ผู้ป่วยแห่งเบอร์ลิน (The Berlin Patient)
ผู้ติดเชื้อ HIV รายแรกของโลก ที่รักษาจนหาย
ปี 2008 ในการประชุม Conference on Retroviruses and Opportunistic Infections ได้มีการนำเสนอเคสของผู้ป่วยเอดส์รายหนึ่ง ซึ่งมีการเรียกเขาด้วยชื่ออ้างอิงว่า ผู้ป่วยแห่งเบอร์ลิน (Berlin Patient) โดยผู้ป่วยแห่งเบอร์ลิน ได้รับการประกาศว่าเป็นผู้ป่วยเอดส์รายแรกของโลก ที่ได้รับการรักษาจนถือว่าหายจากโรคเอดส์ (AIDS) และการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV)
ปี 2009 หมอเจโร ฮัตเตอร์ (Gero Hütter) ได้ตีพิมพ์รายงานลงในแม็กกาซีน New England Journal of Medicine ว่าเขาและเอ็คฮาร์ด เธียล (Eckhard Thiel) ซึ่งทำงานอยู่ที่โรงพยาบาลชาไรต์ (Charite Hospital) ในเบอร์ลิน ได้ทำการรักษาผู้ป่วยแห่งเบอร์ลินจนหายจากโรคเอดส์
ปี 2010 ทิมโมธี เรย์ บราวน์ (Timothy Ray Brown) ชาวอเมริกัน ซึ่งเกิดในปี 1966 ได้ออกมาเปิดเผยตัวเองว่า เขาคือผู้ป่วยแห่งเบอร์ลินคนนั้น
บราวน์เปิดเผยว่าเขาเป็นชาวอเมริกัน และตรวจพบว่าเข้าติดเชื้อ HIV ในปี 1995 ระหว่างที่เขาอาศัยอยู่ในเยอรมัน และเขาก็ได้เริ่มรับยา ARVs (antiretroviral drugs) เพื่อควบคุมโรคมาตลอดนานนับสิบปี จนกระทั้งในปี 2007 เขาได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวไมอิลอยด์ (acute myeloid leukemia) ซึ่งทำให้เขาต้องมารับการรักษาด้วยการใช้คีโม (chemotherapy) และก็หยุดยา ARVs ไปในช่วงนั้น แต่จนกระทั้งการรักษาด้วยคีโมไม่ประสบความสำเร็จ แพทย์จึงได้ทำการรักษาเขาด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูก (bone marrow transplant) จากสเต็มเซลล์ (stem cells) ประกอบกับการได้รับยาไซโตโตซิก (cytotoxic drugs) และการฉายรังสีทั่ว (whole-body irradiation) เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งและภูมิคุ้มกัน แต่ว่ามีการทำการปลูกถ่ายไขกระดูกอีกครั้งหนึ่งหลังจากมีการพบว่าเซลล์มะเร็งของเขาเริ่มกลับมา
การปลูกถ่ายไขกระดูกของบราวน์มีความพิเศษ ตรงที่ได้รับการบริจากสเตมเซลล์จากผู้ที่มีเซลล์โฮโมไซโกส CCR5 แบบเดลต้า 32 (homozygous CCR5∆32)
โดยปกติแล้วผู้ที่จะติดเชื้อ HIV-1 ได้ นั้นจะต้องมียีนต์ของโปรตีนสองชนิดอยู่บริเวณผิวของเซลล์เม็ดเลือดขาว คือ CD4 co-receptor และ CXCR4 receptor หรือ CCR5 receptor
แต่ว่าบางคนมีเซลล์โปรตีน CCR5 ที่กลายพันธ์ เรียกว่า CCR5 delta 32 คนกลุ่มนี้จะไม่ติดเชื้อ HIV-1
ซึ่งความรู้ว่าเซลล์แบบ CCR5 delta 32 จะทดต่อการติดเชื้อ HIV-1 ทำให้แพทย์ที่รักษาบราวน์ เลือกผู้บริจาคไขกระดูกที่มียีนส์เซลล์ชนิดนี้
ซึ่งปรากฏว่าหลังการปลูกถ่ายไขกระดูก ปริมาณของเชื้อ HIV ในร่างกายของบราวน์ลดลง ซึ่งหลังจากการที่นักวิจัยได้ติดตามทดสอบเลือดของบราวน์เป็นเวลานานถึง 7 ปี ก็ไม่พบว่าเขามีเชื้อ HIVs ที่มีชีวิตในร่างกายอีกเลย
ซึ่งปรากฏว่าหลังการปลูกถ่ายไขกระดูก ปริมาณของเชื้อ HIV ในร่างกายของบราวน์เริ่มลดลงจนกระทั้งหายไป และจากการที่นักวิจัยได้ติดตามทดสอบเลือดของบราวน์เป็นเวลานานถึง 7 ปี ก็ไม่พบว่าเขามีเชื้อ HIVs ที่มีชีวิตในร่างกายอีกเลย
แม้ยังไม่รู้กระบวนการที่แท้จริงที่ทำให้ HIV หายไปจากร่างกายของบราวน์ แต่การรักษาผู้ป่วยเบอร์ลินแรกแรกได้
ปี 2020 ผู้ป่วยแห่งลอนดอน (The London Patient) รายงานตีพิมพ์ลงในวารสาร Nature ได้ประกาศว่าผู้ป่วยแห่งลอนดอน เป็นรายที่สองได้รับการรักษาจนหายจากการติดเชื้อ