ออกัสต้า เอด้า คิง-โนเอล (Augusta Ada King-Noel)
เอด้า เกิดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 1815 ในกรุงลอนดอน, อังกฤษ ชื่อเมื่อแรกเกิดคือ ออกัสต้า ไบรอน ( Augusta Ada Byron) เป็นลูกสาวของบารอนจอร์จ ไบรอน (George Gordon Byron, 6th Baron Byron) กับแอนน์ อิสเบลล่า มิลแบนค์ (Anne Isabella Milbanke, 11th Baroness Wentworth)
ไม่กี่เดือนหลังจากเอด้าเกิด พ่อแม่ของเธอก็แยกทางกัน บารอนไบรอน นั้นเป็นกวีที่เก่ง แต่ว่ามีอารมณ์รุ่นแรงซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุให้ทั้งคู่แยกทางกัน โดยที่เอด้าถูกแม่ของเธอนำไปเลี้ยง แต่ว่าเอด้าก็ไม่ได้ใกล้ชิดกับแม่ เพราะแม่ปล่อยให้จูดิธ (Judith Lady Milbanke) ย่าของเอด้าเป็นคนเลี้ยงดูเอด้าเสียมากกว่า, ส่วนบารอนไบรอนหลังจากหย่าแล้วก็ไม่กลับมาเหลียวแลครอบครัวอีกเลย เขาเดินทางออกไปอาศัยอยู่ในต่างประเทศจนกระทั้งเสียชีวิต
ย่าของเอด้าเสียชีวิตตอนที่เธออายุ 7 ปี หลังจากนั้นแม่เป็นคนดูแลเธอ แต่ว่าแม่ของเธอเป็นคนเข้มงวด เธอจ้างครูมาสอนหนังสือเอด้าที่บ้าน โดยต้องการเน้นวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เพราะไม่ต้องการให้เอด้าสนใจกวีแบบพ่อ
1824 บารอนไบรอน พ่อของเอด้าเสียชีวิตในกรีซ
1829 ล้มป่วยอย่างหนักด้วยโรคหัด จนกระทั้งไม่สามารถเดินได้เป็นปี
1833 เอด้าได้รู้จักกับแมรี่ ซอเมอร์วิลล์ (Mary Somerville) นักคณิตศาสตร์หญิงในตอนนั้น ซึ่งถูกจ้างมาเป็นติวเตอร์ให้กับเอด้า
5 มิถุนายน, ตอนเอด้าอายุ 17 ปี แมรี่แนะนำให้เอด้ารู้จักกับชาร์ล แบบเบจ (Charles Babbage) ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ด้านคณิตศาสตร์อยู่ที่มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ (University of Cambridge) ซึ่งชาร์ลเมื่อรู้ว่าเอด้ากับแม่ของเธอมีความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ก็ได้เชิญทั้งคู่ไปดูเครื่องคำนวณที่เขาประดิษฐ์ขึ้น ชื่อว่า difference engine ซึ่งเขาต้องการที่จะพัฒนาให้มันทำงานโดยใช้ไอน้ำ
หลังจากนั้นเอด้าได้เขียนจดหมายไปขอพิมพ์เขียวของเครื่อง difference engine เพื่อที่จะศึกษาการทำงานของมันอย่างจริงจัง
เอด้ายังได้มีโอกาสเห็นการทำงานของเครื่อง Jacquard loom ระหว่างที่เดินทางไปดูโรงงานทอผ้าซึ่งใช้เครื่องจักรไอน้ำ โดยี่ Jacquard loom เป็นเครื่องจักรที่ช่วยให้การทอผ้าเกิดลวดลายตามที่ออกแบบ เครื่องนี้ถูกสร้างขึ้นในปี 1801 ควบคุมการทำงานโดยใช้บัตรเจาะรู (punch card)
1835 เมื่ออายุ 19 ปี เอด้าได้แต่งงานกับวิลเลี่ยม คิง (William King) พวกเขามีลูกด้วยกันสามคน
1838 วิลเลี่ยม คิง ได้รับตำแหน่งเป็นเอิร์นแห่งเลิฟเลค (Earl of Lovelace)
1840 ชาร์ล แบบเบจ เดินทางไปสัมมนามหาวิทยาลัยตูริน (University of Turin) ในอิตาลี ซึ่งเขาได้บรรยายเกี่ยวกับแนวคิดของเครื่องคำนวณตัวใหม่ที่มีความสามารถเหนือกว่า difference engine เขาเรียกมันว่า Analytical Engine ซึ่งในที่จัดการสัมมนามีวิศวกรหนุ่ม ชื่อลูจิ เมนาเบรีย (Luigi Federico Menabrea) เข้าฟังด้วย ซึ่งหลังการสัมมนาจบ เมนาเบรียได้กลับมาเขียนหนังสือชื่อ Sketch of Charles Babbage’s Analytical Engine เป็นภาษาฝรั่งเศส
ชาร์ล แบบเบจได้หนังสือเกี่ยวกับเครื่อง Analytical Engine ของเขาฉบับฝรั่งเศสมา จึงได้ขอให้เอด้าแปลเป็นภาษาอังกฤษ เอด้าจึงได้แปลหนังสือนี้ ซึ่งเอด้าไม่เพียงแต่แปลภาษาอย่างเดียว แต่ว่าเธอยังใส่โน๊ตของตัวเองเข้าไปด้วย เพื่ออธิบายว่า Analytical Engine จะต้องทำงานอย่างไรด้วยคณิตศาสตร์ ทำให้หนังสือที่เธอแปลหนากว่าต้นฉบับเดิมสามเท่า ส่วนที่เธอเขียนเพิ่มเข้าไป เรียกว่า Notes ซึ่งเธอใช้นามแฝงว่า A.A.L
ใน Note G เอด้าได้เขียนอธิบายว่าเครื่องจักรจะสามารถถูกโปรแกรมให้คำนวณจำนวณเบอร์นัวลิ (Bernoulli numbers) ได้อย่างไร ซึ่งหลายคนยกย่องเอด้าว่าเป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก
เครื่อง Analytical Engine ไม่เคยถูกสร้างขึ้นจริงในชั่วชีวิตของชาร์ล แบบเบจ เพราะว่าเขาขาดเงินทุน
1841 กลับมาศึกษาคณิตศาสตร์อีกครั้ง โดยได้เรียนคณิตศาสตร์ชั้นสูงกับ ศจ.ออกัสตัส (Professor Augustus De Morgan) แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอนคอลเลจ (University College London)
1852 27 พฤศจิกายน, เสียชีวิต ขณะมีอายุเพียง 36 ปี ด้วยโรคมะเร็งในมดลูก (uterine cancer)
ก่อนเสียชีวิตนั้น ชาร์ล ดิคเคน (Charles Dickens) นักเขียน ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของเอด้า ได้อ่านงานเขียนของเขาเรื่อง Dombey and Son ให้เอด้าฟังระหว่างที่เอด้านอนอยู่บนเตียง
ร่างของเอด้าถูกนำไปฝังข้างกับบิดาของเธอที่โบสถ์เซนต์แมรี่ แม็กดาเลน (Church of St.Mary Magdalenen) ในเมืองฮัคแนลล์ (Hucknall)
1970s กระทรวงกลาโหมสหรัฐพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์ขึ้นมา โดยใช้ชื่อ Ada เพื่อเป็นเกียรติแก่เอด้า
1991 มีการสร้างเครื่อง Analytical Engine ขึ้นมาจริงครั้งแรก โดยโดรอน สเวด (Doron Swade) ผู้อำนวยการของพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ลอนดอน (London’s Science Museum)