คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Cristoforo Colombo)
โคลัมบัสเกิดในสาธารณรัฐเจนัว (Genoa Republic) เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 1451 ชื่อจริงในภาษาอิตาลีคือ ครสิโตโฟโล โคลอมโบ (Cristoforo Colombo) พ่อของเขาเป็นช่างทำผ้าขนสัตว์ชื่อโดเมนิโค (Domenico Colombo) และมารดาื่อซูซานน่า (Susanna Fontanarossa)
1470 โคลัมบัสได้รับการว่าจ้างให้ทำงานบนเรือ Genoese ship ของดุ๊กรีเน่ (René I of Anjou) ซึ่งกำลังจะไปบุกเนเปิ้ล (Kingdom of Naples)
1479 แต่งงานกับฟิลิปา เปเรสเตรโล่ (Filipa Moniz Perestrelo) ลูกสาวของผู้ว่าของเมืองพอร์โต ซานโต
1482 ระหว่างปี 1482-148 เขาเดินทางทำการค้าอยู่บริเวณชายฝั่งตะวันตกของแอฟริกา
1485 บางข้อมูลอ้างว่าฟิลิปา ภรรยาของเขาเสียชีวิตในปีนี้ แต่บ้างบอกว่าโคลัมบัสทิ้งเธอเท่านั้น
1487 มีสัมพันธ์กับเบียทริซ (Beatriz Enríquez de Arana) เด็กสาววัย 20 ปี ระหว่างอยู่ที่เมือง Castile
เดินทางไปจีนและอินเดียโดยใช้เส้นทางสายไหม (Silk Road)
หลังการล่มสลายของคอนสแตนติโนเปิ้ล (fall of Constantinople) ในปี 1453 ทำให้การใช้เส้นทางสายไหมยากลำบาก กษัติรย์จอห์น ที่ 2 แห่งโปตุเกส (King John II,Portugese) จึงมีพระดำริที่ต้องการให้มีการค้นหาเส้นทางในการเดินเรือไปยังอินเดีย และจีน ซึ่งในปี 1488 มีการเดินทางไปถึงแหลมกู๊ดโฮป (Good Hope cape) ในปลายของทวีปแอฟริกา
1485 โคลัมบัสได้เสนอโครงการที่จะเดินทางไปอินเดียต่อกษัตริย์จอห์น ที่ 2 โดยขอเงินทุนเพื่อสร้างเรือสามลำ
1492 3 สิงหาคม, การไปอเมริกา ครั้งแรก (1st voyage, 3 สิงหาคม 1492-15 มีนาคม 1493) ออกเดินทางจาก Palos de la Frontera ด้วยเรือ 3 ลำ ซานต้า มาเรีย (Santa Maria, ชื่อเล่น Galician), ฟินต้า (Pinta, Painted) และ ซานต้า คลาร่า (Santa Clara, Nina) โดยที่โคลัมบัสเป็นกัปตันอยู่บนเรือซานต้า มาเรีย ส่วนเรืออีกสองลำควบคุมโดยมาร์ติน (Martin Alonso) และวินเซนต์ (Vicente Yanez)
ก่อนการเดินทางครั้งนี้โคลัมบัส ได้ทำข้อตกลงกับกษัติรย์เฟอร์ดินาน (King Ferdinand) และพระราชินีอิซาเบลล่า (Queen Isabella) เพื่อขอเงินทุนสนับสนุน และข้อตกลงเรื่องส่วนแบ่งโดยโคลัมบัสจะได้รับรางวัลเป็นมูลค่า 10% ของสมบัติที่เขานำกลับมาได้
เกาะแรกที่โคลัมบัสเดินทางไปถึงคือซาน ซัลวาดอร์ (San Salvador) ในบาฮามัส และจากนั้นคณะสำรวจได้เดินทางสำรวจไปตามแนวชายฝั่งตะวันออกของคิวบาปัจจุบัน ระหว่างการสำรวจนั้นโคลัมบัสได้พบกับคนพื้นเมืองอยู่หลายเผ่า อย่าง กัวนาฮานิ (Guanahani), ลูคายาน (Lucayan), ไตโน่ (Taino) ซึ่งโคลัมบัสได้จับคนพื้นเมืองมาเป็นนักโทษไว้จำนวนหนึ่งเพื่อสอบถามเกี่ยวกับทองคำ
1493 15 มีนาคม, เดินทางกลับมาถึงพาลอส
25 กันยายน, การไปอเมริกา ครั้งที่ 2 (2nd voyage, 25 กันยายน 1493-11 มิถุนายน 1496) ครั้งนี้เขาใช้กองเรือกว่า 17 ลำ และลูกเรือราว 1500 คน มีเป้าหมายที่จะตั้งเมืองขึ้นที่ถาวรในดินแดนใหม่ ผู้ที่ร่วมเดินทางไปด้วย เช่น จวน เด รา โคซ่า (Juan de la Cosa) , ดิเอโอ เดอ คูเอล่า (Diego Velazquez de Cuellar) ซึ่งต่อมากลายเป็นผู้ปกครองคิวบา นอกจากนั้นยังมีนักบวช เกษตรกร และสัตว์จำนวนหนึ่ง
