จากาดิช จันทรา โบส (Jagadish Chandra Bose)
father of radio science
โบส เกิดวันที่ 30 พฤศจิกายน 1858 ในเมืองพิครามเพอร์, เบงกอล, บริติชอินเดีย (Bikrampur, Bengal Presidency, British India) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในบังกลาเทศ พ่อของเขาชื่อภกาวัณ (Bhagawan Chandra Bose) พ่อของเขาเป็นข้าราชการ
ตั้งแต่เด็กพ่อของเขาส่งโบสเข้าเรียนในโรงเรียนที่มีการสอนภาษาท้องถิ่นในมุนชิกานจ์ (Munshiganj) เพื่อให้เขาสามารถพูดภาษาของชาติตัวเองได้ก่อนที่จะเรียนภาษาอังกฤษ ซึ่งในยุคนั้นคนนิยมที่จะส่งลูกเข้าเรียนในโรงเรียนที่สอนภาษาอังกฤษกันมากกว่า
1869 เข้าเรียนที่โรงเรียนประถมแฮร์ (Hare School)
1875 เข้าเรียนที่เซนต์ซาเวียร์คอลเลจ, มหาวิทยาลัยกัตกัตต้า (St.Xavier’s College, University of Calcutta)
1879 จบปริญญาตรี หลังจากนั้นได้เข้าศึกษาต่อในคณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยลอนดอน (University of London) แต่ว่าเรียนได้ไม่นานก็มีปัญหาสุขภาพจนต้องยุติการเรียน
โบสย้ายไปเรียนที่คริสต์คอลเลจ, แคมบริดจ์ (Christ’s College, Cambridge) ทางด้านวิทยาศาสตร์ ระหว่างนี้เขาได้ไปช่วยทำงานวิจัยกับลอร์ด เรย์เลียห์ (Lord Rayleigh) นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล
1884 ได้รับปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์จาก ม.แคมบริดจ์ และจากมหาวิทยาลัยลอนดอน
1885 เมื่อกลับมาอินเดีย เขาเข้าทำงานที่เพรซิเดนคอนเลจ, มหาวิทยาลัยกัลลัตต้า (Presidency College, University of Calcutta) ในตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านฟิสิก ระหว่างทำงานอยู่ที่มหาวิทยาลัยโบสทำงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์หลายด้าน โดยเฉพาะการค้นคว้าเกี่ยวกับวิทยุ
1887 แต่งงานกับอบาล่า (Abala Bose) นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิสตรี ผู้ก่อตั้งสมาคม Nara Shiksha Samiti
1894 ที่ศาลากลางเมืองกัลกัตต้า โบสสาธิตการจุดดินปืนและการสั่นระฆังจากระยะไกล โดยการใช้คลื่นไมโคลเวฟ
1895 เขียนรายงานทางวิทยาศาสตร์ชิ้นแรก ชื่อ “On polarization of electric rays by double-refraction crystals” ซึ่งส่งให้กับสมาคมเอเซียติค (Asiatic Society of Bengal)
ธันวาคม, วารสาร Electrician ในอังกฤษตีพิมพ์งานวิชาการของโบสชื่อ “On a new electro-polariscope”
ช่วงเวลานี้เขาทำการทดลองเกี่ยวกับคุณสมบัติของวิทยุคลื่นสั้น (radio short wave) หลายชนิด และได้ประดิษฐ์ Coherer ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้รับสัญญาณวิทยุในยุคแรกๆ
1896 เดินทางไปอังกฤษเพื่อบรรยายเกี่ยวกับผลงานของเขา และโบสได้รับปริญญาเอกจาก ม.ลอนดอน ระหว่างนี้ได้มีโอกาสพบกับมาร์โคนี (Guglielmo Marconi) นักประดิษฐ์ชาวอิตาลีที่กำลังพยายามพัฒนาเครื่องโทรเลขแบบไร้สาย
เขาเขียนนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง Niruddesher Kahini (The Story of the Missing One) ซึ่งภายหลังได้มีการเขียนเพิ่มเติมในปี 1921 และเปลี่ยนชื่อเป็น Palatak Tuphan (Runaway Cyclone) ซึ่งกลายเป็นนิยายวิทยาศาสตร์เรื่องแรกในภาษาเบงกอล
1902 มีผลงานเขียน Response in the Living and Non-Living ซึ่งช่วงศตวรรษที่ 20 นี้โบสได้ประดิษฐ์เครื่อง Crescograph ซึ่งใช้ตรวจวัดการเจริญเติบโตและการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นของพืช
1937 23 พฤศจิกายน, เสียชีวิตในกิริดิห์ (Giridih) เบงกอล
ผลงานเขียน
Response in the Living and Non-Living, 1902
The Nervous Mechanism of Plants, 1926