Life is filled with unanswered questions, but it is the courage to seek those answers that continues to give meaning to life. You can spend your life wallowing in despair, wondering why you were the one who was led towards the road strewn with pain, or you can be grateful that you are strong enough to survive it.

ชีวิตนั้นเต็มไปด้วยคำถามมากมายที่ไร้คำตอบ, มันต้องใช้ความกล้าในการค้นหาคำตอบที่ให้ความหมายของการมีชีวิต คุณอาจจะใช้ชีวิตติดกับความผิดหวัง และสงสัยว่าทำไมมีเพียงแต่คุณที่ต้องเดินไปบนถนนที่เต็มไปด้วยความเจ็บปวดเพียงลำพัง หรือคุณอาจจะรู้สึกขอบคุณตัวเองที่เข้มแขึงและยืนหยัดอยู่ได้

J.D. Stroube, Caged by Damnation

Evgeny Kamzolkin

https://www.youtube.com/watch?v=GgIXHZXQ3gI

เยฟกินีคัมโซลกิ้น (Евгений Иванович Камзолкин)

ผู้ออกแบบสัญลักษณ์ เคียวและค้อน (Серп и молот. , Hammer and Sickle)

คัมโซลกิ้น เกิดวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 1885 ในมอสโคว์ พ่อของเขาชื่ออีวาน (Ivan Vasilyevich Kamzolkin) เป็นพ่อค้า 

1904 เข้าเรียนที่โรงเรียนจิตกรรม ปฏิมากรรมและสถาปัตยกรรมมอสโคว์ (Moscow School of Painting, Sculpture and Architecture) โดยได้เรียนกับเอบราม อาร์คิบอฟ (Abram Arkhipov) และนิโคไล กาซัตกิ้น (Nikolay Kasatkin) ซึ่งเป็นจิตรกรที่มีชื่อเสียงของประเทศ 

ระหว่างที่เรียนเขาก็เข้าไปสมาชิกของกลุ่ม Leonado da Vinci Society และ the Moscow Salon ซึ่งเป็นกลุ่มสมาคมของศิลปิน 

1907 คัมโซลกิ้นเข้าร่วมการแสดงศิลปะ ในงานแสดงภาพถ่ายนานาชาติ ซึ่งจัดขึ้นที่ตูริน (Turin) ในอิตาลี

1912 จบจากโรงเรียนจิตกรรมฯ

1917 หลังการปฏิวัติในรัสเซีย คัมโซลกิ้นเข้าทำงานที่สภาท้องถิ่นในเขตมอสโคว์เรเชีย แต่ก็ยังผลิตศิลปะออกด้วยหลายชิ้น

1918 คัมโซลกิ้น ออกแบบสัญลักษณ์ เคียวและค้อน ขึ้นมา เพื่อ/สำหรับ นำไปใช้ในการตกแต่งพื้นที่บริเวณเขตซามอสโคว์เรเชีย (Zamoskvorechye district) ของมอสโคว์ เนื่องในโอกาสวันแรงงาน (May Day)

25 เมษายน, ถือว่าเป็น (วันเกิด) วันที่สัญลักษณ์ เคียวและค้อน ถูกออกแบบขึ้นมา โดยที่คัมโซลกิ้นร่างมันขึ้นมาจากดินสอ และ เซอร์เกย์ เกราซิมอฟ (Sergei Vasilyevich Gerasimov, 1885-1964) ก็อยู่ในเหตุการณ์ช่วงที่คัมโซลกิ้นวาดสัญลักษณ์ขึ้นมาด้วย ซึ่งเป็นความตั้งใจของคัมโซลกิ้น ที่ เคียว สื่อความหมายถึงเกษตรกร และค้อน สื่อความหมายถึงกรรมกรผู้ใช้แรงงาน

10 กรกฏาคม, การประชุมสภาโซเวียต ครั้งที่ 5 (5th All-Russian Congress of Soviets) เลนินก็ยอมรับให้มีการใช้สัญลักษณ์เคียวและค้อนเป็นสัญลักษณ์ทางการ

แต่ว่าชื่อของคัมโซลกิ้นซึ่งเป็นผู้ออกแบบกลับถูกลืมไปนานหลายสิบปี จนกระทั้งปี 1947 ในการเฉลิมฉลอง 30 ปี ของการปฏิวัติตุลาคม นักข่าวคนหนึ่งซึ่งมีความสงสัยเกี่ยวกับที่มาของสัญลักษณ์ได้พบกับคัมโซลกิ้น

1920 คัมโซลกิ้นทำงานสอนศิลปะประยุกต์อยู่ที่สถาบันดนตรีและศิลปะพุ้ชกิ้น (Pushkin Musical and Artistic School,  Anatoly B. Lunacharsky)

ช่วงปี 1920s เขาย้ายไปอยู่ในเมืองพุชกิ้นโน่ (Pushkino) ไม่ไกลจากมอสโคว์ ซึ่งไปอาศัยอยู่ในบ้านเก่าของปู่ของเขา และคัมโซลกิ้นทำงานเป็นครูสอนศิลปะให้เด็กๆ และอุทิศตนให้กับการช่วยเหลือเด็กข้างถนน 

1923 ร่วมก่อตั้งสมาคมศิลปะ ซาร์-ชเว็ต  (Жар-цвет, Heat color) ซึ่งมุ่งเน้นการช่วยเหลือศิลปินในการนำผลงานไปจัดแสดง

1957 19 มีนาคม, เสียชีวิตในพุชกิ้นโน่

Don`t copy text!