หลุยส์ ที่ 14 (LOUIS XIV)
The Sun (le Roi-Solei)
หลุยส์ ประสูติในวันที่ 5 กันยายน 1638 ณ. พระราชวัง Château de Saint-Germain-en-Laye ทรงเป็นโอรสของกษัตริย์หลุยส์ ที่ 13 (Louis XIII) และแอน แห่งออสเตรีย (Anne of Austria)
หลุยส์ มีพระนามว่า Louis Dieudonne (Louis the God-given) ที่พระองค์ทรงได้รับพระนามเช่นนี้ เพราะทรงประสูติหลังจากพระบิดาและพระมารดาของพระองค์อภิเษกกันแล้วกว่า 23 ปี จึงเชื่อกันว่าหลุยส์เป็นของขวัญที่พระเจ้าประทานลงมาให้
หลุยส์ มีพระยศเป็น Dauphin of France เมื่อแรกประสูติ
1643 กษัตริย์หลุยส์ ที่ 13 สวรรคต , หลุยส์ จึงได้ขึ้นเป็นกษัตริย์สืบต่อมา แต่ว่าขณะนั้นหลุยส์ มีอายุเพียง 4 ชันษา พระราชชนนีแอน จึงทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการ พระราชชนนีแอนได้แต่ตั้งพระคาร์ดินัลมาซาริน (Cardinal Mazarin) ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีและปรึกษาทางด้านศาสนา
ตอนอายุ 5 ปี หลุยส์ เกือบจะเสียชีวิตเพราะจมน้ำในสระ ภายในพระราชวัง Palais-Royal
1646 นิโคลัส (Nicolas V de Villeroy) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอาจารย์
1647 พฤศจิกายน,หลุยส์ มีพระอาการประชวรด้วยโรคฝีดาษ (smallpox)
1648 เกิดสงครามกลางเมืองในฝรั่งเศส (Fronde, 1648-1653) เพราะว่ามาราซีนต้องการควบคุมการขยายตัวของปารีสซึ่งขณะนั้นมีประชากรกว่าครึ่งล้านคน เขาออกนโยบายเก็บภาษีสูงสำหรับผู้ที่สร้างบ้านนอกเขตกำแพงเมือง ทำให้ประชาชนที่ไม่พอใจพากันประท้วงโดยใช้เครื่องยิงหิน (Fronde, Sling) ซึ่งคล้ายกับหนังสะติ๊ก ยิงลูกหินไปยังสถานที่ราชการสำคัญของรัฐบาลเพื่อประท้วง
ขณะเดียวกับสมาชิกรัฐสภาซึ่งส่วนใหญ่เป็นขุนนางและชนชั้นสูง ก็ไม่พอในนโยบายภาษีที่เรียกเก็บกับสมาชิกรัฐสภา ( the Fronde parlementaire , 1648-1649) ด้วย ก็พากันประท้วง และเรียกร้องให้กฏหมายภาษีใดๆ ต้องผ่านการยินยอมของสภาเสียก่อน รวมถึงกฏหมายที่ผ่านไปแล้วแต่ไม่ได้รับการรับรองจากสภาก็ต้องถูกยกเลิก
มาราซินและพระชนนีแอนน์ตอบโต้การประท้วงของสมาชิกสภาด้วยการสั่งให้มีการจับกุมแกนนำหลายคน ร่วมถึงปิแอร์ เบราส์เซล (Pierre Broussel) ซึ่งได้รับความนิยมสูง ทำให้การประท้วงในกรุงปารีสลุกราม ประชาชนพากันชุมนุมเรียกร้องให้ปล่อยตัวเบราส์เซลและสมาชิกคนอื่นๆ
มาซารีนได้หนีออกจากปารีสไป ในขณะที่ผู้ประท้วงได้บุกเข้าไปในพระราชวังและพยายามจะจับตัวหลุยส์ซึ่งกำลังบรรทมอยู่ พระราชีนิแอนจึงได้พยายามพาหลุยส์เสด็จหนีออกจากปารีส แต่ว่าไม่สำเร็จและถูกผู้ประท้วงกักตัวไว้แต่ในพระราชวัง
แต่ว่าสถานะการณ์กลับสู่ความสงบเมื่อ Marie de Rohan
