your grace never been forgotten

Avicenna

เอวิเซนน่า (Abu Ali al-Husayn Ibn Abd Allan Ibn Sina)
นักวิทยาศาสตร์, นักปรัชญา, แพทย์ชาวเปอร์เซีย  ผู้เขียน The Canon of Medicine

เอวิเซนน่า เกิดราวปี c.980 ในหมู่บ้านอัฟซาน่า (Afsana)  ใกล้กับกรุงบุคาร่า (Bukhara) เมืองหลวงของอาณาจักรซามานิด  (Samanid Empire) ปัจจุบันอยู่ในประเทศอุซเบกิซสถาน แม่ของเขาชื่อว่าเซตาเรห์ (Setareh) และพ่อชื่อว่าอับดุลเลาะห์ (Abdullah)  แม่เป็นคนพื้นเพของเมืองบุคาร่า แต่ว่าพ่อนั้นเดินทางมาจากเมืองบัลค์ (Balkh) ซึ่งอยู่ใพรหมแดนนอัฟกานิสถานปัจจุบัน พ่อของเขานั้นเป็นเจ้าหน้าที่รัฐของอาณาจักรซามานิด
เมื่อยังอายุน้อย ครอบครัวได้ย้ายมาอยู่ในกรุงบุคาร่า และเอวิเซนน่าเริ่มเรียนหนังสือในเมืองนี้ โดยเรียนวิชาฮานาฟิ (Hanafi jurisprudence~fiqh) กับ อิสมาอิล ซาฮิด (Ismail Zahid)
เอวิเซนน่าเป็นคนฉลาดและมีความจำดี เมื่ออายุได้ 10 ปีก็ได้เป็นฮาฟิซ(Quran Hafiz :ผู้ที่สามารถท่องจำอัลกุรอานได้) เขาเรียนวิชาตรรกศาสตร์กับนาติลี (Natili) แต่ว่าไม่นานเอวิเซนน่าก็เก่งกว่าครูของเขา เขาจึงขวนขวายเรียนตำราต่างๆ ด้วยตนเอง
เมื่ออายุ 14 ปี ก็ได้กลายเป็นครูสอนศาสนา และหลังจากนั้นไม่กี่ปีเขาก็สนใจในความรู้หลายแขนงทั้งปรัชญาและวิทยาศาสตร์, คณิตศาสตร์แบบอินเดีย และสนใจงานเขียนของอริสโตเติ้ล (Aristotle) ด้วย , พออายุได้ 16 ปีเขาก็หันมาสนใจวิทยาการแพทย์
997 อาเมียนุห์ มันเซอร์ (amir Nuh II ibn Mansur, amir : ตำแหน่งประมาณเจ้าชาย, นายพลหรือขุนนางระดับสูง)  ผู้ปกครองอาณาจักรซามานิดนั้นเกิดประชวร เอวิเซนน่าจึงถูกพาตัวมาเพื่อถวายการรักษา หลังจากอาเมียนุห์หายดีแล้วเอวิเซนน่าจึงได้รับแต่งตั้งป็นแพทย์ในพระราชวังของพระองค์  และได้รับประทานอนุญาตให้เข้าไปใช้งานห้องสมุดหลวงได้
1001 ผลงานเขียนที่เก่าแก่ที่สุดของเอวิเซนน่าที่ยังหลงเหลืออยู่จนปัจจุบัน เป็นผลงานแนวปรัชญาถูกเขียนขึ้นเมื่ออายุ 21 ปี
1002 เมื่อพอของเขาเสียชีวิต ดูเหมือนว่าอวิเซนน่าจะได้รับตำแหน่งราชการสืบต่อจากมาของเขา
1004 อาณาจักรซามานิดก็ถูกพวกเติร์ก (Turks) รุกรานและพ่ายแพ้ ทำให้เอวิเซนน่าออกจากกรุงบุคาร่าย้ายไปอยู่ที่เมืองเกอร์จัน (Gurganj, Khwarazm)
1012 ย้ายมาอยู่ที่ (Jurjan, Khurasan)
1013 ทำงานในวังของอาเมีย มาจ์ด อัล-ดาวลา (Majd al-Dawla) แห่งราชวงศ์บุยิด (Buyid Emir) ในเมืองเรย์ย (Rayy)
1015 ได้รับตำแหน่งที่ปรึกษาของชามส์ อัล-ดาวลา (Sham al-Dawla) ที่เมืองฮามาดัน (Hamadan)
1021 หลังชามส์ อัล-ดาวลา เสียชีวิต , เอวิเซนน่าได้เขียนจดหมายถึงอาเมียแห่งเมืองอีสฟาฮาน (Isfahan~Kakuyid) เพื่อเสนอตัวทำงานด้วย แต่ว่าอาเมียคนใหม่ของเมืองฮามาดันได้พบจดหมายเสียก่อน จึงได้สั่งให้จับตัวเอวิเซนน่าขังคุก
1023 เขาเขียน The Canon of Medicine เสร็จระหว่างอยู่ในเมืองฮามาดัน หลังจากเริ่มเขียนมาตั้งแต่ปี 1012  หนังสือเล่มนี้ถูกแปลเป็นภาษาลาตินโดย เจราร์ด แห่ง ครีโมน่า (Gerade of Cremona)  ระหว่างปี 1150-1187  , The Canon เป็นตำราที่รวบรวมความรู้ทางการแพทย์ที่ดีที่สุดของช่วงสมัยนั้น  และได้รับการยอมรับกลายเป็นมาตรฐานตำหรับการแพทย์ของยุโรปในยุคกลาง
     เมื่อเมืองฮามาดันเกิดสงคราม เอวิเซนน่าได้รับการปล่อยตัว เขาพร้อมกับ อัล-จูซจานี (Aba al-Wahid Juzjani) และทาสอีกสองคน ได้เดินทางมายังเมืองอิสฟาฮาน
     อัล-จูซจานี เป็นผู้เขียนประวัติของเอวิเซนน่า ซึ่งเป็นเอกสารอ้างอิงถึงที่สำคัญที่สุด
ในอิสฟาฮาน ,เอวิเซนน่าได้เป็นที่ปรึกษาให้กับ อัลอา อัล-ดาวลา (Kakuyia ‘Ala’ al-Dawla) ผู้ปกครองเมือง ซึ่งช่วงเวลานี้เอวิเซนน่าได้เขียนหนังสือปรัชญา The Book of Knowledge for ‘Ala’ al-Dawla (Danishnama-yi ‘Ala’i)

1037  เอวิเซนน่า ติดตามอัล-ดาวลา  ระหว่างยกทัพมายังฮามาดัน แต่ว่าเอวิเซนน่าล้มป่วยด้วยอาการของโรคบิด (Colic) จนเสียชีวิตในเดือนมิถุนายน, วัย  58 ปี ในฮามาดัน

ผลงานเขียนบางส่วน

  • Compendium on the Soul (Maqala fi’l-nafs)
  • Philosophy for the Prosodist (al-Hikma al-‘Arudiya)
  • The Canon of Medicine (al-Qanum fi’l-Tibb)
  • The Book of Healing (al-Shifa)
  • The Book of Knowledge for ‘Ala’ al-Dawla (Danishnama-yi ‘Ala’i)
  • Book of Salvation
  • Divine Wisdom
  • Book of Sum and Substance
  • Philosophy for the Prosodist
  • Book of Virtue and Sin
Don`t copy text!