Numquam prohibere somniantes 

Never stop dreaming

Alexander Von Humboldt

อเล็กซานเดอร์ ฟอน ฮัมโบล์ด (Friedrich Wilhelm Heinrich Alexander von Humboldt)
นักสำรวจ,​ นักวิทยาศาสตร์
ฮัมโบล์ด เกิดเมื่อวันที่ 14 กันยายน 1769 ในเบอร์ลิน ประเทศปรัสเซีย  พ่อของเขาชื่ออเล็กซานเดอร์ จอร์จ (Alexander Georg von Humblodt) เป็นทหารยศร้อยเอกในกองทัพปรัสเซีย เคยร่วมรบในสงครามเจ็ดปี (Seven Years’ War) ก่อนที่จะเกษียณในปี 1766 และย้ายมาอยู่ที่เบอร์ลิน และแต่งงานกับแม่ของฮัมโบล์ด  และอเล็กซานเดอร์ จอร์จได้รับการแต่งตั้งให้เป็นแชมเบอรเลียน (Chamberlian) ทำงานรับใช้มงกุฏราชกุมาร ซึ่งต่อมาคือกษัตริย์ วิลเฮล์ม ที่ 2 (Friedrich Wilhelm II)
แม่ของฮัมโบล์ดชื่อมาเรีย (Maria Elisabeth Colomb) เป็นภรรยาคนที่สองของพ่อ และเป็นหญิงม่ายของบารอนโฮล์ดเวด (Baron Hollwede) พวกเขามีลูกด้วยกันสามคน แต่ลูกสาวคนโตเสียชีวิตตั้งแต่ยังเล็ก เหลือแต่ฮัมโบล์ด และพี่ชายของเขาชื่อวิลเฮล์ม (Wilhelm, b.1767) 
พวกเขาอาศัยอยู่ในปราสาทเตเกล (Tegel Palace) ปราสาทเล็กๆ ซึ่งเป็นสมบัติที่มาเรียได้ครอบครองจากาการแต่งงานครั้งแรก 
วัยเด็กของเขา เขาและพี่ชายเรียนหนังสือโดยมีติวเตอร์มาสอนที่บ้าน ครูคนแรกของพวกเขาคือโจฮิม (Joachim Heinrich Campe) 
1779 พ่อของเขาเสียชีวิต ตอนที่ฮัมโบล์ดมีอายุ 9 ขวบ , ตั้งแต่ยังเล็ก เขามีงานอดิเรกเป็นการสะสมตัวอย่างสิ่งมีชีวิตต่างๆ ทั้งต้นไม้, แมลง และเปลือกหอย  จนถูกตั้งฉายาว่าเป็นเภสัชกรน้อย «little apothecary»
1787 ได้เข้าเรียนด้านการเงินที่มหาวิทยาลัยแฟรงเฟิร์ต (University of Frankfurt) เป็นเวลาหกเดือน
1788 มาเบอร์ลินและได้เข้าเรียนที่ ม.ก๊อตติ้นเจ้น (University of Gottingen) ที่นี่ฮัมโบล์ดได้พบกับจอร์จ ฟอเรสเตอร์ (George Forester) ซึ่งเคยเป็นนักวาดภาพให้กับกัปตันเจมส์ คุก (James Cook)  พวกเขาจึงได้ร่วมกันออกเดินป่าในหลายสถานที่ในยุโรป ทั้งเนเธอแลนด์และอังกฤษ  หลังกลับจากการเดินทางฮัมโบลด์มีความสนใจต้องการศึกษาธรรมชาติของประเทศแถบร้อนมากขึ้น เขาจึงได้เข้าเรียนธาตุวิทยาและพฤกษศาสตร์
1789 ได้ออกเดินทางสำรวจแม่น้ำไรน์ (Rhine river) เป็นช่วงเวลาสั้นๆ หลังจากกลับมาเขาจึงได้เขียนหนังสือ Mineralogic Observations on Several Basalts on the River Rhine
1791 เข้าเรียนที่สถาบันเหมืองแร่ไฟร์เบิร์ก (Freiberg Academy of Mines)  ภายใต้การสอนของเวอร์เนอร์ ( A.G. Wener) นักธรณีวิทยาที่มีชื่อเสียงซึ่งสอนหนังสืออยู่ที่
1792 ช่วงฤดูหนาวหลังจากเรียนจบได้เดินทางกลับเบอร์ลิน ได้งานเป็นเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเหมืองแร่ของรัฐบาลในเขตฟรานโซเนีย (Franconia) ทำให้เขามีโอกาสเดินทางไปในหลายๆ เมืองของเยอรมัน เพื่อดูการทำเหมืองแร่และศึกษาด้านธรณีวิทยา  เขายังตั้งโรงเรียนขึ้นมามาในสเตเบน (Steben) เพื่อให้นักเรียนได้เรียนฟรีด้วย 
