Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Otto Hahn

อ๊อตโต้ ฮาห์น (Otto Hahn)
บิดาแห่งนิวเคลียร์ / father of radiochemistry
ฮาห์น เกิดวันที่  8 มีนาคม 1879 ในแฟรงเฟิร์ตแอมเมน (Frankfurt am Main, German Empire) เขาเป็นลูกชายคนเล็กของเฮนริช ฮาห์น (Heinrich Hahn) กับแม่ชื่อชาร์ลอตต์ (Charlotte Giese) ครอบครัวของเขามีฐานะร่ำรวยมาจากการเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
ฮาห์นเริ่มสนใจวิชาเคมีตั้งแต่อายุ 15 ปี 
1897 เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยมาร์บูร์ก (University of Marburg)  ในสาขาเคมี
1901 สำเร็จการศึกษา  หลังจากนั้นต้องเข้ารับราชการทหารเป็นเวลาหนึ่งปี 
1902 กลับเข้ามาทำงานที่มหาวิทยาลัยมาร์บูร์ก และทำงานเป็นผู้ช่วยของ ดร.ธีโอดอร์ ซินก์ (Theodor Zicke)
1904 มาทำงานที่มหาวิทยาลัยลอนดอนคอลเลจ (Unisersity College London) โดยได้ทำงานร่วมกับ เซอร์วิลเลียม แรมเซย์ (William Ramsay) ผู้ค้นพบก๊าซเฉี่อย แต่ว่าฮาห์นนั้นสนใจศึกษาเรื่องเคมีกัมมันตรัังสี (radiochemistry) ซึ่งเป็นสาขาที่ยังอยู่ในช่วงบุกเบิกเวลานั้น
1905 ฮาห์น ค้นพบ ธอเรี่ยม-228 (thorium-228 ขณะนั้นยังรู้จักในชื่อ radiothorium เพราะยังไม่มีการรู้จัก ไฮโซโทปของธาตุ (isotope) จนปี 1913) ซึ่งเป็นธาตุกัมมันตรังสี และระหว่างที่ฮาห์นเดินทางไปแคนนาดา และได้ทำงานกับเออร์เนสต์ รูเธอฟอร์ด (Ernest Rutherford) พวกเขายังได้ร่วมกันค้นพบ ธอเรี่ยม-227 (thorium-227 , ขณะนั้นยังรู้จักในชื่อ radioactinium)
1906 เมื่อเดินทางกลับมาเยอรมัน ได้ทำงานกับอีมิล พิชเชอร์ (Emil Fischer) ที่มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน (University of Berlin) และได้ค้นพบ mesothorium-1 และ mesothorium-2
1907 เริ่มทำงานเป็นอาจารย์สอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน
1910 ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ ที่สถาบันเคมีไกเซอรื วิลเฮล์ม (Kaiser Wilhelm Institute for Chemistry) ซึ่งเพิ่งเริ่มก่อตั้ง โดยฮาห์นเป็นหัวหน้าแผนกเกี่ยวกับรังสีวิทยา 
1913 22 มีนาคม , แต่งงานกับ อีดิธ จังฮานส์ (Edith Junghans) เธอเป็นชาวโปแลนด์ ที่เรียนทางด้านศิลปะ ทั้งคู่พบกันเมื่อสองปีก่อนในสเตตติน (Stettin, Poland) บ้านเกิดของอีดิธระหว่างที่ฮาห์นเดินทางไปประชุมที่นั้น  ทั้งคู่มีลูกด้วยกันคนเดียว ชื่อ ฮานโน่ (Hanno) เกิดในปี 1922 , ฮานโน่ กลายมาเป็นนักค้นคว้าประวัติศาสตร์ศิลปะและสถาปัตย์กรรมที่มีชื่อเสียงในเวลาต่อมา
1914 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ฮาห์นถูกเรียกไปเป็นทหาร โดยที่เขาถูกส่งไปทำงานด้านการค้นคว้าอาวุธเคมี ภายใต้การควบคุมของฟริตซ์ เฮเบอร์ (Fritz Haber) โดยตอนนั้นมีการผลิตอาวุธเคมีจำพวกแก๊สพิษ
ฮาห์นได้รับรางวัล Iron Cross ชันที่ 1 และ 2 
1916 ถูกย้ายมาอยู่ที่สำนักงานในเบอร์ลิน 
1917 ร่วมกับไลส์ ไมต์เนอร์ (Lise Meitner) ค้นพบธาตุ Pa-231 (Protactinium) ซึ่งเวลานั้นฮาห์นและไลส์ตั้งชื่อว่า ’proto-actinium
1924 ฮาห์นตีพิมพ์รายงานการค้นพบธาตุ Pa-234 ตอนนั้นเขาเรียกมันว่า Uranium-Z เป็นไอโซเมอร์ของธาตุนิวเคลียร์ (nuclear isomerism) ตัวแรกที่มีากรค้นพบ
1933 ตีพิมพ์หนังสือ Applied Radiochemistry 
1938 ฮาห์น, ไลส์ และ สตราสแมนน์ (Fritz Strassmann) ค้นพบปฏิกริยานิวเคลียร์ฟิชชั่น (nuclear fission)
1945 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ฮาห์นและนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของเยอรมันอีก 9 คน ถูกนำตัวไปอังกฤษ และได้ทำงานกับโครงการ Alsos Mission (ส่วนหนึ่งของโครงการแมนฮัตตัน (Manhattan) แต่ทำงานอยู่ในอังกฤษ)
15 พฤศจิกายน ได้รับรางวัลโนเบล จากการค้นพบปฏิกริยานิวเคลียส์ฟิชชั่น (for his discovery of the fission of heavy atomic nuclei) 
1946 เดินทางกลับเยอรมัน
1948 ฮาห์นก่อตั้งสมาคมแม็ก แฟรงก์ (Max Planck Society) โดยเขาเป็นประธานคนแรก
1955 ริเริ่มและร่วมลงนามในประกาศแห่งไมนัว (Mainua Declaration) ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลกลงนามต่อต้านการใช้นิวเคลียร์ทางการทหาร
1957 ลงชื่อในแถลงการณ์ก๊อตตินเจน (Göttingen Manifesto) ต่อต้านการติดตั้งระเบิดนิวเคลียร์ในกองทัพเยอรมัน
1968 28 กรกรฏาคม เสียชีวิตในเมืองก๊อตตินเจน เยอรมันตะวันตก
Don`t copy text!