Happiness held is the seed.

Happiness shared is the flower.

ความสุขที่เก็บเอาไว้คือเมล็ด

ความสุขที่แบ่งปันคือดอกไม้ 

John Harrigan

Xuanzang

พระถังฉวนจ้าง  (玄奘) , พระถังซัมจั๋ง (唐三藏)

พระซัมจั๋ง แห่งราชวงศ์ถัง  เกิดวันที่ 6 เมษายน 602 ในจังหวัดแยนชิ, หลัวโจว (Luozhou) ปัจจุบันอยู่ในลั่วหยาง, มณฑลเหอหนาน (Luoyang, Henan) 

มีชื่อเดิมว่า เชินฮุย (Chenhui) เป็นลูกคนเล็กในพี่น้องทั้งหมดสี่คน  บรรพบุรุษของเขารับราชการมาหลายรุ่น 

ปู่ทวดเฉิน ชิน (陳欽, Chen Qin) ทำงานราชการอยู่ในจังหวัด 

ปู่ชื่อเฉิน คัง (陳康, Chen Kang) เป็นศาสตราจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยไท่เฉ(太学, Taixue) พ่อของซัมจั๋ง ชื่อเฉิน ฮุย (陳惠, Chen Hui) นั้นแม้ว่าจะเคยรับราชการมาก่อน โดยทำงานอยู่ที่เมืองเจียงหลิง (Jiangling Country) แต่ว่าเขาก็เป็นผู้มีศรัทธาในลัทธิขงจื้ออย่างมาก และได้ตัดสินใจลาออกจากราชการเพื่อเลี่ยงปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองในเวลานั้น 

ซัมจั๋งนั้นได้รับการศึกษาพื้นฐานโดยมีบิดาเป็นคนสั่งสอน 

611 พ่อของซัมจั๋งเสียชีวิต  ซึ่งหลังจากนั้นเฉิน สู้ หรือภายหลังรู้จักกันในชื่อ ฉาง เจ๋ (陳素, Chensu หรือ 長捷, Changjie) พี่ชายของซัมจั๋งก็ได้เขามามีบทบาทเป็นผู้นำครอบครัว และมีอิทธิพลต่อแนวคิดของซัมจั๋งอย่างมาก ในเวลานี้เขาบวชเป็นพระที่วัดจิ้งทู่ (淨土寺, Jingtu Monastery) ในเมืองลั่วะหยาง (Luoyang) ซึ่งเป็นวัดในนิกายมหายาน ที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากรัฐสุ่ย (Sui state) 

ซัมจั๋งได้เดินทางไปหาพี่ชายบ่อยครั้ง และมีความปรารถนาที่จะบวชเป็นพระเช่นพี่ชาย

615 เมื่ออายุ 13 ปี ซัมจั๋งจึงได้ออกบวชเป็นสามเณร

618 เกิดสงครามระหว่างประชาชนด้วยกันเองที่เมืองเหอหนาน (Henan) ซัมจั๋งและพี่ชายจึงได้หนีเข้าไปหลบอยู่ในป่าในเสฉวน (Sichuan) โดยได้ไปอาศัยพระอารามคงฮุ้ย (Kong Hui monastery) โดยพวกเขาได้อาศัยอยู่ที่วัดแห่งนี้เป็นเวลาสองถึงสามปี 

622 ซัมจั๋งได้กลายเป็นพระเต็มตัว 

629 พระถังซัมจั๋งได้ออกเดินทางจากฉางอัน (Chang’an) เมืองหลวงของจีนในขณะนั้นเพื่อมุ่งหน้าไปยังอินเดีย โดยขัดพระประสงค์ของจักรพรรดิไท่จง (Emperor Tai-tsung of Tang) นั้นห้ามไม่ให้พระถังซัมจั๋งเดินทางไปอินเดีย

เมื่อเดินทางข้ามทะเลทรายโกบี  (Gobi desert) มาถึงยังเหลียวโจว (Liangzhou) ซึ่งเป็นดินแดนทางตะวันตกสุดของถังในเวลานั้น ซัมจั๋งก็ได้รับคำเชิญจากกษัตริย์กู๋ เวนไต๋ (King Qu Wentai หรือ Ch’s Wen-tai) แห่งฮามิ (Hami) ให้ไปยังเมืองหลวงเตอร์แฟน (Turfan) เพราะว่ากษัตริย์กู๋ เวนไต๋ นั้นมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างมาก

แต่เพราะว่ากษัตริย์กู๋เวนไต๋ต้องการที่จะบังคับให้ซัมจั๋งอยู่เป็นพระที่ฮามิตลอดชีวิต พระถังซัมจั๋ง จึงต้องอดข้าวประท้วงจนกระทั้งกษัตริย์กู๋เวนไต๋ต้องยอมปล่อยตัวออกมา แต่มีสัญญากันไว้ว่าเมื่อเดินทางกลับมา พระซัมจั๋งจะต้องอยู่ที่ฮามิเป็นเวลาสามปี 

