharmacology 
ฮาห์เนมาน์น
 เกิดในเมืองไมเซ่น ในแซ็คโซนี (Meissen, Saxony) เมื่อวันที่ 10  เมษายน  1755 เขาเป็นลูกคนที่สามของ ก๊อตต์ฟริด ฮาห์เนมานน์ (Christian Gottfried Hahneman) กับภรรยาคนที่สองของเขา ชื่อ โจฮันน่า (Johanna Christiane)  
ก๊อตต์ฟริด นั้นมีอาชีพเป็นช่างวาดรูปลงบนถ้วยกระเบื้อง (porcelain painter)  ในโรงงานกระเบื้อง Meissen Porcelain Factory (www.meissen.com)
ฮาห์เนมาน์น
 เริ่มเข้าเรียนที่โรงเรียนในไมเซ่น ก่อนที่จะได้รับทุนให้ไปเรียนต่อที่โรงเรียนเซนต์เอฟรา (Prince’s School of St. Afra) ซึ่งอยู่ในเมืองเดียวกัน เป็นโรงเรียนที่สอนด้วยภาษาลาติน 
1775  หลังจากจบจากโรงเรียนเซนต์เอฟรา ได้สมัครเข้าเรียนที่คณะแพทย์ ที่มหาวิทยาลัยไล์ซิก (University of Leipzig) โดยระหว่างเรียนเขาได้ทำงานพิเศษเป็นติวเตอร์สอนหนังสือ และทำงานแปลหนังสือเกี่ยวกับปรัชญาและการแพทย์มาเป็นภาษาเยอรมัน  ฮาห์เนมาน์นนั้นมีความรู้ในภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี กรีซ และลาตินเป็นอย่างดีตั้งแต่ยังนุ่ม นอกจากนั้นเมื่อโตขึ้นมาอีก เขายังเรียนภาษาอารบิก  ซีเรียค(Syriac) ชาลเดียก (Chaldaic) และฮิบรูฮาห์เนมาน์น
1776  ถูกส่งไปเรียนที่มหาวิทยาลัยเวียนนา (University of Vienna) เป็นเวลา 9 เดือน  เพราะว่าที่มหาวิทยาลัยเดิมขาดคลีนิกสำหรับการปฏิบัติงาน  โดยที่ฮาห์เนมานน์ได้มีโอกาสเรียนกับด๊อกเตอร์โจเซฟ กัวริน (Joseph Freiherr von Quarin) ซึ่งเป็นหัวหน้าแพทย์ประจำโรงพยาบาล Hospital of the Brothers of Charity  ฮาห์เนมาน์น พูดถึง ดร.กัวริน ว่า “ดร.กัวริน เป็นทุกอย่างของข้าพเจ้าในฐานะแพทย์ / Quarin owe me everthing that can be called at my doctor)
1777 ทำงานเป็นเสริมเป็นบรรณารักษ์ 
1779 ได้รับปริญญาด้านการแพทย์จาก Erlangen  , หลังจากเรียนจบได้ทำงานที่ Hettstedt ฮาห์เนมาน์น
1781 ได้ไปเป็นแพทย์ในเหมืองทองแดงแห่งหนึ่งในเมืองแมนสเฟิล์ด (Mansfeld, Saxony)   และปีนี้ได้แต่งงานกับโจฮานน่า คุชเลอร์ (Johanna Henriette Kuchler) ซึ่งพวกเขามีลูกด้วยกันถึง 11 คน 
1784 เลิกที่จะทำงานเป็นแพทย์ และหันมาทำงานแปลหนังสือที่เกี่ยวกับการแพทย์และวิทยาศาสตร์แทน พรัอมกับออกเดินทางไปตามเมืองต่างๆ ทั่วแซกโซนี่ 
1786 มีผลงานเขียน On the arsenic poisoning 
1789 พาครอบครัวย้ายมาอยู่ที่ล็อกวิตซ์ (Lockwitz) ก่อนที่ต่อมาจะย้ายไปอยู่ชานเมืองไลป์ซิก 
1790 เขาได้แปลผลงานของวิลเลี่ยม คูลเลน (William Cullen)  แพทย์ชาวสก๊อตที่มีชื่อเสียง  เรื่อง Treatise on the Materia Medica  (ทฤษฏีการรักษาโรคมาลาเรีย) ซึ่งทำให้ฮาห์เนมาน์นสนใจศึกษาคุณสมบัติทางยาของเปลือกของต้นคินโชน่า (Cinchona) ซึ่งให้ตัวยาที่รู้จักกันในปัจจุบันว่าควินนิน (quinine)  ซึ่งฮาห์เนมาน์นให้ตัวเองเป็นคนทดสอบสารดังกล่าวกับตัวเอง และอ้างว่าสารดังกล่าวทำให้เกิดอาการคล้ายเป็นมาลาเรียในตัวเขา
เขาจึงได้ตั้งข้อสังเกตซึ่งต่อมากลายเป็นพื้นฐานของโอมีโอพาธี ว่า 
  that which can produce a set of symptoms in a healthy individual, can treat a sick individual who is manifesting a similar set of symptoms / สารที่ทำให้คนแข็งแรงมีอาการเหมือนคนป่วย จะสามารถใช้สารนั้นรักษาผู้ป่วยที่มีอาการเหมือนกันได้ 
