Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Werner Heisenberg

 

เวอร์เนอร์ ไฮเซนเบิร์ก (Werner Karl Heisenberg)

ไฮเซนเบิร์ก เกิดวันที่ 5 ธันวาคม 1901 ในวูร์ซบูร์ก, ราชอาณาจักรบาวาเรีย, จักรวรรดิเยอรมัน (Wurzburg, Kingdom of Bavaria, German Empire) พ่อของเขาเป็นครูในโรงเรียนมัธยม ชื่อออกัส (Kaspar Ernest August Heisenberg) ซึ่งต่อมาเขาได้ตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านภาษากรีซและตะวันออกกลางที่มหาวิทยาลัยมิวนิค และยังเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอารยธรรมไบเซนไทน์

แม่ของไฮเซนเบิร์กชื่อแอนนี่ (Annie Wecklein) ไฮเซนเบิร์กมีพี่ชายคนหนึ่งชื่อเอร์วิน (Erwin)

1910 ครอบครัวย้ายมาอยู่ในเมืองมิวนิค

1913 ไฮเซนเบิร์กเริ่มเรียนหนังสือที่โรงเรียนแม็กซิมิเลียน (Maximilian School) ในมิวนิค

1918 การเรียนของเขาต้องหยุดลงชั่วคราวในช่วงปลายสงครามโลก ครั้งที่ 1, ไฮเซนเบิร์กถูกส่งให้ไปทำงานอยู่ในฟาร์มแห่งหนึ่ง ซึ่งทำให้ช่วงเวลานี้เขามีเวลาสนใจเกี่ยวกับปรัชญา

1920 เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยมิวนิก (Ludwig Maximilian University of Munich) ในสาขาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ โดยที่มีศาสตราจารย์ซอมเมอร์เฟล์ด (Arnold Sommerfeld) นักฟิสิกส์ทฤษฏี เป็นที่ปรึกษา ซึ่งซอมเมอร์เฟล์ดแนะนำเขาเกี่ยวกับวิชาควอมตัมดังเดิม (old quantum theory) ซึ่งอยู่บนแนวคิดของนีล บอห์ร (Niels Bohr)

1922 ช่วงฤดูหนาวเขาเดินทางมาเรียนที่มหาวิทยาลัยก๊อตตินเจ้น (University of Göttingen) ทางด้านฟิสิกส์

1923 จบปริญญาเอกฟิสิกส์จาก ม.มิวนิค หลังจากนั้นได้ทำงานเป็นผู้ช่วยของแม็กซ์ บอร์น (Max Born) ที่ ม.ก็อตตินเจ้น ซึ่งที่นี่เขาได้สนใจศึกษาเกี่ยวกับปรากฏการณ์ Zeeman effect และปัญหาเกี่ยวกับควอนตัม

1924 ได้รับทุนจากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ (Rockefeller Foundation) ให้เดินทางไปดูงานในห้องปฏิบัติการณ์ของนิล บอห์ร ที่มหาวิทยาลัยโคเปนฮาเก้น (University of Copenhagen)

1925 ได้รับตำแหน่งอาจารย์เลคเชอร์ในวิชาฟิสิกส์ทฤษฏีที่ ม.โคเปนฮาเก้น

ในปีนี้ ไฮเซนเบิร์ก, แม็ก บอห์ร, ปาสควล จอร์แดน (Pascaul Jordan) ให้กำเนิดทฤษฏีของกลศาสตร์ควอนตัม (Quantum Machanic)

1927 ได้ตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลับลิปซิก (University of Leipzig)

ค้นพบทฤษฏีความไม่แน่นอน Heisenberg Uncertainty principle

ตุลาคม, ร่วมในการประชุม  Solvay Conference ซึ่งจัดขึ้นในกรุงบรัสเซลล์ (Brussel) เบลเยี่ยม นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำทั่วโลกมารวมตัวกัน เพื่อถกปัญหาทางฟิสิกส์และเคมี

