Numquam prohibere somniantes 

Never stop dreaming

Frederick the Great

https://www.youtube.com/watch?v=tyDSCH1pdcA

กษัตริย์ เฟรดริช ที่ 2 (Friedrich der Große)

เฟรดริช มีพระราชสมภพ วันที่ 24 มกราคม 1713 ภายในพระราชวังเบอร์ลิน (Berlin Palace) ในเบอร์ลิน, ปรัสเซีย (Berlin, Prussia Kingdom) ทรงเป็นพระโอรสของกษัตริย์เฟรดริช วิลเลี่ยม ที่ 1 (Frederick William I of Prussia) กับพระราชินี โซเฟีย โดโรเธีย แห่ง แฮนโนเวอร์ (Sophia Dorothea of Hanover) ซึ่งพระองค์เป็นพระราชธิดาของกษัตริย์ จอร์จ ที่ 1 แห่งบริเตน (George I of Britain) 

เมื่อเฟรเดริก ประสูตรขึ้นมา พระบิดาของพระองค์ก็ได้ตั้งมาร์ธ เดอ รอโคลล์ (Marther de Roucoulle) ซึ่งเป็นฮิวโกน๊อต (Huguenots ผู้นับถือคริสต์โปเตสแตนท์ฝรั่งเศส) ให้ทำหน้าที่ดูแลเฟรเดอรึก และวิลเฮลไมน์ (Wilhelmine of Prussia) พระภคินีของเฟรดริช ซึ่งเดอ รอโคลล์ ทำหน้าที่นี้จนกระทั้งเฟรเดริกมีพระชนม์ถึงอายุเจ็ดปี  

กษัตริย์เฟรดริช วิลเลี่ยม นั้นเป็นคนที่เข้มงวดในการดูแลเจ้าชายรัชทายาทมาก ทำให้เฟรดริชเข้ากันไม่ค่อยได้กับพระบิดา

1716 ฌาค ดูฮัน เด แจนดัน (Jacques Duhan de Jandun) นายทหาร ซึ่งเป็นฮิวโกน๊อตเช่นกัน ได้ถูกจ้างให้ทำหน้าที่เป็นพระอาจารย์จนปี 1727 ดูฮัน ยังเป็นผู้ที่สร้างห้องสมุดลับให้กับเฟรเดริก  ตั้งอยู่ในปราสาทชล๊อสไฟร์ไฮต์ (Schlossfreiheit) เพื่อเรียนภาษาลาติน และวรรณกรรม 

1727 กษัตริย์เฟรเดอริก วิลเลี่ยม จับได้ว่ามีห้องสมุดลับของเฟรเดริก ทำให้ฌาค ดูฮัน ถูกไล่ออกออก

1728 เฟรดริช ได้เรียนการเล่นดนตรี กับโยฮัน ควานต์ (Johann Joachim Quantz) ซึ่งทำให้เฟรดริช มีผลงานประพันธ์ดนตรีออกมาหลายชิ้น เช่น symphony in D 

ปีนี้เฟรดริชได้ตามเสด็จพระบิดา ไปยังเดรสเดน (Deasden) ทำให้พระองค์ได้พบกับแอนนา โอเซลสก้า (Anna Karolina Orzelska) ซึ่งแอนน่า โอเซลสก้าน่าจะเป็นรักในวัยเยาว์ของเฟรเดริก ซึ่งในปีต่อมาแอนน่า ได้เดินทางไปเบอร์ลินอย่างลับๆ เพื่ออยู่กับเฟรดริช แต่ว่าในปี 1930 แอนน่าต้องแต่งงานกับทหารคนหนึ่งในกองทัพปรัสเซียตามคำสั่งของพ่อของนาง

1730 (Katte affair), เมื่อเฟรดริช มีพระชนม์ได้ 18 ทรงมีพระอาจารย์คนหนึ่งชื่อ ฮานส์ ฟอน แคตต์ (Hans Hermann von Katte) ซึ่งเป็นนายทหารหนุ่ม อายุ 26 ปี ทำหน้ที่สอนศิลปะ และกวีให้พระองค์ ซึ่งทั้งคู่สนิทสนมกันมากจนลือกันว่าทั้งคู่อาจจะเป็นคนรักกัน

