Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Neanderthal

นีอันเดอร์ทัล เป็นสายพันธ์ุของมนุษย์โลกเก่า (archaic humans) ซึ่งมีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 40,000 ปีก่อน

1829 ค้นพบ Engis 2 ซึ่งเป็นชิ้นส่วนกระโหลกของนีอันเดอร์ทัล ชิ้นแรกที่ถูกมนุษย์ค้นพบ โดยผู้คนพบคือนักวิทยาศาสตร์ชาวดัตซ์ ฟิลิปเป้-ชาร์ล ชเมอร์ลิง (Philippe-Charles Schmerling) ที่ถ้ำใกล้กับเหมืองหินอ่อนกรอสเตส เดกิส (Grottes d’Engis) ในเบลเยี่ยม แต่ว่าขณะที่พบนั้นฟิลิปเป้คิดว่ามันชิ้นส่วนโครงกระดูกของมนุษย์

1848 ค้นพบ Gibraltar 1 บริเวณเหมืองหินอ่อนฟอร์บ (Forbes’s Quarry) โดยเอ็ดมัน ฟลินต์ (Edmund Henry Rene Flint) แต่ขณะนั้นก็ยังไม่รู้ว่าเป็นชิ้นส่วนของนีอันเดอร์ทัล  

1855 ค้นพบ Neanderthal 1 ในหมู่บ้านนีลเดอร์ (Neander Valley) เยอรมัน โดยโจฮัน ฟูห์รอตต์ (Johann Carl Fuhirott) ซึ่งเป็นครูในพื้นที่ โจฮันห์เป็นคนแรกที่สังเกตุเห็นว่าชิ้นส่วนนี้แตกต่างจากมนุษย์ เขาจึงส่งชิ้นส่วนนี้ต่อไปให้เฮอร์มันน์ ชคาฟ์เฮาเซ่น (Hermann Schaaffhausen) เพื่อทำการศึกษาในปี 1857

ต่อมาจึงพบว่า Nanderthal 1 เป็นชิ้นส่วนของมนุษย์สายพันธุ์อื่นที่แตกต่างจากมนุษย์ปัจจุบัน ทำให้ชื่อนีอันเดอร์ทัล ถูกตั้งขึ้นให้ตามชื่อของหุบเขานีลเดอร์ 

ชื่อของหมู่บ้านนีลเดอร์ มาจากชื่อจองโจคิม นีลเดอร์ (Joachim Neander) นักศาสนวิทยาและนักแต่งเพลงศาสนา ในศตวรรษที่ 17 ซึ่งเป็นคนที่เดินทางมาสถานที่แห่งนี้บ่อย  ซึ่งคำว่า Neander ยังมีความหมายว่า มนุษย์-ใหม่ (New Man) ด้วย

1859 ชาร์ล ดาร์วิน (Charles Darwin) ตีพิมพ์หนังสือ On the Origin of Species

1863 ในการประชุมสมาคมนักวิทยาศาสตร์อังกฤษ  (British ScienceAssociation) ครั้งที่ 33 วิลเลี่ยม คิง (William King) เป็นผู้เสนอให้ใช้ชื่อ Neanderthal เพื่อเรียกฟอสซิลมนุษย์ที่พบในเยอรมันอย่างเป็นทางการ

1908 ค้นพบ La Chapelle-aux-Saints 1 (The Old Man) ในฝรั่งเศส โดย เอ. ไบโซนี (A. Bouyssoni) , เจ. ไบโซนี ( J. Bouyssonie และ L Bardon) โดยที่ La Chapelle-aux-Saints 1 เป็นฟอสซิลของนีอันเดอร์ทัลที่สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่เคยพบมา 