630 พระซัมจั๋งเริ่มการออกเดินทางอีกครั้ง 

636 พระซัมจั๋งเดินทางมาถึงยังพระอารามนาลันทา (Nalanda monastery) ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของพิหาร์ (Bihar) ซึ่งเป็นพระอารามขนาดใหญ่  นาลันทาเป็นวัดหรือวิทยาลัยสงฆ์ที่มีขนาดใหญ่ มีวิหารใหญ่กว่า 10 หลังในพื้นที่เดียวกัน และล้อมรอบด้วยกำแพงสูง ซึ่งที่นาลันทาสอนทั้งพุทธศาสนาแบบมหายาน ยังสอนคณิตศาสตร์, โยคะ, และ การแพทย์ด้วย 

ตามตำนานมีเรื่องเล่ากันมาว่า เจ้าอาวาทศิลาภัทรา (Slabhadra, 529-645) ซึ่งป่วยอาพาทมานานหลายปีจนท่านได้ตัดสินใจที่จะฆ่าตัวตายแล้ว แต่ได้มีเทวทูตมาเข้าฝันเจ้าอาวาทและสั่งให้เจ้าอาวาทอยู่รอพระธุดงส์ที่จะมาจากเมืองจีน เพื่อที่จะได้ช่วยเผยแพร่ศาสนาพุทธออกไปในดินแดนตะวันออก 

ซึ่งเมื่อพระซัมจั๋งได้มาอยู่ที่นาลันทา ก็ได้เรียนภาษาสันสฤต ปรัชญาของพราห์มณ์ ตรรกะ (hetu-vidya) มหายาน-พระสูตร (The Ornament of the Mahayana Sutras) มัธยมกะ (Madhyamaka)

พระซัมจั๋ง ได้สร้างทฤษฏีใหม่ Hui tsüng lun ขึ้นมา ซึ่งเป็นการประสานคำสอนตามความคิดของสาย Sarvastivada กับ Yogacara

643 Kanauj Assembly

หลังจากการประชุมที่คานาจไม่นาน พระซัมจั๋งก็ออกเดินทางกลับจีน โดยใช้เส้นทางของกองคาราวานจาก Pamirs ไปยังเมืองตันหวง (Dunhuang)

ตอนมาถึงเมืองตันหวงในฤดูใบไม้ผลิ เขาหยุดที่เมืองนี้เพื่อรอพระราชโองการจากจักรพรรดิถังเพื่อทรงอนุญาตให้กลับเข้าแผ่นดินจีน

พฤศจิกายน, ออกเดินทางจากตันหวงหลังจากได้รับพระราชโองการ

645 เมื่อเดินทางกลับมายังเมืองหลงวงฉางอัน ในช่วงเดือนแรกของปีตามปฏิทินจีน ก็ได้นำพระไตรปิฏกและเอกสารภาษาสันสฤติกลับมาด้วย ซึ่งพระถังซัมจั๋งนั้นได้แปลเอกสารที่นำกลับมาเอาไว้เพียงเล็กน้อย

เอกสารและสิ่งของที่พระซัมจั๋งนำกลับมาด้วยนั้นถูกนำไปเก็บไว้ที่ Temple of Great Happiness ซึ่งพระซัมจั๋งได้ใช้ชีวิตที่วัดนี้ และใช้เวลาที่เหลือในการแปลเอกสารที่นำกลับมาจากภาษาสันสฤตโดยมีผู้ช่วย 20 คน นอกจากนั้นพระซัมจั๋งก็ยังแปล เต๋า เตอ จิ๋ง (Tao te Ching) คัมภีร์ที่เขียนโดยเล่าจื้อ (Laozi) จากภาษาจีนไปเป็นภาษาสันสฤตด้วย

646 เขียน Records of the Western Regions of the Great Tang Dynasty

647 เต๋าเตอจิง ฉบับภาษาสันสฤตที่พระซัมจั๋งแปลเป็นภาษาสันสฤตถูกส่งไปยังอินเดีย

พระซัมจั๋ง ถือว่าเป็นผู้นำเอานิกายโยคาจาร (Yogacara) มาเผยแพร่ในจีน โดยท่ีประเทศจีนเรียกว่า Faxiang ซึ่งโยคาจารมีความเชื่อว่าจิตเป็นต้นกำเนิดของสรรพสิ่ง โดยนิกายนี้ มีตำราสำคัญสองเล่มคือ

1. The Forest of Meaning in the Maahayana Garden of the Law (大乗法苑義林章 ) เขียนโดย Tz’u-en 慈恩 

2. Notes on the Treatise on the Completion of Ideation Only

664 5 กุมภาพันธ์, พระซัมจั๋ง เสียชีวิตในวัย 61 ปี

ผลงานเขียน 

  1. Records of the Western Regions of the Great Tang Dynasty (大唐西域記, Ta-T’ang Hsi-yü chi), 
  2. Discourse on the Perfecton of Consciousness-only (成唯識論,Cheng Weishi Lun)
Don`t copy text!