20 สิงหาคม, เจ้าชายแห่งคอนเต้ (Louis II de Bourbon, Prince de Condé) รบชนะเสปน (Battle of Lens) ซึ่งนำไปสู่การเจรจาสันติภาพระหว่างเสปนและฝรั่งเศส
22 ตุลาคม, พระชนนีแอน, หลุยส์ หนีออกจากปารีสได้สำเร็จ
24 ตุลาคม, ข้อตกลงสันติภาพเวสต์ฟาเลีย (Treaty of Munster, Peace of Westphalia) , ยุติสงคราม 30 ปี (Thirty Years’ War) ระหว่งฝรั่งเศสและสเปน เป็นหนึ่งในความสำเร็จของมาซารีน และพระชนนีแอนน์
เมื่อสงครามกับสเปนยุติ กองทัพจึงวางมือจากแนวรบได้ และเจ้าชายแห่งคอนเต้ ได้รับคำสั่งจากพระชนนีแอนให้นำกำลังมาต่อสู้กับฝ่ายผู้ประท้วงในปารีส เจ้าชายแห่งคอนเต้ได้ใช้กำลังทหารล้อมปารีสเอาไว้ เพื่อบีบให้มีการเจรจา
1649 11 มีนาคม, (Peace of Rueil) เป็นข้อตกลงที่ทำให้สงครามกลางเมืองในฝรั่งเศสยุติลง ผู้ประท้วงในปารีสยอมวางอาวุธ และพระชนนีแอน, หลุยส์ และราชวงศ์ได้เสด็จกลับมายังปารีส
1650 18 มกราคม, มาราซีนสั่งให้จับตัวเจ้าชายแห่งคอนเต้ เพราะกลัวว่าเขาจะหันไปร่วมมือกับฝ่ายสมาชิกของรัฐสภา แต่ว่าเขาได้รับการช่วยเหลือให้หนีไปได้
1651 เจ้าชายคอนเต้พยายามก่อการกบฏ (the Fronde des princes)
1652 เจ้าชายคอนเต้ยกกองทัพเข้ามาในปารีส แต่ว่าการกระทำที่เหี้ยมโหดของเขาทำให้สูญเสียการสนับสนุน
1653 มาซารีนกลับจากลี้ภัย, หลุยส์ตกหลุมรักกับ Marie Mancini ญาตของมาราซิน แต่ว่าราชินีแอนไม่ต้องการให้หลุยส์แต่งงานกับมาราซินี ถึงได้ส่งตัวเธอไปแต่งงานกับชายอื่นในอิตาลี ราชินีแอนนั้นวางแผนให้หลุยส์แต่งงานกับพระธิดาของพระเชษฐาของพระอง์, ฟิลิป ที่ 4 แห่งสเปน (Philip IV of Spain)
1654 7 กันยายน, หลุยส์เข้าพิธีราชาภิเษก
1658 มาราซีนก่อตั้งสันนิตบาตไรน์ (League of the Rhine) มีเป้าหมายที่จะสนับสนุนหลุยส์ ที่ 14 ให้เป็นจักรพรรดิของโฮลี่โรมัน
30 มิถุนายน, ล้มป่วยด้วยอาการอาหารเป็นผิดและไทฟอยด์ (typhoid)
1659 สนธิสัญญาไพร์นี (Peace of the Pyrenees) เป็นยุติสงครามกับสเปน โดยมีเงื่อนให้สเปนยอมถอนทหาร และให้หลุยส์ แต่งงานกับพระธิดาในกษัตริย์ฟิลิป แต่พระธิดาและทายาทที่เกิดมาจะไม่มีสิทธิการอ้างกรรมสิทธิใดๆ ในสเปนในอนาคต และสเปนจะมอบได้ค่าสินสอดอีกเป็นทองคำ 5 แสนอีคัส (ecus)
1660 9 มิถุนายน,อภิเษกกับ มาเรีย ออสเตรีย(Maria Theresa Austria) พระธิดาองค์โตในฟิลิปที่ 4 แห่งสเปน ภายในวิหารเซนต์จอห์น (Church of Saint John the Baptist of Saint-Jean-de-Luz) ทั้งสองพระองค์มีพระโอรสและพระธิดารวม 6 องค์ แต่ว่ามีเพียงหลุยส์ แกรนด์ ดอฟิน (Louis le Grand Dauphin, ~Monseigneur) พระโอรสพระองค์เดียวเท่านั้นที่ผ่านวัยหนุ่มมาได้
