Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

August Schleicher

ออกุส ชไลเชอร์ (August Schleicher)

นักภาษาศาสตร์ชาวเยอรมัน ผู้ฟื้นภาษาโปรโต-อินโด-ยูโรเปี้ยน (Proto-Indo-Euporean languages) กลับมาอีกครั้ง

ชไลเชอร์ เกิดวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 1821  ในเมืองไมนินเจ้น, แซ็ก-ไมนินเจ้น ดัชชี่  (Meiningen, Duchy of Saxe-Meiningen) โดยพ่อของเขาเป็นนายแพทย์ชื่อโจฮันน์ (Johann Gottlieb Schleicher, 1793-1864)

ชไลเชอร์เรียนมัธยมที่คาซิมีเรียนัม โคเบิร์ก จิมนีเซียม (Casimirianum Coburg gymnasium) 

1840 ชไลเซอร์ เรียนหนังสือที่มหาวิทยาลัยทูบินเจ้น (University of Tübingen) โดยในช่วงนี้มีความสนใจในวิชาปรัชญา โดยได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของเฮเกิ้ล (Georg whlhelm Friedrich Hegel)

1843 ย้ายมาเรียนมหาวิทยาลัยบอนน์ (Bonn University) โดยเขามีความสนใจศึกษาเกี่ยวกับภาษาตะวันออก อย่างภาษาฮิบรู, อารบิก, สันสฤต และเปอร์เซีย

1846 หลังจากเรียนจบ ก็ได้ทำงานสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยชาร์ล (Charles University) ในกรุงปราก (Prague) และที่มหาวิทยาลับเจน่า (University of Jena) 

1848 เขาได้รับทุนสนับสนุนจากเจ้าชายจอร์จ (Prince George of Saxe-Meiningen) ในการออกเดินทางเพื่อการวิจัย ระหว่างปี  1848-1850 โดยชไลเชอร์ได้เดินทางไป ปารีส, ลอนดอนและเวียนนาในช่วงเวลานี้ และระว่างนี้ก็ทำงานเป็นผู้สี่อข่าวพิเศษให้กับหนังสือพิมพ์ Augsburger Allgemeine Zeitung และ Kôlnische Zeitung ไปด้วย

1850 ได้รับตำแหน่งรองศาสตราจารย์ด้านปรัชญาจากมหาวิทยาลับปราก

ชไลเชอร์เขียนงานวิจัยทางด้านภาษา ชื่อ Die Sprachen Europas in systematischer Uebersicht (The Languages of Europe in Systematic Perspective) ซึ่งชไลเชอร์มีการแบ่งภาษาออกเป็นกลุ่มๆ Stammbaum (languages family tree model) ซึ่งชไลเชอร์มองว่าภาษามีวิวัฒนาการเหมือนสิ่งมีชีวิตที่มีการพัฒนาเติบโต เต็มวัยและก็เสื่อมลง ภาษาจึงมีวิวัฒนาการมาจากภาษาที่มีมาก่อน

1853 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ด้านภาษาศาตร์, ภาษาเยอรมันและภาษาสันสฤต  ช่วงเวลานี้เขามีความสนใจศึกษาภาษาสลาฟและภาษาลิธัวเนียด้วย

1857 ย้ายมารับตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านปรัชญาที่ ม.เจน่า

1861 Compendium der vergleichenden Grammatik der indogermanischen Sprachen

1863 ได้รับเลือกเป็นสมาชิกของสมาคมวิทยาศาสตร์แซ็กซอน (Royal Saxon Society of Sciences)

1868 เขียน  Schleiche’s Fable (The Sheep and the horses) โดยใช้ภาษา Proto-Indo-European (PIE)  ที่เขารื้อฟื้นขึ้นมาใหม่

6 ธันวาคม, เสียชีวิตในวัย 47 ปี จากโรควัณโรค

Avis akvāsas ka. (The sheep and the Horses)  หรือ  Schleicher’s fable  ซึ่งเขียนด้วยภาษา  Proto-Indo-European (PIE)

Avis, jasmin varnā na ā ast, dadarka akvams, tam, vāgham garum vaghantam, tam, bhāram magham, tam, manum āku bharantam. Avis akvabhjams ā vavakat: kard aghnutai mai vidanti manum akvams agantam.

Akvāsas ā vavakant: krudhi avai, kard aghnutai vividvant-svas: manus patis varnām avisāms karnauti svabhjam gharmam vastram avibhjams ka varnā na asti.

Tat kukruvants avis agram ā bhugat

(ไทย)

มีแกะตัวหนึ่งซึ่งมันไม่มีขน มันมองเห็นม้าฝูงหนึ่ง ม้าตัวหนึ่งกำลังลากเกวียนที่หนักมาก, ม้าอีกตัวหนึ่งก็กำลังแบกสัมภาระที่หนักไว้บนหลัง และม้าอีกตัวหนึ่งก็ให้มนุษย์ขี่หลังและถูกบังคับให้วิ่งอย่างรวดเร็ว 

แกะจึงเดินเข้าไปพูดกับม้าว่าหัวใจข้าเจ็บปวด, ที่ต้องเห็นมนุษย์ใช้งานม้าเยี่ยงนี้”  พวกม้าจึงได้ตอบว่าฟังนะ, เจ้าแกะ , หัวใจของพวกข้าก็รู้สึกเจ็บปวด ที่เห็นมนุษย์, เจ้านาย, ใส่เสื้อกันหนาวที่ทำจากขนแกะเพื่อที่ทำให้ร่างกายของเขาอบอุ่น, แต่ว่าแกะกลับไม่มีขน

เมื่อได้ยินดังนั้นเจ้าแกะก็วิ่งหนีไปในทุ่งกว้าง 

Don`t copy text!