การขาดดุลแฝด (twin deficits economy) หรือ หนี้ซ้ำซ้อน (double debt) คือ การที่ประเทศขาดดุลการค้า (trade deficit) รายได้จากการส่งออกน้อยกว่ารายจ่ายของการนำเข้าสินค้า, และรัฐบาลขาดดุลงบประมาณ (budget deficit) เป็นระยะเวลายาวนาน ทำความสามารถในการผลิตสินค้าและบริการไม่เพียงพอที่จะสร้างรายได้ , การขาดดุลแฝดเป็นสูตรสำเร็จที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ล่มมาแล้วหลายเคส ซึ่งในกรณีของศรีลังกา การเมือง นโยบายเศรษฐกิจที่ผิดผลาด ก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ประเทศเข้าสู่วิกฤต วิกฤตเศรษฐกิจของศรีลังการะหว่าง 2019-2022 นี้ ผู้คนส่วนมากโยนความผิดไปให้กับการบริหารเศรษฐกิจที่ผิดผลาด การคอร์รัปชั่นของตระกูลราจาปักษา (Rajapaksa)
2015 นายรานิล วิคกรมสิงห์ (Ranil wickremesinghe) ชนะการเลือกตั้งและได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นครั้งที่ 2 (ครั้งแรกระหว่างปี 2001-2004)
ในขณะที่ในขณะนั้นมาอิทรีปาลา ศิริเสนาส (Maithripala Sirisenas, 2015-2019) เป็นประธานาธิบดี
เศรษฐกิจของศรีลังกาในช่วงปี 2015-2019 เติบโตปีละกว่า 5% แต่ว่าการขาดดุลการค้าในแต่ละปีมีมูลค่ามหาศาลไปด้วย โดยแต่ละปีขาดุลการค้าถึง 3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ทำให้รัฐบาลแก้ปัญหาโดยการกู้เงินจากต่างประเทศ ซึ่งก็ทำให้หนี้สาธารณะสูงขึ้น
ในปี 2015 นายกรัฐมนตรีรานิล วิคกรมสิงห์ ได้พยายามปฏิรูปเศรษฐกิจ หลังจากได้รับคำเตือนจากสถาบันนโยบายศึกษา (Institute of Policy Studies of Sri Lanka) โดยรัฐบาลได้ประกาศจะลดการนำเข้าสินค้าต่างประเทศ ด้วยการเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จาก 11% เป็น 15% และพยายามเร่งการส่งออก และส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศมากขึ้น ซึ่งการพยายามปฏิรูปเศรษฐกิจได้รับการชื่นชมจากนานาชาติ
2019 นายรานิล ก็พ่ายแพ้ในการเลือกตั้ง และรัฐบาลใหม่นำโดยนายมาฮินดา ราจาปักษา (Mahinda Rajapaksa, 2019-2022) ก็เข้ามาบริหารประเทศ นายมาฮินดา ราจาปักษา เคยเป็นประธานาธิบดีศรีลังกามาก่อนระหว่างปี 2005-2015 นายมาฮินดา ราจาปักษา ได้เครดิตในสมัยที่เขาเป็นประธานาธิบดีที่สามารถเอาชนะกลุ่มกบฏพยัคทมิฬ (Tamail Tigers) และทำให้สงครามประชาชน (Sri Lankan Civil war) ยุติลงได้
มีความพยายามในการแก้ไขกฏหมายของธนาคารกลางศรีลังกา เพื่อให้มีความเป็นอิสระจากการเมือง โดยกฏหมายจะไม่ให้รัฐมนตรีคลังหรือเจ้าหน้าที่จะรัฐบาลเข้ามานั่งเป็นบอร์ดบริหารของธนาคารกลางอีก นอกจากนั้นยังจะห้ามไม่ให้ธนาคารกลางเข้าไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการใช้จ่ายเงินที่มากเกินไป แต่ว่ากฏหมายที่จะให้ธนาคารกลางเป็นอิสระ ก็ได้รับการต่อต้านจากพรรค SLPP (Sri Lanka Podujana Peramuna) ของนายมาฮินดา ราจาปักษา