1661 พระคาร์ดินัลมาซาริน เสียชีวิต, หลุยส์ จึงได้บริหารประเทศเอง พระองค์ได้แต่งตั้งฌอน โคลเบิร์ต ( Jean Baptiste Colbert) มาดูแลด้านการคลัง และมาร์กิสลูเวียส (marquis de Louvios) ดูแลด้านการทหาร
โคลเบิร์ต ช่วยแก้ปัญหาการคลัง ด้วยการปฏิรูปการจัดเก็บภาษีให้มีประสิทธิภาพมาขึ้น มีการจัดเก็บภาษีเกลือ (gabelle) และภาษีที่ดิน (taille) เพิ่มขึ้นมา
ซึ่งการปฏิรูปภาษีทำให้ฐานะการเงินของประเทศดีขึ้น การขาดดุลงบประมาณจากปี 1661 กลายเป็นการเกินดุลงบประมาณในปี 1666 และหนี้สินต่างประเทศลดจาก 52 ล้านลีฟร์ (livres) เหลือ 24 ล้านลีฟร์
1664 ก่อตั้งบริษัทอีสต์อินเดีย (French East India Company)
1665 17 กันยายน, กษัตริย์ฟิลิป ที่ 4 แห่งสเปนสวรรคต
ทันที่กษัติรย์ฟิลิป ที่ 4 สวรรคต หลุยส์ ที่ 14 อ้างเหตุผลว่าสเปนไม่ได้จ่ายค่าสินสอด 5 แสนอีคัส ตามที่เคยตกลงกันไว้ในสนธิสัญญา ฝรั่งเศสจึงอ้างกรรมสิทธิในสเปนนิสเนเธอแลนด์ (Spanish Netherlands), บราแมนต์ (Duchy of Brabant), ลิมบูรก์ (Duchy of Limburg), แคมเบรีย (Cambrai) , แอนเวอร์เป่น (the marquessate of Antwerpen), เมเชเลน (the Lordship of Mechelen), กูเอลเดอร์เหนือ (Upper Guelders), เนมาร์ (the counties of Namur), อาร์ตอส (Artois), ไอนอต (Hainaut), บางส่วนของเบอร์กันดี (County of Burgundy) และบางส่วนของลักเซมเบิร์ก (Duchy of Luxembourg)
1667 (War of Devolution, 1667-1668) กองทัพฝรั่งเศสบุกสเปนิสเนเธอแลนด์ (Spanish Netherlands, ในเบลเยี่ยมปัจจุบัน) และฟรานเชคอม (Franche-Comte)
1668 พันธมิตรสามชาติ (Triple Alliance) อังกฤษ, สวีเดน และสาธารณรัฐดัตช์ (United Provinces) ตกลงเป็นพันธมิตรทางทหารต่อกันเพื่อสนับสนุนสเปน ต่อต้านฝรั่งเศส แต่ว่าการรวมตัวกันครั้งนี้ไม่มีผลอะไรมาก เพราะว่าฝรั่งเศสได้แอบจ่ายสินบนให้กับชาร์ล ที่ 2 (Charles II of England) แห่งอังกฤษ และทำสนธิสัญญาโดเวอร์ (Treaty of Dover) กันอย่างลับๆ
2 พฤษภาคม, สนธิสัญญาเอ็กซ์-ลา-ชาเปลล์ (Treaty of Aix-la-Chapelle) ยุติสงครามกับสเปน โดยที่ฝรั่งเศสยอมถอนทหารออกจากฟรานเชคอม แต่ว่าก็ได้หลายเมืองในสเปนิสเนเธอแลนด์มาไว้
1672 (Franco-Dutch War) หลุยส์ ซึ่งไม่พอใจสาธารณรัฐดัตช์ที่เคยไปสนับสนุนสเปนในการตั้งพันธมิตรสามชาติ จึงได้เปิดสงครามกับสาธารณรัฐดัตช์
1674 ฝรั่งเศสบุกฟรานเช่คอม
1678 สิงหาคม, สนธิสัญญษนิจเมเจ้น (Treaties of Nijmegen) ยุติสงครามระหว่างฝรั่งเศสและดัตช์ โดยฝรั่งเศสคืนดินแดนที่ยึดจากสาธารณรัฐดัตช์ไป แต่ว่าได้ดินแดนฟรานเชคอม และพื้นที่บางส่วนของสเปนิชเนเธอแลนด์
ปีนี้มีการต่อเติมพระราชวังแวร์ซายครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่พระราชวังแห่งนี้เริ่มก่อสร้างในสมัยหลุยส์ ที่ 13
1679 หลุยส์ ที่ 14 เข้าไปแทรกแซงในสงครามของประเทศแถบสแกนดิเนเวีย (Scanian War) ระหว่างเบลเยี่ยม, เดนมาร์ก, นอร์เวย์, บรานเดนเบิร์ก (Brandenburg) กับสวีเดน โดยฝรั่งเศสเข้าข้างสเปน ซึ่งทำให้สงครามยุติ โดยประเทศคู่ขัดแย้งยอมลงนามในสนธิสัญญา Treaty of Saint-Germain-en-Laye และ Treaty of Fontainebleau
1680 หลุยส์ ตั้งสภารียูเนียน (Chambers of Reunion) เพือให้ดูแลดินแดนที่ผนวกเข้ามา และหาความเป็นไปได้ในการขยายดินแดน
1682 (Declaration of the Clergy of France, Gallicanism) ประกาศใช้กฏหมายซึ่งกำจัดอำนาจของคริสต์จักรในการยุ่งเกี่ยวกับกิจการด้านการปกครอง
1683 30 กรกฏาคม, พระราชินีมาเรีย เทเรซ่า สวรรคต
26 ตุลาคม, (War of Reunions) , สเปนเปิดสงครามกับฝรั่งเศส เพราะไม่พอใจที่ฝรั่งเศสพยายามขยายดินแดน ซึ่งส่วนใหญ่จะอ้างกรรมสิทธิในพื้นที่ของสเปนิชเนเธอแลนด์ของสเปน
1684 15 สิงหาคม, ข้อตกลงราติสบอน (Truce of Ratisborn) สเปนและฝรั่งเศสยุติสงครรามระหว่างกัน โดยสเปนยอมให้ฝรั่งเศสอยู่ในดินแดนที่ยึดเอาไว้ช่วงสงครามได้ 20 ปี ระหว่างการเจรจา
ฝรั่งเศสส่ง อเล็กซานเดอร์ เดอ ชัวมอนต์ (Alexandre, Chevalier de Chaumont) มายังอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระนาราย (King Narai) มีเป้าหมายที่ต้องการโน้มน้าวให้ราชสำนักอยูธยาเปลี่ยนไปนับถือแคโธริกซ์ และทำสนธิสัญญาการค้า แต่ว่าไม่ประสบผลสำเร็จ
1685 22 ตุลาคม, (Edict of Fontainebleau,Revocation of the Edict of Nantes) หลุยส์ ได้ออกกฤษฏีกาเฟาน์เทนบลัว เพื่อยกเลิกกฤษฏีกานันเตส์ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อกำจัดสิทธิผู้ต่างศาสนาที่ไม่ใช่แคโธริกซ์ โดยเฉพาะผู้นับถือโปเตสแตนท์ กฏหมายฉบับนี้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของฝรั่งเศสอย่างมาก เพราะผู้นับถือโปเตสแตนท์ที่ไม่ต้องการถูกบังคับให้เปลี่ยนนิกาย ซึ่งจำนวนมากเป็นแรงงานฝีมือต่างย้ายออกจากฝรั่งเศสไปยังประเทศอื่น
1686 สมเด็จพระนาราย ได้ส่งเจ้าพระยาโกษาธิบดี-ปาน กลับไปฝรั่งเศสพร้อมกับอเล็กซานเดอร์ เดอ ชัวมอนต์ เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส
1687 ฝรั่งเศสส่งทูตซีมอน (Simon de la Loubère) กลับมาสยามพร้อมกับพระยาโกษาธิบดี-ปาน อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งครั้งนี้สมเด็จพระนารายได้ประทานราชานุญาตให้ฝรั่งเศสใช้เมืองมะริด (Mergui) ตั้งฐานทัพเรือ
