Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Big Tent

Big Tent หรือ a catch-all party เป็นแนวคิดรูปแบบหนึ่งของพรรคการเมืองสามารถรวมรวบเอาคนที่มีจุดยืน, อุดมการณ์ ,,​ ภูมิหลังทางการเมืองที่แตกต่างกันมาอยู่รวมกัน ไม่ว่าคนเหล่านั้นจะเป็นคอมมิวนิสต์, สังคมนิยม, อนุรักษ์นิยม หรือมีชนชั้นใดทางสังคมก็ตาม ซึ่งแนวคิดเรื่องการเมืองแบบ Big Tent นั้นเกิดจากบนความเรื่อง The Trasformation of the Western Party Systems เขียนโดย อ๊อตโต้ เคิร์ชไฮเมอร์ (Otto Kirchheimer) ในปี 1962 ซึ่งอ๊อตโต้เคยเป็นเจ้าหน้าที่วิจัยของ OSS (Office of Strategic Services) หน่วยงานข่าวกรองก่อนที่จะมีการตั้ง CIA ขึ้นมา

พรรคการเมืองแบบ Big Tent จึงไม่มีอุดมการณ์หรือค่านิยมที่ตายตัว ในการกลั่นกรองสมาชิก ซึ่งอาจจะอธิบายได้ว่าพรรคแบบนี้ มีความ “เปิดกว้าง” หรือ “พหุนิยม” มากที่สุด และมีการแปรเปลี่ยนการโฟกัสในเรื่องของอุดมการณ์ซึ่งไปเรื่องของตัวบุคคล ไปสนใจประชาชนซึ่งเป็นฐานเสียงมากกว่า เป้าหมายของ Big Tent ก็คือการชนะการเลือกตั้ง จึงต้องการตอบโจทย์คนให้มากที่สุด

การไม่มีอุดมการณ์ทางการเมืองที่เป็นซ้ายหรือขวา จะถูกชดเชยด้วยคุณภาพและสเน่ห์ของผู้สมัครหรือผู้นำของพรรคนั้นในการดึงดูดเสียงของประชาชน

ประธานาธิบดีบารัค โอบาม่า (Barack Obama) เคยกล่าวเอาไว้ว่า “เราจะต้องไม่เอาชนะเฉพาะกลุ่มคนสนับสนุนและเห็นด้วยกับเราในทุกๆ เรื่องอย่างสัมบูรณ์ … ซึ่งผมสงสัยมาตลอดว่าการเลือกตั้งไม่ใช่เครื่องกรองความบริสุทธิ์ทางความคิด , เพราะเราต่างก็รู้ดีว่าประเทศของเรานั้นซับซ้อน”

ตัวอย่างพรรคการเมืองที่จัดเป็น Big Tent

สหรัฐฯ , พรรครีพับพลิกัน (Republican Party)

อังกฤษ, พรรคแรงงาน (Labour Party)

รัสเซีย, พรรคยูไนเต็ดรัสเซีย (United Russia Party)

ฝรั่งเศส, พรรครีพับพลิกันก้าวหน้า (La République En Marche)

ค่านิยม (Big Tent Values)

  1. non-Partisan : ไม่กำจัดหรือเจาะจงกลุ่มผู้สนับสนุนที่มีแนวคิดแบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะ แต่ว่ามารวมตัวกันเพื่อผลประโยชน์และต้องการเห็นความก้าวหน้าของประเทศโดยรวม
  2. Dynamic : มีความมุ่งมั่น, กระตือรืรั้น, สร้างสรรค์และมองโลกในแง่ดี เพื่อนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงที่ใหม่ในทางที่สร้างสรรค์
  3. Participative : เปิดกว้างสำหรับความคิดใหม่และส่งเสริมให้มีการแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง
  4. Collaborative :ผสมผสานและสร้างความร่วมมือของผู้มีความคิดเห็นที่แกต่างให้สามารถสร้างสรรค์ พัฒนาได้โดยส่งเสริมกัน
  5. Pioneering : รักษาจิตวิญญาณของการแสวงหานวัตนกรรม
Don`t copy text!