พฤศจิกายน, โกตาบายา ราจาปักษา (Gotabaya Rajapaksa) ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี นายโกตาบายา นั้นเป็นน้องชายของนายมาฮินดา นายกรัฐมนตรี , โกตาบายาเป็นอดีตนายทหารมียศเป็นพันโท
ต่อมาประธานาธิบดีโกตาบาย่า ราจาปักษา ได้มีนโยบายลดภาษีขาดใหญ่ ลดภาษีนิติบุคคลลงจาก 28% เหลือ 24% , ลดภาษีมุลค่าเพิ่มลงเหลือ 8% , ยกเลิกภาษีเงินได้หัก ณ. ที่จ่าย (Pay-as-you-earn tax), ยกเลิกภาษีสนับสนุนการสร้างสาธารณูปโภค (nation-building tax) ซึ่งเดิมเก็บ 2%, มาตรการลดและเลิกภาษีเหล่านี้ทำให้การขาดดุลงบประมาณสูงขึ้น เพราะรายได้ที่น้อยลงของรัฐบาล แต่ประธานาธิบดีให้เหตุผลว่าเป็นการลงทุนในระยะยาวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
2020 การระบาดของโรคโควิด-19 (Covid-19) ยังมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก ด้วยการท่องเที่ยวมีมูลค่าราวหนึ่งในสิบของจีดีพีของศรีลังกา
2021 เมื่อปัญหาการขาดดุลงบประมาณรุงแรง ธนาคารกลางจึงถูกสั่งให้พิมพ์เงินออกมาจำนวนมาก ซึ่งประมาณว่าเป็นจำนวน 432 พันล้านรูปี
กรกฏาคม, นายเบซิล ราจาปักษา (Basil Rajapaksa) ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีคลัง โดยก่อนหน้านั้นเขาเป็นรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาเศรษฐกิจ ในช่วงปี 2010-2015 นายเป็นเบซิล เผชิญกับข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการคอร์รัปชั่นมากมาย จนเขาถูกตั้งฉายาว่า “มิสเตอร์ 10% (Mr. Ten Percent)”
กุมภาพันธ์, เงินทุกสำรองระหว่างประเทศของศรีลังกามีเงินเหลือเพียง 2.31พันล้านเหรียญ แต่ว่ามีภาระหนี้ระยะสั้นที่จะต้องจ่ายคืนจำนวนมาก โดยเฉพาะในกรกฏาคมจะต้องจ่ายเงิน 1 พันล้านเหรียญให้กับ ISB (International Soveriegn Bond) และภายในปี 2022 จะต้องจ่ายหนี้ต่างๆ อีกกว่า 4 พันล้านเหรียญ
รัฐบาลศรีลังกาหันไปขอความช่วยเหลือจากอินเดีย, จีน โดยอินเดียได้ให้เครดิตในการซื้อน้ำมัน 500 ล้านเหรียญ และ 1 พันล้านเหรียญ สำหรับนำเข้าสินค้าจำเป็น ในขณะที่จีนให้เงินกู้ 1 พันล้านเหรียญ
เมษายน, ประธานาธิบดีโกตาบายา ราจาปักษา ประกาศนโยบายเกษตรอินทรีย์ โดยห้ามใช้ปุ๋ยเคมีทุกชนิดในการเกษตรเพื่อที่จะประหยัดเงินตราต่างประเทศ แต่ว่าเกิดผลกระทบทางการเกษตรจนทำให้ผลผลิตตกต่ำ ผลผลิตข้าวลดลง 20% และรายได้ของรัฐจากการเก็บภาษีปุ๋ยเคมีหายไป 425 ล้านเหรียญจนในที่สุดต้องยกเลิกมาตรการ
2022 มกราคม, อัตราแลกเปลี่ยน 1USD= 201 ศรีลังการูปี
8 มีนาคม, ศรีลังการประกาศลดค่าเงิน
12 เมษายน, รัฐบาลศรีลังกาประกาศว่าจะต้องผิดนัดชำระหนี้มูลค่า 51 พันล้านเหรียญ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศที่ผิดนัดชำระหนี้
9 พฤษภาคม, นายกรัฐมนตรีมาฮินดา ราจาปักษา ลาออกจากตำแหน่ง
16 พฤษภาคม, นายรานิล วิคกรมสิงห์ (Ranil wickremesinghe) ได้รับแต่งตั้งให้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 3
มิถุนายน, อัตราแรกเปลี่ยน 1 USD=360 รูปี