อิวาน มาเซปา (Ivan Stepanovych Mazepa)
ชาวยูเครน ผู้นำทหารของคอสแซ๊คในเขตซาโปริเซียน (Zaporizhian Host) ระหว่างปี 1687-1708 ซึ่งต่อมาเขาได้ข่าวว่าพระเจ้าซาร์ปีเตอร์ ที่ 1 แห่งรัสเซียต้องการปลดเขาออกจากตำแหน่งและตั้ง อเล็กซานเดอร์ เมนชีคอฟ (Alexander Menshikov) ขี้นมาแทน ทำให้มาเซปา ก่อกบฏและหันไปสวามิภักดิ์กับกษัตริย์ชาร์ล ที่ 7 (King Charless XII of Sweden) แห่งสวีเดน
มาเซปา เกิดวันที่ 30 มีนาคม 1639 ในเมืองมาเซปินซี ใกล้กับเมืองไบลา เซิร์กว่า (Bila Tserkva) ทางตอนใต้ของเคียฟ โดยชณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย (Polish=Lithuanian commonwealth) พ่อของเชาชื่อสเตฟาน (Stefan Adam Mazepa) และแม่ชื่อมารีน่า (Maryna Mokievska) ทั้งคู่เป็นชาวคอสแซคที่ต่อสู้ร่วมกับ บอห์ดาน คเมลนิดตสกี้ (Bohdan Khmelnytsky) ในการต่อต้านเครือจักรภพโปแลดน์-ลิทัวเนีย สเตฟานนั้นเป็นแม่ทัพ (Otaman) ในกองทัพคอสแซค ประจำเมืองไบลา เซิร์กว่า
มาเซปา นั้นเรียนหนังสือที่สถาบันเคียฟ-โมไฮล่า (Kiev-Mohyla Academy) และที่วิทยาลัยเยซูอิต (Jesuit college) ในวอร์ซอ โดยเขามีความสามารถพูดได้ดีในหลายภาษาทั้งยูเครน, รัสเซีย, โปแลนด์, ตาร์ต้า, ลาติน และพอสื่อสารได้ในภาษาเยอรมันๆและอิตาลี
ระหว่างนี้เขาก็ทำงานเป็นข้าราชบริพารในราชสำนักของกษัตริย์จอห์น ที่ 2 (John II Casimir Vasa) ไปด้วย
1656 ได้รับพระราชทานทุนจากกษัตริย์ฌวน ที่ 2ถูกส่งไปเรียนวิชาการใช้ปืนใหญ่ที่ฮอลแลนด์เป็นเวลาสามปี
1659 กลับมายังวอร์ซอว์ และกลับเข้าทำงานในราชสำนักโปแลนด์ ซึ่งการทำงานรับใช้โปแลนด์ทำให้เขาถูกเรียกว่า Lyakh (Lechites)
ช่วงปี 1659-1663 นี้เขาถูกส่งไปทำภาระกิจทางการฑูตหลายครั้งในยูเครน ทำให้ระหว่างนี้ มาเซปา มีความสัมพันธ์ชู้สาวกับ มาดาม ฟาลโบว์สก้า (Madam Falbowska)
1663 เดินทางกลับยูเครนบ้านเกิด หลังจากได้ข่าวว่าพ่อของเขาป่วยหนัก
1665 พ่อของเขาก็เสียชีวิต ทำให้มาเซปาได้รับยศ capbearer of Chernihiv สืบต่อจากบิดา
1669 เขาทำงานภายใต้การบัญชาการของเปโตร โดโรเชนโก้ (Petro Doroshenko) ผู้นำคอสแซค (Hetman) ในดินแดนทางฝั่งขวาของยูเครน โดยที่มีตำแหน่งเป็นผู้บัญาชาการหน่วยทหารที่อารักขาโดโรเชนโก้
1672 มาเซปาร่วมออกรบในสงครามต่อต้านโปแลนด์ซึ่งนำโดยโดโรเชนโก้ ไปยังดินแดนในแถบกาลิเซีย (Galicia)
1674 มาเซปาย้ายมาทำงานกับอิวาน ซามอยโลวิช (Ivan Samoylovych) ผู้นำดินแดนฝั่วซ้ายของยูเครน ซึ่งเป็นคู่แข่งของโดโรเชนโก้ เหตุที่เขาย้ายฝ่ายเพราะว่ามาเซปาถูกจับระหว่างเดินไปยังไครเมีย โดยอิวาน เซอร์โก้ (Ivan Sirko)
1677 ร่วมในการรบที่ไชไฮริน (Chyhyryn campaigns) ซึ่งเป็นการรบเพื่อต้านทานอาณาจักรอ๊อตโตมัน (Ottoman Empire) ที่พยายามขยายอำนาจเข้ามายึดยูเครน
1682 ซามอยโลวิช มอบตำแหน่งนายพลในกองทหารคอสแซค (General osaul)
1687 25 กรกฏาคมฐ มาเซปา ได้รับเลือกให้เป็นผู้นำของคอสแซคในดินแดนฝั่งซ้ายของยูเครน โดยได้รับการสนับสนุนจากวาสิลี กาลิตไซน์ (Vasily Galitzine) โดยที่ซามอยโลวิชนั้นถูกสภาเผ่าปลดออก หลังจากเห็นว่าเขาไปทำสนธิสัญญาโคโลแม็ก (Kolomak articles) กับรัสเซียแต่มีความเสียเปรียบ
ช่วงเวลาที่มาเซปาขึ้นเป็นผู้นำนี้ เขามีความต้องการที่จะรวมยูเครนรัฐต่างๆ เข้าเป็นหนึ่ง เขากลายเป็นเจ้าชองที่ดินรายใหญ่ และสะสมทรัพย์สินเอาไว้มากมาย พร้อมกับมีการสร้างวิหารในสไตล์ยูเครนบาร๊อก (Ukrainian Baroque) เอาไว้หลายแห่งในยูเครน
1702 ชาวคอสแซคในฝั่งขวาของยูเครน นำโดยเซเมน พาเลีย (Semen Paliy) พากันลุกขึ้นต่อต้านการปกครองของโปแลนด์
มาเซปาอาศัยโอกาสนี้ขออนุญาตจากซาห์ปีเตอร์ ที่ 1 แห่งรัสเซีย เข้าไปแทรกแซงสถานการณ์ ทำให้เขาสามารถขยายดินแดนมาทางฝั่งขวาของยูเครนได้เพิ่ม ในขณะที่โปแลนด์ก็อ่อนแอลงเพราะถูกรุกรานจากสวีเดนด้วย
1700s (Great Northern War, 1700-1721) จักรวรรดิรัสเซียสูญเสียดินแดนจำนวนมาในการทำสงครามกับจักรวรรดิสวีเดน ทำให้พระเจ้าซาร์ปีเตอร์ ที่ 1 แห่งรัสเซียได้ดำเนินนโยบายปฏิรูปกองทัพ และรวมศูนย์อำนาจ ซึ่งมาเซปาเห็นว่าการปฏิรูปครั้งนี้จะทำให้อำนาจปกครองตัวเองของคอสแซคของเขาลดน้อยลง
1708 เมื่อโปแลนด์และสวีเดนยกกองทัพเข้ามาโจมตียูเครน ซาห์ปีเตอร์ ที่ 1แห่งรัสเซียไม่ยอมส่งทหารรัสเซียมาช่วยปกป้องชาวคอสแซคในยูเครน ซึ่งมาเซปาเห็นว่าเป็นการละเมิดข้อตกลง Treaty of Pereyaslav ที่ทำกันไว้ ทำให้มาเซปาหันไปเป็นพันธมิตรกับโปแลนด์และสวีเดน แต่ว่ามีเพียงชาวคอสแซค 3,000 คนเท่านั้นที่ติดตามมาเซปา ชาวคอสแซคส่วนใหญ่ยังคงภักดีกับซาร์แห่งรัสเซีย
ฝ่ายรัสเซียเมื่อทราบข่าวการทรยศของมาเซปา จึงได้ยกกองทัพเข้ามายังกรุงบาตุริน (Baturyn) เมืองหลวงของคอสแซคในเวลานั้น และตั้งอิวาน สโกโรปาดสกี้ (Ivan Skoropadsky) ชาวคอสแซคที่ยังคงภักดีขึ้นมาเป็นผู้นำคอสแซคคนใหม่
1709 ซาร์ปีเตอร์ ที่ 1ได้สั่งให้มีการบุกซาโปโรเซียน ซิก (Zaporozhian Sich) เขตที่ฝ่ายสนับสนุนมาเซปารวมกันอยู่
8 กรกฏาคม, ในสมรภูมิโปลตาว่า (Battle of Poltava) ฝ่ายรัสเซียมีชัยชนะเหนือสวีเดน ทำให้ความหวังของมาเซปาที่จะให้ยูเครนไปอยู่กับสวีเดนนั้นสิ้นสุดลง มาเซปาจึงได้หนีออกจากยูเครน ไปพร้อมกับการถอนทัพของชาร์ล ที่ 7 (Charles XII) กลับไปตั้งหลักที่เมืองเบนเดอร์ (Bender, Bessarabia) ในมอลดาเวีย (Moldavia) ซึ่งขณะนั้นเป็นเขตอิทธิพลของอ๊อตโตมัน
2 ตุลาคม,ไม่นานหลังจากมาอยู่ที่เมืองเบนเดอร์ มาเซปา ก็เสียชีวิต ร่างของเขาถูกฝังไว้ที่โบสถ์เซนต์จอร์จ (St George church) ในเมืองกาลาติ (Galati) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในโรมาเนีย