Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

A NEW HISTORICAL RELATION OF THE KINGDOM OF SIAM. Part 1 – Chapter 2

พาร์ตที่ 1

บทที่ 2 ภูมิศาสตร์ (ต่อ), และเมืองหลวง

บริเวณพรหมแดนกับราชอาณาจักรพะโค (Pegu) มีเมืองที่เรียกว่า คามโบรี (Cambory) และบริเวณพรหมแดนกับลาว มีเมืองที่เรียกว่า โคราชสีมา (Corazema) ซึ่งบางคนเรียกว่า คาริสสีมา (Carissima) ซึงเมืองทั้งสองเมืองนี้มีชื่อเสียง  และเมืองที่อยู่ระหว่างแม่น้ำเหนือเมืองนครสวรรค์ (Laconcevan) กับคลองซึ่งเชื่อมระหว่างแม่น้ำสายหนึ่งไปยังแม่น้ำอีกสายหนึ่ง มีเมืองที่สำคัญอีกสองแห่งคือ สุโขทัย (Socotai) และพิจิตร (Pitchit) ซึ่งสองเมืองนี้อยู่แทบจะละติจูดเดียวกัน และมีเมืองสวรรคโลก (Sanquelouc) อยู่ทางเหนือ

ประเทศนี้มีอากาศที่ร้อนมาก ทำให้ประชาชนอาศัยอยู่บริเวณริมแม่น้ำ ชาวสยามขุดคลองขึ้นมาเองอีกหลายสาย แต่ว่าไม่ได้มีการจดบันทึกอะไรเอาไว้เลย ทำให้มันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะนับจำนวนเมืองทั้งหมดของประเทศนี้

ชาวสยามเรียกร่องน้ำเหล่านี้ว่า คลอง (Cloum) ซึ่งทำให้เมืองสยาม (หมายถึงอยุธยา) ไม่ใช่เพียงแต่มีสภาพที่กลายเป็นเกาะเท่านั้น แต่ว่ายังถูกวางตำแหน่งเอาไว้ตรงกลางของเกาะต่างๆ มากหลายเกาะ โดยเกาะซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองนั้นถูกล้อมรอบด้วยกำแพงทุกด้นา ซึ่งแน่นอนว่าเมืองสมัยที่เฟอร์ดินันด์ เมนเดซ ปินโต (Ferdiand Mendex Pinto) เดินทางมานั้ง กำแพงเหล่านนี้ยังไม่ได้ถูกสร้างขึ้น หรือไม่ก็อาจจะเป็นความผิดพลากของผู้เขียน ซึ่งดูเหมือนว่าเขาจะอาศัยและใช้ความทรงจำมากเกินไป พวกเราจะเชื่อสิ่งที่เขาเขียนเอาไว้ ที่บอกว่าช้างของกษัตริย์แห่งพะโค ได้เดินทางเข้ามาล้อมเมืองสยามเอาไว้ และเกือบที่จะเข้ามาถึงกำแพงเมืองได้ แต่ว่างาของช้าได้หักลงเพราะกระแทกเข้ากับกำแพงที่ชาวสยามสร้างขึ้นมาป้องกันเอาไว้

ตำแหน่งละติจูด ซึ่งบาทหลวงโธมัส (Father Thomas te Jesuit) บันทึกเอาไว้คือ ละติตูด 14.20.40 และลองจิตูด 120.30 รูปทรงของเมืองคล้ายกับกระเป๋า ปาก(กระเป๋า) อยู่ทางทิศตะวันออก และก้นอยู่ทางทิศตะวันตก ทางทิศเหนือติดกับแม่น้ำ และมีคลองอยู่หลายสาย และไหลรอบเมืองไปออกทางทิศใต้ ก่อนที่จะแยกเป็นสายน้ำเล็กๆ อีกหลายสายอีกครั้ง พระบรมหาราชวังนั้นอยู่ทางเหนือริมคลองซึ่งล้อมเมืองเอาไว้ ทางตะวันออกมีถนนสำหรับเข้าเมือง ทำให้ประชาชนสามารถเข้าออกได้โดยไม่ต้องลงไปในน้ำ

ตัวเมืองมีเนื้อที่กว้าง ซึ่งทุกอย่างอยู่ภายในกำแพง อย่างที่บอกไปแล้วว่ามันเหมือนกับเกาะ แต่ว่ามีการแบ่งออกเป็นหกส่วน โดยตะตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเหมือนพื้นที่ที่ถูกปล่อยเอาไว้ ไม่ได้มีอะไรนอกจากวัด เจดีย์เท่านั้น แต่ว่าก็เป็นบริเวณที่มีคนแปลกถิ่นเข้ามาจับจองอาศัยกันมา ถนนภายในเมืองนั้นกว้างและตรง ถนนบางเส้นมีการปลูกต้นไม้ริมสองข้างทาง และปูด้วยก้อนอิฐ บ้านเรือนส่วนใหญ่ค่อนข้างเตี้ยและสร้างด้วยไม้ ซึ่งส่วนใหญ๋คนท้องถิ่นเป็นเจ้าของ เหตุผลที่สร้างเช่นนี้คงเพราะว่ามันเหมาะสมกับสภาพอากาศที่ร้อนมาก ในขณะที่ถนนเกือบทุกสายก็มีการขุดคลองคู่ไปด้วย ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่าสยาม เป็นเมืองที่คล้ายกับเวนิช (Venice) มีการสร้างสะพานเล็กๆ อยู่หลายแห่ง แต่ว่าบางสะพานก็ทำด้วยก้อนอิฐซึ่งน่าเกลียด

คำว่า “สยาม” นี้ ไม่ได้เป็นคำที่ชาวสยามรู้จัก แต่เป็นคำที่ชาวโปตุเกสซึ่งอยู่ในอินเดียใช้เรียก ทำให้ยากมากที่จะหาที่ไปที่มาของคำนี้ พวกเขา (โปตุเกส) ใช้คำนี้เรียกชนชาติ (Nation) ไม่ได้ใช้เรียกอาณาจักร (Kingdom) และคำว่าพะโค (Pegu) ลาว (Lao) โมกุล (Mogul) ก็เป็นชื่อที่ชาวตะวันตกใช้เรียกอาณาจักรต่างๆ ในอินเดีย เหมือนกับคำที่ใช้เรียกชนชาติ หรือจะพูดให้ถูกต้อง เราต้องบอกว่า กษัตริย์ของชาวพะโค, ชาวลาว, ชาวโมกุล และชาวสยาม ก็คือ กษัตริย์แห่งฝรั่งเศส

ซึ่งแบบนี้จะทำให้เข้าใจความหมายของคำที่ชาวโปตุเกสต้องการสื่อมากขึ้น  คำว่า Siam กับ Siaom นั้นคือคำๆ เดียวกัน และถ้าจะเขียนให้กับหลักภาษาของพวกเราแล้ว เราควรจะเขียนเรียกพวกเขาด้วยคำว่า Sions ไม่ใช่ Siams และเมื่อเขียนเป็นภาษาลาติน ก็ควรจะใช้คำว่า Siones

ชาวสยามเรียกตัวเองว่า ไทย (Tai) ที่แปลว่า เสรี (Free) ซึ่งคำๆ นี้มีความหมายมากในภาษาของพวกเขา โดยเขาเปรียบเทียบกับคำว่า Francs (ฝรั่งเศส) ซึ่งครั้งหนึ่งบรรพบุรุษของพวกเรา ที่เรียกว่า โกล (Gauls) ได้ต่อต้านอำนาจของโรมัน 

และในภาษาของพะโค คำว่า “Siam” ยังมีความหมายว่า “เสรี” ทำให้สันนิษฐานได้ว่าชาวโปตุเกส เรียนรู้คำๆ นี้ๆ มาจากชาวพะโค 

อย่างไรก็ตาม ในหนังสือ Historical Treatises of the Kingdom of China บทที่ 1 ตอนที่ 5  เขาเขียนว่าคำว่า “Sian” มาจากคำสองคำ คือ Sien Lo แต่ว่าไม่ได้ให้คำอธิบาย เป็นไปได้ว่าเป็นชื่อที่เขาเรียกคนเชื้อสายจีน , เมืองไทย (Meuang Tai) เป็นชื่อที่ชาวสยามเรียกอาณาจักรสยามของพวกเขา (Meuang แปลว่า Kingdom) ซึ่งคำๆ นี้เขียนสะกดแบบง่ายว่า Muangtay ซึ่งพบในงานเขียนของ วินเซนต์ เลอ บล็อง (Vincent le Blanc) และในแผนที่อีกหลายแผนที่ และจากการที่ชื่อของอาณาจักรนี้อยู่ติดกับอาณาจักรพะโค แต่ว่าวินเซนต์ เลอ บล๊อง นั้นไม่ได้เข้าใจว่านี่คือราชอาณาจักรสยาม เขาอาจจะไม่ได้คิดว่า Siam กับ Tai เป็นคำสองคำที่หมายถึงคนกลุ่มเดียวกัน

สำหรับเมืองหลวงของสยาม ชาวสยามเรียกว่า ศรี-โย-ธิ-ยา (Si-yo-thi-ya) โดยตัว o ออกเสียง yo คล้ายกับการออกเสียงควบของ an. หรือบางครั้งพวกเขาก็เรียกว่า กรุงเทพพระมหานคร (Crung thepapra maha nacon) แต่ว่าความหมายของแต่ละคำนั้นยากจะเข้าใจ เพราะว่าเป็นคำที่มาจากภาษาบาลี ซึ่งข้าพเจ้านั้นตั้งใจเอาไว้แล้วว่าจะขอเรียนภาษานี้ของชาวสยาม ซึ่งแม้แต่ชาวสยามเองก็ไม่ได้เข้าใจภาษานี้อย่างสัมบูรณ์ แต่ข้าพเจ้าบอกไว้เลยว่าตอนนี้ข้าพเจ้าเข้าใจความหมายของคำว่า พระ (Pra) แล้ว ซึ่งคำๆ นี้ หมายความว่า มหา (Maha) หรือ ยิ่งใหญ่ (Great) ดังนั้นเวลาที่พวกเขาพูดถึงกษัตริย์ พวกเขาจึงเรียกว่า พระมหากษัตริย์ (Pra Maha Crassat) และคำว่า กษัตริย์ (Crassat) ตามความหมายของพวกเขาหมายถึง ชีวิต (living)  แต่เพราะว่าชาวโปตุเกสคิดว่า คำว่า พระ หมายถึง พระเจ้า(God) พวกเขาจึงคิดไปเองว่า ชาวสยามเรียกกษัตริย์ของพวกเขา ด้วยความหมายว่า พระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ที่มีชีวิต (The Great living God) 

สำหรับคำว่า ศรีโยธยา ชื่อซึ่ง่ชาวสยามให้เรียกเมืองหลวงของพวกเขานั้น ชาวต่างชาติ เรียกเมืองนี้ ว่าจูเทีย (Judia) หรือ โอเดีย (Odiaa) ดังปรากฏว่าในงานเขียนของวินเซนต์ เลอ บล๊อง และนักเขียนบางคน  ซึ่งดูเป็นการน่าเกลียดที่ใช้ Odiaa สำหรับ Siam

คำว่า ชาวสยาม (Siameses) พวกเขานั้นเรียกตัวเองว่า ไทยน้อย (Tai Noe) ซึ่งแปลว่า little Siams ซึ่งยังมีคนกลุ่มอื่นอีก เท่าที่ข้าพเจ้าทราบ เป็นเผ่าพันธ์ที่ป่าเถื่อนกว่า คนกลุ่มนั้นถูกเรียกว่า ไทยใหญ่ (Tai yai) ที่แปลว่า great Siams คนกลุ่มนี้อาศัยอยู่ในภูเขาทางภาคเหนือ และมีความสัมพันธ์กับคนในประเทศนี้ ข้าพเจ้าได้รู้จักอาณาจักร สยามมอญ (Siammon) หรือ  เสี่ยมี่ (Siami) แต่ว่าก็ไม่ได้เห็นด้วยที่บอกว่าคนพวกนี้ป่าเถื่อน

เทือกเขาซึ่งเป็นพรหมแดนของอังวะ (Ava), พะโค (Pegu) และสยาม มันค่อยๆ แคบลงเรื่อยๆ เมื่อลงไปทางทิศใต้ โดยเริ่มต้นจากบริเวณคาบสมุทรอินเดีย และไปสิ้นสุดที่สิงคปุระ (Sincapura) มันคั่นระหว่างอ่าวสยามกับอ่าวเบงกอล โดยที่มีเกาะสุมาตราทำให้เกิดช่องแคบมะละกาหรือช่องแคบสิงคปุระอันเลื่องชื่อ แม่น้ำหลายหลายไปไหลไปทุกทิศทุกทางจากเทือกเขานี้ ไหลไปลงยังอ่าวสยาม และอ่าวเบงกอล ทำให้บริเวณชายฝั่งมีความอุดมสมบูรณ์ มีเทือกเขาอีกแห่งหนึ่งที่เป็นพรหมแดนระหว่างสยามกับลาว และทอดไปทางทิศใต้โดยค่อยๆ มีขนาดที่เล็กลง ก่อนที่จะไปสิ้นสุดที่แหลมแคมโยย่า (Cape of Camboya) ซึ่งเป็นบริเวณสิ้นสุดของทวีปเอเซียทางใต้ และนี่คือละติตูดของแหลมนี้ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของอ่าวสยามและอาณาจักรซึ่งมีชื่อเดียวกัน ซึ่งพรหมแดนขยายไปทางทิศใต้ มีรูปร่างเหมือนเกือกม้า ซึ่งทอดตัวจากชายฝั่งตะวันออกไปยังแม่น้ำจันทบูน (Chantebon) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของอาณาจักรแคมโบยา (Camboya) ส่วนอีกด้านของเกือกม้า เป็นคาบสมุทรเบงกอล (Peninsula of extra Gangem) ซึ่งเป็นด้านตะวันตกของอ่าวสยาม มันมีความยาวไปถึงเกด้า (Queda) และปาตานา (Patana) ซึ่งเป็นดินแดนของชาวมาลายัน ซึ่งเคยมีมะละกา (Malaca) เป็นเมืองหลวงในอดีต

ความยาวของอาณาจักรนี้ประมาณ 200 ลีกไปตามอ่าวสยาม และ 180 ลีก ไปยังอ่าวเบงกอล เป็นภูมิศาสตร์ที่มีความได้เปรียบ เพราะประชาชนสามารถที่จะใช้ประโยชน์จะทะเลทางตะวันออกที่กว้างใหญ่ แต่ว่าธรรมชาติก็เป็นอุปสรรคไม่ให้การทำท่าเรือหรือถนนไปยังชายฝั่งโคโลแมนเดล (Coast of Coromandel) ที่อยู่ในอ่าวเบงกอล ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตก นอกจากนั้นสยามยังเป็นศัตรูกับดินแดนที่อยู่ทางตะวันออกของอ่าว

มีเกาะจำนวนมากที่ถูกค้นพบ และกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปบนอ่าว ทำให้เป็นที่หลบภัยสำหรับเรือเป็นอย่างดี นอกจากนี้เกาะบางแห่งยังเหมาะสำหรับเป็นท่าเรือที่ยอดเยี่ม เพราะมีน้ำจืดและไม้มาก ซึ่งก็จะเชื้อเชิญให้มีผู้ที่ต้องการจะรุรานใหม่ๆ  กษัตริย์ของสยาม ควรจะดูเรียกว่า ลอร์ด (Lord) เพราะว่าประชาชนมีอยู่เล็กน้อยเทียบกับพื้นดินกว้างใหญ่ มีดินแดนอยู่มากมายที่ยังไม่มีคนเข้าไปอาศัย แต่ว่ากษัตริย์ก็ไม่เข้มแข็งเพียงพอที่จะปกป้องท้องทะเลมิให้คนแปลกหน้าเดินทางเข้ามา

เมืองเมอร์กี้ (City of Merguy, หมายถึงเมืองมะริด) ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือ อยู่บนเกาะที่มีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่ง มีแม่น้ำใหญ่สายหนึ่ง ซึ่งไหลมาจากเทือกเขาที่ชาวยุโรปเรียกว่า เทนาสเซริม (Tenasserim, หมายถึงเทือกเขาตะนาวศรี) มีเมืองซึ่งมีชื่อเดียวกันอยู่ลึกเข้าไป 15 ลีกจากทะเล แม่น้ำนี้ไหลมาจากทางเหนือ ซึ่งผ่านอาณาจักรอังวะและพะโค และเข้ามาในเขตซึ่งอยู่ในอาณัติของกษัตริย์แห่งสยา ก่อนที่แม่น้ำจะแยกออกเป็นสามสายและไหลลงไปยังอ่าวเบงกอล  และทำให้เกิดเกาะที่ข้าพเจ้ากล่าวมา ท่าเรือเมอร์กี้ซึ่งบางคนบอกว่าดีที่สุดในแถบอินเดียนี้ เพราะมันอยู่กึ่งระหว่างเกาะและบริเวณอาศัย และด้านตรงข้ามก็เป็นเมืองเมอร์กี้

Don`t copy text!