Life does not come with instructions on how to live, but it does come with trees, sunsets, smiles and laughter, so enjoy your day.

ชีวิตไม่ได้มาพร้อมกับคู่มือการใช้ชีวิต

แต่ชีวิตมาพร้อมกับต้นไม้, พระอาทิตย์ตก, รอยยิ้มและเสียงหัวเราะ 

―Debbie Shapiro

Khorloogiin Choibalsan

คอร์ลูกิ้น ชอยบัลซาน (Хорлоогийн Чойбалсан)

ชอยบัลซาน เกิดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 1895 ในแอชิต เบย์ซิน (Achit Beysiyn) เขาเป็นลูกชายคนเล็กในพี่น้องสี่คน โดยแม่ของเขาชื่อคอร์ลู่ (Khorloo) เธอมีลูกโดยที่ไม่ได้แต่งงาน 
เมื่ออายุ 13 ปี ได้เข้าเรียนในโรงเรียนพุทธลามะ ซาน เบย์ซิน คูรี (San Beysiyn Khüree) เพื่อฝึกเป็นพระ แต่ว่าหลังอยู๋ในโรงเรียนได้ห้าปีเขาก็หนีออกมา และเดินทางไปยังเมืองคูรี
1912 มาทำงานรับจ้างอยู่ในเมืองอูร์ก้า (Urga~ Ulan Bator)
1914 เข้าเรียนที่วิทยาลัยครูเออร์กุตส์ก (Irkutsk Pedagogical Institute) ในรัสเซีย  โดยได้รับทุนจากรัฐบาล
1917 รัฐบาลมองโกลเรียกตัวเขาให้เดินทางกลับประเทศเมื่อเกิดการปฏิวัติในรัสเซีย ซึ่งเมื่อกลับมาได้เคลื่อนไหวเพื่ออิสระภาพของมองโกล อยู่ในเมืองอูร์ก้า 
1919 เข้ากับกลุ่มใต้ดินชื่อ Consular Hill ซึ่งมีชาวมองโกลบางส่วนร่วมเคลื่อนไหวต่อต้านจีน ซึ่งขณะนั้นมองโกลมีฐานะเป็นรัฐปกครองตนเอง ช่วงที่ประเทศจีนมีความวุ่นวายจากเหตุการณ์ปฏิวัติซินไห่ (Xinhai Revolution) ในจีน ในปี 1911 ผู้นำของมองโกลชื่อบ็อก์ด ข่าน (Bogh Khan) ได้ประกาศให้มองโกลเป็นเอกราช แต่ภายหลังรัฐบาลมองโกลถูกคุกคามจากเหตุการณ์ปฏิวัติในรัสเซีย และกองทัพขาวได้ส่งทหารเข้ามา มองโกลจึงเจรจากับจีนเพื่อขอความช่วยเหลือ ซึ่งจีนพยายามให้มองโกลเลิกล้มการปกครองตัวเอง บ็อก็ด ข่าน ถูกจีนกักบริเวณอยู่แต่ภายในวัง ชาวมองโกลบางส่วนที่ไม่เห็นด้วยกับการสูญเสียอธิปไตยก็ไปขอความช่วยเหลือจากรัสเซีย 
กลุ่ม Consular Hill มีสมาชิกสำคัญในกลุ่มคือ Dogsomyn Bodoo, Dambyn Chagdarjav โดยที่ชอยบัลซานทำหน้าที่แปลเอกสารที่เกี่ยวกับรัสเซียและคอยติดต่อผ่านสถานฑูต
1920 มีการก่อตั้งพรรค ประชาชนมองโกล (Mongolian People’s Party, MPP) โดยสมาชิกของกลุ่ม Consular Hill เดิม หลังจากนั้นชอยบัลซานเดินทางไปรัสเซ๊ยเพื่อขอความช่วยเหลือ และถูกส่งไปเรียนรู้ด้านการฝึกทหารอยู่ในเออร์กุตส์ก ก่อนจะกลับมองโกลช่วงปลายปี และมีการตั้งหน่วยทหารกองโจรขึ้นมาสู้รบกับทหารของกองทัพขาวของรัสเซียที่นำโดยโรมัน อันเจิร์น-สเติร์นเบิร์ก (Roman von Ungern-Sternberg) ซึ่งยึดครองมองโกเลียอยู่ในขณะนั้น
1921 1-3 มีนาคม, มีการประชุมใหญ่ของพรรค MPP ครั้งแรกในทรอตสโกลาฟส์ก (Troitskosavsk)  ในรัสเซียแต่ติดกับมองโกเลีย ในที่ประชุมได้แต่งตั้งแดมดิน สุคบาตาร์ (Damdin Sükhbaatar) เป็นผู้นำกองกำลังกอบกู้เอกราช ในขณะที่ชอยบัลซานได้ตำแหน่งรองผู้นำ
มีนาคม-กรกฏาคม , ปฏิวัติมองโกล (Outer Mongolian Revolution)  , 6 กรกฏาคม สามารถเดินสวนสนามเข้าไปยังเมืองคุรีมาได้สำเร็จโดยไร้การต่อต้านซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดการปฏิวัติ
หลังจากไล่จีนออกไปได้สำเร็จ MPP  ได้คืนตำแหน่งกษัตริย์ให้กับบ็อก์ด ข่าน แต่ว่าให้อำนาจอย่างจำกัด แต่ว่าไม่นานบ๊อก์ด ข่าน มาเสียชีวิตไปในปีเดียวกัน MPP จึงได้ประกาศก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนมองโกล (Mongolian People’s Republic)
1923 เดินทางมาเรียนที่สถาบันการทหารในมอสโคว์ 
1924 กลับมามองโกเลียหลังการเสียชีวิตของสุคบาตาร์  และหลังจากนี้ดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่งในรัฐบาล
หัวหน้ากองทัพปฏิวัติ ( 1924 – 1929 ) และ ( 1937 – 1952 )
ประธานสภาเปซิเดียมของเมืองลิตเติ้ลฮูราล(Little Hural)  ( 1929 – 1930,  )
รัฐมนตรีต่างประเทศ ( 1930 )
รัฐมนตรีเกษตรและปศุสัตว์ ( 1931 – 1935 )
รัฐมนตรีมหาดไทย (1936 -1939 )
รองนายกรัฐมนตรี ( 1935 – 1939 )
นายกรัฐมนตรี ( 1939 – 1952 )
1931  หลังสตาลินขึ้นมามีอำนาจในโซเวียต มองโกลได้รับเอานโยบายเศรษฐกิจแบบส่วนรับคำสั่งจากส่วนกลางมา เขาในฐานะรัฐมนตรีเกษตรได้มีการบังคับยึดเอาที่ดินของเอกชนและบังคับให้มีการทำเกษตรแบบแปลงรวม ซึ่งมีการบริหารจัดการที่ไม่ดี และเป็นผลให้ประชาชน 20-25  ล้านคนเสียชีวิต
1936 ได้รับยศจอมพล และได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีมหาดไทย , แต่ในปีนี้เขาขัดแย้งกับสตาลินเมื่อสตาลินต้องการให้เขากวาดล้างพระสงฆ์ในประเทศ แต่เขาปฏิเสธ
1939 กองทัพผสมของมองโกลและรัสเซียรบกับกองทัพญี่ปุ่น ที่อยู่บริเวณลุ่มน้ำฮาลกิน โกล (Halkin-Gol river, Khalkhin Goal)
1945 Manchuria Operation, Kwantung Army โดยชอยบัลซานเป็นผู้บัญชาการทหารหน่วย ISAR
ช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2 ชอยบัลซานให้การสนับสนุนโซเวียตในการรบกับนาซี
1952 26 มกราคม, เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง ร่างของเขาถูกเก็บที่สุสาน maosoleum of Sukhabaatar and Choibalsan
 2005 ร่างถูกนำมาประกอบพิธีเผ่า และเก็บไว้ที่สุสานแห่งชาติในอูรันบาเตอร์
Don`t copy text!