เฟรดริชกับแคตต์นั้นได้วางแผนที่จะหนีไปอังกฤษด้วยกัน พร้อมกับทหารอีกจำนวนหนึ่ง แต่ว่ากษัตริย์เฟรดริช วิลเลี่ยม ที่ 1 รู้แผนการนี้เสียก่อน

5 สิงหาคม, เฟรดริช และแคตต์ ถูกจับกุมตัวและนำไปคุมขังไว้ที่ค่ายทหารในคัสตริน (Küstrin) ก่อนที่จะถูกตั้งข้อหาเป็นกบฏ  ซึ่งต่อมาศาลได้ตัดสินลงโทษแคต์ในข้อหาหลบหนีทหารโดยการจำคุกตลอดชีวิต แต่ว่ากษัตริย์เฟรดริช วิลเลี่ยม ที่ 1 ได้เปลี่ยนการลงโทษเป็นประหารชีวิต ด้วยการตัดศรีษะ

6 พฤศจิกายน, แคตต์ ถูกประหารชีวิตภายในค่ายทหารที่คัสติน โดยที่เฟรดริชถูกบังคับให้ต้องถูกการประหารด้วย

18 พฤศจิกายน, เฟรดริช ได้รับการอภัยโทษ แต่ว่าถูกปลดจากตำแหน่งทางการทหาร

1732 เฟรดริช ได้รับอนุญาตให้กลับมายังเบอร์ลินอีกครั้ง และได้ยศทางทหารคืนมา

1733 12 มิถุนายน, เข้าพิธีอภิเษกกับ อลิซาเบธ ครีสติน (Elisabeth Christin of Brunswick-Bevern) ซึ่งหลานสาวของจักรพรรดินีอลิซาเบธ แห่งโฮลี่โรมัน (Empress Elisabeth Christin of Brunswick-Wolfenbüttel)  งานพิธีจัดขึ้นภายในพระราชวังฤดูร้อนชลอสซัลเดห์ลัม (Schloss Salzdahlum)

1736 8 สิงหาคม, เฟรดริชเขียนจดหมายถึงโวลแตร์ (Voltaire) ซึ่งขณะนั้นโวลแตร์เป็นนักปรัชญาที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของยุโรปแรก ในจดหมายเฟรดริชได้ขอให้โวลแตร์ส่งผลงานเขียนของเขามาให้พระองค์บ้าง ซึ่งนั้นเป็นจุดเริ่มต้นความสัมพันธ์ฉันเพื่อนของทั้งสอง

1738 เข้าเป็นสมาชิกของฟรีเมสัน (Freemasons) 

1739 เฟรดริช ทรงนิพนธ์หนังสือชื่อ Anti-Machiavel ซึ่งเป็นบทความที่พยายามดิสเครดิตหนังสือ the Prince ของนิคโคโล่ มาคิเวลลิ (Niccolo Machiavelli) ซึ่งหนังสือ Anti-Machiavel พิมพ์ออกมาในปี 1740 โดยไม่เปิดเผยชื่อผู้เขียน

1740 31 พฤษภาคม, เฟรเดอริค วิลเลี่ยม สวรรคต และเฟรดริช ซึ่งขณะนั้นมีพระชนม์ 27 ชันษาก็ได้ขึ้นครองราชย์ 

28 ตุลาคม, จักรพรรดิ ชาร์ ที่ 6 (Emperor Charles VI, Holy Roman) แห่งโฮลีโรมัน สวรรคต เฟรดริชจึงได้อาศัยช่วงเวลาที่ออสเตรียกำลังอ่อนแอเพราะเป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน โดยเฟรดริชปฏิเสธที่จะรับรองมาเรีย เทเรซ่า (Maria Theresa of Austria) พระธิดาของชาร์ล ที่ 6 ขึ้นมาเป็นประมุขของออสเตรีย ขณะเดียวกันก็อ้างกรรมสิทธของปรัสเซียเหนือดินแดนซิเลเซียน (Silesian)

