Numquam prohibere somniantes 

Never stop dreaming

Agartha

Agartha (สะกด Agartha, Agarttha, Agarthi, Agardhi, Asgharta)

อาณาจักรอะการ์ธ่า เป็นอาณาจักรในตำนานซึ่งเล่ากันว่าเป็นอาณาจักรใต้ดินซึ่งอยู่ลึกลงไปถึงแกนโลก

ในภาษาทิเบต ดินแดนแห่งนี้ถูกเรียกว่า แชมบาล่า (Shambhala; ศัมภละ(ไทย)) ซึ่งหมายถึงดินแดนแห่งโชค (Sourc of fortune) ซึ่งยังถูกเรียกด้วยชื่ออื่นฯ ว่าแชงกรีล่า (Shangri-La) หรือ ฌิดธะฌาม (Shiddhashram)  แชมบาล่านี้เป็นดินแดนซึ่งเก็บองค์ความรู้ไว้มายมาย แต่ว่าไม่ใช่สรวงสวรรค์

ในภาษาฮินดูนั้นแชมบาล่ายังถูกเรยกว่า อาณืยาวารทะ (Aryavartha) ซึ่งแปลว่าดินแดนของผู้เลอค่า (The Land of the Worthy Ones)

ในอินเดีย ดินแดนแห่งนี้ถูกเรียกว่า  ยังกาย (Gyanganj) ซึ่งแปลว่าบ้านของผู้ไม่ตาย (a house of immortals)

อินเดียและทิเบตเชื่อว่าแชมบาล่า เป็นอาณาจักรเล็กๆ ที่ซ่อนตัวอยู่แถบเทือกเขาหิมาลัย มีทางเข้าออกได้หลายทาง แต่ว่าคนทั่วไปจะไม่สามารถไปยังดินแดนแห่งนี้ได้ นอกจากจะมีกรรมซึ่งเชื่อมโยงกัน ใจกลางของดินแดนมีต้นไม้แห่งชีวิต (tree of life) อยู่ ซึ่งเป็นต้นไม้ที่ประสานโลกและสวรรค์เอาไว้ด้วยกัน  มีโยคี (Yogi) หลายตนอยู่ใต้ต้นไม้แห่งชีวิตคอยทำหน้าที่ดูแลฟูมฝักมนุษย์และสิ่งมีชีวิตบนโลก  ตามความเชื่อของทิเบตบอกว่าเมื่อโลกถึงวันมหาวิปโยค เจ้าผู้ปกครองดินแดนแชมบาล่า พระองค์ที่ 25 จะมาปรากฏตัวต่อหน้ามวลมนุษย์เพื่อชี้แนะหนทางสว่างให้

ในขณะที่มองโกเลีย เชื่อว่าอาณาจักรแห่งนี้อยู่ทางตอนใต้ของไซบีเรีย

ตามความเชื่อของอินเดียนั้นแชมบาล่าเป็นบ้านเกิดของกาลกี (Kalki god) ซึ่งเป็นร่างอวตาลสุดท้ายของพระวิศนุ 

ในภาษาฮินดูนั้นแชมบาล่ายังถูกเรยกว่า อาณืยาวารทะ (Aryavartha) ซึ่งแปลว่าดินแดนของผู้ประเสริฐ (The Land of the Worthy Ones)

1873 ในตะวันตกอาณาจักรอะการ์ธ่าปรากฏในหนังสือ  God’s Sons (Les Fils de Dieu) ซึ่งพิมพ์ในปี 1873 ของหลุยส์ คาโคลเลียต (Louis Jacolliot et l’Asgartha[modifier ) God’s Sons เล่าว่าอกาธาร์เป็นอาณาจักรพราห์ม

1908 The Smoky God โดย จอร์จ อีเมอร์สัน (George Emerson) เล่าถึงนักเดินเรือชาวนอร์เวย์ โอราฟ เจนเซ่น (Olaf Jensen) ที่ออกเดินเรือไปขั่วโลกเหนือ แต่ว่าหลงเข้าไปยังอะการ์ธ่าโดยบังเอิญ และใช้ชีวิตกว่าสองปีที่นั่น

1910   ใน The Mission to India โดยอเล็กซานเดอร์ เซงดีฟ (Alexandre Saint-Yves d’alveydra)

The Mission to India บอกว่าอะการ์ธ่าเป็นอาณาจักรใต้ดิน ที่ประกอบไปด้วยมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ เดิมทีตั้งอยู่ตรงกลางของอโยธยา (Ayodhaya) ในอินเดีย  ซึ่งมานุ (Manu, มนุษย์) ตามความเชื่อของฮินดูคือมนุษย์คนแรก เป็นผู้สร้างเมืองขึ้นมา แต่ต่อมาอะการ์ธ่าถูกย้ายไปอยู่ใต้เทือกเขาหิมาลายา ในช่วงเกิดมหาสงคราม

