Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Chen Duxiu

เฉิน ตู่ซิ่ว (陳獨秀, Chen Duxiu)

ผู้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน ร่วมกับ ลี ต้าเจา (Li Dazhao) 

ชอบประวัติศาสตร์ จะมองเวลาเป็นกงล้อ

ชอบวิทยาศาสตร์จะมองเวลาเป็นลูกศร

ชอบ

เฉินตู่ซิ่ว เกิดวันที่ 8 ตุลาคม 1879 ในฮุ่ยหนิง (Huining) ในมณฑลอันฮุย (Anhui) เขาเป็นลูกคนสุดท้ายในครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวย พ่อของเขาชื่อเชน หยานจง(Chen Yanzhong) เสียชีวิตไปตอนที่เฉินตู่ซิ่วอายุ 2 ปี เพราะโรคระบาด 

เฉินตู่ซิ่วเติบโตขึ้นมาโดยการดูแลของปู่ของเขา กับพี่ชายคนโต (Chen Qingyuan)  ตอนเด็กเขาเรียนหนังสืออยู่กับบ้าน ตามได้รับการศีกษาตามแนวคิดขงจื้อ 

1894 (First Sino-Japanese War) 

1896 ตอนอายุ 17 เขาสามารถสอบเค่อจี๋ (科举, Keju, Imperial examination) ซึ่งเป็นการทดสอบระดับท้องถิ่นเพื่อเข้ารับราชการ

1897 เข้าทดสอบ Juzhen แต่ว่าไม่ผ่าน

ต่อมาได้เข้าเรียนที่สถาบันเฉียวชื่อ (求是 (Qiushi Academy), ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยเจ้อเจียง(Zhejiang University)) ในหางโจว โดยได้เรียนวิชาภาษาฝรั่งเศส และวิชาการต่อเรือ 

ในปีนี้เขายังได้แต่งงานกับ เกา เซียนหลาน (Gao Xiaolan)

1899 Boxer Rebellion

1900 ย้ายมาอยู่ที่ชางไห่ 

1901 เดินทางมาเรียนต่อในญี่ปุ่น  ซึ่งระหว่างอยู่ที่ญี่ปุ่นเขาก็ได้เรียนรู้เกียวกับแนวคิดแบบสังคมนิยม และได้เข้าร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่มที่ต่อต้านแมนจู

1902 เดินทางกลับจีน โดยไปอาศัยอยู่ในนานจิง ระหว่างนี้ก็ให้การสนับสนุนพรรคการเมืองสองพรรคแต่ไม่ได้เข้าเป็นสมาชิก พรรคท่เฉินตู่ซิ่วเข้าไปสนับสนุนคือ พรรคถงเหมิงฮุ่ย (中國同盟會, Tongmenghui) ของ ดร.ซุนยัดเซน (Sun Yat-Sen)  และพรรค

กันยายน, เขาเดินทางไปญี่ปุ่นอีกครั้งเพื่อศึกษาต่อ 

1903 มีนาคม, กลับมายังจีน และเดินทางไปยังอันฮุยบ้านเกิดเพื่อเคลื่อนไหวทางการเมือง

พฤษภาคม, เขาก่อต้งสมาคมต่อต้านแมนจู ชื่อ สหภาพอันฮุย (Anhui Patriotic Union) 

ต่อมาไม่นานเขาก็หนีออกจากอันฮุยเพราะถูกกดดันจากเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเขาหนีไปยังชางไห่ 

ที่ช่างไห่ เฉิน ตู่ซิ่วได้ทำหนังสือพิมพ์ โก๊ะมินตั๋งเดลี่ (Kuomintang Daily) ขึ้นมาร่วมกับ จาง ชิเจา (Zhang Shizhao) จาง จี (Zhang Ji) และ เซียะ เซาชิ (Xie Xiaoshi)  ซึ่งพิมพ์ได้แค่สี่เดือนตั้งแต่มิถุนายนถึงตุลาคม หนังสือพิมพ์ก็ถูกสั่งห้ามพิมพ์

1904 เขากลับมายังอันฮุยและได้ทำหนังสือพิมพ์ Anhui Suhuaboa (Anhui News) ขึ้นมา ซึ่งได้รั้บความนิยมในหมู่ประชาชน และมียอดพิมพ์กว่า 3,000 ก๊อปปี้ และเฉินตู่ซิ่งก็เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ของเขาด้วย โดยใช้นามปากกา San Ai 

