Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

History of Quantum Mechanics

1877 ลุดวิก โบล์ตซมันน์ (Ludwig Boltzmann) เสนอไอเดียว่าระดับพลังงานทางพิสิกส์น่าจะมีสถานะที่ไม่ต่อเนื่อง 
1900 แม็กซ์ แพลง (Max Plank) เสนอแนวคิดว่า พลังงานสามารถที่จะคงสถานะได้ในจำนวนของปริมาณซึ่งแน่นอน (energy can only exist in certain amounts) ซึ่งเขาเรียนมันว่า ควอนต้า (Quanta)
1905 อัลเบิร์ต ไอสไตน์ (Albert Einstein) เสนอแนวคิดว่าว่า แสงประกอบขึ้นมาจากโฟตอน (photons) ซึ่งเป็นพลังงานซึ่งไม่ต่อเนื่อง
1913 นีลส์ บอห์ร (Niels Bohr) เสนอแบบจำลองโครงสร้างอะตอม
1922 อาร์เธอร์ คอมพ์ตัน (Arthur Compton) ทำการทดลองซึ่งพิสูจน์ว่ารังสีแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic radiation) สามารถที่จะถูกมองว่าเป็นอนุภาคโฟตอนได้
1923 หลุยส์ เดอ โบรกลี (Louis de Broglie) ค้นพบว่าอเล็กตรอน (electrons) มีพฤติกรรมเป็นคลื่นได้
1925 – นีลส์ บอห์ร และเวอร์เนอร์ ไฮเซนเบิร์ก (Werner Heisenberg) เป็นแกนหลักในการสรุปหลักการณ์ของกลศาสตร์ควอนตัม ซึ่งรู้จักกันในชื่อ Copenhagen Interpretation  
– ไฮเซนเบิร์ก, แม็กซ์ บอร์น (Max Born) และปาสคาล จัวร์แดน (Pascal Jourdan) พัฒนากลศาสตร์ควอนตัม แบบแรก
1926 เออร์วิน โชรดินเจอร์ (Erwin Schrödinger) เผยแพร่สมการคลื่น (wave equation) 
1927 ไฮเซนเบิร์ก เสนอหลักความไม่แน่นอน (uncertainty principle) 
1935 อัลเบิร์ต ไอสไตน์, บอริส โปโดลสกี้ (Boris Podolsky) และนาธาน โรเซ่น (Nathan Rosen)  เสนอ EPR (Einstein-Podolsky-Rosen paradox) ซึ่งอ้างว่ากลศาสตร์ควอนตัมยังไม่สมบูรณ์ที่จะอธิบายว่าความจริง (reality) คืออะไร
– โชรดินเจอร์ เสนอไอเดีย Schrödinger’s cat 
1957 ฮูจห์ อีวีเร็ตต์ (Hugh Everett) เสนอ Many-worlds interpretation 
1964 จอห์น เบลล์ (John Bell) เสนอแนวคิด Bell’s inequalities เพื่อพิสูจน์ว่ากลศาสตร์ควอนตัมเพียงพอที่จะอธิบายความจริงหรือยัง
1982 อเลน แอสเปกต์ (Alain Aspect) ทำการทดสอบ Bell’s inequalities 
ริชาร์ด เฟย์นแมน (Richard Feynman) เสนอแนวคิดการสร้างควอนตัมคอมพิวเตอร์

1997 ควอนตัมเทเลพอร์เทชั่น (Quantum teleportation) ประสบความสำเร็จครั้งแรกในห้องทดลอง
Don`t copy text!