16 ธันวาคม, บุกซืเลเซียนของออสเตรีย โดยที่ไม่ประกาศสงคราม  ซึ่งปรัสเซียใช้เวลาราวเดือนครึ่งก็สามารถยึดเซเลเซียนเอาไว้ได้ 

1741 มีนาคม, เฟรดริช พักจากการรบที่ซีเลเซียนไปช่วงหนึ่ง แต่ว่าต้องกลับมาทำการรบอีกครั้ง หลังจากกองทัพปรัสเซียถูกทหารออสเตรียโจมตี 

10 เมษายน, Battle of Mollwitz 

4 มิถุนายน, Battle of Hohenfriedberg

กันยายน, ฝรั่งเศสบุกปราก (Prague) ซึ่งเป็นดินแดนของออสเตรียในขณะนั้น โดยที่ครั้งนี้เฟรเดริกสนับสนุนชาร์ล แห่งบาวาเรีย (Charles of Bavaria) ให้เป็นผู้เหมาะสมกับราชบังลังค์ของโฮลี่โรมัน 

เมื่อปรากตกอยู่ในอันตรายออสเตรีย จึงได้ถอนทหารจากซิเลเซียกลับออกไปเพื่อไปป้องป้องปราก แต่เฟรดริชก็ยกกำลังทหารติดตามไป 

1742 2 กุมภาพันธ์, ชาร์ล แห่งบาวาเรีย ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิแห่งโฮลี่โรมัน 

พฤษภาคม, สมรภูมิชาตุสิทซ์(Battle of Chotusitz)  ในการรบครั้งนี้ทำให้ฝ่ายของปรัสเซียและฝรั่งเศส สามารถยึดปรากเอาไว้ได้ 

มิถุนายน, สนธิสัญญาเบรสลอ (Treaty of Breslau) ออสเตรียถูกบังคับให้ต้องตกลงทำสนธิสัญญาสันติภาพกับปรัสเซีย โดยยอมยกดินแดนซิเลเซียน และกลาตซ์ (Glatz) ให้กับปรัสเซีย

1743 ออสเตรียขับไล่กองทัพฝรั่งเศสออกจากโบฮีเมีย

1744 สิงหาคม, สงครามซิเลเซียน ครั้งที่ 2 (Second Silesian War)  ฝรั่งเศสร่วมมือกับปรัสเซียในการบุกโบฮีเมีย 

กันยายน, กรุงปร๊ากตกอยู่ภายใต้การครอบครองของปรัสเซียอีกครั้ง 

1745 มกราคม, ชาร์ล ที่ 7 (Charles VII) แห่งโฮลี่โรมัน สวรรคต  ทำให้ฟรานซิส แห่ง ลอร์เรน (Francis of Lorraine) พระสวามีของมาเรีย เทเรซ๋า ได้รับเลือกให้เป็นจักรพรรดิคนใหม่ 

มิถุนายน, Battle of Hohenfriedberg

กันยายน, Battle of Soor

15 ธันวาคม, Battle of Kesselsdorf

25 ธันวาคม, สนธิสัญญาเบรสเดน (Treaty of Bresden) ออสเตรียยอมมอบซิเลเซียน ให้กับปรัสเซีย (อีกครั้ง)

1751 ก่อตั้งบริษัทเอ็มเดน (Emden Company หรือ Royal Prussian Asiatic Company in Emdem to Canton and China) เพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างปรัสเซียกับเอเชียโดยเฉพาะจีน ในลักษณะเดียวกันกับบริษัทอีสต์อินเดีย (East India) ของอังกฤษ  

1755 เฟรดริชทำโอเปร่าเรื่อง Montezuma ร่วมกับคาร์ล กรอน (Carl Heinrich Graun) โดยเฟรดริชทำหน้าที่ประพันธ์คำร้องลิเบรตโต้ (libretto) 

1756 ออสเตรียได้รับการสนับสนุนจากรัสเซียและฝรั่งเศส ในการพยายามทวงคืนดินแดนซิเลเซียน ในขณะที่ปรัสเซียได้หันไปจับมือกับอังกฤษ 