1997 สแวนต์ ฟาโบ (Svante Pääbo) ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้ง สถาบันมานุษยวิทยา แม็กซ์ แพล็งค์ (Max Planck Institute of Evolutionary Anthropology) รายงานความสำเร็จในการถอดรหัสพันธุกรรมของ mtDNA (mitochondrial DNA) จากฟอสซิสของนีอนเดอร์ทัลได้ โดยใช้ชิ้นส่วนของนีอันเดอร์ทัลที่พบในหมู่บ้านเนียนเดอร์

2006 สถาบันมานุษยวิทยา แม็กซ์ แพล็งค์  ริเริ่มโครงการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งหมดของนีอัลเดอร์ทัล (Neanderthal genome project)

2009 การถอดรหัสพันธุกรรมของนีอัลเดอร์ทัลโดยสถาบันสมานุษยวิทยาแม็กซ์แพล็งค์เสร็จสมบูรณ์

2016 การศึกษาฟอสซิล Sima de los Huesos ที่พบในสเปน พบว่ามีอายุ 430,000 ก่อน ไม่ช้ดเจนว่า Sima de Los Huesos เป็นนีอัลเดอร์ทัลหรือไม่ แม้นจะมีลักษณะหลายอย่างคล้ายคลึง แต่ว่าการศึกษาทำให้ประมาณได้ว่านีอัลเดอร์ทัล และเดนิสโซแวน (Denisovan) ซึ่งเป็นสายพันธุ์หนึ่งของมนุษย์โลกเก่า และมีความใกล้ชิดกับนีอัลเดอร์ทัล น่าจะแยกสปีชีย์จากกันเมื่อประมาณ 473,000-380,000 ปีก่อน

2022 การศึกษานีอันเดอร์ทัล ซึ่งพบในถ้ำชาร์กีร์สกาย่า (Chagyrskaya cave) ในไซบีเรียของรัสเซีย เมื่อปี 2007 โดย สแวนต์ ฟาโบ นั้นเขาพบว่านีอัลเดอร์ทัลที่อาศัยอยู่ที่นี่เป็นครอบครัวเดียวกัน แสดงให้เห็นว่านีอัลเดอร์ทัลอาศัยอยู่เป็นกลุ่มเล็กๆ ไม่เกิน 20 คน 

นีอัลเดอร์ทัล เพศชาย มีส่วนสูงประมาณ 1.65 เมตร น้ำหนัก 90 กิโลกรัม และเพศหญิงสูงประมาณ 1.55 เมตร น้ำหนัก 70 กิโลกรัม 

สมองของนีอัลเดอร์ทัลใหญ่กว่ามนุษย์ปัจจุบัน คือมีปริมาตรเฉลี่ยน 1.5 ลูกบาศก์เซนติเมตร์ ขณะที่มนุษย์ปัจจุบันมีปริมาตรเฉลี่ยน 1.35 ลูกบาศก์เซนติเมตร 

นีอัลเดอร์ทัลมีการสร้างเครื่องมือจากหิน และกระดูกของสัตว์  ซึ่งเทคนิคการสร้างเครื่องมือจากหินของนีอัลเดอร์ทัลเรียกว่าลีวัลเลียส (Levallois technique) นอกจากนั้นนีอัลเดอร์ทัลยังมีความสามารถในการล่าสัตว์ จับสัตว์ทะเล มีการใช้ไฟ และมีการฝังศพ

ในขณะที่ความสามารถในการสื่อสารโดยมีภาษาใช้หรือไม่นั้นยังไม่ชัดเจน และความสามารถในการสร้างงานศิลปะก็ยังไม่แน่ชัด แต่ว่ามีการสร้างเครื่องประดับจากเปลือกหอยหรือเศษกระดูก

นีอัลเดอร์ทัลมีชีวิตอยู่เมื่อ 400,000-40,000 ปีก่อน ซึ่งถือว่าอยู่ร่วมสมัยกับมนุษย์ปัจจุบันก่อนที่จะสูญพันธุ์ไป คาดกว่าการแพร่กระจายของมนุษย์ปัจจุบันอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้นีอัลเดอร์ทัลสูญพันธ์ุ

Don`t copy text!