1929 ออกเดินทางทัวร์เพื่อบรรยายให้กับมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ , อินเดีย และญี่ปุ่น

1932 ได้รับรางวัลโนเบล จากการบุกเบิกกลศาสตร์ควอนตัม

1937 แต่งงานกับอลิซาเบธ (Elisabeth Schumacher) ซึ่งพวกเขามีลูกด้วยกันสามคน

1939 ในช่วงเริ่มต้นของสงครามโลก ครั้งที่  2 , นาซีเยอรมันได้เริ่มโครงการวิจัยยูเรเนียม ซึ่งเรียกโครงการนี้ว่า Uranverein (Uranium Club)

1941 ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน (University of Berlin) และได้เป็นผู้อำนวยการของสถาบันไกเซอร์วิลเฮล์ม (Kaiser Wilhelm Institute for Physics)

ได้เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยอาวุธนิวเคลียร์ของนาซี

กันยายน, ไฮเซนเบิร์กได้พบกับบอห์รในโคเปนเฮเก้น ซึงไอเซนเบิร์กได้ถามบอห์รเกี่ยวกับศีลธรรมของนักวิทยาศาสตร์ในการพัฒนาระเบิดนิวเคลียร์ ซึ่งบอห์รแนะนำว่าไฮเซนเบิร์กควรอ้างเรื่องทางเทคนิคและการเงินในการทำให้โครงการนิวเคลียร์นี้ช้าออกไป

1942 ไฮเซนเบิร์กได้รับแต่งตั้งเป็นหนึ่งในหัวหน้าของโครงการ Uranverein แต่ว่าโครงการมีความคืบหน้าไปช้า เพราะการหาแร่ยูเรเนียม และน้ำมวลหนัก (heavy water) ในช่วงสงครามนั้นเป็นไปอย่างจำกัด

1945 (Operation Eplison)เมื่อสิ้นสงครามโลก ครั้งที่ 2 ไฮเซนเบิร์กและนักวิทยาศาสตร์ในโครงการนิวเคลียร์ของเยอรมันถูกสหรัฐฯ จับตัวเอาไว้ และถูกส่งไปยังอังกฤษ โดยถูกนำไปกักบริเวณไว้ที่ Farm Hall ใกล้กับแคมบริดจ์

1946 ได้รับการปล่อยตัวและเดินทางกลับมายังเยอรมัน เขาได้ทำงานที่สถาบันฟิสิกส์ (Institute for Physics at Göttingen) ซึ่งในปี 1948 ได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็นสถาบันแม็ก แพลงซ์ (Max Planck Institute for Physics)

1948 เดินทางมาบรรยายเลคเชอร์ที่แคมบริดจ์ (Cambridge University) ในอังกฤษ

1949 ได้เป็นสมาชิกชั่วคราวของ Bavarian Academy of Sciences

1950 เดินทางไปสอนเลคเชอร์ในสหรัฐฯ

1952 มีการก่อตั้งศูนย์วิจัย CERN

1953 ได้รับตำแหน่งประธานมูลนิธิ ฟอน อัมโบลด์ต (Alexander von Humboldt Foundation)

1954 เดินทางมาสอนในสหรัฐฯ อีกครั้งหนึ่ง

1957 ร่วมลงนามในประกาศ Göttingen Manifesto ซึ่งนักวิทยาศาสตร์แถวหน้าของเยอรมันตะวันตก 18 คน ร่วมกันลงชื่อต่อต้านการมีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครองของเยอรมันตะวันตก

1958 ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์สาขาฟิสิกส์ที่ ม.มิวนิค

1959 ได้เป็นสมาชิกถาวรของ Bavarian Academy of Sciences

1969 เขียน Physics and Beyond (Der Teil und das Ganze) หนังสือชีวประวัติของตัวเขาเองและเป็นบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับการค้นพบปรมณูและควอนตัม

1976 1 กุมภาพันธ์, เสียชีวิตในมิวนิค

Don`t copy text!