Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Sense Initiated Lucid Dream (SSILD)

ลูซิดดรีม (Lucid Dream) คือ ความฝันซึ่งคนที่กำลังหลับฝันอยู่นั้นรู้สึกตัวว่าตัวเองกำลังฝัน ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่พบทั่วไป เกิดขึ้นได้กับทุกคน บางคนอาจจะสามารถควบคุมเหตุการณ์หรือสิ่งของในความฝันได้ แต่บางคนจะเหมือนกับว่ารู้สึกตัวแต่เหมือนกับกำลังดูภาพยนต์ ไม่สามารถที่จะบังคับเรื่องราวต่างๆ ในความฝันได้

ซีเลีย กรีน (Celia Green) นักจิตวิทยาชาวอังกฤษ ซึ่งทำการศึกษาเกี่ยวกับลูซิดดรีม ได้สรุปเอาไว้ ในปี 1968 ลูซิดดรีมจะเกิดขึ้นในช่วงการหลับแบบ REM (rapid eye movement sleep) ซึ่งเป็นช่วงที่คนเราหลับลึกที่สุด และลูกนัยตาจะเคลื่อนไหวไปมาอย่างรวดเร็ว

แม้ว่าจะไม่มีทฤษฏีที่ชี้ชัดว่าลูซิดดรีมเกิดขึ้นมาทำไม แต่ก็มีเทคนิคหลายเทคนิคที่ช่วยกระตุ้นหรือบังคับให้เกิดลูซิดดรีมได้ 

ทฤษฏีที่จะอธิบายในตอนนี้ เป็นเทคนิคการเหนี่ยวนำให้เกิดลูซิดดรีมที่เชื่อกันว่ามีประสิทธิภาพและได้ผลมากที่สุด ที่เรียกว่า


Senses Initiated Lucid Dream (SSILD)

SSILD นันถูกพัฒนาขึ้นในประเทศจีน โดยบล๊อคเกอร์คนหนึ่ง ที่ใช้ชื่อว่า “Cosmiclron” ในปี 2013 โดยเขาเรียกเทคนิคนี้ว่า 太玄功 (Tai Xuan Gong, ไท่เชียนกง) ซึ่งแปลว่า “เคล็ดวิชาลึกลับมาก” ซึ่งต่อมาเขาได้แปล ไท่เชียนกง ไปเป็นภาษาอังกฤษ โดยที่เลือกใช้คำว่า “Sense Intiated Lucid Dream”

บทความต้นฉบับที่เขียนโดย CosmicIron อยู่ที่ http://cosmiciron.blogspot.com/2013/01/senses-initiated-lucid-dream-ssild_16.html

แม้ว่าจะขาดคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ว่า SSILD เหนี่ยวนำให้เกิดลูซิดดรีมได้อย่างไร แต่ว่ามันได้ผ่านการพิสูจน์มาแล้วว่าได้ผล 

ขั้นตอนของ SSLID

  1. เข้านอนเร็ว , ควรจะก่อน 5 ทุ่ม … และให้ตั้งนาฬิกาปลุก 4-5 ชั่วโมงหลังจากหลับ
  2. เมื่อตื่นขึ้นมา ให้รักษาการตื่นนั้นไว้ 5-10 นาที ไปเข้าห้องน้ำ หรือเดินไปเดินมาสักหน่อย แต่อย่าทำอะไรที่จะทำให้หายง่วง ถ้าเป็นไปได้ควรจดความฝันที่จำได้เอาไว้ลงในสมุด แต่อย่างใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  3. กลับมานอนและเลือกถ้านอนที่สบาย แต่ว่าใช้ท่านอนที่ต่างจากท่าเดิม หรือท่าที่ทำเป็นประจำ
  4. จากนั้นให้ทำ “Cycle” ซึ่ง Cycle นี้คือแก่นของ SSLID ประกอบไปด้วย
  • มีสมาธิกับประสาทตา (Focus on Sight) ขณะกำลังนอนหลับตา ให้โฟกัสสิ่งที่เห็น บางคนอาจจะเห็นแต่ความมืด บางคนอาจจะเห็นจุดสี
  • มีสมาธิกับประสาทหู (Focus On Hearing) ขณะนอนหลับตา ให้โฟกัสเสียงที่ได้ยิน เช่น เสียงแอร์ เสียงลม
  • มีสมาธิกับประสาทสัมผัส (Focus on Touch) ขณะนอนหลับตา ให้โฟกัสประสาทสัมผัส เช่น ความเย็นของห้อง ความหนักของผ้า 

การทำ Cycle นี้ให้ทำอย่างรวดเร็ว (ราว 5 วินาที ต่อโฟกัส) และให้ทำซ้ำ 4-6 ครั้ง

  1. ทำ Cycle อีก 3-4 ครั้งช้าๆ (ไม่น้อยกว่า 30 วินาทีต่อโฟกัส)
  2. กลับไปนอนในท่าที่สบายที่สุด แล้วก็ปล่อยให้ตัวเองหลับได้ 

สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นกับคุณเมื่อคุณหลับ หลังผ่านการทำ SSLID

  1. Hypnagogia  เป็นความรู้สึกก่อนที่จะเข้าฝัน โดยที่เรายังมีสติขณะหลับ มันจะคล้ายกับความรู้สึกว่า ลอย, หล่น เห็นแสง หรือได้ยินเสียงประหลาด
  2. False Awakening (FAs)เป็นความรู้สึกที่เหมือนตื่นขึ้นมาทั้งที่อันที่จริงยังหลับอยู่ แต่ว่ายังไม่เกิดลูซิดดรีม ซึ่งคนที่ฝึก SSLID จะพบกับ FAs ได้บ่อย

Don`t copy text!