29 สิงหาคม, เฟรดริชตัดสินใจลงมือก่อน โดยสั่งทหารปรัสเซียบุกแซ็กโซนี (Saxony) ซึ่งเป็นการเริ่มสงครามการแย่งดินแดนซิเลเซียนครั้งที่ 3 (Third Silesian War) และนำไปสู่สงคราม 7 ปี(Seven Years’ War)

1757 พฤศจิกายน, Battle of Rossbach

ธันวาคม, Battle of Leuthe

1760 กองทัพรัสเซียและออสเตรียสามารถบุกถึงกรุงเบอร์ลินได้  และเฟรดริชเกือบที่ปลงพระชนม์ตัวเอง

1762 มกราคม, จักรพรรดินีอลิซาเบธ แห่งรัสเซีย (Epress Elizabeth of Russia) ได้สวรรคตอย่างกระทันหัน และซาร์ปีเตอร์ ที่ 3 (Peter III) แห่งรัสเซีย ซึ่งมีเชื้อสายเยอรมัน ได้ถอนทหารรัสเซียออกจากสงคราม

1763 15 กุมภาพันธ์, สนธิสัญญาฮูเบอร์ตุสเบิร์ก (Treaty of Hubertusburg)  ปรัสเซีย, ออสเตรียและแซ็กโซนี ตกลงยุติสงครามระหว่างกัน ทำให้สงครามเจ็ดปียุติลง โดยที่ซิเลเซียยังคงเป็นของปรัสเซียตามสนธิสัญญาเบอร์ลินเดิม

1772 5 สิงหาคม, (1st Partitions of Poland) ปรัสเซีย ออสเตรียและรัสเซีย ได้ตกลงกันที่จะแบ่งดินแดนของสมาพันธรัฐโปแลนด์-ลิทัวเนีย (Polish-Lithuanian Commonwealth) ระหว่างกันซึ่งการแบ่งดินแดนโปแลนด์ครั้งแรกนี้เป็นไปโดยปราศจากสงคราม 

1778 โวลแตร์เสียชีวิต

สงครามการสืบราชสมบัติแห่งบาวาเรีย (War of the Bavarian Succession) 

เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 1777 แม็กซิมิเลียน โจเซฟ (Miximilian Joseph) ซึ่งเป็นดุ๊กแห่งบาวาเรีย สวรรคตลงด้วยโรคฝีดาษ โดยที่พระองค์ไม่มีรัชทายาท ทำให้เชื้อสายตรงของราชวงศ์วิตเตลสแบ็ช (Wittelsbach) สิ้นสุดลง ทำให้จักรพรรดิโจเซฟ ที่ 2 (Joseph II of Austira) แห่งออสเตรียได้อ้างกรรมสิทธิในบาวาเรีย  แต่ว่าเฟรดริชไม่เห็นด้วย จึงได้ยกกองทัพปรัสเซียไปยังโบฮีเมีย เพื่อขัดขวางกองทัพของออสเตรีย 

กองทัพของออสเตรียและปรัสเซียไม่ได้มีการรบกันอย่างจริงจัง เพราะว่าถูกกดดันจากฝรั่งเศสและรัสเซียให้เจรจากัน 

1779 ออสเตรียและปรัสเซียลงนามในสนธิสัญญาเทสเช่น (Treaty of Teschen)                                                                          

1786 17 สิงหาคม, สวรรคตในพ๊อตสดัม (Potsdam) ภายในปราสาทซานส์เซาซี่ (Sanssouci palace)

หนังสือพระราชนิพนธ์

  • Antimachiavel, 1740
  • der Geschichte meiner Zeit (The History of my time) , 1746
  • Denkwürdigkeiten zur Geschichte des Hauses Brandenburg (The history of The House ob Brandenburg),1748
  • der Geschichte des Siebenjährigen Krieges (The History of Seven years’ war) , 1764
  • seinen Memoiren (His Memory), 1775
Don`t copy text!