1688 เกิดการปฏิวัติในอยุธยา (Siamese Revolution 1688) สมเด็จพระเพทราชา (Phetracha) นายทหาร ที่มีเชื้อสายจีนแมนดาริน ได้อาศัยโอกาสที่สมเด็จพระนารายประชวรทำการปฏิวัติ สมเด็จพระเทพราชาจับตัวพระปีย์ (Phra Pi) พระโอรสบุญธรรมของพระนารายไปประหาร
5 มิถุนายน, คอนสแตนติน เกราชิ (Costantin Gerachi, Constantine Phaulkon, เจ้าพระยาวิชาเยนทร์, คอนสแตนติน ฟอลคอน) ถูกประหาร , คอนสแตนติน ฟอลคอน เป็นชาวกรีก ซึ่งเป็นสมุหนายกในสมเด็จพระนาราย และได้เปลี่ยนไปนับถือแคโธริก
ในช่วงที่ประนารายประชวรนั้นได้เกิดข่าวลือว่าคอนสแตนติน ฟอลคอน ตั้งใจจะใช้พระปีย์ (ซึ่งอาจจะนับถือแคโธริก) เป็นหุ่นเชิดในการบริหารบ้านเมืองแทน โดยที่คอนสแตนติน ฟอลคอน ชักใบอยู่เบื้องหลัง
หลังการปฏิวัติ สมเด็จพระเทพราชา ได้ปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ของอยุธยา และเริ่มราชวงศ์บ้านพลูหลวง ซึ่งการครองราชย์ของสมเด็จพระเทพราชาเป็นการสิ้นสุดอิทธิพลของฝรั่งเศสในราชสำนักอยุธยาไป
พระนารายสวรรคตไม่นานหลังการปฏิวัติ
มิถุนายน, สงคราม 9 ปี (War of the League of Augsburg, 1688-1697) อังกฤษ, สก๊อตแลนด์, สาธารณรัฐดัตช์, โฮลี่โรมัน, สเปน, สวีเดน, ซาวอย (Duchy of Savoy) จับมือกันเพื่อรบกับฝรั่งเศส
1697 สนธิสัญญาริสวิคก์ (Treaty of Ryswick) สิ้นสุดสงคราม 9 ปี
1700 กษัตริย์ ชาร์ล ที่ 2 (Charles II) แห่งสเปนสวรรคต ซึ่งพระองค์ไม่มีรัชทายาท
1702 สงครามชิงบัลลังค์สเปน (War of the Spanish Succession) ฝรั่งเศสอ้างสิทธิในบัลลังค์ของสเปน เพราะว่าราชินีแอนแห่งออสเตรีย พระมารดาของหลุยส์ ที่ 14 เป็นพระภคินีของฟิลิป ที่ 4 และพระราชินีมาเรีย ก็เป็นพระธิดาของฟิลิป ที่ 4 ด้วย
แต่ว่าจักรพรรดิลีโอโปล์ด ที่ 1 (Leopold I) แห่งโฮลี่โรมัน อ้างสิทธิที่เป็นหลานของฟิลิป ที่ 3 (Philip III) ก็อ้างกรรมสิทธิในสเปนด้วยเช่นกัน โดยได้รับการสนับสนุนจากอังกฤษและสาธารณรัฐดัตช์ เพราะว่าทั้งสองประเทศกลัวว่าฝรั่งเศสถ้าได้สเปนไปจะมีอำนาจมาก
1711 เจ้าชายหลุยส์ แกรนด์ ดอฟิน พระโอรสของหลุยส์ ที่ 14 สวรรคต
1713 สนธิสัญญษยูเทรชต์ (Treaty of Utrecht) ยุติสงครามกับสเปน, อังกฤษ, โปตุเกส, สาธารณรัฐดัตช์
1714 Treatys of Restate and Baden
1715 1 กันยายน, สวรรคต 4 วันก่อนที่จะมีพระชนษ์ 77 ปี
พระองค์ปกครองฝรั่งเศส นาน 72 ปี
หลุยส์, ดุ๊กแห่งอันโจ (Louis, Duke of Anjou) วัย 5 ชันษา ซึ่งเป็นพระราชปนัดดา ของหลุยส์ ที่ 14 ขึ้นครองราชย์ เป็นหลุยส์ ที่ 15 (Louis XV)
พระศพของหลุยส์ ที่ 14 ถูกนำไปบรรจุไว้ที่วิหารเซนต์เดนิส (Basilica of St. Denis) แต่ว่าวิหารถูกรื้อและทำลายในปี 1793 ช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส