จูเรีย พาสตราน่า (Julia Pastrana)
ชาวเม็กซิกันพื้นเมือง ซึ่งป่วยเป็นโรคหายาก 2 โรค พร้อมกัน ร่างกายของเธอมีขนปกคลุมมากกว่าปกติ ทางการแพทย์เรียกว่า อาการไฮเปอร์ไตรโคซิส (hypertrichosis) และยังมีริมฝีปากและเหงือกที่หน้า ซึ่งเป็นอาการของโรค เหงือกอักเสบรุนแรง (gingival hyperplasia)
จูเรียถูกเรียกว่า มนุษย์หมี (the bear woman) หรือ มนุษย์ลิง (the ape woman)
จูเรีย เกิดในเดือนสิงหาคม 1834 ในไซน่าโลอา, ประเทศเม็กซิโก (Sinaloa, Mexico) โดยจุเรียมีภาวะไอเปอร์ไตรโคซิสมาตั้งแต่เกิด ร่างกายและใบหน้าของเธอมีขนสีดำปกคลุมทั่วร่างกาย ส่วนจมูกและหูมีขนาดที่ใหญ่กว่าปกติ นอกจากนั้นฟันยังไม่เป็นระเบียบเหมือนคนทั่วไป ซึ่งคาดว่าการที่ฟันไม่ปกติ เกิดจากอาการโรคเหงือกอักเสบรุนแรง (gingival hyperplasia) ทำให้ริมฝีปากและเหงือหนา
ปูมหลังชีวิตของจูเรียนั้นไม่ชัดเจน เนื่องจากประวัติของเธอว่ามักจะถูกแต่งเติมไปตามการแสดง ครั้งหนึ่งเธอเคยบอกว่าเธอเป็นคนของเผ่าพื้นเมืองที่ชื่อว่า เผ่ารูตดิ๊กเกอร์ (Root Diggers) ซึ่งทุกๆ คนในเผ่าดูเหมือนมนุษย์ลิงและอาศัยอยู่ในถ้ำ
วันนี้คนในเผ่าของเธอจับผู้หญิงคนหนึ่งจากโลกภายนอกชื่อเอสฟิโนซ๋า (Espinosa) เข้ามาขังเอาไว้ภายในถ้ำ แต่ว่าจูเรียสงสารจึงได้พาเอสฟิโนซ่าหนึออกมา
อีกเวอร์ชั่นหนึ่งมาจากคำบอกเล่าของคนพื้นเมืองในหมู่บ้านเปโดร แซนเชซ (Pedro Sanchez village) โอโคโรนิ, เม็กซิโก (Ocoroni, Mexico) โดยบอกว่าจูเรียเป็นผู้หญิงในหมู่บ้าน ซึ่งพวกเขาเรียกเธอว่า มนุษย์หมาป่า โดยจูเรียอยู่กับแม่ของเธอในหมู่บ้านจนกระทั้งแม่เสียชีวิต หลังจากนั้นลุงของเธอก็ขายจูเรียให้กับคณะละครสัตว์
ในช่วงแรกจูเรียถูกนำตัวไปแสดงในสหรัฐฯ ภายใต้การดูแลของ เจ. บีช (J. W. Beach)
1854 จูเรียมาอยู่ภายใต้การดูแลของธีโอดอร์ เร็นต์ (Theodore Lent) ซึ่งในเวลาต่อมาธีโอดอร์กับจูเรียก็ได้แต่งงานกัน แต่ว่าธีโอดอร์ยังแสวงหาประโยชน์จากจูเรียด้วยการละเมิดความเป็นมนุษย์ของเธอ โดยการนำจูเรียออกแสดงไปทั่วอเมริกา และยุโรป โดยจูเรีย มักจะถูกโฆษณาด้วยคำว่า “มนุษย์ลิง”, “มนุษย์หน้าหมา”
1857 จูเรีย ถูกจับใส่กรง และนำไปจัดแสดงไว้ที่ควีนฮอลล์ (Queen’s Hall) ในลอนดอน จูเรียตอนนั้นมีอายุ 23 ปี เธอสูง 137 เซนติเมตร น้ำหนัก 50.8 กิโลกรัม
หนังสือพิมพ์ Liverpool Mercury เขียนถึงประวัติของจูเรีย เอาไว้ว่า “จูเรียถูกพบเป็นทารกอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่งในเม็กซิโก พร้อมกับผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งหลงเข้าไปในป่านานกว่า 6 ปี อยู่มาวันหนึ่งมีชาวบ้านที่ตอนวัวเข้าไปหากินในหุบเขาได้ยินเสียงร้องของเด็กออกมาจากถ้ำจึงได้เข้าไปสำรวจดู จึงได้พบกับจูเรียและผู้หญิงคนนั้น ผู้หญิงคนนั้นเล่าให้คนเลี้ยงวัวฟังว่าเธอเข้าไปในหุบเขาเมื่อหลายปีก่อนแล้วก็ถูกคนเผ่าที่เรียกตัวเองว่า “Digger Indians” ขังเอาไว้ในถ้ำ และเธอก็พบกับทารกที่อายุน่าจะราว 2 ขวบ เธอก็เลี้ยงเด็กเอาไว้ จูเรียเติบโตขึ้นมาโดยทำงานเป็นคนรับใช้ภายในบ้านของ เปโตร ซานเชซ (Pedro Sanchez) ซึ่งเป็นผู้ปกครองเมืองไชน่าโลอา
1854 จูเรียถูกนำตัวมาเปิดแสดงในสหรัฐฯ
1855 หนังสือพิมพ์ The Baltimore Sun ลงโฆษณาเกี่ยวกับจูเรียว่า “ครึ่งคน ครึ่งหมี” โดยค่าตั๋วสำหรับการเข้าไปดูจูเรียนั้น ราคา 25 เซ็นต์สำหรับผู้ใหญ่
1857 ธีโอดอร์ขายบัตรสำหรับแขกพิเศษซึ่งส่วนใหญ๋เป็นนักข่าวให้เข้ามาชม “การมีเพศสัมพันธ์ของจูเรีย”
จูเรียนั้นมีความสามารถในการพูดและร้องเพลงทั้งภาษาสเปนและภาษาอังกฤษ ซึ่งเธอได้ร้องเพลง “The Last Rose of Summer” ได้ไพเราะ และยังมีความสามารถในการเย็บผ้า รีบผ้าและเต้นรำ
1859 จูเรียถูกพามาเปิดแสดงในรัสเซีย
1860 25 มีนาคม, จูเรีย เสียชีวิตในมอสโคว์หลังจากคลอดลูกได้ห้าวัน ซึ่งเธอให้กำเนิดลูกชาย ที่มีลักษณะคล้ายเธอ แต่ว่าทารกมีอายุสามวันก็เสียชีวิต
หลังจูเรียเสียชีวิต ธีโอดอร์ขายร่างของจูเรียและร่างลูกของพวกเขาให้กับ ดร.อิวาน ซุโกลอฟ (Dr. Ivan Sukolov) แห่งมหาวิทยาลัยมอสโคว์ (Moscow State University) ซึ่งเป็นผู้ทำการสตาฟฟ์รักษาร่างของจูเรีย
ซึ่งเมื่อร่างจูเรียถูกดองรักษาสภาพไว้แล้ว ธีโอดอร์ได้ซื้อร่างของจูเรียและลูกกลับมา และนำร่างไปเปิดการแสดงต่ออีกหลายปี ซึ่งธีโอดอร์กลายเป็นเศรษฐีร่ำรวยจากการแสดงร่างของจูเรีย
ต่อมาในประมาณปี 1863 ธีโอดอร์ได้พบกับผู้หญิงชื่อมาเรีย บาร์เตล (Marie Bartel) ที่มีอาการขนขึ้นตามร่างกลายคล้ายกับจูเรียอีก เขาจึงได้แต่งงานกับเธอ และยังตั้งชื่อใหม่ให้มาเรีย ว่า เซโนร่า พาสตราน่า (Zenora Pastrana) และแน่นอนว่าเขาใช้เธอในการแสดงเช่นกัน โดยอ้างว่าเซโนร่าเป็นน้องสาวของจูเรีย
1871 ธีโอดอร์เปิดคณะละครสัตว์บนเรือ ซึ่งล่องไปตามแม่น้ำไร (Rhine) ในเยอรมัน โดยเรือของเขานั้นไม่มีเครื่องยนต์แต่ว่าอาศัยเรือไอน้ำในการลากอีกที
1877 ธีโอดอร์เลิกกิจการคณะละครสัตว์บนเรือ หลังดำเนินการมาหกปี เพราะว่าจำนวนผู้ชมที่น้อยลง ทำให้เขาล้มละลายและต้องขายเรือไป และเขาไปเปิดแกลลอรี่บนฝั่งเพื่อแสดงร่างของจูเรียแทน
1879 ธีโอดอร์ต้องเลิกกิจการแกลลอรี่เพราะว่าอาคารที่สร้างด้วยไม้เกิดถล่มลงมา และเขาต้องจ่ายเงินค่าชดเชยให้กับผู้บาดเจ็บ
ต่อว่าเล่าว่าธีโอดอร์มีอาการเสียสติ วิกลจริตและไปรักษาตัวอยู่ในรัสเซีย
1884 ธีโอดอร์เสียชีวิตในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก โดยที่มาเรียภรรยาของธีโอดอร์ได้กรรมสิทธิในร่างของจูเรียและลูกไป
1921 มาเรียขายร่างของจูเรียและลูกให้กับ ฮาก้อน ลุนด์ (Haakon Jaeger Lund) ชาวนอร์เวย์ ซึ่งยังคงนำร่างของจูเรียและลูกไปแสดงโชว์เพื่อหาเงินจนกระทั้งถึงปี 1943 ร่างของจูเรียถูกนาซีเยอรมันซึ่งเข้าครอบครองนอร์เวย์ได้สั่งให้อายัติร่างเอาไว้ แต่ว่าหลังสงครามก็ถูกนำกลับมาแสดงอีก
1970s ร่างของจูเรียถูกนำไปแสดงในอร์เวย์ แต่ว่าต่อมาทางการนอร์เวย์ได้สั่งให้ปิดการแสดงและยึดร่างของจูเรียเอาไว้
1979 ร่างของจูเรียถูกขโมยไป แต่ว่าต่อมาถูกพบว่าเก็บไว้ที่สถาบันเนติวิทยาศาสตร์ออสโล่ (Oslo Forensic Institute) แต่ว่าไม่มีการระบุตัวตนว่าเป็นใคร
1990 มีการยืนยันร่างที่สถาบันออสโล่ว่าเป็นจูเรีย
2013 12 กุมภาพันธ์, จากการรณรงค์อง ลอร่า บาร์ตาต้า (Laura Anderson Barbata) ผู้เขียนหนังสือ The Eye of the Beholder: Julia Pastrana’s Long Journey Home” ร่างของจูเรียจึงได้ถูกนำส่งกลับไปยังรัฐไชน่าลัว ในเม็กซิโก และร่างของเธอก็ถูกฝังที่สุสานของโบสถ์แคโธริกซ์ในไชน่าโลอา