ฟรีดริช นีตซ์ชี (Friedrich Wilhelm Nietzsche)
นีตซ์ชี เกิดเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 1844 ในโร๊คเก่น-ไบ-รูตเซ่น , ปรัสเซีย (Röcken-bei-Lützen, Kingdom of Prussia) โดยชื่อฟรีดริช ถูกตั้งตามพระนามของกษัตริย์ เฟรเดอริค วิลเลี่ยม ที่ 4 แห่งปรัสเซีย (King Frederick William IV of Prussia) เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสที่พระองค์มีพระชนมายุ 49 พรรษา
พ่อของเขาคือ คาร์ล นีตซ์ชี (Carl Ludwig Nietsche, 1813-1849) เป็นปาสเตอร์ในนิกายลูเธอลัน และแม่ชื่อฟรานซิสก้า เอียเลอร์ (Franziska Oehler, 1826-1897) นีตซ์ชี อ้างภายหลังว่าครอบครัวของเขาสืบเชื้อสายจากโปแลนด์แต่ว่าไม่มีหลักฐานที่พิสูจน์ในเรื่องนี้ได้
นีตซ์ชี เป็นพี่คนโตในพี่น้องสามคน น้องสาวคนชื่อชื่ออลิซาเบธ (Elisabeth, b.1846) และน้องชายลูดวิก (Ludwig Joseph, 1849)
1849 พ่อของเขาเสียชีวิตด้วยโรคทางสมอง และในปีถัดมาลูดวิกน้องชายก็เสียชีวิตไป
1850 ครอบครัวย้ายมาอยู่ที่บ้านของยาย ที่เมืองนวมเบิร์ก (Naumburg) นอกจากยายแล้วยังมีป้าอีกสองคนที่อาศัยอยู่ร่วมกัน
1854 เข้าเรียนที่ดอมจิมเนเซียม (Domgymnasium)
1856 หลังจากยายเสียชีวิต แม่ก็พาเขาย้ายไปเช่าแฟล๊ตอยู่กันลำพังในเมืองเดียวกัน
1858 ย้ายมาเรียนที่พีฟอร์ต้า (Pforta) ซึ่งเขามีผลการเรียนในวิชาวรรณกรรมเยอรมันและศาสนาที่ดีเยี่ยม แต่ช่วงนี้นีตซีชีเริ่มมีอาการป่วยด้วยโรคไมเกรน ซึ่งเขาเป็นโรคนี้ตลอดทั้งชีวิตที่เหลือ
1864 หลังเรียนจบ ได้เข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยบอนน์ (University of Bonn) ซึ่งที่นี้เขาได้เข้าเป็นสมาชิกของกลุ่ม ฟรานโกเนีย (Burschenschaft Frankonia) แต่ว่าปีถัดมาก็ลาออกจากกลุ่ม
1865 ย้ายมาเรียนที่มหาวิทยาลัยลิปซิก (University of Leipzig) และเริ่มศึกษาผลงานเขียนของคานต์ (Immanuel Kant) , ริชาร์ด แวกเนอร์ (Richard Wagner) และ โชเฟนเฮาร์ (Schopenhauer)
1867 สมัครเข้าเป็นทหารอาสา แต่ว่าไม่นานก็ล้มป่วยและออกจากทหารมา และได้เป็นอาจารย์ด้านภาษาศาสตร์ (classical philology) ที่มหาวิทยาลัยเบเซิ่ล (University of Basel) ในสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งขณะนี้นิสซ์ชีมีอายุเพียง 24 ปี
ก่อนที่จะย้ายมาอยู่ในสวิสเซอร์แลนด์ เขาได้ประกาศยกเลิกความเป็นพลเมืองของปรัสเซีย และตลอดชีวิตที่เหลืออยู่เขาอยู่ในสภาพของคนที่ไร้รัฐ
1870 กลับเข้าเป็นทหารอีกครั้งให้กับกองทัพปรัสเซียในช่วงที่เกิดสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย (Franco-Prussia War, 1870-1871) โดยทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยพยาบาล แต่ว่าไม่นานตัวเขาเองก็ล้มป่วยด้วยโรคคอตีบ (diphtheria) และโรคบิด (dysentery) ทำให้ต้องลาออกและกลับไปสอนหนังสือที่เบเซิ่ล
ระหว่างอยู่ในเบเซิ่ล นิตซ์ชี ได้สนิทสนมกับริชาร์ด แวกเนอร์ ซึ่งเป็นนักประพันธ์เพลงที่มีชื่อเสียงแล้ว เขาอุทิศส่วนหนึ่งของผลงาน The Birth of Tragedy ให้กับแวกเนอร์ด้วย อย่างไรก็ตามเมื่อแวกเนอร์ประพันธ์เพลง The Ring of the Nibelung ให้กับพระจักรพรรดิ นิตซ์ชี กลับไม่ชอบผลงานของเขา และพาลตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมทั้งหมดของปรัสเซียด้วย ทำให้ความสัมพันธ์ของเขากับแว็กเนอร์สิ้นสุดลงราวปี 1878