1793 มีผลงานเขียนการค้นคว้าพฤษศาสตร์ของเขา เขียนเป็นภาษาลาติน พิมพ์ออกมาในชื่อเรื่อง Florae Fribergensis, accedunt Aphorismi ex Doctrina, Physiologiae Chemicae Plantarum หนังสือเล่มนี้ทำให้เกอเธ่ (Johann Wolfgang von Goethe) นักเขียนชื่อดังในเวลาอยากจะรู้จักกับฮัมโบล์ด
1794 ฮัมโบล์ดได้เข้าร่วมกับกลุ่ม Weimar Classicism ซึ่งในกลุ่มมีเกอเธ่ และสชิลเลอร์ (Schiller)  อยู่ด้วย
1796 19 พฤศจิกายน, แม่ของเขาเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง โดยที่ทิ้งสมบัติเอาไว้มากมาย ทำให้ฮัมโบลต์ ลาออกจากราชการและอออกเดินทางผจญภัย กับนักพฤษศาสตร์ชื่อ (Aime Bonpland) โดยพวกเขาได้เดินทางไปยังกรุงแมดดริดของสเปน เพื่อขอพระราชทานหนังสือเดินทางจากกษัตริย์ ชาร์ล ที่ 4 (King Charles IV) เพื่อเข้าไปยังอเมริกาใต้
1799 5 มิถุนายน, ฮัมโบล์ด และบอน์พแลนด์ เริ่มออกเดินทาง โดยเรือชื่อปิซาร์โร่ (Pizarro)
16 กรกฏาคม, เรือเดินทางมาถึงชายฝั่งคุมาน่า (Cumana, Venezuela) โดยการมาเวเนซุเอล่านี้ไม่ใช่เป้าหมายเดิมของเรือ แต่ว่าเกิดการระบาดของไทฟอย์ด (typhoid)  บนเรือ ทำให้กัปตันต้องเปลี่ยนเป้าหมายจากคิวบามายังเวเนซุเอล่าแทน
ฮัลโบล์ดออกสำรวจบริเวณลุ่มแม่น้ำโอรินโค่ (Orinco River) ที่มีความยาวกว่า 1700 ไมล์ โดยพวกเขาใช้เรือแคนนูลำใหญ่สองลำ และจ้างชาวพื้นเมือง 18 คน โดยไกด์ที่เป็นชาวพื้นเมืองชื่อว่าคารอส (Carlos del Pino)  , เดินทางไปสำรวจภูเขาไปไทเด (Teide volcano) และชายฝั่งคุมาน่า
ระหว่างที่เขาเดินทางไปสำรวจทางตะวันออกเฉียงเหนือของเวเนซุเอล่า ที่คาไรพ์ (Caripe) ฮัมโบล์ด ได้พบกับออยล์เบิร์ด (Oilbird) ซึ่งเป็นนกกินพืชชนิดเดียวที่หากินในเวลากลางคืน ฮัมโบล์ดเป็นชาวยุโรปค้นแรกที่บันทึกการพบนกชนิดนี้
ต่อมาเขาค้นพบกระแสน้ำ Peruvian Current (Humboldt Current)
1800 24 พฤศจิกายน, ฮัมโบล์ดและบอน์พแลนด์ ออกเรือไปยังคิวบา ที่คิวบาพวกเขาได้รู้กับกับจอห์น ฟราเซอร์ (John Fraser) นักสะสมพันธ์พืชที่มีชื่อเสียงในเวลานั้น  ฟราเซอร์ช่วยฮัมโบล์ดในการส่งตัวอย่างพืชที่เก็บสะสมมากลับไปยังยุโรป, พวกเขายังใช้เวลาอีกหลายเดือนในการสำรวจภูมิประเทศตามแนวหมู่เกาะแอนติลเลส (Antilles) 
1801 30 มีนาคม, เดินทางมาคาร์ตาเจน่า (Cartagena de Indias) ชายฝั่งคาริบเบียนของโคลัมเบีย และเดินทางโดยเรือไอนำ้ล่องไปตามแม่น้ำแม็กดาเลน่า (Magdalena river) ไปจนถึงเมืองโบโกต้า (Bogota) ซึ่งที่โบโกต้า ฮัมโบล์ดได้พบกับโจเซ่ มูติส (Jose Celestino Mutis) หัวหน้าทีมสำรวจของอังกฤษ ซึ่งมูติส ได้ให้ฮัมโบล์ดศึกษาภาพวาดของสิ่งมีชีวิตจำนวนมากที่เขาได้บันทึกเอาไว้
ฮัมโบลด์ใช้เวลานานในการสำรวจที่ราบสูงโบโกต้านี้ และยังได้สำรวจลึกเข้าคิโต (Quito) และได้ปีนสำรวจภูเขาไฟหลายลูก รวมถึงภูเขาไฟชิมโบราโซ่ (Chimborazo) ที่ยังไม่มีใครเคยขึ้นไปด้วย
1803 กุมภาพันธ์, เดินทางมาถึงเม็กซิโก ที่นี่เขาได้ศึกษาภูเขาไฟ และอายรธรรมโบราณของแอ็ซเทค (Aztec) และโตลเตค (Toltec)  ที่ท่าเรืออคาปัลโค (Acapulco) และเขาได้เดินทางต่อมายังเม็กซิโกซิตี้ (Mexico City) และได้เข้าพบกับดอน โจเซ่ (Viceroy Don, Don Jose de Iturrigaray)