การเดินทางครั้งนี้เขาได้สำรวจเกาะฮิสปานิโอล่า (Hispaniola), เปอร์โต ริโก้ (Puerto Rico) และจาไมก้า (Jamaika)
ในบันทึกของโคลัมบัสยังได้เขียนถึงการจับชาวพื้นเมืองมาข่มขื่น โดยโคลัมบัสก็เป็นหนึ่งในผู้ร่วมกระทำด้วย
1498 30 พฤษภาคม, การไปอเมริกา ครั้งที่ 3 (3rd voyage, 30 พฤษภาคม 1498-25 พฤศจิกายน 1500) ด้วยเรือง 6 ลำ และลูกเรือสามร้อยคน การเดินทางครั้งนี้เขาแล่นเรือไปถึงทรินิแดด (Trinidad) ซึ่งเป็นการไปถึงแผ่นดินใหญ่ของอเมริกาใต้เป็นครั้งแรกของพวกเขา ด้วยความเชื่อว่าทองคำจะอยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตร แต่ว่าต่อมาเมื่อสุขภาพเขาไม่ดี เขาจึงได้กลับไปยังเกาะฮิสปานิโอล่า ซึ่งมีชาวสเปนที่เขานำมาปล่อยไว้ตั้งถิ่นฐานอยู่ ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นบางส่วนไม่พอใจโคลัมบัสที่หลอกให้เขามาอยู่ในโลกใหม่โดยบอกว่าเป็นดินแดนที่มั่งคั่ง พวกเขาเหล่านั้นได้จับอาวุธขึ้นมาต่อต้านโคลัมบัส และได้จับตัวโคลัมบัสส่งกลับสเปนเพื่อขึ้นศาล เขาถูกตั้งข้อหาทารุณกรรมและปกครองอย่างเผด็จการต่อประชาชนในดินแดนใหม่ ต่อมากษัติริย์เฟอร์ดินานจึงได้ปลดโคลัมบัสออกจากฐานะผู้ปกครองโลกใหม่ และแต่งตั้งฟรานซิสโก้ เดอ โบบาดิลล่า (Francisco de Bobadila) ได้รับตำแหน่งแทน
หลังจากกลับมาจากการเดินทางครั้งที่ 3 โคลัมบัสเร่ิมมีอาการป่วยด้วยโรคข้ออักเสบ (arthritis) และดวงตามีอาการอักเสบ
1502 9 พฤษภาคม, การไปอเมริกา ครั้งที่ 4 (4th voyage, 9 พฤษภาคม 1502- พฤศจิกายน 1504) เขากลับมาใช้เรือซานต้า มาเรีย และครั้งนี้ได้เดินทางไปถึงบริเวณอเมริกากลาง ชายฝังของนิคารากัว, ฮอนดูรัส, ปานามา และคอสตาริก้า การสำรวจครั้งนี้เรือของพวกเขาต้องเจอกับพายะ และเรือที่ฟรานซิสโก้ เดอ โบบาดิลล่าโดยสารมาได้ล่มลงจนเขาเสียชีวิต
1504 หลังจากการกลับจากการผจญภัยครั้งสุดท้าย โคลัมบัสที่มีอาการป่วยได้ย้ายไปอยู่ในเมืองเซวิล (Seville) สเปน
1506 20 พฤษภาคม, เสียชีวิต ในวัย 54 ปี และถูกฝังที่วิหารวัลลาโดลิด (Valladolid monastery) ในเซวิลล์
ราว 3 ปีต่อมาลูกชายของโคลัมบัส ดิเอโก้ (Diego) ได้ย้ายอัษฐิของเขามาไว้ที่วิหารลา คาร์ตูจา (La Cartuja monastery)
1537 จักรพรรดิชาร์ ที่ V (Emperor Charles V) รับสั่งให้นำเอาอัษฐิของโคลัมบัสไปตามฝังที่ซานโต โดมินโก้ (Santo Domingo) เกาะฮิสปานิโอล่า ตามที่โคลัมบัสเคยปรารถไว้ก่อนเสียชีวิต
1795 ช่วงศตวรรษที่ 18 เมื่อฝรั่งเศสยึดเกาะฮิสปานิโอล่า จากสเปนมาได้ อัษฐิของโคลัมบัสถูกย้ายไปอยู่ที่วิหารฮาวาน่า (Havana Cathedral) ในคิวบา
1877 อย่างไรก็ตามมีการบูรณะวิหารซานโต โมนิโก้ (Santo Domingo Catherdal) และค้นพบกล่องบรรจุอัษฐิที่เขียนว่าเป็นอัษฐิของโคลัมบัส จึงเกิดการถกเถียงกันว่าอัษฐิที่แท้จริงอยู่ที่ใด
1898 อัษฐิของโคลัมบัสในคิวบาซึ่งส่วนใหญ่เชื่อกันว่าเป็นของจริงถูกย้ายกลับมาที่เซวิลอีกครั้ง โดยอยู่ที่วิหารเซวิล (Cahterdral of Seville) ซึ่งอยู่มาจนปัจจุบันนี้
2006 การวิเคราะห์ดีเอ็นเอ โดยแพทย์ชาวเสปน ดร. โจเซ่ โลเรนเต้ (Jose Antonio Lorente) ของอัษฐิโคลัมบัส เทียบกับชิ้นส่วนบางส่วนที่เคยถูกเก็บไว้และเชื่อว่าเป็นของโคลัมบัส และเปรียบเทียบกับดีเอ็นเอในกระดูกของดิเอโก้ (คนที่เป็นพี่ชายของโคลัมบัส) ยืนยันว่าอัษฐิในสเปนเป็นของจริง