มีสองสมมติฐานหลักเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นของมนุษย์สมัยใหม่ ได้แก่ the Out of Africa (OOA) hypothesis และ the multiregional evolution (MRE) hypothesis
ซึ่งทั้งสองสมมติฐาน นี้มีจุดเหมือนกัน คือ ยอมรับว่า Homo erectus นั้นกำเนิดขึ้นในแอฟริกา ก่อนที่จะแพร่กระจายไปยังเอเชียและยุโรป ประมาณ 1 ล้านปีก่อน แต่ว่าสองสมมติฐานนี้มีความแตกต่างกันตรงที่สมมติฐานแรก OOA เชื่อว่า การอพยพออกจากแอฟริกา ครั้งที่ 2 (second wave of migration out of Africa) เพิ่งเกิดขึ้นประมาณ 100,000 ปีก่อน และได้เข้ามาแทนที่มนุษย์โบราณอย่างสมบูรณ์
แต่สมมุติฐาน ที่ 2 MRE เชื่อว่ามนุษย์ยุคใหม่เกิดขึ้นอย่างอิสระในหลายจุดภูมิภาค และมีการแลกเปลี่ยนยีนกันไปมาในหมู่ประชากรกินเวลาหลายล้านปี นับตั้งแต่ยุคของ Homo erectus ที่เดินทางออกมาครั้งแรก (the trellis theory)
OOA นี้ได้ไอเดียมาจากแนวคิดของ ชาร์ล ดาร์วิน (Charles Darwin) ซึ่งเขาเขียนเอาวไว้ในหนังสือ The Descent of Man ปี 1871 ของเขา ดาร์วินเสนอแนวคิดว่าสิ่งมีชีวิตอาจจะมีวิวัฒนาการมาจากจุลชีพเดียวกัน และเขายังเสนอว่า ลิงชิมแปนซี กอริลล่า และมนุษย์อาจจะมีบรรพบุรุษร่วมกัน และดาร์วินคิดว่า Dryopithecus ซึ่งเป็นกระดูกของลิงโบราณ ค้นพบในปี 1856 อาจจะเป็นต้นกำเนิดของลิงไม่มีหาง (apes)
In each great region of the world the living mammals are closely related
to the extinct species of the same region. It is therefore probable that
Africa was formerly inhabited by extinct apes closely allied to the gorilla
and chimpanzee; and as these two species are now man’s nearest allies, it
is somewhat more probable that our early progenitors lived on the African continent than elsewhere
ในแต่ละภูมิภาคที่ยิ่งใหญ่ของโลกนั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมต่างอาศัยอยู่ร่วมกับสปีชีย์ที่ได้สูญพันธ์ไปแล้วในพื้นที่เดียวกัน ซึ่งมันอาจจะมีความเป้นไปได้ว่าแอฟริกาเป็นที่อาสัยของเอปส์ซึ่งมีความใกล้ชิดมากกับพวกกอลลิล่าหรือชิมแปนซี ซึ่งทั้งสองเป็นสปีชีย์ที่ใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด จะเป็นไปได้ไหมว่าบางที่บรรพบุรุษของพวกเราอาศัยอยู่ในแอฟริกาไม่ใช่ที่อื่น
Charles Darwin , The Descents of Man
1907 “Mauer 1” , Homo heidelbergensis ถูกค้นพบในเยอรมันครั้งแรก โดยอ๊อตโต้ (Otto Schoetensack) และ แดเนียบ ฮาร์ทมันน์ (Daniel Hartmann) ซึ่ง heidelbergensis เป็นสายพันธ์ที่ใกล้เคียงที่สุกับ Sapiens และ Neanderthalensis ซึ่งอาจจะเป็นบรรพบุรุษร่วมของสองสายพันธ์
1924 “Taung Child” กระโหลกของ Australopithecus africanus ถูกค้นพบในแอฟฟริกาใต้ โดยเรย์มอน์ด ดาร์ท (Raymond Dart)
1953 คอมตัน คริกค์ (Compton Crick) และเจมส์ วัตสัน (James Watson) ค้นพบโครงสร้าง DNA