1872 The Birth of Tragedy เป็นผลงานเขียนเล่มแรกท่ีได้ตีพิมพ์ออกมา ซึ่งผลงานนี้เป็นการวางคอนเซ็ปส์ของการต่อสู้กันระหว่างเหตุผลและความปรารถนา (Apollonian an Dionysian)
1873 เริ่มพิมพ์บางส่วนของ Untimely Meditations ออกมา โดยแบ่งพิมพ์ออกมาเป็นสี่ตอนจนถึงปี 1876 David Strauss – the Confessor and the Writer, On the Use and Abuse of History for Life, Schopenhauer as Educator, และ Richard Wagner in Bayreuth
1876 นีตซ์ชี จ้างปีเตอร์ กัสต์ (Peter Gast, Heinrich Köselitz) อดีตลูกศิษย์ มาทำงานเป็นผู้ช่วยของเขา เพราะนีตซ์ชีมีปัญหาเรื่องสายตาที่เกือบจะมองไม่เห็น
1879 ลาออกจากงานที่มหาวิทยาลัยเบเซิ่ล เนื่องจากปัญหาสุขภาพเขามีโรคหลายอย่างรุมเร้าตั้งแต่ยังเล็ก หลังจากลาออกเขาก็เดินทางท่องเที่ยวไปหลายเมืองเพื่อที่จะหาที่ที่มีอากาศดีเหมาะกับสุขภาพ โดยส่วนใหญ่มักจะไปอยู่ในอิตาลี
1882 รู้จักกับลู ซาโลเม่ (Lou Andreas-Salomé) ในกรุงโรม เธอเป็นนักเขียน ซึ่งนิตซ์ชีตกหลุมรักเธอและได้ขอเธอแต่งงาน แต่ว่าถูกปฏิเสธ
1889 3 มกราคม, เกิดอาการคุ้มคลั่งทางจิต ระหว่างเดินอยู่บนถนนในตูริน ทำให้ตำรวจต้องมาพาตัวเขาไป หลังจากนั้นว่ากันว่าเขามีอาการเห็นภาพหลอนบ่อยครั้ง โดยมักจะเห็นฝูงม้าวิ่งเข้ามาหา
เมื่อแม่ของเขาเสียชีวิต เขาได้ไปอาศัยอยู่ในไวมาร์ (Weimar) ในวิลล่าสควินต์ (villa squint) โดยมีอลิซาเบธน้องสาวเป็นคนดูแล
1900 25 สิงหาคม, เสียชีวิตในไวมาร์ ขณะอายุ 55 ปี ด้วยอาการติดเชื้อในปอด
1901 The Will to Power ถูกตีพิมพ์หลังจากเขาเสียชีวิตไปแล้ว
- Die Geburt der Tragödie aus dem Geiste der Musik (1872, The Birth of Tragedy from the Spirit of Music)
- Über Wahrheit und Lüge im außermoralischen Sinn (1873, On Truth and Lie in an Extra-Moral Sense)
- Die Philosophie im tragischen Zeitalter der Griechen (1873, Philosophy in the Tragic Age of the Greeks)
- Unzeitgemässe Betrachtungen (1873–1876, Untimely Meditations)
- David Strauss – the Confessor and the Writer
- On the Use and Abuse of History for Life
- Schopenhauer as Educator
- Richard Wagner in Bayreuth
- Menschliches, Allzumenschliches (1878–1879, Human, All Too Human)
- Morgenröte. Gedanken über die moralischen Vorurteile (1881)
- Idyllen aus Messina (1882)
- Die fröhliche Wissenschaft (1882–1887, The Gay Science)
- Also sprach Zarathustra (1883–1885, Thus Spoke Zarathustra)
- Jenseits von Gut und Böse (1886, Beyond good and evil)
- Zur Genealogie der Moral (1887, On the Genealogy of Morality)
- Der Fall Wagner (1888, The Case of Wagner)
- Götzen-Dämmerung, oder, Wie man mit dem Hammer philosophiert (1888)
- Dionysos-Dithyramben (1888)
- Der Antichrist (1888, The Antichrist)
- Ecce Homo (1888, Ecce Homo How on becomes what one is)
- Nietzsche contra Wagner (1888)
- Der Wille zur Macht (1901,The Will to power)