ไลนัส ทอร์วาล์ด (Linus Torvalds)
ผู้สร้างระบบปฏิบัติการณ์ Linux, Git
ไลนัสเกิดวันที่ 28 ธันวาคม 1969 ในเฮลซินกิ, ฟินแลนด์ พ่อของเขาชื่อนิลส์ (Nils Torvalds) และแม่ชื่อแอนนา (Anna Torvalds) ทั้งพ่อและแม่มีอาชีพเป็นนักข่าว และมีแนวคิดแบบฝ่ายซ้าย
ครอบครัวของไลนัสเป็นคนส่วนน้อยในฟินแลนด์ที่พูดภาษาสวีเดน ไลนัสเป็นลูกคนแรกของครอบครัว ชื่อของเขา Linus เป็นชื่อที่ตั้งเพื่อระลึกถึง Linus Pauling นักเคมีรางวัลโนเบลและรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพชาวสหรัฐฯ ซึ่งรณรงค์ต่อต้านสงครามเวียดนาม
ไลนัสเรียนประถมที่โรงเรียน Cygnaeus’ Swedish elementary school
1981 ตอนอายุ 11 ปี ได้รับของขวัญจากปู่ของเขาซึ่งเป็นศาสตราจารย์ด้านสถิติในมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ Commodore VIC-20 คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของเขา ทำให้เขามีความสนใจในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยได้เริ่มฝึกการเขียนภาษา BASIC และ Aseembly ในเวลาต่อมา
เมื่ออายุประมาณ 16-17 ปี เขาได้ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ Sinclair QL มา และเขาพบว่าไดรเวอร์ (driver) ของคอมพิวเตอร์รุ่นนี้ผิดพลาดมากมาย เขาจึงได้เขียนไดรเวอร์ขึ้นมาใหม่ แต่เพราะว่าระบบปฏิบัติการของ Sinclair QL ถูกฝังอยู่ใน ROM ไลนัสจึงไม่สามารถแก้ไขโปรแกรมได้โดยตรง เขาจึงสั่งซื้อชิ้นส่วนที่จำเป็นมาจากอังกฤษ เพื่อโคลนคอมพิวเตอร์ Sinclair QL ขึ้นมาใหม่โดยใช้ซอฟแวร์ที่เขาเขียนขึ้นมาใหม่
1988 เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ (University of Helsinki) ในคณะคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เอกคอมพิวเตอร์
ระหว่างเรียนเขาได้เข้าชมรม Spektrum ซึ่งเป็นกลุ่มของนักเรียนทางด้านคณิตศาสตร์, ฟิสิกส์, เคมีและคอมพิวเตอร์ ที่จะนัดพบกันทุกคืนวันพุธ
1989 ไลนัสต้องหยุดเรียนกลางคัน เพราะว่าถูกเกณฑ์ทหารในกองทัพฟินแลนด์ Finnish Army Uusimaa
1990 กลับเข้ามาเรียนต่ออีกครั้งหนึ่ง และเขาได้ซื้อหนังสือ Operation Systems : Design and Implementation ของแอนดริว ตาเนมบวม (Andrew Tanenbaum) มาอ่าน ซึ่งหนังสือเล่มนี้แอนดริวได้เขียนระบบปฏิบัติการณ์ Minix ขึ้นมา ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นแบบง่ายของ Unix ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในการเรียนการสอน หนังสือเล่มนี้ทำให้ไลนัส ชื่นชอบ Unix และปรัชญาในการออกแบบ
