แวนเนวาร์ บุช (Vannevar Bush)
ผู้ก่อตั้ง Raytheon
แวนเนวาร์ เกิดวันที่ 11 มีนาคม 1890 ในอีเวเร็ตต์, แมสซาซูเซตส์ (Everett, Massachusetts) พ่อของเขาชื่อเพอร์รี่ (Perry Bush) เป็นพาสเตอร์อยู่ในโรงเรียนคริสต์ แม่ชื่อเอ็มม่า (Emma Paine) แวนเนวาร์เป็นลูกคนที่สามของบ้าน เขาพี่มีสาวสองคนชื่ออีดิท (Edith) และเรบ่า (Reba)
1892 ครอบครัวย้ายบ้ายมาอยู่ในเชลซี (Chelsea, Massachusetts)
1909 แวนเนวาร์ จบมัธยมปลายจากโรงเรียนมัธยมเชลซี (Chelsea High School) หลังจากนั้นเขาเข้าเรียนที่วิทยาลัยตุฟต์ (Tufts College) ซึ่งเป็นที่เดียวกับที่พ่อของเขาจบมา ระหว่างเรียนแวนเนวาร์เป็นนักกีฬาฟุตบอล เป็นรองประธานนักศึกษาปีสอง และเป็นสมาชิกของกลุ่มภราดร Alpha Tua Omega
1913 แวนเนวาร์ จบปริญญาตรีและโทที่ตุฟต์ สาขาวิทยาศาสตร์ โดยเขาทำวิทยานิพนธ์ตอนจบปริญญาโท โดยสร้างอุปกรณ์ที่เรียกว่า “profile tracer” ซึ่งเขาจดสิทธิบัตรเอาไว้ด้วย เครื่องมือดังกล่าวเป็นเหมือนอุปกรณ์ช่วยเหลือในการรังวัดภูมิประเทศ
หลังจากเรียนจบเขาก็เข้าทำงานกับจีอี (General Electric) ในนิวยอร์ค โดยเริ่มเป็นพนักงานฝึกหัด หลังจากนั้นก็ได้ย้ายไปทำงานในโรงงานในแมสซาซูเซตส์ของจีอีในงานเกี่ยวกับการผลิตหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังสูง
1914 หลังจากโรงงานของจีอีเกิดอุบัติเหตุเพลิงไหม้ แวนเนวาร์ก็เปลี่ยนงานไปสอนหนังสือที่ตุฟต์ ในวิชาคณิตศาสตร์
1915 ช่วงซัมเมอร์เขาทำงานพิเศษที่อู่ต่อเรือของกองทัพในบรู๊คลิน
สมัครเข้าเรียนต่อวิศวกรรมไฟฟ้าที่เอ็มไอที (Massachusetts Institute of Technology)
1916 จบปริญญาเอกโดยได้วุฒิจากเอ็มไอทีและฮาร์วาร์ด (Harvard) ร่วมกัน โดยทำวิทยานิพนธ์หัวข้อ Oscillating-Current Circuits : An Extension of the Theory of Generalized Angular Velocities, with Applications to the Coupled Circuit and the Artificial Transmission Line
สิงหาคม, แต่งงานกับเฟียบี (Phoebe) พวกเขามีลูกด้วยกันสองคนชื่อริชาร์ด (Richard Davis Bush) และจอห์น (John Hathaway Bush)
หลังจากนั้นเขาก็กลับไปทำงานที่ตุฟต์ และระหว่างนี้ก็ถูกจ้างไปทำงานในห้องแล๊ปของ American Radio and REsearch Corporation (AMRAD) ซึ่งใช้พื้นที่ภายในตุฟต์ออกอากาศเพลงผ่านคลื่นวิทยุ
1917 เมื่อสหรัฐฯ เข้าร่วมในสงครามโลก ครั้งที่ 1 แวนเนวาร์ก็เข้าไปทำงานกับสภาวิจัยแห่งชาติ (National Research Council) ซึ่งเขาพยายามพัฒนาอุปกรณ์ในการตรวจจับเรือดำน้ำด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
1919 ออกจากตุฟต์ แล้วมาทำงานที่คณะวิศวกรรมไฟฟ้าของเอ็มไอที แต่ว่าเขายังทำงานให้กับ AMRAD เหมือนเดิม ซึ่งเมื่อสิ้นสุดสงครามโลก AMRAD ถูกยกเลิกโครงการหลายอย่างที่เคยได้รับจากรัฐบาล แวนเนวาร์จึงพยายามช่วยเหลือ โดยการพัฒนาเทอร์โมสเตติคสวิตช์ (thermostatic switch) ที่ประดิษฐ์โดยอัล สเปนเซอร์ (AI Spencer) แต่ว่า AMRAD ไม่สนใจที่จะผลิตสวิตช์ที่เขาประดิษฐ์ แต่ว่าแวนเนวาร์ได้รับการสนับสนุนจากลอเรนซ์ มาร์แชลล์ (Laurence K. Marshall) และริชาร์ด อัลดริช (Richard S. Aldrich) ในการสร้างบริษัท Spencer Thermostate Company เพื่อผลิตสวิตช์ดังกล่วา โดยจ้างแวนเนวาร์เป็นที่ปรึกษา ซึ่งไม่นานบริษัทก็สามารถขายสินค้าดังกล่าวได้กว่าล้านเหรียญ