1792 ย้ายมาอยู่ที่โกธ่า (Gotha) เขาร่วมกับเพื่อนที่ทำธุรกิจสำนักพิมพ์ชื่อ รูดอล์ฟ เบคเกอร์ (Rudolph Zacharias Becker) ก่อตั้ง Insane asylum for the better classes เป็นคลีนิกที่ใช้รักษาผู้ป่วยทางจิต แต่ว่าธุรกิจของเขาไม่ประสบความสำเร็จ
1793 Pharmacist Lexicon , หนังสือรวบรวมคำศัพท์ทางการแพทย์ของเขาพิมพ์ออกมา
1799 ย้ายมาอยู่ที่อัลโตน่า (Altona)  ที่นี่เขาได้มีโอกาสรักษาโจฮานน เวเซล (Johann Karl Wezel) กวีซึ่งป่วยด้วยโรค Scarlet fever แต่ว่าการรักษาถือว่าล้มเหลว  , ต่อมาธุรกิจของฮาห์เนมาน์นในเมืองนี้ไม่ดีเขาจึงเดินทางย้ายที่อยู่ไปอยู่ในอีกหลายเมือง
1805 ตอนที่อยู่ในเมืองตอร์กัว (Torgau) ประมาณปีหนึ่งเขาได้เขียนบทความชื่อ Eassay on a new principle for ascertaining the curative powers of drugs, with some views on the recent  ลงในแม็กกาซีนอูฟแลนด์ (Hufeland Magazine ฉบับที่ 2)  โดยมีการแนะนำคอนเซปต์ของโอมีโอพาธีบางส่วน 
1806 Medicine of Experience
1810 The Organon of Rational Art of Healing (ภายหลังรู้จักกันในชื่อ Organon of Medicine) ผลงานของสำคัญของฮาห์เนมานน์ ที่เปิดตัวและวางรากฐานการแพทย์แบบโฮมีโอพาธี (Homeopathy) 
 Similia Similibus Curentur , Like Cures Like หมายถึง การรักษาโรคด้วยการสร้างอาการที่คล้ายกัน 
1811 Materia Medica Puta เล่มที่  1 พิมพ์ออกมา (ทั้งหมดมี 6 เล่ม เล่มที่ 6 พิมพ์ออกมาในปี 1827)  โดยเป็นงานที่ศึกษาเกี่ยวกับการใช้ยาเสพติดในการรักษาและผลกระทบ เขายังชี้ให้เห็นถึงความสำคัญความเข้มข้นหรือการเจือจาง (dilution) ของตัวยาที่จะมีผลต่อการรักษา
ต่อมาในปีนี้ฮาห์เนมานน์เดินทางกลับมาอยู่ที่ไลป์ซิก 
1812 ทำงานสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยเซียบซิก
De helleborismo veterum
1819 ทำงานเป็นแพทย์ประจำตัวให้กับดุ๊ก เฟอร์ดินาน (Duke Ferdinand of Anhalt-Köthen) เขาทำงานนี้จนถึงปี 1835
1828 Chronic diseases 
1829 ก่อตั้งสมาคมการแพทย์โฮมีโอพาธี (German Central Association of Homeopathic Doctors)
1830 31 มีนาคม, ภรรยาของเขาเสียชีวิต
1831 เกิดการระบาดของโรคอหิวาห์ (Cholera) ซึ่งฮาห์เนมานน์ตั้งข้อสงสัยว่าโรคนี้แพร่กระจายโดยสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก 
1832 General Homeopathic Newspaper
1835 มกราคม, แต่งงานกับเมลานี ดิเฮอร์วิลลี (Melanie D’Hervilly, 1802-1878)   เดิมทีเธอเป็นผู้ป่วยที่มารับการรักษาจากฮาห์เนมาน์นในปีทีผ่านมา แล้วทั้งคู่เกิดตกหลุมรักกัน 
21 มิถุนายน, เดินทางมาอาศัยอยู่ในปารีส  ซึ่งเขาอาศัยอยู่ที่นี่ใน 8 ปี สุดท้ายของชีวิต 
1843   ฮาห์เนมานน์ เสียชีวิตในวันที่ 2 กรกฏาคม คาดว่าเขาจะเสียชีวิตด้วยโรคปอดบวม (pneumonia) 
ร่างของเขาถูกนำไปฝังครั้งแรกที่สุสาน Montmartre cemetery ก่อนที่ในปี  1898 จะถูกนำไปฝังที่ Pere Lachaise พร้อมกับภรรยาคนที่สอง
คำจารึกที่สุสานของเขาเขียนเป็นภาษาเยอรมันว่า Non inutilis vixi / I’m not life in vain / ข้าไม่ได้มีชีวิตอย่างไร้ค่า
  • On the effect of coffee (1803)
  • Organon of Medicine (1810)
  • Materia Medica Pura (1811)
  • The Chronic Diseases, Their Specific Nature and Homeopathic Treatment  (1828)
  • Allopathy (1831)
Don`t copy text!