1922 เฟอร์ดินันด์ ออสเซนโดวสกี้ (Ferdinand Ossendowski, 1876-1945) นักวิทยาศาสตร์ชาวโปแลนด์ แต่ว่าใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในรัสเซีย เขาเขียนหนังสือ Beasts, Men and Gods ก็ได้เล่าถึงแชมบาล่าจากคำบอกเล่าของพระลามะในมองโกเลีย ดินแดนแห่งนี้มีชื่อเรียกในภาษาสันสฤติว่า ภาระเดชะ (Paradesha) แปลว่าดินแดนใต้พิภพ ซึ่งตั้งขึ้นมา 380,000 ปีก่อน แต่ว่าลงไปอยู่ใต้ดินเมื่อ 6,000 ปีนี้เอง แชมบาล่ามีทางเข้าได้หลายจุดจากทั่วโลก มีเมืองย่อยหลายๆ เมืองแต่อะการ์ธ่านั้นเป็นเมืองหลวง

1927 นิโคลัส โรริช (Nicholas Roerich, 187401947) ศิลปินชาวรัสเซีย เป็นอีกคนหนึ่งที่ออกตามหาทางเข้าแชมบาล่าในทะเลทรายโกบี 

1938 นาซีเยอรมัน ส่งทีมสำรวจนำโดยเจ้าหน้าที่ SS เอิร์น เชเฟอร์ (Ernst Schäfer) มายังทิเบต เพื่อค้นหาแชมบาล่า

1946 หนังสือ “An autobiography of a Yogi” โดย โยกานันดา (Paramahansa Yogananda) ยังได้เล่าถึงโยคีที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งชองอินเดีย ชื่อ ศรี ชยามา ชารัน ลาฮิรี (Sri Shyama Charan Lahiri) หรือรู้จักกันว่า ลาฮิรี มาหาเชย (Lahiri Mahashay) ว่าเป็นผู้ได้เดินทางเข้าไปยังแชมบาล่าและได้รับการสอนวิชา กริยา โยคะ (kriya yoga) มาจากบาบาจิ (Babaji) ซึ่งเป็นผู้อาศัยอยู่ในแชมบาล่า

1959 ในปี 1942 กษัตริย์แห่งคูมาออน (King of Kumaon) ได้เชิญนายทหารอังกฤษคนหนึ่งชื่อ แอล.พี ฟาร์เรล (L.P Farrel) ขึ้นไปปิกนิกบนเนินเขา ด้วยเห็ยนว่าฟาร์เรลแม้ว่าจะเป็นชาวอังกฤษ แต่ก็มีความเลื่อมใสและเข้าในศาสนา, ปรัชญาและวัฒนธรรมของอินเดียเป็นอย่างดี ตัวฟาร์เรลนั้นกินมังสะวิรัสและได้เห็ฯการแสดงปาฏิหารย์ของโยคีมาแล้วหลายตน 

เนินเขาที่กษัตริย์แห่งคุมาออนและฟาร์เรลไปนั้นอยู่ใกล้กับนัยอินตาล (Nainital) ในเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งมีธรรมชาติที่วสวยงาม

เมื่อคณะของพระราชาไปถึงเนินเขาพวกเขาก็ตั้งแคมป์และมีการเลี้ยงฉลองกันจนดึกดื่น และทั้งหมดก็อ่อนเพลียและเข้านอนกันตอนเที่ยงคืน ซึ่งระหว่างที่นอนอยู่นั้นฟาร์เรล รู้สึกเหมือนมีคนมาอยู่ข้างๆ ตัวเขา เขาก็สะดุ้งตื่นขึ้นมา แล้วก็ได้ยินเสียงคนพูดบอกให้เขาตามไปยังสถานที่แห่งหนึ่ง ฟาร์เรลจึงเดินตามเสียงนั้นไป ฟาร์เรลเขียนเล่าเอาไว้ว่าเส้นทางที่เดินไปนั้นทั้งแคบและยากลำบาก เขาตั้งปีนป่ายด้วยหลายครั้ง ซึ่งใช้เวลาเดินไปกว่าสามชั่วโมงครึ่ง จนถึงดินแดนแชมบาล่า ซึ่งเขาได้พบกับ สาธุ (Sadhu; นักบวชในอินเดีย) ซึ่งสาธุได้เรียกฟาร์เรลว่า “ลูก” และทำให้เขาได้รู้อดีตชาติของตัวเอง นอกจากนั้นยังสอนวิธีในการบำเพ็ญเพียร  ก่อนที่ในรุ่งเช้าฟาร์เรลจะได้กลับออกมาจากดินแดนนั้น 

ฟาร์เรลบันทึกเรื่องราวการได้เดินทางไปยังแชมบาล่าและได้พบกับสาธุเอาไว้ในบทความที่เขาเขียนลงในหนังสือ Saptahik Hindustan (17 พฤษภาคม 1959)

Don`t copy text!