Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Cilappatikaram

ศิลปะติการาม 

(Cilappatikaram : The Tale of an Anklet, ทมิฬ : சிலப்பதிகாரம்,)

ศิลปะติการาม เป็น 1 ใน 5 วรรณกรรมเก่าแก่ของทมิฬ (Tamil ) ถูกแต่งขึ้นมาเป็นบทกวีความยาว 5,730 บรรทัด โดยตามความเชื่อบอกว่า ไอลันโก้ อติกาล (Ilanko Atikal) นักบวชเชน (Jain Monk) เป็นผู้แต่งขึ้น  โดยไอลันโก้ อติกาล เป็นพระอนุชาของกษัตริย์เชนกุตตุวาน (King Chenkuttuvn) แห่งอาณาจักรเชรา (Chera Kingdom) ที่อยู่ทางใต้ของอินเดีย ดังนั้นศิลปะติการามจึงถูกเชื่อว่าถูกแต่งขึ้นราวปี ค.ศ. 188-243 ซึ่งเป็นรัชสมัยของกษัตริย์เชนกุตตุวาน


พล๊อตเรื่อง 

มหากาฬของชาวทมิฬ ทางตอนใต้ของอินเดีย ซึ่งเป็นเรื่องราวโศกนาฏกรรมความรักของ 

กันนาคี (Kannaki) กับ โควาลัน (Kovalan) สองสามีภรรยาซึ่งเพิ่งจะแต่งงานกัน และใช้ชีวิตอยู่ในเมืองชายทะเล ในอาณาจักรโจละ (Chola kingdom) 

โควาลัน นั้นเป็นพ่อค้าหนุ่มชาวพูการ์ (Pukar) ที่มีฐานะร่ำรวย ส่วนกันนาคีก็มาจากครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวยและทั้งคู่ก็อยู่ในวรรณะเดียวกัน 

อยู่มาวันหนึ่งโควาลันเกิดไปหลงสเนห์มาตาวี (Matavi) ซึ่งเป็นนักเต้นระบำที่มีชื่อเสียง โควาลันจึงได้ทิ้งกันนาคีไป

ในช่วงเทศกาลบูชาพระอินทร์ (Indra) เทพเจ้าแห่งฝน โควาลันได้ขับร้องบทกวีเกี่ยวกับผู้หญิงที่ทรยศคนรัก ในขณะที่มาตาวีได้ร้องเพลงเกี่ยวกับผู้ชายที่หักรักคนรัก ซึ่งเนื้อเพลงนั้นเหมือนกับต้องการจะสื่อสารให้อีกฝ่ายรู้ หลังจากนั้นโควาลันจึงได้แยกทางกับมาตาวี และกลับไปหากันนาคี

ต่อมากันนาคีกับโควาลัน เดินทางไปเที่ยวยังเมืองมาตุรัย (Maturai) ของอาณาจักรปัญญา (Pandya kingdom)  โควาลันได้ใช้โอกาสนี้สารภาพความผิดต่อกันนาคี และนางก็ให้อภัย และขอให้เริ่มต้นชีวิตครอบครัวกันใหม่ ในโอกาสนี้กันนาคีได้มอบกำไลข้อเท้าของนางให้เพื่อให้สามีเอาไปขายเพื่อเป็นทุนในการเริ่มต้นกันใหม่

โควาลันนำเอากำไรข้อเท้าของก้นนาคี ไปขายให้กับช่างทองขี้โกงหนึ่ง ซึ่งช่างทองคนนี้เพิ่งจะขโมยกำไรข้อเท้าที่เหมือนกับของกันนาคีมาจากพระราชินี 

ต่อมาพระราชาสั่งให้จับโควาลันในฐานะของหัวขโมย และประหารโควาลัน

เมื่อกันนาคีทราบว่าสามีถูกจับ นางก็เดินทางมาเพื่อช่วยเหลือสามี โดยนำกำไรข้อเท้าอีกข้างของเธอมาด้วย เพื่อพิสูจน์ว่ากำไรข้อเท้าอันนั้น โควาลันสามีของนางไม่ได้ขโมยมา นอกจากนั้นกำไรของกันนาคีก็ประดับด้วยทับทิม ในขณะที่กำไรของพระราชินีนั้นประดับด้วยไข่มุก นี่จึงเป็นการพิสูจน์ได้ว่าโควาลันเป็นผู้บริสุทธ์

แต่ว่ากันนาคีมาช่วยโควาลันไม่ทัน สามีของนางถูกประหารชีวิตไปเสียแล้ว กันนาคีเสียใจมาก จึงได้โยนกำไลข้อเท้าของนางที่เหลือไปที่หน้าพระพักตร์ และกล่าวคำสาบแช่งพระราชาตลอดจนประชาชนของมาตุรัย กันนาคีฉีกหน้าอกของตัวเองและโยนไปที่หมู่ประชาชนที่อยู่ในบริเวณนั้น ซึ่งเมื่อหน้าอกของกันนาคีตกลงผืนดินก็ทำให้เกิดไฟลุกขึ้นมาเผาพลาญเมืองมาตุรัยทั้งเมืองจดมอดใหม่ ในขณะที่พระราชาก็สวรรคตด้วยความตกพระทัย ในเหตุการณ์นี้ประชาชนเกือบทั้งหมดของเมืองเสียชีวิตลง ยกเว้น พราห์ม, วัว, ผู้ชายหรือผู้หญิงที่ซื่อสัตย์, คนแก่ เด็ก คนพิการ

หลังจากเดินทางออกมาจากมาตุรัย กันนาคีไปมุ่งหน้าไปยังอาณาจักเชระ (Chera kingdom) ซึ่งระหว่างทางนางได้พบกับพระอินทร์ซึ่งประทับรถม้า และพระอินทร์ได้พากันนาคีขึ้นไปยังสรวงสรรค์ด้วย 

เมื่อพระราชาของอาณาจักเชระ ทราบเรื่องดังกล่าวก็ได้รับสั่งให้มีการสร้างวัดขึ้นมาเพื่อบูชากันนาคี ในฐานะเทพเจ้า และได้เสด็จไปยังเทือกเขาหิมาลัยเพื่อนำหินมาสลักเป็นรูปของกันนาคี และเรียกกันนาคีว่าว่า เทพปัตตินี (Pattini

Don`t copy text!