1976 “Laetoli footprint”, รอยเท้าของ hominin ถูกค้นพบในแทนซาเนีย (Tanzania) โดยแมรี่ เลียคีย์ (Mary Leakey) ซึ่งรอยเท้านี้วัดอายุได้ 3.7 ล้านปีก่อน
1982 กุนเตอร์ บรัวเยอร์ (Günter Bräuer) ได้กล่าวสนับสนุนแนวคิด OOA II ในที่ประชุม International Congress of paleoanthropology โดยเขาได้เสนอรายงานเรื่อ Afro-European sapiens model แต่ว่าโมเดลที่เขานำเสนอแตกต่างจาก OOA เล็กน้อย ตรงที่เขาเชื่อว่าหลังจากเซเปี้ยนอพยพออกจากแอฟริกามาแล้ว ได้มีการผสมพันธ์กับ Homo สายพันธ์ท้องถิ่น ทำให้ให้เกิดพันธ์ลูกผสมขึ้นมา โดยเขาได้ยกตัวอย่างโครงกระดูก Mladec ซึ่งค้นพบในสาธารณรัฐเชค (Czech Republic) ว่าเป็นพวกลูกผสมกับ Neanderthals
1983 ดักกลาส ดี. แอนเดอร์สัน (Douglas D. Anderson) ทำการสำรวจถ้ำหลังโรงเรียน (Lang Rongrien rockshelter) ในจังหวัดกระบี่ค้นพบกระดูกมนุษย์อายุ 37,000 ปี ซึ่งเป็นกระดูกมนุษย์ที่เก่าแก่ที่สุดในไทย
1985 คำว่า Out of Africa นี้ถูกนำมาใช้เรียกทฤษฏีกำเนิดของมนุษย์จากแอฟริกาอย่างแพร่หลาย เพราะว่าภาพยนต์ชื่อเดียวกัน Out of Africa ประสบความสำเร็จและได้รับรางวัลออสการ์ ถึง 7 สาขา ภาพยนต์เรื่องนี้สร้างจากหนังสืออัตชีวประวัติของนักเขียนเดนมาร์ก คาเรน บลิเซ่น (Karen Blixen) ซึ่งเขียนเกี่ยวกับชีวิตของเธอขณะที่ไปอาศัยอยู่ในเคนย่า
1987 ไมโครคอนเดรียดีเอ็นเอและวิวัฒนาการของมนุษย์ (Mitohondrial DNA and Human Evolution) รายงานวิจัยของ รีเบคก้า แคนน์ (Rebecca Louuse Cann) , อัลแลน วิลสัน (Allan Charles Wilson), มาร์ก สโตเนคิง (Mark Stoneking) นักวิจัยของมหวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเผยแพร่ออกมาในวารสาร Nature ซึ่งงานวิจัยนี้นักวิจัยได้ทำการศึกษาไมโตคอนเดรีย ดีเอ็นเอ (mtDNA) ของประชากรตัวอย่าง 147 คน จากกลุ่มตัวอย่างทั่วโลกตามภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน ซึ่งรวมถึงตัวอย่างจาก เอเซีย, แอฟริกา, คนพื้นเมืองออสเตรเลีย, คนพื้นเมืองนิว กีนี และได้ผลสรุปสนับสนุนว่ามนุษย์มีบรรพบุรุษร่วมกันเมื่อราว 140,000- 200,000 ปีย้อนกลับไป
ไมโตคอนเดรีย เป็นส่วนหนึ่งของเซลล์ (cell) แต่อยู่นอกนิวเคลียส (nucleus) โดยอยู่ในบริเวณที่เป็นน้ำของเซลล์ที่เรียกว่าไซโตพลาซึม (cytoplasm) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนั้นจะได้รับ mtDNA มาจากฝั่งเซลล์ไข่ของแม่ไปยังลูก ซึ่งโอกาสที่ mtDNA จะเปลี่ยนแปลงนั้นมีน้อยมาก เว้นแต่เกิดการผ่าเหล่า (mutation)
งานวิจัยของารีเบคก้า, วิลสัน และสโตเนคิง นี้ ภายหลังถูกเรียกว่าเป็น Mitochondrial Eve (mt-EVE) โดย โรเจอร์ เวลิน (Roger Lewin) ในปี 1987 โดยอ้างถึง อีฟ (Eve) ซึ่งเป็นมนุษย์ผู้หญิงคนแรกตามคัมภีร์ไบเบิ้ล
1997 ศาสตราจารย์สเวนเต่ พาโบ (Svente Pääbo) แห่งมหาวิทยาลัยมิวนิค ได้พิมพ์เผยแพร่ลำดับดีเอ็นเอ ของ Neanderthal โดยตัวอย่างของดีเอ็นเอ ของ Neanderthal ได้มาจากถ้ำไซดรอน (Sidron cave) ทางดอนเหนือของสเปน
2003 ค้นพบกระดูกมนุษย์สมัยใหม่ อายุ 42,000-38,500 ปีก่อน ในปักกิ่ง ซึ่งเป็นกระดูกมนุษย์สมัยใหม่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยขุดพบในจีน
2005 National Geographic Society ริเร่ิมโครงการ Genographic Project
2010 ค้นพบ Homo Denisovan ในถ้ำโดนิโซว่า, ไซบีเรีย, รัสเซีย (Denisova Cave, Siberia, Russia)
2013 Y-Chomosomal haplogroup เป็นการศึกษาการเปลี่ยนแปลงภายใน DNA คล้ายกับ การศึกษา mt-EVE แต่ Y-Chomosal hapogroup เป็นการศึกษาการเปลี่ยนแปลงภายในโครโมโซม Y ซึ่งเป็นของเพศชาย โดยศึกษาการเปลี่ยนแปลงภายใน SNPs( single nucleotide polymorphisms) ซึ่งอยู่ภายในโครโมโซม Y ซึ่งผลการวิเคราะห์จะออกมาเป็นชุดตัวเลข และถูกเรียกว่า haplotype สำหรับผลของแต่ละคน และเพราะโครโมโซม Y เป็นโครโมโซมเพศชาย โครงการนี้จึงเรียกอีกอย่างว่า Y Chomosoal Adam
ทีมนักวิทยาศาสตร์ของหลายประเทศทั่วโลก ช่วยกันทำการศึกษา และแต่มากลายเป็นแผนที่การอพยพย้ายถิ่นฐาน World map of Y-DNA Haplogroup (กราฟฟิกแผนที่แบบ creative common ที่เห็นบ่อยสร้างโดยชาวฮ่องกง เบิร์ต ชาน (Bert Chan)
ซึ่งผลการศึกษา Y haplogroup สนับสนุนแนวคิดตามทฤษฏี OOA มากกว่า MRE แต่ว่า Y haplogroup ชี้ว่า sapien เกิดในแอฟริกา 180,000-580,000 ปีก่อน ขณะที่ mt Eve ประมาณไว้ที่ 140,000-200,00 ปี ซึ่งความแตกต่างของเวลาขึ้นกับ molecular clock hypothesis
2017 “Jebel Irhoud” กระดูก Homo sapiens ในโมร็อโค โดยฌอน-ฌาค ฮูบิน (Jean-Jacques Hubin) กระดูกชิ้นนี้เป็นกระดูกที่เก่าแก่ที่สุดของ Homo sapiens ที่เคยถูกค้นพบ มีอายุ 300,000 ปี
Out-of-Africa I
การออกจากแอฟริกา ครั้งแรก หมายถึงการออกจากแอฟริกา ของมนุษย์โฮโมอีเรคตัส (Homo erectus) ซึ่งโครงกระดูกมนุษย์ Homoe erectus เก่าแก่ที่สุดที่ค้นพบนอกแอฟริกา มีอายุ 1.8 ล้านปี คือ Dmasini skulls ที่ถูกค้นพบในจอร์เจีย ปี 1991
Out-of-Africa II
การออกจากแอฟริกา ครั้งที่สอง หมายถึง การขยายพันธ์และเดินทางออกจากแอฟริกาของมนุษย์โฮโมซาเปี้ยน (Homo sapiens) ซึ่งเรียกว่าเป็น Recent African Origin ซึ่งหลักฐานที่สนับสนุนแนวคิดนี้คือ Omo remains ซึ่งเป็นโครงกระดูกที่ค้นพบระหว่างปี 1967-1974 ใน Omo Kibish ใกล้กับแม่น้ำโอโม่ (Omo River) ในเขตอุทยานแห่งชาติโอโม่ (Omo National Park) ในเอธิโอเปีย (Ethiopia) ซึ่งโครงกระดูกมีอายุราว 195,000 ปี และโครงกระดูก Herto man ซึ่งค้นพบในเอธิโอเปียเช่นกัน ที่มีอายุ 160,000 ปี
และการศึกษา Mitochondrial DNA และ Y-Chomosonal Haplogroup ต่างสนับสนุนทฤษฏี OOA นี้
จากหลักฐานของฟอสซิลและดีเอ็นเอ ทำให้ประมาณช่วงเวลาของมนุษย์เซเปี้ยนตั้งแต่อยู่ในแอฟริกาและเดินทางออกมาทั่วโลกได้ดังนี้
160 ka | Homo sapiens กำเนิดขึ้นในเอธิโอเปีย |
100 ka | Homo sapiens เริ่มอพยพออกจากแอฟริกามายังตะวันออกกลาง |
80-40 ka | อพยพจากอินเดียมายังออสเตรเลีย และมีความเป็นไปได้ที่จะอยู่ร่วมสมัยกันกับ Homo erectus ในอินโดนีเซีย |
40 ka | เซเปี้ยนส่วนหนึ่งอพยพไปยังยุโรปตะวันตก แต่ว่าไม่ได้ขึ้นไปทางตอนเหนือของยุโรป เพราะว่าสภาพอากาศที่หนาวเย็นและพื้นที่ถูกปกคลุมด้วยธารนำ้แข็ง เซเปี้ยนในยุโรปนี้อาศัยอยุ่ร่วมสมัยกับ Homo neanderthalensis |
35-11 ka | อพยพข้ามช่องแคบเบริ่ง (Bering strait) ไปยังอเมริกา |
3.5-1 ka | เดินทางไปยังออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และเมารี |
Evolution of Homo
คำว่า Homo มีความหมายโดยรวม หมายถึง การเพิ่มขึ้นของขนาดกระโหลก (cranial case) ซึ่งจะหมายถึงการเพิ่มขึ้นของสมอง , หมายถึงความลดลงของความแตกต่างระหว่างเพศผู้และเพศเมีย (sexual dimorphism) ของสิ่งมีชีวิตนั้น , หมายถึงการที่สิ่งมีชีวิตนั้นใช้การเดินอยู่บนพื้นมากกว่าการอยู่บนต้นไม้
Horo erectus ค้นพบครั้งแรกบนเกาะชวาของอินเโดนีเซีย (Java man (มนุษย์ชวา) เป็นชื่อเรียกโครงกระดูก Hobo erectus ที่ถูกค้นพบที่นั่น ) และตระกูลเลียคีย์ (the Leakeys, ตระกูลนักโบราณคดีชื่อดัง) ได้ค้นพบ Homo erectus เช่นกันที่ไซต์ โอลดุเวีย จอร์จ (Olduvai Gorge site) ในแอฟริกา และยังเจอ Homo habilis และ Paranthropus boisei ซึ่งเก่าแก่กว่าในไซต์เดียวกันนี้ด้วย
Homo floriensis ถูกสำรวจพบครั้งแรกในหมู่เกาะฟลอเรส (isle of Flores) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นมนุษย์ Homo ที่มีขนาดเล็ก ความสูงไม่เกิน 1 เมตร และมีอายุย้อนไปราว 12 ka ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ทับซ้อนับ Homo sapien จึงมีการสันนิษฐานว่า Homo floriensis อาจจะเป็นสปีชีย์หนึ่งที่แยกออกมาจาก Homo erectus และเกิดจากปัจจัยของสิ่งแวดล้อม เพราะความเป็นเกาะ ทำให้มีขนาดที่เล็กลง
human archaic หมายถึง Homo หลายหลายสายพันธ์ก่อนหน้าหรือว่าสายพันธ์ย่อยของ Homo Sapeins ซึ่งอาจจะเป็นพันธ์ผสมของ Homo heidelbergenis หรือ Homo Sapien กับโฮโมต่างสายพันธ์ แต่ว่ายังไม่มีการจัดกลุ่มที่แน่นอนทำให้ถูกเรียกรวมๆ ว่า archaic ( ถุกค้นพบนอกแอฟริกาในปี 2010
กระดูก Homo sapien ที่สำคัญ
- Jebel Irhoud ถูกค้นพบในโมร็อคโค มีอายุประมาณ 300 ka
- Man of Florisbad , 260 ka, แอฟริกาใต้
- Man of Eliye Springs, 200-300 ka, เคนย่า
- Manof Ngaloba, 200 ka, แทนซาเนีย
- Man of Kibish, 195, เอธิโอเปีย
- Man of Guomde, 180 ka, เคนย่า
- Man of Herto, 157 ka,เอธิโอเปีย
- Man of Singa, 133 ka, ซูดาน
- Florisbad Skull, 259 ka, แอฟริกาใต้, 1932, Thomas F. Dreyer, G. Venter
- L’Homme d’Eliye Springs, 200-300 ka, 1983, Till Darnhofer
- Apidima I เป็นกระดูก Sapien ที่เก่าแก่ที่สุดที่ค้นพบนอกแอฟริกา ซึ่งค้นพบในกรีซ
- Omo I remains, เอธิโอเปีย, Richard Laekey