1804 ออกจากคิวบาและได้มาแวะที่ฟิลาเดลเฟียในสหรัฐฯ เขาได้มีโอกาสพบกับเบนจามิน รัช (Benjamin Rush) แพทย์ที่ร้องเพลงประกาศอิสรภาพของสหรัฐฯ และคาสซาร์ วีสตาร์ (Caspar Wistar) นักเคมีที่พัฒนาวัคซีนไข้รักษาทรพิษ นอกจากนั้นเขายังได้ติดต่อกับประธานาธิบดีเจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) ผ่านทางจดหมายเพราะมีความสนใจเกี่ยวกับวิทยาการร่วมกัน
9 กรกฏาคม, หลังจากอยู่ในสหรัฐฯ หกสัปดาห์ เขาก็ออกเดินทางกลับยุโรป
3 สิงหาคม, เขามาถึง Bordeaux , การเดินทางไปทวีปอเมริกาครั้งนี้ เขานำตัวอย่างสิ่งมีชีวิตกว่าสี่พันชนิดกลับมาด้วย และยังมีผลงานด้านวิทยาศาสตร์อีกกว่าสองพันชิ้น ฮัมโบล์ดต้องใช้เวลาอีกหลายปีในการเขียนหนังสือเกี่ยวกับการเดินทางของเขา และกลายมาเป็นหนังสือกว่า 30 เล่ม
1805 ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของ Prussian Academy of Sciences
ในปีนี้เขาได้เดินทางไปอิตาลี เพื่อเยี่ยมพี่ชาย และยังได้ไปยังเมืองเนเปิ้ล (Naples)เพื่อสังเกตุการณ์ปะทุของภูเขาไฟเวซุเวียส (Vesuvius) 
1806 มาอยู่ในเบอร์ลิน และให้ความสนใจศึกษาเกี่ยวกับสนามแม่เหล็ก ซึ่งเขาได้เขียนเอาไว้ในหนังสือ Scenes of Nature
1808 ตามเสด็จเจ้าชายวิลเฮ็ล์ม (Prince Wilhelm of Prussian) ไปปารีสเพื่อเจรจากับนโปเลียน (Napolean) ซึ่งหลังจากเสร็จภาระกิจแล้ว ฮัมโบล์ดอาศัยอยู่ในฝรั่งเศสอีกเกือบยี่สิบปีต่อมา
1822 มาที่อิตาลีอีกครั้งเพื่อสังเกตุการระเบิดของภูเขาไฟเวซุเวียสรอบใหม่อีกครั้ง
1827 มาอยู่ในเบอร์ลิน และสอนหนังสือ และเริ่มเขียน Kosmos
1829 เดินทางไปรัสเซีย เพราะได้รับข้อเสนอจากรัฐมนตรีคลังของรัสเซีย เคานต์ จอร์จ แคนคริน (Count Georg von Cancrin) เพื่อสนับสนุนทุนให้เขาเดินทางไปสำรวจบริเวณเทือกเขายูราล ซึ่งตอนนั้นรัสเซียกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้แพลตินัมในการหนุนค่าเงิน จึงต้องการรู้ถึงปริมาณแร่สะสมในธรรมชาติ 
พฤศจิกายน, เขากลับถึงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และต่อมาได้เดินทางกลับปารีส
1831 เขาเขียนหนังสือออกมาสองเล่มเกี่ยวกับการเดินทางในรัสเซีย คือ Fragmens de géologie et de la climatologie asiastique (1831) และ Asie Centrale (1843)
1832 มาอยู่ในเบอร์ลิน 
1835 วิลเฮ็ล์มพี่ชายของเขาเสียชีวิต 
1845 Kosmos เล่มแรกพิมพ์ออกมา โดยทั้งชุดมี 5 เล่ม ถูกพิมพ์ระหว่าง 1845-1862
1857 24 กุมภาพันธ์, ป่วยด้วยอาการเลือดออกในสมอง 
1859 6 พฤษภาคม, เสียชีวิตเมื่ออายุ ปี , เขาไม่เคยแต่งงาน ร่างของเขาถูกฝังไว้ที่สุสานในเบอร์ลิน
ผลงานเขียนบางส่วน
Personal Narrative (1814–29)
Aspects of Nature (1849).
Jaguars and Electric Eels
The Island of Cuba
Views of the Cordilleras and
Political Essay on the Kingdom of New Spain
Personal Narrative of Travel 
A Geognostical Essay on the Superposition of Rocks in Both Hemispheres
Essay on the Geography of Plants
The Ancient Inhabitants of America

The island of Cuba

Don`t copy text!