1991 เพือนของไลนัสชื่อลาร์ส ไวร์เซเนียส (Lars wirzenius) ได้พาเขาาไปฟังการบรรยาย ของริชาร์ด สตอลล์แมน (Richard Stallman) ที่พูดเกี่ยวกับการเผยแพร่ซอฟต์แวร์ฟรี ทำให้ต่อมาไลนัสได้เข้าร่วมในโครงการ GNU Project ที่ริเริ่มโดยสตอลล์แมน
เขาได้ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ซีพียู Intel 80386 มา ทำให้เขาได้เริ่มเขียนโปรแกรมระบบปฏิบัติการณ์ของตัวเองขึ้นมา โดยที่เพื่อนของไลนัส อารี เลมม์เก้ (Ari Lemmke) เป็นคนสร้างไดเร็กทอรี่เพื่อเก็บไฟล์ของโปรแกรมที่ไลนัสเขียนไว้บนเซอร์เวอร์ ซึ่งเลมม์เก้ ได้ตั้งโฟลเดอร์ชื่อ Linux ซึ่งกลายเป็นชื่อระบบปฏิบัติการ Linux ในที่สุด ซึ่งอันที่จริงแล้วไลนัส ตั้งใจจะให้ระบบปฏิบัติการณ์ที่เขาตั้งขึ้นชื่อว่า Freax ที่มาจากคำว่า Free, Freak และตัว X ที่แสดงว่ามาจาก Unix
1991 17 กันยายน, ไลนัสปล่อยโปรแกรม Linux ให้ดาวโหลดได้ฟรีเป็นครั้งแรก โดยที่เขาให้เวอร์ชั่นนี้เป็น O.01
1992 เขาเร่ิมทำงานเป็นผู้ช่วยวิจัยและสอนที่ ม.เฮลซิงกิ
1994 14 มีนาคม LINUX 1.0 ถูกปล่อยออกมาเป็นครั้งแรก
1996 จบปริญญาโททางด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ โดยที่ได้เขียนวิทยานิพนธ์ Linux : A Portabe Operating system
แลร์รี่ อีวิง (Larry Ewing) เป็นผู้วาดมัสค๊อตรูปเพนกวิ้น ให้กับระบบปฏิบัติการณ์ Linux โดยที่ไลนัสให้ชื่อมันว่า Tux
1997 มกราคม, แต่งงานกับโตฟ มอนนิ (Tove Monni) นักกีฬาคาราเต้ทีมชาติฟินแลนด์ ซึ่งต่อมาพวกเขามีลูกสาวด้วยกันสามคน
เข้าทำงานกับบริษัท Transmeta ในแคลิฟอร์เนีย, สหรัฐฯ
เมื่อบริษัท Red Hat จะทำ IPO เพื่อเข้าตลาดหุ้นสหรัฐฯ ทาง Red Hat ได้มอบออปชั่น (stock options)ในกับไลนัส เพื่อแสดงความขอบคุณในฐานะที่ไลนัสเป็นผู้สร้าง Linux ซึ่งเมื่อ Red Hat เข้าตลาดหุ้นแล้ว ราคาออปชั่นที่ไลนัสถืออยู่ได้ขึ้นไปสูงถึง 20 ล้านเหรียญ
1999 ไลนัสได้รับปริญญาเอกดุษฏีฯ จากมหาวิทยาลัยสต๊อกโฮล์ม (University of Stockholm) และจาก ม.เฮลซิงกิ
2001 เขาเขียนหนังสืออัตชีวประวัติ ออกมา ในชื่อ Just for fun, The Story of an Accidental Revolutionary
2003 ได้เข้าทำงานกับ Open Source Development Labs (OSDL) องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรซึ่งพัฒนาโอเพ่นซอร์ส
ซึ่งไลนัสยังได้ย้ายครอบครัวมาอยู่ในเมืองพอร์ตแลนด์, โอเรก้อน (Portland, Oregon) เพื่อให้ใกล้กับสถานที่ทำงานใหม่ด้วย
2005 ไลนัส พัฒนา Git โปรแกรมควบคุมเวอร์ชั่นของซอฟแวร์ขึ้นมา โดยเป็นโอเพ่นซอร์ส เพื่อใช้แทนโปรแกรม BitKeeper ที่เขาใช้อยู่ในการพัฒนา Linux ก่อนหน้านี้
2007 OSDL ได้ควบรวมเข้ากับ Free standards Group และได้กลายมาเป็น Linux Foundation
2010 ได้รับสัญชาติอเมริกัน
2012 ได้รับรางวัล Millennium Technology Prize