1922 7 กรกฏาคม, แวนเนวาร์และมาร์แชลล์ ร่วมกับชาร์ลี สมิธ (Charles G. Smith) นักฟิสิกส์ ตั้งบริษัท American Appliance Company เพื่อผลิต S-tube อุปกรณ์ที่สมิธสร้างขึ้น อุปกรณ์นี้ช่วยให้วิทยุซึ่งขณะนั้นต้องใช้แบตเตอร์รี่สองชนิดที่ต่างกันในการทำงาน สามารถใช้แบตเตอร์รี่เพียงชิ้นเดียวได้ ซึ่งบริษัทนี้ต่อมากลายเป็น Raytheon บริษัทผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าและสินค้าทางการทหารรายใหญ่ของสหรัฐฯ
1929 ระหว่างอยู่ที่เอ็มไอที เขาได้ร่วมสร้างเครื่องคำนวณอนุพันธ์ (differential analyses) ร่วมกับฮาโรลด์ ฮาเซ่น (Harold Locke Haven) ซึ่งมีการทำงานแบบอนาล๊อก และสามารถคำนวณได้ 18 ตัวแปร
เขียนหนังสือ Operational Methods in Mathematical Physics
1932 ได้รับตำแหน่งอธิการบดีของคณะวิศวกรรม (MIT school of Engineering)
1935 ได้รับการว่างจ้างจาก OP-20-G ในการสร้างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการถพอรหัส แต่ว่าอุปกรณ์ที่เขาสร้างขึ้นกว่าจะเสร็จก็ในปี 1938 แต่ว่าอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นถือเป็นงานยุคบุกเบิกที่ยังไม่มีความน่าเชื่อถือในการทำงาน
1938 ได้รับตำแหน่งประธานของสถาบันคาร์เนกี้วอชิงตัน (Carnegie Institution of Washington) ซึ่งเป็นสถาบันที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้ทุนสนับสนุนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์
สิงหาคม, ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการที่ปรึกษาด้านกิจการการบิน (National Advisory Committee for Aeronautics, NACA) ซึ่งเป็นองค์กรอวกาศของสหรัฐฯก่อนที่จะเกิดองค์การนาซ่า (NASA)
1939 เขาได้ตำแหน่งประธานของ NACA จนกระทั้งปี 1948
1940 เมื่อเยอรมันบุกฝรั่งเศส แวนเนวาร์ได้เตรียมร่างกฏหมายในการตั้งกรรมาธิการด้านการวิจัยกลาโหมแห่งชาติ (National Defense Research Committee, NDRC) เพราะเขาเห็นว่ามีช่องว่าในการประสานงานกันระหว่างงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์กับงานด้านกลาโหม แวนเนวาร์เห็นความสำคัญของการลดช่องว่างนี้เขาจึงได้เสนอร่างกฏหมายให้กับประธานาธิบดีรูสเวลต์ (Franklin D. Roosevelt) เพื่ออนุมัติโดยตรง โดยรูสเวลต์ใช้เวลาเพียงสิบห้านาทีก่อนที่จะอนุมัติ
1941 แวนเนวาร์ไ้ดรับการแต่งตั้งจาก ปธน.รูสเวลต์ให้เป็นประธานของสำนักงานวิจัยและการพัฒนาวิทยาศาสตร์ (Office of Scientific Research and Development, OSRD) ซึ่งเงินทุนส่วนใหญ่แวนเนวาร์ใช้ไปในการสนับสนุนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอาวุธสงคราม
ซึ่งผลงานของ OSRD ช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2 อาทิ การผลักดันโครงการสร้างระเบิดนิวเคลียร์ ในโครงการแมนฮัตตัน (Manhattan Project)
1945 เขาเขียนบทความ As We May Think ลงในแม็กกาซีน The Atlantic Monthly ซึ่งเขาทำนายคาดการณ์ว่าในอนาคตจะ Memex มีอุปกรณ์ซึ่งช่วยเก็บข้อมูลขนาดเล็กที่เก็บหนังสือหลายพันเล่มเอาไว้ได้
1947 หลังสงครามโลก OSRD ก็ถูกยุบไป
1955 แวนเนวาร์ออกจากตำแหน่งประธานของสถาบันคาร์เนกี้ และกลับไปทำงานที่เอ็มไอที
1974 28 มิถุนายน เสียชีวิต ในเบลมอนต์, แมสซาซูเซตส์ (Belmont)