1905 หนังสือพิมพ์ Anhui News ของเขาถูกทางการสั่งปิดลง หลังพิมพ์ได้ 23 ครั้ง เฉินตู่ซิ่ว จึงได้มาทำงานเป็นครูสอนหนังสือในโรงเรียนแห่งหนึ่งในชางไห่  ซึ่งที่นี่เขาได้ก่อตั้งสมาคมลับเพื่อต่อต้านแมนจูขึ้นมาในชื่อ สมาคมยี่หวังฮุย (岳王会, Yuewanghui)

1908 เดินทางไปญี่ปุ่นอีกครั้งหนึ่ง และเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยวาเซดะ (Waseda University) โดยเรียนภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส

1909 เดินทางกลับจีน และได้งานเป็นครูสอนที่โรงเรียนทหารของรัสเซีย ในหางโจว (Hangzhou)

1911 หลังเหตุการณ์ปฏิวัติซินไห่ (Xinhai Revolution) ซึ่งเป็นการสิ้นสุดราชวงศ์ชิงในประเทศจีน

เฉินตู่ชิ่วได้ทำงานในรัฐบาลท้องถิ่น และได้เป็นเลขานุการในรัฐบาลทหารของอันฮุย 

1913 มีนาคม, เข้าร่วมในการปฏิวัติ ครั้งที่ 2 (Seconde Revolution) ภายใต้การนำของโกีะมินตั้ง กับ ดร.ซุน ยัด เซน ในการต่อต้านรัฐบาลของหยวน ซื่อไค่ (Yuan Shikai) แต่ว่าฝ่ายของโก๊ะมินตั้ง พ่ายแพ้ เฉินตู่ซิวถูกจับขังคุกอยู่ไม่นานก็ได้รับการปล่อยตัว

1914 เขาเดินทางไปญี่ปุ่นในช่วงเวลาสั้นๆ เพื่อช่วยจาง ชิเจ้า (Zhang Shizhao) ตั้งแม็กกาซีน จ่าหยิน (甲寅, Jiayin) ซึ่งในแม็กกาซีนนี้ เขาได้ใช้นามปากกา “Duxiu” เขียนบทความ

1915 ก่อตั้งแม็กกาซีน Youth ขึ้นมาในเซียงไฮ้ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น New Youth ซึ่งแม็กกาซีนได้รบความนิยมในหมู่นักศึกษา

1917 เฉินตู่ซิ่วกลายเป็นคณะบดีของคณะปรัชญา มหาวิทยาลัยปักกิ่ง โดยที่เขาเองก็สอนวิชาวรรณกรรมด้วย 

ต่อมาเขาถูกชวนให้ไปอยู่ในปักกิ่ง โดยในปักกิ่งเขาได้พบกับ หลี่ ต้าเจา (李大釗, Li Dazhao) ซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มมาร์กซิสต์ ซึ่งทำให้เฉินตู่ซิ่ว พิมพ์ New Youth ฉบับพิเศษที่เชิญชูแนวคิดมาร์กซิสต์ออกมา 

1919 เฉินตู่ซิว ถูกขับออกจากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง เพราะว่าเข้าไปเกี่ยวข้องกับกลุ่ม May 4th Movement

1920 เขามาอยู่ในเซียงไฮ้และตั้งกลุ่มลัทธิมาร์กขึ้นมา 

1921 1 กรกฏาคม, เฉินตู่ซิ่ว ร่วมกับหลี่ต้าเจา ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนขึ้นมา โดยที่เฉินตู่ซิ่วได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรค ซึ่งในตอนที่ก่อตั้งพรรคนั้น พรรค CPC มีสมาชิกไม่ถึง 200 คน ซึ่งร่วมถึงเหมา เจ๋อตุง (Mao Zedong) ก็เป็นสมาชิกที่ก่อตั้งพรรคด้วย

สำหรับเฉินตู่ซิ่ว เขาได้รับฉายาว่า เป็นเลนินแห่งประเทศจีน (China’s Lenin) โดยพรรค CPCในช่วงนี้ได้รับการสนับสนุนจากโซเวียตผ่านองค์การโคมินเทิร์น (Comintern) 

1927 เหมา เจ๋อตุง และมิคาอิล โบโรดิน (Mikhail Borodin) ซึ่งเป็นตัวแทนของโซเวียตที่ส่งมาช่วยเหลือพรรค CPC ในการเจรจากับหวัง จิงเว่ย (Wang Jingwei) ซึ่งเป็นผู้ว่าของอู่ฮั่น (Wuhan) ในการนำเอานโยบายของพรรค CPC ไปใช้  ซึ่งทำให้ฝ่ายที่สนับสนุนพรรคโก๊ะมินตั๋. (Kuomintang, KMT) ) ไม่พอใจ 

มีนาคม, กองทัพของ KMT นำโดยเจียง ไคเช็ค เข้ายึดนานกิง (Nanjing) ได้สำเร็จ และใช้เป็นฐานที่มั่น

12 เมษายน, การสังหารหมู่ที่เซี่ยงไฮ้ (Shanghai massacre) ผู้สนับสนุนพรรคโก๊ะมินตั้ง ได้ลุกขึ้นมาปราบปรามฝ่ายคอมมิวนิสต์ในเซียงไฮ้ ซึ่งฝ่ายของคอมมิวนิสต์นำโดยเฉินตู่ซิ่ว และโจ เอินเหลาย (Zhou Enlai)  ซึ่งเหตุการณ์นี้เสมือนเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามประชาชนในประเทศจีน (Chinese Civil War) ซึ่งเหตุการณ์นี้ฝ่ายคอมมิวนิสต์มีผู้เสียชีวิตกว่า 5,000 คน

พฤศจิกายน, หลังจากคอมมิวนิสต์แพ้ให้กับ KMT แล้ว พวกเขาก็ต้องกลับไปเคลื่อนไหวใต้ดิน และได้มีการปรับเปลี่ยนคณะกรรมการบริหารพรรคใหม่ ซึ่งทำให้เฉินตู่ซิวถูกปลดออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรค

1928 มิถุนายน, รัฐบาลไบยาง (Baiyang goverment) ซึ่งหมายถึงรัฐบาลสาธารณรัฐจีน ซึ่งตั้งโดยหยวน ซื่อไค่ และต่อประธานาธิบดีจาง เจ้าหลิน (Zhang Zoulin) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 2 ได้ถูกโค่นล่ง  และโก๊ะมินตั้งได้ประกาศตั้งรัฐบาลใหม่โดยใช้นานกิง (Nanking) เป็นเมืองหลวง  รัฐบาลโก๊ะมินตั้งนั้นได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นรัฐบาลที่ถูกต้องของจีน

1929 เฉินตู่ซิวถูกไล่ออกจาก CPC ต่อมาเขาจึงได้เข้ากลับกลุ่มที่สนับสนุนทร็อตสกี้ (Leon Trotsky) ในจีน 

1932 เฉินตู่ซิวถูกจับโดยคนของ KMT และถูกนำไปขังในคุก

1937 ในช่วงเร่ิมของสงครามจีนญี่ปุ่น (Japan-China war. 1937-1945) เฉินตู่ซิวได้รับการปล่อยตัวออกมาจากเรือนจำ ซึ่งในช่วงเวลานี้เหมา เจ๋อตุง พาสมาชิก CPC ผ่านลองมาร์ช (Long March) ไปตั้งอยู่ในหยานอัน (Yan’an) 

1938 เฉินตู่ซิวมาอาศัยอยู่ในช่งชิง (Chongqing) และทำงานเป็นครู 

แต่ว่าต่อมาเพราะปัญหาสุขภาพทำให้เขาย้ายไปอยู่ในเมืองเจียงจิน, ในเสฉวน (Jiangjin, Sichuan)

1942 27 พฤษภาคม, เสียชีวิตในวัย 63 ปี

ครอบครัว

ภรรยาคนแรก, เกา ต้าจง (Gao Dazhong, 1876-1930)  พวกเขามีลูกชายด้วยกันสามคน ลูกสาวหนึ่งคน

ภรรยาคนที่สอง, เกา จุนมาน (Gao Junman, 1888-1931) พวกเขาเป็นลูกพี่ลูกน้องกัน ทั้งคู่มีลูกชายด้วยกันสองคนและผู้หญิงคนหนึ่ง

ภรรยาคนที่สาม, ปาน หลานเช่น (Pan Lanzhen, 1908-1949) ไม่มีลูกด้วยกัน 

Don`t copy text!